ไลฟ์สไตล์
จอมพล
เรื่องน่ารู้ในตัวเรา

ได้อ่านพบเรื่องน่ารู้ในตัวของมนุษย์ บางเรื่องก็ไม่เคยนึกถึงมาก่อน ว่าอันร่างกายของเรานี้นั้นเป็นสิ่งมหัศจรรย์แทบไม่น่าเชื่อ เกร็ดเล็กๆน้อยๆที่นำมาลงให้ท่านผู้อ่านไลฟ์สไตล์วันนี้ คงจะทำให้ท่านทึ่งในความอัศจรรย์ของตัวเราเอง ลองอ่านดูน่าสนใจครับ

มนุษย์พลังงาน
เชื่อ หรือไม่ว่าร่างกายของคนผลิตกระแสไฟฟ้าได้ คนแต่ละคนจะมีพลังงานเทียบเท่ากับการเปิดหลอดไฟฟ้าขนาด 120 วัตต์ เพราะคนที่กินอาหารเข้าไปปริมาณ 2,500 แคลอรีในแต่ละวันจะให้พลังงานความร้อน 104 แคลอรีต่อชั่วโมง ซึ่งเทียบเท่ากระแสไฟฟ้าที่มีพลังงาน 120 วัตต์

กะพริบตา
ตลอด ชีวิตของคนเรานั้นเราต้องกะพริบตาถึง 250 ล้านครั้งทีเดียว เพราะเราจะต้องกะพริบตาทุก ๆ 6 วินาที ทำให้กล้ามเนื้อตาเคลื่อนไหวประมาณ 10,000 ครั้งต่อวัน ถ้าเปรียบกับการทำงานของกล้ามเนื้อขาแล้ว จะเท่ากับวิ่งระยะทาง 80 กิโลเมตรต่อวัน

สมองบริโภค
เชื่อ หรือไม่ว่าตอนแรกเกิดสมองของเราหนักประมาณ 3% ของน้ำหนักตัวเท่านั้น แต่เมื่ออายุได้ประมาณ 15 ปี สมองจะหนักถึง 1.4 กิโลกรัมและจะมีขนาดคงที่ สมองเติบโตได้เพราะใช้พลังงานจากอากาศที่เราหายใจเข้าไป 20% และใช้เลือดหล่อเลี้ยงถึง 15% ของเลือดทั้งหมดในร่างกาย

กระบวนการคิด
นัก วิทยาศาสตร์พิสูจน์แล้วว่า อิริยาบถต่าง ๆ มีผลต่อการคิดและการตัดสินใจของมนุษย์ การนอนคิดจะทำให้ความคิดกว้างไกล การยืนทำให้ความคิดแคบลงสามารถตัดสินใจได้เร็วขึ้น ส่วนการนั่งเป็นอิริยาบถที่เหมาะกับการตัดสินใจที่ไม่รีบร้อนเท่าใดนัก ผม งอก โดยปกติ ใน 1 สัปดาห์ผมจะงอกออกมา 2 มิลลิเมตรใน 1 วัน จะมีช่วงที่ผมงอกได้ดี 2 ช่วง คือ ระหว่างเวลา 10.00 ? 11.00 น. และ 16.00 ? 18.00 น. แต่ไม่ต้องเอากระจกไปส่องดูการงอกของเส้นผมหรอกนะ เพราะมันแทบจะมองไม่เห็นเลย

เส้นขนแข็งแรง
โดย เฉลี่ยแล้ว คนเราจะมีเส้นขนประมาณ 5 ล้านเส้นทั่วร่างกาย ยกเว้นบริเวณริมฝีปาก ฝ่ามือและฝ่าเท้า เส้นขนที่แข็งแรงที่สุดคือหนวด เชื่อหรือไม่ว่าหนวดแข็งแรงพอ ๆ กับลวดทองแดงที่มีขนาดเท่ากันเลยทีเดียว

ตาแหลมคม
ตา ของเหยี่ยวสามารถมองเห็นแมลงวันที่อยู่ในระยะครึ่งไมล์ได้ ส่วนเสือดาวก็สามารถมองเห็นคนกะพริบตาที่ระยะห่าง 100 หลาได้ ตาของคนก็มีความพิเศษเช่นเดียวกัน เพราะสามารถแยกแยะความแตกต่างของสีได้มากถึง 17,000 สี

