Special Scoop
ผลงานและความสำเร็จของสภาหอการค้า

ตั้งแต่สภาหอการค้าไทยอเมริกันได้ถูกขัดสีฉวีวัน เปลี่ยนโฉมใหม่ โดยมีร่างธรรมนูญ (By Laws) ขึ้นมาใหม่ จนถึงมีการจัดการเลือกตั้งทั่วไป เราได้มีประธานคนใหม่แทนคุณสมหมาย ปัทมคันธิน เป็นคุณดอน จิว โดยมีผมเป็นเลขาธิการและคุณเทเรซ่า ชุง เป็นเหรัญญิก เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2010 โดยการผลักดัน และ สนับสนุนในทุกขั้นตอน จากท่านกงสุลใหญ่ ณ นครลอส แอนเจลิส นายดำรง ใคร่ครวญ ที่เห็นว่าชุมชนไทยจะเข้มแข็งขึ้นมาได้ สมาคมที่ควรจะเป็นเสาหลักคือ สภาหอการค้าฯ เพราะมีพ่อค้า เจ้าของธุรกิจที่มีศักยภาพ ทั้งทุนทรัพย์ เวลา และบารมี เพียงพอที่จะเข้ามาช่วยเหลือธุรกิจไทยที่ส่วนใหญ่ยังอยู่ในสถานะต่างคนต่างทำ ไม่เคยมีการรวมตัวเป็นรูปธรรมที่พอจะเป็นกระบอกเสียง ให้กับธุรกิจส่วนใหญ่ของชุมชนไทยได้ ท่านดำรงยังอุตส่าห์จัดหางบประมาณเป็นเงินก้นถุง (seeds money) เป็นเงิน 10,000 เหรียญ ท่านยังได้ชักชวนนักธุรกิจชั้นนำเข้ามาเป็นสมาชิกอุปถัมภ์ (patron) ชักชวนบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถจากหลายๆ ภาคส่วน เข้าอาสาเป็นคณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการอำนวยการและคณะที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ มาช่วยเหลือแสดงความคิดเห็นว่าจะทำอย่างไรให้หอการค้าเป็นองค์กรหลักที่ธุรกิจไทยทั้งภาครัฐและเอกชน และหอการค้าเอเชียต่างๆ ได้เชื่อถือศรัทธา โดยการจัดอบรมสมาชิกของเรา การเข้าเป็นสมาชิกในหอการค้าชั้นนำ มีเครือข่ายติดต่อกับบริษัทต่างประเทศ จากจำนวนสมาชิกในปี 2010 มี97ราย จนปัจจุบันเราได้รับความศรัทธาและเชื่อว่าหอการค้าฯเป็นองค์กรที่จะเป็นที่พึ่งพาให้พวกเขาได้ ถึง 175 รายเพิ่มจากปี 2010 ถึง 80 % โดยการนำของท่านสุทิน ทิวาศาสตร์ ที่เข้ามาทำหน้าที่แทนคุณดอน จิว เนื่องจากสุขภาพไม่อำนวย ต้องขอขอบพระคุณท่านมา ณ ที่นี้ด้วย

สมัครเป็นสมาชิกของสภาหอการค้าไทย แล้วจะได้อะไร?

อันนี้เป็นคำถามที่คณะกรรมการบริหารได้รับเป็นประจำ ซึ่งพวกเราเข้าใจและอยากที่แจ้งผลประโยชน์ที่เราสามารถทำให้สมาชิกเป็นรูปธรรม ตลอดระยะเวลา 1 ปีเศษ ๆ ที่ได้เข้ามาผลักดันให้สภาหอการค้าเข็มแข้ง นอกจากนี้มีโบชัวร์สวย ๆ ซึ่งมีการเขียนบรรยายถึงผลประโยชน์ (Member’s Benefits) ว่าสมาชิกจะได้รับแต่ความเป็นจริงแล้วสภาหอการค้าได้ทำจริง ๆ หรือเปล่า ผมเลยขออนุญาตเสนอผลงานที่ได้ทำมาตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2010 ถึงปัจจุบัน เพื่อให้ท่านเชื่อมั่นว่า เราได้ทำกิจกรรมอะไรบ้าง และในอนาคตเรามีแผนงาน และโครงการประจำปีอะไรบ้าง

1.สถานภาพการเป็นองค์กรไม่หวังผลประโยชน์ (Non-Profit Organization)

สิ่งแรกหลังจากที่ได้เข้ามาทำหน้าที่ในตำแหน่งเลขาธิการแล้ว ผมจำเป็นที่ต้องตรวจสอบสถานภาพของสภาหอการค้าในด้านภาษีและการมีสถานภาพเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลประโยชน์/กำไร (Non-profit tax exempt organization) ตามกฎหมายภาษีของรัฐบาลแคลิฟอร์เนีย (FTB) และของรัฐบาลกลาง (IRS) มาตรา 501 (C)(6) (Internal Revenue Code) ซึ่งหลังจากที่เราได้จดทะเบียนไว้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2005 ซึ่งในเดือนมิถุนายน 2011 ทาง IRS ก็มีจดหมายอนุมัติอย่างเป็นทางการหลังจากที่เราได้ยื่นใบสมัครและการเสียค่าธรรมเนียม พร้อมด้วยรายการรายรับรายจ่ายย้อนหลังตั้งแต่ปี 2007-2009 จนครบ อันนี้ท่านสมาชิกและสาธารณชนเชื่อมั่นว่าการที่เราได้รับอนุมัติจากทาง FTB/IRS นั้น เราจะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านภาษีความโปร่งใสในการรายงาน รายรับ-รายจ่าย ประจำปีต่อทางรัฐบาลทุก ๆ ปี ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของประธานหอการค้า, เลขาธิการ และเหรัญญิก ต้องยึดปฏิบัติ

