ไลฟ์สไตล์
จอมพล
อาหารเสริมไม่ปลอดภัยเสมอไป

คนสมัยนี้ตระหนักดีถึงความสำคัญของการได้รับสารอาหารแร่ธาตุและวิตามินที่ครบถ้วน ประกอบกับมีสินค้าที่ออกมาสู่ตลาดเพื่อสนองความต้องการของคนรุ่นใหม่ที่ใส่ใจในสุขภาพของตน ด้วยการผลิตอาหารเสริมนานาชนิดออกมาจนผู้บริโภคเลือกไม่ถูกว่าควรจะเลือกรับประทานอะไรดีที่จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงหรือปลอดจากโรคภัยไข้เจ็บ ไปๆมาๆเลยกลายเป็นทานมันเสียหมดทุกอย่างไม่ว่าจะเป็น น้ำมันตับปลา ไวตามินรวม แคลเซี่ยม ไวตามินอี น้ำมันพริมโรส กลูโคซามีน ไวตามินซี สาหร่ายเกลียวทอง สารพัดสารพันจนมื้ออาหารหนึ่งๆทานยาเหล่านี้เป็นกำมือ

เป็นการยากเหลือเกินที่เราจะรู้ว่าอาหารเสริมเหล่านี้ ผลิตมาได้คุณภาพหรือมีสารอาหารอยู่อย่างครบถ้วนเฉกเช่นฉลากที่ติดหรือไม่ และเราจะรู้บ้างไหมว่าอาหารเสริมเหล่านี้อาจจะมีสารเจือปนที่เป็นโทษต่อร่างกายมากไปเสียกว่าให้คุณต่อร่างกายเสียอีก

เมื่อเร็วๆนี้ได้อ่านข้อความที่โพสต์ต่อมาอีกทีในเฟสบุ๊ค เป็นบทความที่เขียนโดย Mike Adams, จากนิตยสาร NaturalNews และมีผู้เเปลเเเละเรียบเรียงเป็นภาษาไทยโดยใช้นามปากกาว่า Wellness 2012 ผู้เขียนเห็นว่ามีประโยชน์ดี และควรจะรู้ไว้ประดับสมอง เผื่อจะได้ใช้เวลาเลือกซื้ออาหารเสริมมารับประทานดังนี้ สารประกอบในอาหารเสริม วิตามิน สารบำรุงร่างกาย ที่ควรระวัง ตรวจสอบให้ดีก่อนซื้อหามารับประทาน กระเเสอาหารเสริมที่ร้อนเเรงทำให้โรงงานไร้คุณภาพจำนวนมากกระโดดเข้ามากอบโกยจากความมักง่ายบนความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้บริโภค ต่อจากนี้ไปให้สำรวจตรวจสอบว่ามีสารประกอบเหล่านี้ในอาหารเสริม วิตามินหรือไม่ เพื่อความคุ้มค่าเงินที่ซื้อหา


#1) Maltodextrin มอลโตเด็กซ์ตริน(จากข้าวสาลีดัดเเปลงพันธุกรรม) หากมี มอลโตเด็กซ์ตรินให้มีเฉพาะ tapioca maltodextrinเท่านั้น(หากไม่มีเสียเลยจะดีที่สุด)

#2) Vitamin C / acorbic acid กรดเเอสคอร์บิค(จากข้าวสาลีดัดเเปลงพันธุกรรม) เป็นความจริงที่จำต้องเเจ้งว่าวิตามิน C หรือกรดเเอสคอร์บิค เกือบทั้งหมดที่จำหน่ายตามร้านอาหารเสริมล้วนผลิต จากข้าวสาลีดัดเเปลงพันธุกรรม เท่ากับว่าเป็นวิตามินดัดเเปลงพันธุกรรม)

#3) Hexane-extracted soy and rice proteins โปรตีนจากถั่วเหลืองเเละจากข้าวกล้อง ส่วนมากที่จำหน่ายนำเข้ามาจากประเทศจีนซึ่งใช้กรรมวิธีสกัดด้วยตัวทำ ละลายhexaneซึ่งเป็นสารเคมีอันตรายต่อร่างกายหากตกค้างหลงเหลือ ให้เสาะหาคำว่า certified organic เเทนคำว่า "natural" ซึ่งมักลวงให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด

#4)ผลิตภัณฑ์ที่อ้างว่าใช้ล้างพิษ detox ที่มีปริมาณเเร่ธาตูอลูมิเนียมสูงๆนั้นก่อให้เกิดอันตรายต่อตับเเละไต บางผลิตภัณฑ์ผสมอลูมิเนียมเกินกว่า1200ppmซึ่งเป็นเรื่องผิดกฏหมายเเละสาธารณสุขในอเมริกา

#5) ตะกั่ว ปรอท เเละสารหนูในสมุนไพร(โดยเฉพาะสมุนไพรจากประเทศจีน)

