ดร.การุณ รุจนเวชช์
ดร.การุณ รุจนเวชช์
ตอนที่ ๗ Iolani Palace

ประเทศที่มีกษัตริย์ หรือจักรพรรติปกครองประเทศ ย่อมมีพระราชวัง งามเด่นตามฐานะและปฏิมากรรม นำสร้างจากดุลยพินิจและประสิทธิภาพของสถาปนิคและจิตรกรของประเทศนั้นที่สะท้อนถึงศิลปะวัฒนธรรมให้สืบทอดมาทุกสมัยเป็นมรดกของชาติ ดังปรากฏในยุโรป จีน อินเดีย หรือ ประเทศเล็กเช่นไทย และที่นำเสนอในฉบับนี้ คือราชอาณาจักร์ฮาวายก่อนที่จะถูกสหรัฐ อเมริกา ยึดครองเมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๑๙๕๙ เป็นรัฐที่ ๕๐ เป็นรัฐแห่งเดียวที่อยู่กลางมหาสมุทรแปซิฟิคที่เกิดจากภูเขาไฟ และปรุงแต่งด้วยพืชพันธ์เป็นเวลาพันปีจนเป็นแผ่นดินที่ร่มรื่นสวยงาม และที่งามเด่นด้วยปฏิมากรรมแห่งหนึ่งคือ Iolani Palace ที่ยืนหยัดมัดจิตวิญญาณของชาวฮาวายได้รำลึกไว้ว่า ในอดีต ดินแดนนี้เคยเป็นรัฐอิสระมีกษัตริย์ปกครอง

เริ่มแต่ปี พ.ศ. ๒๓๐๑ พระเจ้าคาเมฮาเมฮา ที่ ๑ (Kamehameha 1) ได้รวบรวมหมู่เกาะฮาวายทั้งหมดเป็นรัฐอิสระ ที่มีกษัตริย์และพระราชินีเรื่อยมา จนถึงสมัยพระเจ้าคาลาเคา (Kalakaua) หรือ King David ที่เดินทางไปเอเซีย ก่อนไปรักษาพระองค์ที่ San Francisco และได้รับการต้อนรับจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ต้องมาสวรรณคตลงที่ San Francisco เมื่อ King David ไม่มีรัชทายาทสืบราชวงศ์ พระขนิษฐภคินี Lydia Liliuokalani Paki (ลิเดีย ลิลิอูคาลานี พาคี) จึงได้ขึ้น ครองราช และได้สิ้นสุดลง ในปี ๑๘๙๓ เมื่อกลุ่มธุรกิจได้บังคับให้ ให้สละราสมบัติ (abdicate) ระบบราชาธิปไตย (monarchy) จึงสิ้นสุดลง

สองปีต่อมา ฮาวาย ได้ผนวก (annexation) ให้เป็นอาณาเขต (annexation) ของสหรัฐ และสุดท้ายได้เป็นรัฐที่ ๕๐ เราจะเข้าไปชมพระราชวังนี้กัน หันไปมองอดีตของฮาวาย

สิ่งแรกที่พึงสังเกตคือขั้นบันได (staircase) ที่ใช้ไม้ใหญ่ โคอา (Koa) ที่สูงถึง ๓๐ เมตร กว้าง ถึง ๓๕ เมตร มีลายสวย เป็นพันธุ์ไม้ฮาวายที่ชาวฮาวายในอดีต นำมาสร้าง wa’a หรือเรือ คานู (canoes) ขั้นบันไดนี้

พาท่านขึ้นสู่ท้องพระโรง ที่ยังคงความสง่างามและปราณีต มีตู้ใส่ของขวัญจากประเทศต่างๆ ในจำนวนนั้นมีช้างจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งที่ King David เสด็จประพาทสยาม ด้านหน้าเป็นพระที่นั่ง ด้านข้างเป็นประตูสู่ห้องต่างๆ รวมทั้งห้องบันทม ที่ท่านเข้าชมและรับฟังคำบรรยาย ๔๕ นาที พระราชวังเปิดทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ตั้งแต่ ๑๑๓๐