Special Scoop



Knowledge is Power… ความรู้คือพลัง และภูมิคุ้มกัน

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 16 พ.ย .60 สมาคมนวดไทยและสปาแห่งอเมริกา ร่วมกับสถานกงสุลใหญ่ ณ นครแอลแอนเจลิสได้จัดให้มีการสัมมนาเรื่องภาษีเงินรายได้ที่พวกเราควรรู้ทั้งจากรายได้ส่วนบุคคลและจากการทำธุรกิจที่นี่ พวกเราได้รับการสนับสนุนจากวิทยากรอดีตผู้ตรวจภาษีจากไออาร์เอส (IRS) ยังเป็นอาจารญ์สอนเรื่องภาษีที่มหาวิทยาลัย U.C.L.A. ด้วยประสบการณ์กว่า ๓๕ ปี และเป็น C.P.A. (Certified Public Accountant) Mr. Gregory M. Habib, C.P.A. และคุณ Katie Borden, Enrolled Agent ที่ทำหน้าที่ช่วยกันแปลให้กับผู้ที่สนใจเข้าร่วมกว่า 100 คน นี่ก็แสดงว่าประชาชนคนไทยได้ให้ความสำคัญกับการเสริมฑักษะความรู้เพื่อใช้ในการดำรงชีพในอเมริกาให้ยังถูกต้อง ทำหน้าที่เป็นพลเมืองดีของประเทศนี้ ต้องขอขอบพระคุณท่านกงสุลใหญ่ธานี แสงรัตน์ และนายกเหมี่ยว แห่งสมาคมนวดไทยที่เห็นความสำคัญกับรายการดีๆแบบนี้มาโดยตลอด และในช่วงบ่าย ผมได้เชิญวิทยากรจากทางตำรวจแอลแอพีดี พร้อมนายตำรวจไทย คุณพีท เพิ่มแสงงาม ตลอดจนเจ้าหน้าที่รับโทรศัพย์ 911 มาบรรยายให้เราฟังถึงปัญหาของคนไทยที่โทรเข้า 911 แต่พูด หรืออาจตอบคำถามที่ เขาไม่เข้าใจ ไม่รู้เรื่อง จะด้วยความตื่นเต้น ตกใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เลยตอบไม่ตรงประเด็นเกิดความล่าช้าในการส่งรถวิทยุตํารวจให้มายังที่เกิดเหตุช่วยเหลือและจับคนร้ายได้ทันท่วงที มีสาระประโยชน์มากมาย ทางแผนก 911 ย้าว่าถ้าเราพูดภาษาอังกฤษไม่ได้ เขามีล่ามให้ตลอด ๒๔ ชั่วโมง ตำรวจและเจ้าหน้าที่จะไม่ถามว่าคุณมาอยู่อเมริกาในสถานะภาพอะไรโดยเด็ดขาด จะอยู่แบบไหนไม่สำคํญ ตำรวจเราจะไม่ส่งข้อมูลของคุณไปให้คุณเกรนะครับ ใครพลาด เข้าไปดูเทปได้ที่ Face book ,Thai Consulate Los Angeles


ผมได้รวบรวม ข้อควรปฏิบัติเมื่อตกเป็นเหยื่อของพวกปล้นจี้โจรกรรม

การเตรียมตัวป้องกันไว้ก่อน เพื่อลดความเสี่ยงในการถูกปล้นจี้โจรกรรม

1. ถ้าเป็นไปได้ ควรมีพนักงานอยู่ด้านหน้าร้าน/เคาน์เตอร์เก็บงิน 2-3 คน โดยแฉพาะช่วงเวลาเปิดหรือปิดทำการ ที่คนร้ายมักฉวยโอกาสในเวลานี้ เพื่อทำการปล้น ทั้งเงิน ทรัพย์สินมีค่าต่างๆ แบบที่เราไม่ได้ตั้งตัว

2. ควรมีแสงสว่างเพียงพอภายในร้าน หน้าร้าน และด้านนอกร้าน เพื่อให้คนภายนอกมองเห็นภายในร้านได้อย่างชัดเจน

3. ติดตั้งกล้องวงจรปิดในจุดต่างๆ รวมถึง ด้านนอกร้าน ภายในร้าน และควรมีป้ายบอกชัดเจนว่า มีกล้องบันทึกภาพ "You are on Camera"

4. ควรมีการอบรมพนักงานให้ฝึกสังเกต ลูกค้าที่มีพิรุธ สิ่งผิดสังเกตต่างๆ (suspicious activities) เช่น ลูกค้า (โจร) เข้ามา มองซ้ายมองขวา มาสำรวจร้าน ก่อนจะเข้าปล้นหรือเปล่า ถามคำถามแบบวกไปวนมา แปลกๆ ไหม ควรจะต้องมีกระบวนการแนวทางปฏิบัติเช่น หากเราเห็นว่ามีบุคคลต้องสงสัย พนักงานควรทำอย่างไร แล้วจะแจ้งใคร บอกใคร โทรศัพท์ไปที่เบอร์ไหน หาใคร อย่างไร

5. มีปุ่มกดฉุกเฉินในหลายๆ จุด พนักงานทุกคนจะต้องรู้ว่า เมื่อเกิดเหตุร้าย ต้องกดปุ่มทันที อาจจะแค่เป็นเสียง (alarm) ดังขึ้นทั้งภายใน และภายนอกร้านก็ได้ แค่นี้โจรก็ตกใจกลัว คิดวิ่งหนีแล้ว แต่ถ้าสัญญาณฉุกเฉินต่อถึงสถานีตำรวจ หรือ บริษัท ร.ป.ภ.ได้ก็ยิ่งดี แต่มีค่าใช้จ่ายเพิ่ม