2.การประชาสัมพันธ์
- ได้จัดงานเลี้ยงรับรองเพื่อแนะนำหอการค้าไทยฯ กับหอการค้าอื่นๆ ในนครลอสแอนเจลิส รวมทั้งในภาครัฐ และเอกชนของฝ่ายสหรัฐฯ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2553
- ได้กระชับความสัมพันธไมตรีกับประธานหอการค้าเอเชียนอเมริกันต่าง ๆ ได้แก่ หอการค้าญี่ปุ่นหอการค้าจีน หอการค้าไต้หวัน หอการค้าเกาหลี และ หอการค้าฟิลิปปินส์ โดยการสนับสนุนจากสถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแอนเจลิส เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2553
- จัดงาน TCCC’s Night ขึ้นเป็นครั้งแรกในเดือนกุมภาพันธ์ 2554โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระชับความสัมพันธ์ ระหว่างสมาชิกหอการค้าไทย และหอการค้าเอเชี่ยนอเมริกันต่าง ๆ และเพื่อส่งเสริมธุรกิจของเหล่าสมาชิกโดยการจัดโชว์แสดงสินค้าในงาน รวมถึงหาทุนสำหรับหอการค้าไทยโดยจัดพิมพ์หนังสือ Commemorative Book แจกฟรีแก่ผู้เข้าร่วมงาน ในปี 2012 นี้เราได้จัดงาน TCCC’s Night ในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2012 โดยมีวัตถุประสงค์ให้สมาชิกและสาธารณชนได้มีโอกาสได้มาทำความรู้จักกับธุรกิจไทย มีการตอบรับจากสภาหอการค้าญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ ที่จะเข้าร่วมและส่งนางงามเข้าประกวดเป็น Miss Thai Chamber of Commerce นอกจากนี้ในปีนี้เราจะมีการเลือกนักธุรกิจดีเด่นแห่งปี 2011 และนักธุรกิจที่ได้ทำประโยชน์ให้กับชุมชนไทยด้วย เพื่อยกย่องสรรเสริญในความสามารถและความเสียสละต่อชุมชน โดยคณะกรรมการสรรหาเราได้ขอให้ผู้สือข่าวจากสำนักต่าง ๆ มาเป็นคณะกรรมการอิสระในการตั้งกฎเกณฑ์ เสนอชื่อให้ได้รับรางวัลอันทรงเกียรตินี้และเราจะได้จัดทำหนังสือที่ท่านกำลังอ่านอยู่ในขณะนี้ให้กับแขกผู้มีเกียรติที่ได้มาร่วมงาน โดยมีบทความดี ๆ มีประโยชน์กับสมาชิกและประชาชนด้วย
- เข้าร่วมงาน Thai New Year Festival เมื่อเดือนเมษายน 2554-2555 เปิดบู๊ทรับสมัครสมาชิก และแจกหนังสือและของชำร่วยแก่ผู้เข้าร่วมงาน
3.การสร้างเครือข่าย
-คณะกรรมการบริหารได้เข้าพบปะและเยี่ยมคณะกรรมการหอการค้าอื่น ๆ และได้แนะนำ คณะกรรมการบริหารกับ Asia Societyซึ่งเป็นองค์การทางด้านธุรกิจและวัฒนธรรมที่สำคัญของสหรัฐ ฯ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเอเชีย
- สร้างความสัมพันธ์กับธนาคาร Union Bank, Bank of America และ Metro United Bank
-ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ MOU ว่าด้วยความร่วมมือกับองค์กร Asian Pacific Islander Small Business Program เมื่อเดือนตุลาคม 2553 ซึ่งจะทำให้สมาชิกสามารถเข้าร่วมกิจกรรมขององค์กรดังกล่าวได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย อาทิ การขอคำปรึกษาแนะนำ การจัดหาเงินทุนทางธุรกิจ ฯลฯ รวมทั้งเพื่อความร่วมมืออื่น ๆ ระหว่างกัน
- ได้ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครลอสแอนเจลิส (Thai Trade Center, Los Angeles) จัดงานเข้าร่วมพบปะหารือระหว่างอธิบดีส่งเสริมการส่งออก และนักธุรกิจไทย เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2553
- ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน นครลอสแอนเจลิส (Thailand Board of Investment – Los Angeles) จัดงานเข้าร่วมพบปะหารือระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กับนักธุรกิจไทย เมื่อเดือนธันวาคม 2553
- ร่วมกับสถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแอนเจลิส (The Royal Thai Consulate-Los Angeles) จัดงานเลี้ยงอาหารค่ำให้แก่สมาชิกหอการค้าไทย ผู้แทนการค้าไทย และ กรรมการผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย เมื่อเดือนเมษายน 2554
- เลขาธิการหอการค้าไทยได้เข้าร่วมประชุมกับ Asian Pacific American Legal Center ในเรื่องการ Redistricting จากผลการสำรวจประชากร (Census 2010) ซึ่งจะมีผลทำให้ชุมชนไทยได้รับความสนใจจากนักการเมืองในการจัดการแบ่งเขตใหม่ และชุมชนไทยได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อคณะกรรมาธิการ Redistricting ในเดือนพฤษภาคม 2554
- ได้เข้าร่วมแสดงความยินดีกับคณะบริหารชุดใหม่ของสภาหอการค้าญี่ปุ่นและเกาหลี ในเดือนกันยายน 2011 และมกราคม 2012
- เราได้นำคณะกรรมบริหารและสมาชิก 18 ท่าน ไปเยือนประเทศไทยโดยการสนับสนุนของท่านกงสุลใหญ่ฯ ดำรง ใคร่ครวญ ให้มีโอกาสได้พบกับผู้นำรัฐบาลและรัฐมนตรีต่างๆที่เกี่ยวข้องกับนักธุรกิจไทยและการค้าระหว่างประเทศ และยังมีโอกาสพบกับนักธุรกิจชั้นนำของประเทศไทย เช่น บริษัทซีพี บริษัทปูนซีเมนต์ไทย โรงแรมดุสิตธานี สถานสอนศึกษาลาคอลองเบอร์ (Le Cordon Bleu Dusit Culinary School) ซึ่งผมจะสรุปรายงานในลำดับต่อไ
4.สมาชิกสัมพันธ์และสิทธิประโยชน์สมาชิก
- ได้เริ่มโครงการ “Members Helping Members” ซึ่งเป็นโครงการช่วยเหลือสนับสนุนเพื่อนร่วมสมาชิก มีสมาชิกเสนอ ส่วนลดสินค้าและการบริการให้กับเพื่อนสมาชิกอยู่ถึง 20 รายการสินค้าและบริการด้วยกันโดยตอนนี้สมาชิกที่เสนอส่วนลดสินค้าและบริการได้ยืดระยะเวลาลดราคาสินค้าและบริการแก่เพื่อนสมาชิกไปจนถึง ปลายปี 2554
- หอการค้าได้เข้าเป็ฯสมาชิกของ US Chamber of Commerce แล้ว ซึ่งเป็นผลให้สมาชิกได้รับส่วนลดและสิทธิประโยชน์หลายประการ อาทิ ส่วนลดจาก AVIS, Budget, FedEx Delivers, Monster และ Gift Card จาก Sam’s Club อนึ่ง ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์สมาชิก ท่านอาจหารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของหอการค้า Error! Hyperlink reference not valid.เว็บไซต์ของ US Chamber of Commerce www.uschamber.com
- ได้จัดตั้งกลุ่ม “Member visiting” ซึ่งเป็นกลุ่มอาสาสมัครของคณะกรรมการบริหาร ที่จะเข้าพบปะพูดคุยเยี่ยมเยือนสมาชิกหอการค้าไทย
- กำลังจะติดต่อขอต่อสมาชิกอายุสมาชิกที่จะหมดอายุในรอบแรกคือปลายเดือนมิถุนายน 2554
5.กิจกรรมการให้ความรู้แก่สมาชิก - ตลอด 1 ปีที่ผ่านมาได้จัดสัมนาให้ความรู้แก่สมาชิกและบุคคลทั่วไปรวมทั้งสิ้น 10 ครั้ง