#6) เกลือเเร่อนินทรีย์ ที่มักผสมในวิตามินราคาถูกๆ เช่นผงเหล็ก เเคลเซี่ยม(จากการเอาเปลือกหอยมาบดปั่นเป็นผง) เเมกนีเซียมอ็อกไซด์ (เเมกนีเซียมที่ดูดซึมในร่างกายได้ดี เช่น Magnesium orotate , magnesium malate) การผสมเเร่ราคาถูกๆเหล่านี้ไม่สามารถดูดซึมเอาไปใช้ประโยชน์ในร่างกาย อันที่จริงเเล้วหากเราต้องการเกลือเเร่ที่ร่างกายเอาไปใช้งานได้ ควรกินพืชผักหรือนำมาคั้นเป็นน้ำผักผลไม้จะปลอดภัยเเละมีประสิทธิผลมากกว่า ไปทานเเร่อนินทรีย์เหล่านั้น

#7) Carrageenan คาราจีเเนน เพราะ The Cornucopia Institute มีการวิจัยพบว่า คาราจีเเนนอาจเป็นสาเหตุของการอักเสบในทางเดินอาหาร หรืออาจเกี่ยวข้องกับมะเร็งในลำไส้ของสัตว์ทดลอง ดังนั้นสถาบัน Cornucopia จึงเเนะนำให้คนที่มีปัญหาเรื้อรังกับอาการลำไส้อักเสบ ปวดมวนท้องบ่อยๆ ท้องเสียเรื้อรัง irritable bowel syndrome/IBS ควรงดการบริโภคคาราจีเเนนเเละเฝ้าสังเกตุอาการดูว่าดีขึ้นหรือไม่ อย่างไรก็ตามปัญหาเกี่ยวกับคาราจีเเนนก็ยังไม่น่าห่วงเท่ากับเเอสปาเเตม ผงชูรส เเละผลิตภัณ์ที่ได้จากการดัดเเปลงพันธุกรรม

#8) Acrylamides เป็นสารก่อมะเร็งที่เกิดึ้นระหว่างการปรุงอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการ ผัดหรือทอดด้วยความร้อนสูง เช่นมันฝรั่งทอด องค์การอาหารเเละยาในอเมริกา (FDA) ได้เคยตีพิมพ์รายงานว่า มันฝรั่งทอดเป็นอาหารเเละของทานเล่นที่มีปริมาณ acrylamide สูงที่สุดในบรรดาอาหารที่ทดสอบเทียบในคราวเดียวกัน นอกจากนี้ยังพบได้ บ้างในน้ำลูกพรุน ซีเรียล ที่น่าสนใจก็คือ วิตามิน C สามารถยับยั้งมิให้ acrylamides ทำอันตรายร่างกายได้ การดื่มน้ำผลไม้ที่มีวิตามินC. ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยทุกครั้งที่เราทานคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการผัดหรือทอด ด้วยความร้อนสูง ให้ทานผักผลไม้ที่มีวิตามิน C เสริม ทุกครั้ง

#9)ผงชูรสที่เเฝงเร้น ในรูปของสารสกัดจากยีสต์ การเเจ้งส่วนประกอบว่า สารสกัดจากยีสต์ yeast extract ดูจะทำให้ผู้บริโภคมีทัศนคติดีขึ้น กว่าคำว่าผงชูรส เเต่หากผู้บริโภคทราบว่า สารสกัดจากยีสต์นั้นที่จริงก็คือผงชูรสซ่อนรูปหรือเเฝงเร้นนั่นเอง โดยมักเเจ้งในฉลากเป็น "autolyzed yeast extract" or "torula yeast" or "hydrolyzed vegetable protein. ผงชูรสเเฝงเหล่านี้มักผสมใน ซุปกระป๋อง ซอส อาหารสำเร็จรูป อาหารเจ ขนมกรุบกรอบ

#10) ฟลูออไรด์ในชาเขียว เพราะเป็นธรรมชาติของต้นชาเขียวที่รากมักดูดซึมเเร่ฟลูออไรด์ในดินได้มาก หากเเหล่งดินเพาะปลูกนั้นมีเเร่ฟลูออไรด์สูงๆ ทำให้ใบชาอาจมีเเร่ฟลูออไรดสูงถึง 25ppm. การได้รับเเร่ฟลูออไรด์มากเกินขนาด อาจทำให้ฟันเปลี่ยนสี กระดูกผุ เเละเป็นสารก่อมะเร็ง


หวังว่าบทความนี้คงไม่ทำให้กลัวจนไม่กล้าทานอาหารเสริม เอาเป็นว่าต้องพิจารณาก่อนให้รอบคอบก่อนจะซื้อมาทาน เลือกเอายี่ห้อที่มีชื่อเสียงหน่อย อย่างน้อยก็พอมั่นใจได้ว่าไม่มั่วมาหลอกขาย อาจจะแพงกว่านิดหน่อยแต่ก็นับว่าคุ้มค่า การเลือกก็ควรจะซื้อจากห้างหรือร้านที่มั่นใจ เพราะร้านอาหารเพื่อสุขภาพที่มีชื่อเสียงนั้น มักจะคัดสินค้าคุณภาพดีเพื่อไม่ให้เสียชื่อร้านเขาที่ขายของไม่ดี ดีกว่าไปซื้อตามร้านโนเนมที่เราไม่รู้จัก หรือซื้อตามเวปไซด์ด้วยเห็นว่าราคาถูกกว่าท้องตลาด อย่างนี้ต้องระวังให้ดีครับ