ข้อแนะจาก วิชา “ความสุข”
เมื่อต้นปี 2018 ที่มหาวิทยาลัย Yale วิชา “ความสุข” (Psychology and the Good Life) เป็นที่นิยมของนักศึกษาเป็นอย่างมาก มีนักศึกษาลงเรียนถึง 1,200 คน ซึ่งเป็นประวัติการณ์ของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ที่มีอายุกว่า 320 ปี
ต่อมาก็มีการปรับปรุงวิชานี้ให้เรียนฟรีออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ Coursera โดยใช้ชื่อว่า “The Science of Well-Being” (วิทยาศาสตร์แห่งสุขภาวะ) และต่อมาเมื่อโควิด-19 ระบาด วิชานี้ก็เป็นที่นิยมอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่ตามมา จนมีคนลงทะเบียนรวมทั้งสิ้นถึง 3.3 ล้านคน
ผู้เข้าเรียนส่วนใหญ่บอกตรงกันว่า.. วิชานี้ได้เปลี่ยนชีวิตอย่างสำคัญ ปัจจุบันวิชาลักษณะนี้ได้กระจายสู่มหาวิทยาลัยจำนวนมากในสหรัฐ อเมริกา และเป็นที่นิยมอย่างมากโดยใช้หลายชื่อ เช่น Psychology of Happiness / Positive Psychology
จุดเริ่มต้นของวิชามาจากแนวคิดของ Martin Seligman นักจิตวิทยาคนสำคัญในทศวรรษ 1990 ว่าวิชาจิตวิทยาควรเน้นมากขึ้นไปที่การพัฒนาสุขภาพจิตแทนการแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตดังที่เป็นมาเนิ่นนาน สาขาของวิชาจิตวิทยาที่เรียกว่า Positive Psychology จึงเกิดขึ้น
แนวคิดนี้เน้นการใช้ความเข้มแข็งของบุคลิกภาพและพฤติกรรม ในการทำให้ปัจเจกบุคคลสามารถสร้างชีวิตที่มีความสุข มีความหมายและเป้าหมาย
ลองมาดูกันว่า 10 ข้อแนะจากวิชาที่ Yale ดังกล่าวแล้วซึ่งทำให้เกิดชีวิตที่มีความสุขนั้นมีอะไรบ้าง ผู้สอนเน้นว่าไม่ต้องทำทุกอย่างตามที่ระบุก็ได้ หากลงมือทำจริงและเลือกทำสัก 3 อย่าง ก็จะเห็นผล
(.)ข้อแรก: “ยิ้ม” เป็นสิ่งที่ง่ายและมีพลัง (การเป็น“The Land of Smiles” ของบ้านเรามีพลังเสน่ห์เสมอ) จงยิ้มเสมอถึงแม้บางครั้งจะไม่รู้สึกอยากก็ตาม
การยิ้มปลดปล่อยสาร serotonin (สารตัว กลาง เชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาทกับสมองและส่วนอื่นของร่างกาย) และ dopamine (ฮอร์โมนที่ให้เกิดความรู้สึกที่ ดี ๆ เกิดความพึงพอใจ) ในสมองของเรา
(.)ข้อสอง “3 สิ่งสำคัญยิ่ง” จดบันทึกความรู้สึกขอบคุณต่อสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในหนึ่งวันที่ผ่านมาก่อนนอน เลือกมาประมาณ 3-5 เรื่องทั้งเล็กและใหญ่
ถามตัวเองว่าทำไมสิ่งเหล่านี้จึงเกิดขึ้น? เป็นเพราะโชค? บางคนเมตตาเรา? หรือเราเมตตาเขา? เพราะเราทำงานหนัก? หรือเป็นเพราะทัศนคติของเรา?
การสะท้อนคิดเช่นนี้จะช่วยให้เรามองเห็นสิ่งที่เกิดขึ้นในบริบทที่กว้างขวางและเกิดความรู้สึกในด้านบวก เช่น ได้ดื่มกาแฟเลิศรส ทำโครงการใหญ่จบลง ได้เลื่อนตำแหน่ง ได้รับของขวัญ มีคนซาบซึ้งกับสิ่งที่เราทำ หกล้มหัวแตกเพียงเล็กน้อย ฯลฯ
ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ.โดย…วรากรณ์ สามโกเศศ