5.1 จัดสัมนาให้ความรู้เรื่องธุรกิจสปาและนวดไทย เมื่อเดือนสิงหาคม 2553โดยมีผู้บรรยายคือ Mr. William Okamoto (retiree) from Employment Development Department (EDD) และ Mr. Jesus Covarrubias, Deputy Labor Commissioner III from Division of Labor Standards Enforcement (DLSE) Department of Industrial Relation.

5.2 ร่วมกับสถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแอนเจลิสจัดสัมนาให้ความรุ้เกี่ยวกับเรื่องกฎหมายแรงงาน เมื่อเดือนกันยายน 2553โดยมีผู้บรรยายคือ Ms. Kimchi Bui, USDOL- WH District Director, Ms. Philipda Modrakee, USDOL- WH Investigator, and Ms. Siriporn Poondee, USDOL- WH Investigator from United States Department of Labor Wage and Hour Division และ Ms. Diane Chen, DLSE- Bureau of Field Enforcement Senior Deputy Labor Commissioner from State of California Department of Industrial Relations Division of Labor Standards Enforcement Bureau of Field Enforcement.

5.3 จัดบรรยายเรื่องความรู้ความเข้าใจในการกู้ยืมเงินจากธนาคาร และ การเสียภาษีของธุรกิจขนาดเล็กเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2553 โดยมีผู้บรรยายคือ Mr. Henry Lee, President of Metro United Bank of Southern California, Ms. Amy Yuen, Executive Vice President, Ms. Caroline Lee, Sr. Vice President, Ms. Suzy Huang, Assist Vice President และ Mr. K.T. Leung

5.4 ร่วมกับสถานกงสุลใหญ่จัดสัมนาให้ความรุ้เกี่ยวกับเรื่องปฏิรูประบบประกันสุขภาพสหรัฐ เมื่อเดือนมกราคม 2554 โดยผู้บรรยายคือ Dr. Edward Larson, University Professor and Hugh & Hazel Darling Chair in Law, Pepperdine University และMr. Craig B. Garner, Chief Executive Officer and Chairman of the Board, Coast Plaza Hospital.