6. เก็บเงินสดในลิ้นชักในร้านให้น้อยที่สุด สิ่งของมีค่าควรเก็บไว้ในสถานที่เก็บมิดชิด พนักงานทุกคนควรมีล็อกเกอร์หรือที่เก็บส่วนตัว


ระหว่างการถูกปล้นโจรกรรม

1. ความปลอดภัยของชีวิต เป็นปัจจัยสำคัญที่สุด ดังนั้นเราจึงควรให้ความร่วมมือกับโจร โดยอยู่ในความสงบ และทำตามที่โจรต้องการ ทรัพย์สิน เงินทอง สามารถหาใหม่ได้ ส่วนชีวิตนั้นหาไม่ได้

2. พยายามอย่ามองตาคนร้าย มองต่ำๆ อย่ามองจ้องคนร้ายนานๆ เพราะคนร้ายอาจทำร้ายเรา เพียงเพราะเขากลัวว่า เราจะจำหน้าพวกเขาได้

3. ถ้าสามารถกดปุ่มสัญญาณ โดยไม่ให้คนร้ายรู้ตัว ก็กดเลย ถ้าหาโอกาสไม่ได้ ก็อย่าเพิ่งกดปุ่ม เพราะคนร้ายอาจจะมาทำร้ายร่างกายเราได้

4. บอกกับโจร ว่ามีลูกค้าที่นัดไว้กำลังจะมา โจรอาจจะกลัว แล้วรีบออกจากร้านไป

5. ถ้าเราต้องเดินไปไหน หรือหยิบอะไร ให้บอกโจรก่อน พวกมันจะได้ไม่ต้องตกใจ แล้วหันมาทำร้ายเราได้

6. พยายามจำรูปพรรณคนร้ายให้ได้มากที่สุด เช่น เผ่าพันธุ์ อายุ เพศ ส่วนสูง น้ำหนัก รอยสัก เสื้อผ้าที่สวมใส่มา หรือมีอะไรที่แปลกกว่าคนปกติตรงไหน เพื่อจะช่วยให้ตำรวจสืบหาตัวคนร้ายได้ในภายหลัง

7. เมื่อโจรออกจากร้านไปแล้ว อย่าเพิ่งรีบวิ่งตาม หนี หรือลุกขึ้น รอสัก 1-2 นาที แล้วค่อยโทรแจ้งตำรวจ เพราะคนร้ายอาจจะยังอยู่ในบริเวณนอกร้านก็ได้


หลังการถูกปล้นจี้โจรกรรม

1. โทรแจ้ง 911 ทันที ถึงแม้ว่าเราได้กดปุ่มสัญญาณฉุกเฉินแล้วก็ตาม

2. อย่าจับต้องสิ่งของ หรือเคลื่อนย้ายอะไร ก่อนที่ตำรวจจะมา โดยเฉพาะสิ่งของที่คนร้ายได้จับสัมผัสแล้ว ตำรวจสามารถตรวจเก็บรอยนิ้วมือได้

3. พยายามย้อนความจำ โดยการเขียนรายละเอียดต่างๆ ของคนร้ายให้ได้มากที่สุด ในขณะที่เหตุการณ์ยังสดๆ อยู่ในสมองของเรา เช่นคนร้ายพูดข่มขู่ว่าอย่างไร เช่น Give me the money or I will kill you!!

4. ถ้ามีพยานที่รู้เห็นเหตุการณ์ ให้เขาอยู่ต่อ เพื่อรอเจ้าหน้าที่ตำรวจ ถ้าพยานต้องรีบไป ขอชื่อเบอร์โทรศัพท์ไว้ เพื่อให้ตำรวจติดต่อได้ในภายหลัง

5. การที่เราตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพนั้น มันมีความรู้สึกทั้งกลัว โกรธ เสียดาย และเสียใจ ซึ่งจิตใจก็ย่ำแย่ เสียขวัญกำลังใจในการดำเนินชีวิตในช่วงเหตุการณ์ที่ผ่านไปสดๆ ร้อนๆ ควรหาจิตแพทย์เพื่อบำบัด หรือคนสนิทเพื่อพูดคุย ให้เรารู้สึกดีขึ้น ไม่บั่นทอนจิตใจ หรือให้จิตตก


องค์ประกอบในคดีต่างๆ ที่ต้องมี

การปล้นชิงทรัพย์ (Robbery) มาตรา Penal Code (PC) 211 คดีอาญาร้ายแรง (Felony)

1. ฉกฉวยทรัพย์สินของผู้อื่น

2. จะทำการต่อผู้เสียหาย เจ้าของทรัพย์สิน หรือเอาจาก หรือต่อหน้าบุคคลที่สาม ที่ไม่ใช่เจ้าของทรัพย์สินก็ได้

3. เจ้าของไม่ยินยอม

4. มีการใช้กำลัง (Force) หรือข่มขู่ให้กลัว (Fear)

การขโมยลักทรัพย์ ในอาคาร/บ้าน/รถยนต์ (Burglary) มาตรา PC 459 คดีอาญาร้ายแรง (Felony)

1. เข้ามาในร้านในระหว่าง หรือหลังจากที่เราเปิด หรือปิดร้าน ก็ได้

2. เข้ามาในตึกหรือที่ทำการที่ล็อคแล้ว หากเป็นรถยนต์ก็เช่นกัน ประตูรถต้องล็อคอยู่ ถ้าเราไม่ได้ล็อคประตูรถ ก็ถือว่า เป็นแค่ขโมย ลักเล็กขโมยน้อย (Theft) PC. 487 or 488

3. ตั้งใจที่จะเข้ามา ขโมย ลักทรัพย์ หรือก่อคดีร้ายแรงอื่นๆ


รวบรวมข้อมูลโดย Deputy Keith Chatprapachai, LASD