ดร.การุณ รุจนเวชช์
ดร.การุณ รุจนเวชช์
บทที่ ๕ Phrase (วลี)

อาทิตย์นี้ เป็นเรื่องของ วลี ที่เรียกว่า Appositive Phrase เป็นวลีที่เรียกคำนามนำหน้า อาจเป็นอีกชื่อหนึ่งของคำนามนั้น หรือเป็นคำที่ใช้เรียกกัน มีคำนาม รวมทั้ง Gerund เป็นหลัก เช่น

· Our first dog, a Pekinese,

· My favorite hobbies, painting and gardening,

· My wife, Dr. Joanne Rujanawech,

เมื่อเสริมคำนามด้วย Appositive Phrase แล้วดำเนินความต่อไปได้ด้วยกริยาและอื่นๆ เช่น

· Our first dog, a Pekinese, had lived with us until she died at the age of 12.

สุนัขตัวแรกของเรา มีชีวิตอยู่กับเราจนกระทั่งมันตายเมื่ออายุ ๑๒ ปี

· My favorite hobbies, painting and gardening, fulfill my self-esteem.

งานอดิเรกที่โปรดของผม วาดภาพและทำสวน เติมเต็มความพอใจส่วนตัว

· My wife, Dr. Joanne Rujanawech, has a Ph.D.’s degree in School Administration.

ภรรยาผม ดร.โจแอน รุจนเวชช์ มีปริญญาเอกสาขาบริหารการศึกษา

Appositive Phrase จากตัวอย่างข้างต้น เดิมมาจากประโยคสมบูรณ์ที่มีประธานร่วมกับประโยคหลัก ดังนี้

· My first dog was a Pekinese. She lived with us until she died at the age of 12.

สุนัขตัวแรกของผมเป็นพันธุ์ปักกิ่ง มันอยู่กับเราจนกระทั่งมันตายเมื่ออายุได้ ๑๒ ปี

· My favorite hobbies include painting and singing. They fulfill my self-esteem.

งานอดิเรกที่ชอบของผมคือ การวาดภาพ ร้องเพลง ทั้งสองอย่างเติมเต็มความพอใจส่วนตัวของผม

· My wife’s name is Dr. Joanne Rujanawech. She has a Ph.D.’s degree in School Administration.

ภรรยาของผมคือ ดร.โจแอน รุจนเวชช์ เธอได้รับปริญญาเอกสาขาบริหารการศึกษา

ผมมีเรื่องโต้แย้งกับผู้ใหญ่ท่านหนึ่งที่เป็นที่รู้จักในประเทศไทย ด้วยเรื่อง “เจ้าคุณเทียบ

ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม” ผมจะไปนมัสการท่านทุกครั้งที่ไปประเทศไทย ผู้ใหญ่ท่านนี้ มีจุดประสงค์ดี ที่คิดว่าผมเข้าใจผิด จึงเขียนมาว่า

“ท่านเจ้าคุณ ไม่ได้เทียบเท่า ท่านเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสจริงๆ”

ผมตอบไปว่า

“ไม่ได้กล่าวว่า ท่านเทียบเท่า... ผมเว้นคำระหว่าง เทียบ กับ ผู้ช่วยเจ้าอาวาส...”

ท่านยังยืนกรานมาว่า

“ท่านไม่ได้เทียบเท่ารองเจ้าอาวาส ท่านเป็นรองเจ้าอาวาสจริงๆ”

ผมไม่เข้าใจว่าผู้ใหญ่ท่านนี้จึงไม่เข้าใจว่า ที่ผมเว้นคำ ชื่อ และ ตำแหน่ง เป็นแนวการเขียน

แบบอังกฤษ คือ เขียนชื่อ “เทียบ” ตามด้วย Appositive Phrase หรือ ตำแหน่งของท่าน ไม่ได้เขียนว่า “เทียบเท่า” ซึ่งการเขียนแบบอังกฤษเช่นนี้ คงใช้ไม่ได้ในภาษาไทย