ตาที่สาม
เชื่อ หรือไม่ว่ามนุษย์มีสามตา ตาที่สามนี้ก็คือต่อมไพเนียลซึ่งอยู่ด้านหลังของกะโหลกศีรษะ ภายในต่อมมีสารเคมีที่มีชื่อว่าเซโรโตนินอยู่เป็นจำนวนมาก เชื่อกันว่า สารชนิดนี้ช่วยส่งผลให้มนุษย์มีการคิดอย่างสมเหตุสมผล นักวิทยาศาสตร์จึงเปรียบต่อมนี้ว่าเป็นตาที่สามของมนุษย์

ฮัดเช้ย!
เมื่อ มีสิ่งแปลกปลอมเข้ามาทำให้จมูกของเราเกิดการระคายเคือง เราจะจามออกมาโดยอัตโนมัติ ทุกครั้งที่เราจามจะมีน้ำลายฟุ้งกระจายออกมาถึง 100,000 หยด ด้วยอัตราเร็ว 152 ฟุตต่อวินาที

ริมฝีปาก
เคย สงสัยกันหรือไม่ครับว่าทำไมริมฝีปากของเราจึงมีสีแดงมากกว่าส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะผิวหนังบริเวณริมฝีปากบางกว่าส่วนอื่น ๆ นั่นเอง จึงทำให้สามารถมองเห็นสีของเลือดใต้ผิวหนังได้

การทรงตัว
เชื่อ หรือไม่ว่าหูมีผลต่อการทรงตัว อวัยวะที่ช่วยให้เราสามารถทรงตัวอยู่ได้คือ เซมิเซอร์คิวลาร์ คาแนล (semicir-cular canel) ในหูซึ่งภายในมีของเหลวที่ไวต่อการกระตุ้นของเหลวนี้จะทำหน้าที่ในการรับรู้ สมดุล หากเราหมุนไปรอบ ๆ ตัวเร็ว ๆ หลาย ๆ ครั้ง จะทำให้อวัยวะนี้เกิดความสับสน เราจึงรู้สึกเวียนศีรษะ

เสียงกรน
เสียงกรนเป็นเสียงที่สร้างความรำคาญแก่ผู้ได้ยินเพราะดังพอ ๆ กับเสียงของสว่านไฟฟ้าซึ่งดังถึง 70 เดซิเบล

พลังปอด
เชื่อ หรือไม่ว่าปกติเราจะหายใจเอาอากาศเข้าไปประมาณ 6 ลิตรต่อนาที แต่ระหว่างออกกำลังกายและหลังออกกำลังกายใหม่ ๆ เราอาจหายใจเอาอากาศเข้าไปได้มากถึง 100 ลิตรต่อนาที

น้ำหนักวิญญาณ
เชื่อ หรือไม่ครับว่าวิญญาณของพวกเราก็มีน้ำหนักด้วยเหมือนกัน นักวิทยาศาสตร์ทดลองชั่งน้ำหนักของวิญญาณโดยชั่งน้ำหนักของคนในขณะที่มี ชีวิตอยู่เปรียบเทียบกับน้ำหนักหลังจากเสียชีวิตทันที พบว่าน้ำหนักหายไป 21 กรัม จึงสรุปว่าดวงวิญญาณของพวกเรามีน้ำหนัก 21 กรัมด้วย

ไม่มีน้ำตา
รู้ หรือปล่าวว่าตอนที่เราอายุ 4-5 เดือน เราร้องไห้ไม่มีน้ำตากันหรอกครับ แม้จะร้องเสียงดังแค่ไหนก็ตาม ที่เป็นเช่นนี้เพราะต่อมน้ำตาของคนเราจะพัฒนาขึ้นหลังจากเกิดมาแล้ว 4-5 เดือน ตอนนี้พวกเราคงจะร้องไห้มีน้ำตากันทุกคนแล้วนะครับ

หิวเพราะกลิ่น
พอกลิ่น หอมของอาหารลอยมา พวกเราคงเคยรู้สึกหิวตามกลิ่นนั้นไปด้วยใช่ไหมล่ะ ก็กลิ่นอาหารเข้าไปกระตุ้นระบบการย่อยอาหารของเราน่ะสิครับ ทำให้น้ำย่อยในปากและท้องทำงาน เราจึงรู้สึกหิวทั้งๆที่บางครั้งเราไม่ต้องการกินอีกแล้ว