5.5 สัมนาให้ความรุ้เกี่ยวกับธุรกิจสปา เมื่อเดือนมีนาคม 2554 โดยมีผู้บรรยายคือ Deputy William H. Calicchia, LASD, Deputy Fred L. Humphrey II, LASD และ Ahmos Netanel, California Massage Therapy Council (CAMTC)

5.6 ร่วมกับศูนย์ส่งเสริมชาวไทย (Thai CDC) จัดสัมนาให้ความรุ้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเครดิต และ วิธีการขอเงินกู้สำหรับธุรกิจขนาดเล็ก เมื่อเดือนเมษายน โดยมีผู้บรรยายคือ Ms. Star Thanyapant, Sr. Relationship Banker จาก Union Bank

5.7 ร่วมกับสำนักงานของรองประธานกรรมาธิการด้านภาษีของรัฐแคลิฟอร์เนีย มิเชล ปาร์ค สตีล (The Honorable Michelle Park Steel) จัดสัมมนาให้ความรู้ด้านสาธารณสุขของร้านอาหาร (LA County Health Department) มาบรรยายถึงกฎหมายที่ทางร้านอาหารต้องปฏิบัติเพื่อให้ได้เกรด A เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าที่มาทานอาหารตลอดจนแนะนำเคล็ดลับข้อกฎหมายด้านภาษี (Sale Tax) ที่เกี่ยวข้องกับร้านอาหาร โดยใช้ผู้บรรยายเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลโดยตรงและ CPA จากสำนักงานเขตของ LA County Health และของ State Board of Equalization ถึง 2 ครั้งในเดือนมิถุนายน 2553 และในเดือนมกราคม 2555 ได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดีจากสมาชิกหอการค้าที่เป็นเจ้าของธุรกิจด้านอาหารและผู้รับทำภาษี ซึ่งโครงการนี้เราจะจัดเป็นประจำทุก ๆ ปี เพราะกฎหมายมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมทุกปี

5.8 พบปะกับสมาชิกของร้านอาหารโดยคุณวนิดา ศรีวรมย์ รองประธานหอการค้าฝ่ายกิจกรรมร้านอาหารถึง 3 ครั้งที่วัดไทย โรงแรมลินคอล์น และที่ร้านไทยนคร เพื่อพูดคุยถึงปัญหาด้านแรงงาน การถูกฟ้องร้องจากลูกจ้าง การรักษาสิทธิในกรณีถูกตรวจสอบจากหน่วยงานราชการ ในเดือน กรกฎาคม 2011

5.9 จัดการอบรมพ่อครัว-แม่ครัว ตลอดจนพนังงานเสริฟ (California Food Handler Program) โดยคุณวนิดา ศรีวรมย์ ได้จัดให้สมาชิกเข้ารับฟังอบรมที่ร้านไทยนครและได้รับประกาศนียบัตรรับรองตามกฎหมายใหม่ของแคลิฟอร์เนีย ในเดือนธันวาคม 2011

5.10 จัดการสัมนนา กฎหมายด้านแรงงาน และสถานที่เพื่อให้คนพิการเข้าถึง (Labor Laws & American Disabilities Acts) โดยการประสานงานของคุณมิเชล กับสภาหอการค้าเกาหลี นำทนายความด้านแรงงานและกฎหมายเกี่ยวกับ ADA โดยเฉพาะเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2011

