ดร.การุณ รุจนเวชช์
ดร.การุณ รุจนเวชช์
ตอนที่ ๙ Tinglish

นางสังคม มีภาษาที่ใช้กันมากกว่าหนึ่งภาษา เช่นที่ฮาวาย มีคนที่มาจากประเทศต่างๆ รวมทั้งชาวเกาะที่มีภาษาของเขาเอง เมื่อตกมาเป็นรัฐที่ ๕๐ของสหรัฐอเมริกา ที่มีภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการ และยังมีประชากรจากประเทศอื่นๆเข้ามาอยู่ร่วมกัน แต่เพราะเขาเหล่านั้นไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษมาแต่เกิด เขาจึงมีคำภาษาอังกฤษจำกัด ต้องเอาภาษาเขามาปนภาษาอังกฤษนานไปก็เข้าใจกันได้ นอกจากคำศัพท์ เขาก็ไม่สันทัดในหลักภาษา สรุปคนฮาวายจึงมีภาษาอังกฤษที่ต่างไปจากภาษาอังกฤษที่ใช้ในรัฐอื่นๆทั้ง ๔๙ รัฐ เรียกว่า Hawaiian Pidgin English และเพราะคนฮาวายใช้ภาษานี้มานาน จึงเป็นที่ยอมรับให้เป็นภาษาทางการ ร่วมกับภาษาอังกฤษ ที่คนอเมริกันใช้

ในประเทศไทยก็เช่นกัน มีคนเชื้อชาติต่างๆ เข้ามาอยู่ร่วมสังคมไทยแต่โบราญ ต่างนำภาษาของตนเข้าปะปนในภาษาไทย จนเป็นที่ยอมรับในสังคมไทยนานจนคนรุ่นใหม่ไม่ทราบที่มาของคำนั้น เช่น

ภาษาบาลี มีคำว่า กัญญา, ขัตติยะ, วิชา, สันติ

ภาษาสันสกฤต มีคำว่า บริษัท โฆษณา ประกาศ ภรรยา แพทย์

ภาษาจีน มีคำว่า ก๋วยเตี๋ยว บะหมี่ ลิ้นจี่ เก้าอี้

ภาษาอังกฤษ มีคำว่า คลีนิก โปรตีน กอล์ฟ

ภาษาเขมร มีคำว่า กังวล ถนน บำเพ็ญ เสวย

ภาษาเปอร์เซีย เช่น กุหลาบ สักหลาด

ภาษาโปรตุเกส มี กะละแม กะละมัง สบู่ ปิ่นโต

ภาษาฝรั่งเศสมี กงศุล คูปอง บุฟเฟ่ต์ และอื่นๆ

เป็นเพราะภาษาต่างชาติถูกนำมาใช้ในภาษาไทยเป็นเวลานานจนเป็นที่ยอมรับว่าเป็นส่วนของภาษาไทย ปัจจุบัน สังคมไทยยังคงติดต่อกับประเทศต่างๆ โดยเฉพาะที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ ความไม่สันทัดในภาษาอังกฤษ ทำให้คนไทยพูดไทยปนอังกฤษ โดยเปลี่ยนสำเนียงให้ถนัดลิ้น หรือ ใช้คำผิดๆ สร้างประโยคผิด แต่ไม่เป็นที่ยอมรับว่า เป็น Thai Pidgin English เหมาะที่จะเรียกว่า Tinglish หรือ Thaiglish มากกว่า เพราะใช้กันในชนกลุ่มน้อย จึงไม่เป็นที่ยอมรับโดยคนส่วนใหญ่ คำและประโยคที่ไม่ถูกต้องมีดังนี้

๑. นำคำไทยมาแปลเป็นภาษาอังกฏษ

• คำศัพท์ที่แปลจากภาษาไทย ภาษาอังกฤษที่ถูกต้อง

o To open/close the light, fan To turn on/off the light, fan

o To wash the film To develop the film

o I am interesting in America. I am interested in the US.

o I very like this house. I really like this house.

๒. ภาษาอังกฤษมีกริยาช่วยแสดงกาล ความปฏิเสธ คำถาม บุพบทบอกสถานที่ จุดประสงค์ และอื่นๆ

• กฏไวยากรณ์ ตามไทย กฏไวยากรณ์อังกฤษ

o Yesterday I not want go. Yesterday I didn’t want to go.

o Don’t angry me. Don’t be angry with me.

o Are you boring? Are you bored?

นอกจากหลักาษา ก็ยังมีสำเนียงต่างๆที่เพี้ยนไป เพราะภาษาไทยใช้เสียงวรรณยุกต์ แต่ภาษาอังกฤษใช้เสียงหนักเบาในแต่ละพยางค์ (Stress Levels) เสียงขึ้นลงบอกความหมายในประโยค (Intonation Patterns) เสียงพยัญชนะและสละที่ต่างกัน (Voice, Voiceless, Places of Articulations) เป็นต้น ซึ่งเป็นเรื่องยาวที่จะนำเสนอได้

ฉบับนี้เสนอเพียงสังเขปให้พอเข้าใจ