กระเพาะแข็งแกร่ง
ใน กระเพาะอาหารของเรามีน้ำย่อยที่มีฤทธิ์เป็นกรดสูงมาก จนสามารถละลายสังกะสีได้ แต่กรดเหล่านี้ไม่สามารถละลายผนังกระเพาะของเราได้ เนื่องจากทุกนาทีเซลล์ผนังกระเพาะเก่า 5000 เซลล์ จะถูกเซลล์ใหม่แทนที่และเปลี่ยนเป็นเซลล์ใหม่ทั้งหมดทุกๆ 3 วัน

ท้องร้องจ๊อกๆ
พวก เราเคยได้ยินเสียงท้องร้องเมื่อรู้สึกหิวบ้างไหมครับ สาเหตุที่ท้องร้องก็เพราะสมองซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุมความรู้สึกหิวของเรา จะคอยจัดลำดับการทำงานของกระเพาะอาหารและลำไส้ ถ้าในเลือดมีสารอาหารพอเพียง สมองก็จะสั่งให้ระบบย่อยอาหารทำงานช้าลง แต่เมื่อใดที่มีสารอาหารในเลือดน้อยระบบย่อยอาหารจะทำงานเร็วขึ้นเราจึงได้ ยินเสียงท้องร้อง

เรื่องน่ารู้ทางวิทยาศาสตร์ ตกใจจนหน้าซีด
เมื่อ เราตกใจหน้าจะซีด เนื่องจากเลือดบริเวณแก้มจะไหลย้อนกลับอย่างรวดเร็วเพื่อทำหน้าที่ฉุกเฉิน คือให้สารอาหารและออกซิเจนแก่กล้ามเนื้อส่วนอื่น เนื่องจากร่างกายไม่ได้เตรียมพร้อมอยู่ตลอดเวลาว่าจะต้องเผชิญความตกใจ เมื่อเลือดจากแก้มไหลออกไป หน้าเราจึงซีด

เขินอาย
เมื่อ เรารู้สึกเชินอายหน้าเราก็จะแดง โดยเฉพาะบริเวณแก้มและลำคอ เพราะขณะที่เราเขินอาย เซลล์ประสาทจะถูกกระตุ้นให้ปล่อยสารเคมีที่พลังงานสูงชื่อว่า เปปไตด์ (peptide) ออกมา ทำให้เส้นเลือดที่แก้มและลำคอขยายตัว หน้าของเราจึงแดงมากกว่าปกติ

มาจากดวงดาว
ร่าง กายของเราประกอบด้วยอะตอมจำนวนมาก อะตอมเหล่านี้มาจากไหน นักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มเชื่อว่าอะตอมเกิดมาจากดวงดาวที่ดับแล้วเมื่อ 5000 ล้านปี ก่อนที่จะมีพระอาทิตย์เกิดขึ้น และดวงดวงนี้เคยมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ก่อนเมื่อโลกเกิดขึ้น เซลล์ของสิ่งมีชีวิตนี้ก็ได้พัฒนาเรื่อยมาจนกลายเป็นคน

สารพัดสาร
เชื่อ หรือไม่ว่าในร่างกายของเรามีสารอยู่มากมาย เช่น มีฟอสฟอรัสในปริมาณที่มากพอจะทำหัวไม้ขีดไฟ 2,000 ก้าน มีไขมันพอที่จะทำสบู่ได้ 7 ก้อน มีเหล็กมากพอที่จะทำตะปูได้ 1 ตัว มีปูนขาวที่สามารถละลายน้ำแล้วนำไปทาห้องเล็ก ๆ ได้ 1 ห้อง มีซัลเฟอร์ 1 ช้อนชาและโลหะอีกประมาณ 30 กรัม

นอนแล้วสูง
การ นอนช่วยให้เราสูงขึ้นได้ เพราะเมื่อเรายืนหรือนั่ง แผ่นกระดูกอ่อนที่กระดูกสันหลังจะถูกแรงดึงดูดของโลกกดลง การนอนช่วยให้แรงกดนี้หายไป แผ่นกระดูกอ่อนที่ถูกกดก็จะพองตัว ทำให้เราสูงขึ้นได้อีก 8 มิลลิเมตร แต่เมื่อตื่นมาเราก็จะสูงเท่าเดิม