6.กิจกรรมการให้ความช่วยเหลือ
- หอการค้าไทยร่วมกับ AARP (American Association of Retired Persons), ศูนย์ส่งเสริมชาวไทย Thai CDC (Thai Community Development Center), สมาคมไทย TASC (Thai Association of Southern California) และ State Board of Equalization 3rd District – Rolling Hills Estates ช่วยเหลือประชาชนทั่วไปที่มีรายได้น้อยในการยื่นเสียภาษีเงินได้ส่วนบุคคลประจำปี 2553 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ มีนาคม และเมษายน 2554ที่ผ่านมา
- หอการค้าไทยได้ริเริ่มช่วยเหลือสมาชิกในด้านการจัดหาคนงานในตำแหน่งต่างๆ ผ่านทาง Website ของหอการค้าไทย
- คณะกรรมการบริหารได้เข้าไปให้ความช่วยเหลือเพื่อนสมาชิกที่ประสบปัญหา เกี่ยวกับกฎระเบียบของทางการสหรัฐ เช่นลูกค้าของเพื่อนสมาชิกการเลี้ยวรถเข้าจอดในร้านค้าของตนโดยที่ต้องผ่านเส้นทึบกลางถนน และอื่นๆ
-คณะกรรมการบริหารได้บริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากซึนามิ และแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่นผ่านทางวัดไทยลอยแอนเจลิส เมื่อเดือนมีนาคม 2554
- ทางหอการค้าไทยได้ช่วยเหลือในการตอบคำถาม ข้อสงสัยของบุคคลทั่วไปในเรื่องธุรกิจ ข้อกฏหมาย และสิทธิต่างๆ ที่คนไทยพึงได้รับจากทางราชการ
- หอการค้าเป็นแกนนำให้ความช่วยเหลือสมาชิกผู้นำเจ้าผลไม้ไทยกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช) กับบริษัทที่ได้รับสัมปทานใหม่ จนทำให้การนำเข้าผลไม้ไทยต้องหยุดชะงัก ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2011 จนถึงปัจจุบัน หอการค้าได้ทำจดหมายร้องเรียนกับนายกรัฐมนตีและรองนายกฝ่ายเศรษฐกิจ และกระทรวงเกษตร จนมีการเปิดการเจรจาหาข้อยุติ ดังที่เป็นข่าวอย่างต่อเนื่องมาจนถึงบัดนี้
7 เรื่องอื่น ๆ - คณะกรรมการบริหารได้เข้าร่วมถวายช่อดอกไม้เนื่องในวันปิยมหาราช ที่วัดไทย ลอสแอนเจลิส เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2553
- คณะกรรมการบริหารได้เข้าร่วมกล่าวคำถวายพระพรชัยเนื่องในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ NAT TV เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2553 และที่วัดไทยลอสแอนเจลิส เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2553
- คณะกรรมการบริหารได้เข้าร่วมงานวันชาติที่บ้านพักสถานกงสุลใหญ่ เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2553
- หอการค้าไทยร่วมกับสถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแอนเจลิส และ K&D Graphics จัดพิมพ์ แผ่นพับแนะนำไทยทาวน์ จัดวางที่ศูนย์ข้อมูลท่องเที่ยว ทั้งที่สนามบิน โรงแรม และ ตามสถานที่ต่าง ๆ
- หอการค้าไทยได้ร่วมกับองค์กรต่าง ๆ หาทุนช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยน้ำท่วมครั้งใหญ่ ซึ่งได้ให้สมาชิกและกรรมการบริหารร่วมบริจาคได้เงินจำนวนกว่า 1 หมื่นเหรียญ บริจาคผ่านสถานกงสุลใหญ่ฯ ให้กับสภากาชาติไทยในเดือนตุลาคม 2011

องค์การใดๆไม่สามารถสำเร็จได้ถ้าสมาชิกไม่มีความศรัทธา ในประธานและคณะกรรมการ ซึ่งแต่ละท่านก็อาสาสมัครโดยไม่รับผลตอบแทน กลับต้องเสียทุนทรัพย์เพื่อสนับสนุนกิจกรรมหอการค้าฯ และสละเวลามาร่วมประชุม เสวนาปัญหาต่างๆที่เกิดกับธุรกิจไทย เสนอความเห็นและวิธีแก้ปัญหาร่วมกัน เพราะผมเชื่อว่าถ้าพวกเราต้องการเห็นคนของเรามีความรู้ขอกฎหมายที่ถูกต้อง มีธุรกิจที่มั่นคงเราต้องหาผู้แทนที่มีความจริงใจ ในการเข้ามารับฟังความเดือดร้อน ช่วยเป็นกระบอกเสียง สนับสนุนกฎหมายที่เอื้อต่อธุรกิจไทย เราไม่มีเวลาจะมานั่งทะเลาะกันในเรื่องส่วนตัว อย่ามาแบ่งพรรคแบ่งสีกันเลย ที่สุดเราก็คนไทยด้วยกัน ไม่มีใครเกิดมาเป็นศัตรูกับใคร ถ้าเราใช้สติปัญญามาสร้างสรรค์ให้ชุมชนเราเข้มแข็ง เราต้องสนับสนุนผู้นำที่จะนำเราให้อยู่รวมกันแบบชุมชนอื่น ต้องมีสปิริตในการรับฟังความคิดเห็นคนอื่นด้วย มีความเห็นต่างได้แต่มีจุดมุ่งหมายเหมือนกัน ผู้นำที่ดีต้องมีความสามารถในการสร้างบรรยากาศสมานฉันท์ ไม่เลือกปฏิบัติหรือ2มาตรฐาน ฉะนั้นองค์ประกอบที่ทำให้องค์กรเข้มแข็งมี 4 ปัจจัย หรือ 4Cs

ทุน (Capital) สภาหอการค้าฯเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร (non-profit organization) ได้รับการอนุมัติจากIRS and FTB เป็นองค์กรไม่หวังผลกำไร 501 c6 เป็นองค์กรที่ได้รับการยกเว้นการเสียภาษี ฉะนั้นทุกสิ่งในองค์กรเราทำแบบโปร่งใส เงินทุนในการบริหารได้มาจากการบริจาคจากค่าสมัครเป็นสมาชิก ตราบใดที่มีจุดมุ่งหมายที่ทำประโยชน์ให้สมาชิก เงินทุนก็จะเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว คณะกรรมการต้องทำตามกฎกติกาของธรรมนูญที่ได้รับรองจากบอร์ดมา

Competencies/Credibility การสร้างภูมิปัญญาให้สมาชิกโดยจัดสัมมนาในธุรกิจต่างๆ การส่งข้อมูลข่าวสารของภาพรวมธุรกิจต่างๆ ข่าวสารของไทย อเมริกา หรือธุรกิจทั่วโลก เราพยายามทำเพื่อให้สมาชิกได้รับความรู้ ทันเหตุการณ์ เพื่อการปรับกลยุทธ์ได้ทันท่วงที องค์กรที่ประสบความสำเร็จ นอกจากจะลงทุนในเทคโนโลยีแล้ว ผู้บริหารและคนในองค์กรต้องมีความรู้ในการใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งสามารถเสริมสร้างศรัทธาให้หอการค้าเป็นกระบอกเสียงให้ธุรกิจไทยต่อไป

Connections and Collaborations การสร้างเครือข่ายความร่วมมือขององค์การต่างๆทั้งท้องถิ่น ระดับรัฐ และระดับประเทศเป็นสิ่งที่องค์การต้องพยายามสร้างเพื่อให้เป็นที่น่าเชื่อถือ เราได้สร้างเครือข่ายกับองค์กรต่างๆ เรียกร้องสิทธิกับนักการเมือง กับหอการค้าต่างๆเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการได้เซ็นสัญญาความเข้าใจที่ดีต่อกัน (Memorandum of Understanding) กับหลายองค์กรเช่น 22 ตุลาคม 2010 MOU with Asian Pacific Islander Small Business Program (APISBP) ซึ่งเป็นองค์กรที่ช่วยเหลือชุมชนเอเชีย เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี ฟิลิปปินส์ พัฒนาให้ธุรกิจของชุมชนเหล่านี้มั่นคง 17 ธันวาคม 2010 MOUกับหอการค้าแห่งประเทศไทย Member of US Chamber of Commerce Member of Asian American Chamber Association (AACA) และทางกงสุลใหญ่ดำรงยังเล็งเห็นถึงความสำคัญให้กรรมการบริหารและสมาชิกได้พบปะกับผู้นำของไทย รัฐมนตรีกระทรวงต่างๆที่เกี่ยวกับธุรกิจชุมชนไทย ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ซึ่งถือเป็นผลงานชิ้นโบว์แดงของท่าน พวกเราต้องขอขอบคุณ ซึ่งผมจะกล่าวถึงความสำเร็จของการเยี่ยมเยียนครั้งนี้ต่อไป

Commitment and Communication ปัจจัยนี้ผมถือว่าสำคัญมากเพราะทุกคนที่อาสาเข้ามาเป็นกรรมการบริหารต้องมีความเข้าใจในจุดมุ่งหมายขององค์กร และเคารพในธรรมนูญเช่นกัน และมีความตั้งใจที่จะเข้ามาช่วยให้จุดมุ่งหมายต่างๆบรรลุผลสำเร็จ โดยใช้ความรู้ความสามารถเข้ามาให้ความคิดเห็น เข้ามาช่วยสานต่อ เพราะโครงการต่างๆจะสำเร็จลุล่วงไปมิได้ หากทุกคนไม่สำนึกในความเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร ( a pride of ownership) และการสื่อสารต่อกัน ต้องจำเป็นต้องให้เกียรติซึ่งกันและกัน โดยไม่มีวาระซ่อนเร้นใดๆ การวิจารณ์เพื่อสร้างสรรค์เป็นสิ่งดีต่อการเจริญเติบโตของหอการค้าฯ

เรื่องการไปเยี่ยมเยียนของคณะหอการค้าไทยฯ ซึ่งประกอบด้วยประธาน คุณสุทิน ทิวาศาสตร์, ผมซึ่งเป็นเลขาธิการ และคณะกรรมการบริหาร และสมาชิกทั้งหมดประมาณ 18 ท่าน การสนับสนุนค่าใช้จ่าย ส่วนหนึ่งก็มาจากกระทรวงการต่างประเทศ ผ่านสถานกงสุลไทย ณ นครลอสแองเจลิส โดยท่านกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแองเจลิส นายดำรง ใคร่ครวญ ได้ดำริที่จะจัดโครงการ Business Mission To Thailand และสามารถทำเป็นรูปธรรมจนสำเร็จ