เรื่องน่ารู้ทางวิทยาศาสตร์ พลังกาย
ร่าง กายของคนเราแข็งแกร่งมากกว่าที่เราคิดเสียอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสามารถในการยกน้ำหนัก เช่น ถ้าเรานอนหลับโดยห่มผ้าหนัก 2.5 กิโลกรัม หายใจโดยเฉลี่ย 16 ครั้งต่อนาที และนอนนานประมาณ 8 ชั่วโมง ทรวงอกของเราสามารถยกน้ำหนักได้ถึง 20 ตัน

ฉันทำไม่ได้
สิ่ง ที่ร่างกายของคนเราไม่สามารถทำได้ คือหายใจและกลืนอาหารไปพร้อม ๆ กัน เพราะกระบวนการกลืนจะไปรบกวนกระบวนการหายใจด้วยการปิดกั้นอากาศไม่ให้ผ่าน เข้าไปขณะที่อาหารเคลื่อนจากปากไปยังคอหอยและผ่านไปที่กระเพาะอาหาร

หัวใจที่รัก
ใน ช่วงชีวิตของมนุษย์นั้น หัวใจจะสูบฉีดโลหิตประมาณ 500 ล้านลิตรและเต้น 2,000 ล้านครั้ง ดังนั้น ใน 1 วัน หัวใจจะสูบฉีดโลหิตมากกว่า 13,500 ลิตร และเต้น 100,000 ครั้ง แต่ละวันหัวใจจึงต้องทำงานหนักเพื่อให้ได้พลังงานมากพอ เชื่อหรือไม่ว่าพลังงานที่ได้นี้สามารถยกรถยนต์ได้สูงถึง 15 เมตรเลยทีเดียว

เรื่องของผิวหนัง
เชื่อ หรือไม่ว่าพื้นที่เพียง 1 ตารางนิ้วบนผิวหนังของเรานั้นประกอบไปด้วยเซลล์ถึง 19 ล้านเซลล์ ขน 60 เส้น ต่อมน้ำมัน 90 ต่อม ต่อมเหงื่อ 625 ต่อม เส้นเลือดยาว 19 ฟุต และเซลล์รับความรู้สึก 19,000 เซลล์

เซลล์เม็ดเลือด
มีผู้เชี่ยวชาญสันนิษฐานว่าถ้านำเซลล์เม็ดเลือดของเรามาต่อเป็นสายยาวจะสามารถพันรอบเส้นศูนย์สูตรได้ถึง 4 รอบเลยทีเดียว

เรื่องน่ารู้ทางวิทยาศาสตร์ น้ำในร่างกาย
น้อง ๆ คิดว่า ร่างกายของเรามีสถานะใดตามหลักวิทยาศาสตร์ หลายคนอาจจะคิดว่า มีสถานะเป็นของแข็ง แต่น้อง ๆ รู้หรือไม่ว่าร่างกายของเราประกอบด้วยน้ำถึง 2 ใน 3 ด้วยเหตุนี้ตลอดชีวิตของคน 1 คนจึงต้องดื่มน้ำเป็นจำนวนมากถึง 70,000 ลิตร

ความสำคัญของเกลือแร่
เกลือ แร่เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เพราะช่วยทำให้กระดูกแข็งแรง หากนำเกลือแร่ออกจากกระดูกโดยนำกระดูกไปแช่ในน้ำกรด เกลือแร่จะละลายออกมาจนสามารถนำกระดูกนั้นมาผูกให้เป็นปมได้

หนาวสั่น
อาการ หนาวสั่นเป็นอาการที่ร่างกายแสดงออกมาเพื่อรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้อยู่ ในระดับที่เหมาะสม หลังจากที่ได้รับความเย็นมากเกินไป เพราะความเย็นจะทำให้กระบวนการต่าง ๆ ในร่างกายทำงานช้าลง และเป็นอันตรายได้หากอุณหภูมิลดต่ำลงมาก ๆ ดังนั้น กล้ามเนื้อจึงผลิตความร้อนด้วยการทำให้กล้ามเนื้อหดตัวไปมาอย่างรวดเร็ว

สูงและต่ำ
ตอนกลาง วัน อุณหภูมิในร่างกายของเราอาจสูงขึ้นได้มาก ๆ หากเรารับประทานอาหารมื้อใหญ่ อยู่ในที่อากาศร้อน หรือออกกำลังกายอย่างหนัก แต่ตอนกลางคืน อุณหภูมิในร่างกายของเราจะค่อย ๆ ลดลงจนต่ำที่สุดเมื่อเรานอนหลับเพื่อเป็นการรักษาสมดุล

ลูกผู้ชาย
การ ที่ผู้ชายเชื่อว่าลูกผู้ชายต้องไม่หลั่งน้ำตานั้น ส่งผลกระทบให้ผู้ชายเป็นโรคเครียดได้ง่ายกว่าผู้หญิง เพราะมีโอกาสปลดปล่อยอารมณ์ที่ถูกกดดันได้น้อย รู้อย่างนี้แล้ว ใครที่กำลังเครียดก็ลองหาโอกาสปลดปล่อยอารมณ์บ้างก็ดีนะครับ แต่ไม่ใช่เอาแต่นั่งร้องไห้อยู่ล่ะ การออกกำลังกายก็สามารถช่วยคลายเครียดได้เช่นกัน

36. เรื่องน่ารู้ทางวิทยาศาสตร์ ตัวยารักษาโรค
การ ฉีดยาเป็นวิธีการรักษาโรคอีกวิธีหนึ่งที่แพร่หลาย ทราบหรือไม่ว่าแพทย์ได้ตัวยามาจากไหน ในยาฉีดนั้นมีส่วนประกอบของแบคทีเรียที่ทำให้มีฤทธิ์อ่อนลง ซึ่งได้มาจากเชื้อโรคของผู้ป่วยรายอื่นที่ป่วยเป็นโรคเดียวกับเรา นอกจากนำไปทำเป็นยาฉีดแล้ว เชื้อโรคเหล้านั้นยังสามารถนำไปทำเป็นวัคซีนป้องกันโรคได้อีกด้วย

หาวนอน
อาการ ง่วงเหงาหาวนอนเกิดจากการที่เรารู้สึกเหนื่อยหรืออ่อนเพลีย ระบบทางเดินหายใจของเราจึงทำงานช้าลงเป็นผลให้กล้ามเนื้อคอหอยปิดโดย อัตโนมัติ ทำให้ร่างกายต้องการอากาศเพิ่มขึ้น เราจึงต้องหาวเพื่อเอาอากาศเข้าไปใช้ในกระบวนการหายใจ

ใบหน้า
วัน หนึ่ง ๆ เราอาจมีอารมณ์และความรู้สึกเหล่านั้นถูกถ่ายทอดออกมาบ่อยครั้งทางใบหน้า เชื่อหรือไม่ว่ากล้ามเนื้อทั้งที่เป็นวงกลมและเป็นเส้นบนใบหน้าสามารถแสดง อารมณ์ที่หลากหลายได้มากกว่า 1,000 รูปแบบ

นอนหลับ
ขณะ นอนหลับเราสามารถเรียนรู้ได้หรือไม่ ในสมัยก่อนนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ามนุษย์ไม่สามารถเรียนรู้ในขณะนอนหลับได้ แต่จากการทดลองอย่างละเอียดของนักวิทยาศาสตร์รุ่นหลังพบว่า มนุษย์จะไม่สามารถเรียนรู้ได้ในขณะที่นอนหลับสนิท แต่จะสามารถเรียนรู้ได้ในขณะที่อยู่ในช่วงสะลึมสะลือ

ล้มตัวลงนอน
เชื่อ หรือไม่ว่า ในบรรดาสิ่งมีชีวิต มีสัตว์เพียง 2-3 ชนิดเท่านั้น ที่นอนหลับโดยเอนหลังแนบกับพื้น และสัตว์ชนิดหนึ่งที่สามารถทำเช่นนี้ได้ก็คือมนุษย์

เรื่องน่ารู้ทางวิทยาศาสตร์?น้ำหนักลด
ไม่ ว่าเราจะมีน้ำหนักมากน้อยเพียงใดก็ตาม น้ำหนักของเราจะสามารถลดลงได้ 300 กรัม ทุกวันในขณะที่เรานอนหลับแต่อย่าเพิ่งดีใจไปนะครับ เพราะทันทีที่ตื่นขึ้นมา น้ำหนักของเราก็จะเท่าเดิม