1.จะมีโอกาสพบผู้นำทางด้านธุรกิจในหลาย ๆ ด้าน เพื่อให้พวกเราที่นี้ที่ส่วนใหญ่มีธุรกิจที่ต้องนำเข้าสินค้า หรือใช้สินค้าของประเทศไทย และขายสินค้าของประเทศไทยทุกวัน ให้ทราบถึง ศักยภาพ และคุณภาพของสินค้าของไทย ซึ่งพวกเราสามารถนำเข้ามาในอเมริกาได้อีกมากมาย เช่น สินค้าสมุนไพร เครื่องสำอาง อาหารกระป๋องที่เป็นเจ (Vegetarian) และกลับเป็นการสร้างสรรค์สัมพันธไมตรีที่ดีต่อกัน สร้างเครือข่ายระหว่างนักธุรกิจของที่นี่ และที่เมืองไทย ซึ่งจะมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นถึงปัญหาของตัวสินค้า คุณภาพ การตลาด ตลอดจนมาตรฐานของสินค้าในกรอบของกฎหมายที่บังคับใช้ที่นี่
2.จะมีโอกาสพบผู้นำภาครัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการส่งออก เช่นกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงแรงงาน และรัฐวิสาหกิจ SME Bank เพื่อให้รับทราบถึงปัญหาที่ธุรกิจไทยได้ประสบอยู่ในขณะนี้ และหาวิธีป้องกัน แก้ไข ทั้งในระดับรัฐบาล ต่อรัฐบาล เช่นในเรื่องการขาดแคลนแรงงาน ทางด้านร้านอาหาร พ่อครัว แม่ครัว หมอนวด การเพิ่มจำนวนวีซ่าที่ทางสถานทูตอเมริกาจะออกให้แบบมาทำงานชั่วคราว ครั้งละ 3 ปี (Guest Workers) H1 ให้มากขึ้น โดยผู้ที่มาจะสามารถอยู่แบบถูกต้องตามกฎหมาย
3.ปัญหาในการหาแหล่งเงินกู้ให้เจ้าของธุรกิจไทยที่นี่ได้ขยายตัวแบบมั่นคงถาวร ร้านอาหารไทยได้รับความนิยมอย่างมาก เราไม่สามารถพัฒนาเป็นระบบแฟรนไชส์ (Franchise) แบบ Panda Express ได้เพราะนักธุรกิจเรายังหาธนาคารที่จะให้กู้ได้ยาก อยากเห็นแบงก์ของคนไทยที่สามารถบริหารธุรกิจไทย ชุมชนไทย แบบครบวงจรได้ไหม SME Bank สามารถเข้ามามีส่วนผลักดันเป็นผู้นำให้นักลงทุนไทย และที่นี่เปิดแบงก์ไทยได้หรือไม่ ชุมชนเกาหลี จีน ญี่ปุ่น เวียดนาม อินเดีย ต่างเห็นถึงความสำคัญ และได้มีแบงก์ช่วยเหลือนักธุรกิจของเขา ชุมชนของเขาได้ขยับขยายเร็วมากกว่าเรา บ่อยครั้งที่นักธุรกิจไทยที่จะซื้อที่ทำการพาณิชย์เพื่อขยายกิจการแต่หาเงินกู้ไม่ได้ ไปเสียเปรียบกับคนซื้อใหม่ที่เป็นชาวเกาหลีที่เขาสามารถการันตีคนขายเพราะเขาติดต่อกับธนาคารของเขาให้เงินกู้ จ่ายคนขายได้รวดเร็วกว่าคนซื้อคนไทยหลายเท่า
4.ขอให้ภาครัฐช่วยหากลุ่มนักลงทุนทั้งที่นี่ และที่ประเทศไทยในการหาแหล่งพัฒนาไทยทาวน์แห่งใหม่ เพราะไทยทาวน์ในฮอลลีวูดในปัจจุบันพวกเราไม่สามารถที่จะขยับขยายซื้อที่ดินเป็นเจ้าของตึกได้ เรามีเจ้าของที่ดินเพียงไม่กี่ผืน ส่วนใหญ่ 90% ยังเป็นคนเช่าที่ต้องจ่ายค่าเช่าที่แพงขึ้นทุกปีกับเจ้าของที่ชาติอื่น ทำมาได้เท่าใดก็ต้องมาจ่ายค่าเช่าหมด ฉะนั้นเราควรมาศึกษาในความเป็นไปได้ที่จะหาที่ที่ถูก มีชุมชนเอเชียอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงกัน เช่น China Town, Korean Town, Little Tokyo ซึ่งเรายังสามารถเข้าซื้อที่ถูกได้ เข้าสมทบกับพวกเอเชียได้อีกหลายแห่ง เราสามารถมีตึกของหน่วยราชการต่าง ๆ เช่น สถานกงสุล, ศูนย์วัฒนธรรม, ททท., ไทยเทรด, บีโอไอ มาอยู่ในไทยทาวน์แห่งใหม่นี้ เพื่อให้การบริการ และให้ประชาชนได้เห็นถึง Snap Shot ของประเทศไทยได้เลย ซึ่งเราก็สามารถมีไทยทาวน์ที่ฮอลลีวูดอยู่เหมือนเดิม แต่เราก็ยังมีที่ใหม่ที่ใหญ่กว่า และเป็นศูนย์รวมของศิลปวัฒนธรรมอาหาร สินค้าอื่น ๆ ได้อีก
5.ขอให้รัฐบาลสนับสนุนให้ TCCC ว่าจ้างทนายความช่วยเหลือสมาชิกในด้านแรงงาน กรณีที่ถูกฟ้องจากลูกจ้าง หรือเรื่องอื่น ๆ จากหน่วยราชการของรัฐในราคาประหยัดเป็น Consultant ประจำ
6.ต้องช่วยสนับสนุนเงินให้สภาหอการค้าว่าจ้าง Lobbyist เพื่อดูแลเรียกร้องรักษาผลประโยชน์ของธุรกิจและชุมชนไทยแบบถาวร
กระผมจึงขอสรุปผลจากการเยี่ยมเยียนในครั้งนี้โดยสังเขปดังนี้ 1)สภาหอการค้าไทยอเมริกันสามารถแนะนำตัวเองให้ภาครัฐและภาคเอกชนได้รับรู้ถึงจุดประสงค์ของเราในการที่จะช่วยเหลือธุรกิจของไทยในประเทศสหรัฐอเมริกา และชุมชนไทยโดยการเป็นตัวแทนในการเรียกร้องสิทธิประโยชน์ของเรากับรัฐบาลสหรัฐฯ
2)เราได้แนะนำและสรุปปัญหาของชุมชนไทย โดยเฉพาะปัญหาการขาดแคลนแรงงานโดยทาง รมต.ว่าการกระทรวงแรงงาน จะเสนอให้มีทูตแรงงานในสหรัฐฯ เป็นครั้งแรกให้เข้ามาดูแลแก้ไขปัญหาอีกแรงหนึ่ง ส่วนปัญหาการต่อบัตรประชาชนในต่างประเทศซึ่ง รมว.กระทรวงมหาดไทยได้รับปากที่จะดำเนินการโดยผ่านทางกระทรวงการต่างประเทศให้แล้วเสร็จภายใน 3-5 เดือน ซึ่งได้สร้างความปิติยินดีแก่ประชาชนในประเทศสหรัฐฯ ซึ่งมีจำนวนกว่า 2.5 แสนคน ในเรื่องธนาคารชุมชนไทย ได้เรียนให้ รมว.กระทรวงพาณิชย์ได้รับทราบถึงความจำเป็นเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเชิงธุรกิจกับชุมชนอื่น ๆ ส่วนในเรื่องการพัฒนาไทยทาวน์ได้เสนอให้รัฐบาลจัดซื้อสถานที่เพื่อใช้เป็นศูนย์วัฒนธรรมและเผยแพร่ผลิตภัณฑ์ไทย ซึ่งไทยทาวน์มีร้านอาหารและร้านค้าของไทยเป็นจำนวนมาก แต่พวกเรายังเป็นแค่ผู้เช่าเท่านั้น ถ้ามีการจัดซื้อสถานที่ดังกล่าว เรายังอยากเห็นทีมไทยแลนด์มาประจำที่ตึกนี้ ซึ่งรวมถึงสถานกงสุลไทย การท่องเที่ยว ศูนย์พาณิชย์ต่างประเทศ กรมส่งเสริมการลงทุน สภาหอการค้าไทยฯ และโครงการโอทอป เรื่องสุดท้ายคือการจัดงาน Thai New Year Festival ได้เสนอให้ทางรัฐบาลไทยเข้ามารับเป็นเจ้าภาพหลักในการออกค่าใช้จ่ายประมาณ USD. 150,000 ต่อปีในการส่งเสริมวัฒนธรรม สินค้า อาหารไทย มวยไทย นวดแผนไทย ซึ่งงานนี้ได้จัดมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 8 ปี โดยทางซิตี้อนุญาตให้เราปิดถนน Hollywood and Western ในวันอาทิตย์แรกของเดือนเมษายนทุกปี มีผู้เข้าร่วมงานทั้งชาวไทย และต่างชาติกว่าแสนคน ปัจจุบันมีองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรเป็นผู้จัดการด้วยการบริจาคจากบริษัท และธุรกิจไทยตลอดจนหน่วยงานของรัฐบาลไทยบางส่วน

และจากการได้พบกับผู้บริหารของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ซึ่งตอนนี้มีคุณสมเกียรติ อนุราษฎร์ รองประธานกรรมการ บอกกับพวกเราว่า สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย (Board of Trade of Thailand) และหอการค้าไทย (The Thai Chamber of Commerce) มีเจ้าหน้าที่ 200 กว่าคน มีผู้บริหารประมาณ 60 ท่าน ด้วยงบประมาณ 120 ล้านบาทต่อปี ผมเลยถามว่าท่านเอาเงินมาจากไหน ก็ได้คำตอบชัดเจนอีกมี 3 แหล่งตามระดับความสำคัญ

1.ได้อานิสงส์จากกระทรวงพาณิชย์ให้เป็นผู้ออกใบรับรองการส่งออกสินค้า (Certificate of Origin) เป็นรายได้หลักที่รัฐบาลช่วยเหลือทางอ้อม เก็บค่าธรรมเนียม
2.จากการเปิดแสดงสินค้าต่าง ๆ ประจำปี Thai Fex World of Food, หอการค้าแฟร์ เป็นรายได้อันดับ 2
3.จากค่าสมาชิกซึ่งมีอยู่ทั่วประเทศประมาณ 28,000 คน

ฉะนั้น การที่รัฐบาลไทยโดยกระทรวงต่างประเทศ หรือกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจไทย ชุมชนไทยที่อเมริกา จะนำเงินงบประมาณมาช่วยองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรต่าง ๆ จึงเป็นเรื่องปกติที่ควรจะทำอย่างยิ่ง เพราะพวกเราทำหน้าที่เสมือนเป็นทูตให้กับประเทศไทย เผยแพร่อาหารไทย มวยไทย นวดไทย และการท่องเที่ยวอยู่ทุก ๆ วัน ทำเงินให้ประเทศไทยในการซื้อสินค้า และอื่น ๆ มหาศาล ชุมชนเกาหลี ญี่ปุ่น จีน เข้าช่วยชุมชนของเขาอย่างมากมาย เพราะองค์กรจะเข้มแข็งก็ต้องมีปัจจัยทั้ง 4 ที่ผมได้กล่าวมาแล้วข้างต้น

สุดท้ายนี้ คณะบริหารชุดนี้กำลังจะหมดวาระการทำงานในเดือนมิถุนายนที่จะถึงนี้ ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าท่านสมาชิกที่สนใจสามารถสละเวลาความรู้ ความสามารถและทุนทรัพย์ ในการดำเนินการของหอการค้าฯ ก็โปรดสมัครเข้ามาเพื่อช่วยกันกำหนดนโยบาย แนวทางปฏิบัติเพื่อให้ธุรกิจคนไทยก้าวหน้าพัฒนาให้มีความมั่นคงสืบไป


โชคดีครับ
คิด ฉัตรประภาชัย