ไลฟ์สไตล์
จอมพล
วันอีสเตอร์

ผู้เขียนได้เคยเขียนเรื่องของความเป็นมาของวันอีสเตอร์แล้วครั้งหนึ่ง แต่ยังมีท่านผู้อ่านหลายท่านที่ปรารถนาจะให้นำเรื่องประวัติของวันอีสเตอร์มาลงให้ได้อ่านกันอีก ผู้เขียนจึงค้นประวัติของวันอีสเตอร์มานำเสนออีกครั้ง โดยได้คัดเรื่องที่แปลแล้วจาก History Channel โดยทีมงานของทรูปลูกปัญญา ดังนี้


อีส เตอร์ วันที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในปฏิทินของชาวคริสต์ เป็นการเฉลิมฉลองการฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซู แล้วปาฏิหาริย์นี้เกี่ยวข้องอะไรกับกระต่ายและไข่หลากสีด้วย คำตอบซ่อนอยู่ในพิธีกรรมและประเพณีที่สืบต่อกันมาเป็นหลายร้อยชั่วอายุคน


ตาม บันทึกในพระคัมภีร์ใหม่ พระเยซูและพระอัครธรรมฑูต (The Apostle) เดินทางไปที่เมืองเยรูซาเลม(Jerusalem) เพื่อประกอบพิธี Passover ซึ่งเป็นเทศกาลศักดิ์สิทธิ์ของชาวยิวเพื่อรำลึกถึงการที่ชาวฮิบรูได้รับการ ปลดปล่อยจากความเป็นทาส หลังอาหารค่ำในพิธี Passover พระเยซูทรงถูกจับกุม และในวันที่เรียกกันในปัจจุบันว่า วันศุกร์ประเสริฐ (Good Friday) พระเยซูก็ทรงสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขน แต่เพียงสองวันนับจากนั้น ท่านก็ทรงฟื้นคืนพระชนม์

ชนชาติยิวเป็นคนกลุ่มแรกที่เริ่มเฉลิมฉลอง การฟื้นคืนพระชนม์นี้ โดยคาดกันว่าอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาล Passover ที่จริงแล้ว การเฉลิมฉลองเทศกาลอีสเตอร์เดิมเรียกว่า Pascha ซึ่งมาจากคำว่า Pasach คำในภาษายิวที่แปลว่า Passover

เดิมที เทศกาลอีสเตอร์เฉลิมฉลองกันในวันที่สองถัดจากวัน Passover ดังนั้นมันอาจจะเป็นวันไหนก็ได้ในหนึ่งอาทิตย์ แต่วันอีสเตอร์ที่ตรงกับวันพุธ ออกจะรู้สึกแปลกๆอยู่

ในปี ค.ศ. 325 จักรพรรดิคอนสแตนติน (Constantine) ของอาณาจักรโรมัน และที่ประชุมแห่งไนเซีย (The Council of Nicaea) ตัดสินว่าเทศกาลอีสเตอร์ควรต้องตรงกับวันอาทิตย์ ซึ่งเป็นวันที่พระเยซูคริสต์ทรงฟื้นคืนพระชนม์ขึ้นมา วันอีสเตอร์ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์นั้น จะเป็นวันอาทิตย์แรก หลังพระจันทร์เต็มดวงในวัน Spring Equinox ซึ่งอาจจะเป็นวันไหนก็ได้ระหว่างวันที่ 22 มีนาคม-25 เมษายน

ในช่วง เดียวกันนี้ ชาวคริสต์ได้เริ่มธรรมเนียมเฉลิมฉลองเทศกาลอีกสเตอร์ขึ้นเป็นอย่างแรก นั่นคือธรรมเนียมการการจุดเทียนปัสกา (Paschal Candle) ซึ่งเปลวเทียนนั้นเป็นสิ่งระลึกถึงการฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซู เป็นเหมือนแสงที่ส่องสว่างออกมาท่ามกลางความมืดมิด

ขณะที่ศาสนา คริสต์ได้แผ่ขยายออกไปทั่วทวีปยุโรป มีธรรมเนียมเดิมตามความเชื่อของเพเกนบางอย่างที่ผสมผสานเข้ากับความเชื่อของ ศาสนาคริสต์ด้วย ที่จริงแล้ว คาดว่าคำว่า อีสเตอร์ (Easter) อาจจะมาจากชื่อของ เทพีเอสตรา (Eastra) เทพีแห่งฤดูใบไม้ผลิและความอุดมสมบูรณ์ นี่นำเรามาสู่ไข่อีสเตอร์ (Easter Egg)


ไข่เป็นสัญลักษณ์แห่งการเกิดตามความเชื่อในตำนานมาเป็นพันๆปี คาดว่าชาวคริสต์รับเอาไข่มาเป็นส่วนหนึ่งในธรรมเนียมเทศกาลอีสเตอร์ในช่วง ศตวรรษที่ 13 ไข่แดงในเปลือกเป็นสัญลักษณ์แทนการปรากฏตัวของพระคริสต์จากหลุมฝั่งพระศพ และย้อมเปลือกไข่เป็นสีแดงเพื่อแทนพระโลหิตที่พระคริสต์ต้องสูญเสียไปบนไม้ กางเขน

ไม่นาน ไข่อีสเตอร์หลากสีก็ได้มีประเพณีเป็นของมันเอง และประเพณีที่เป็นที่ชื่นชอบมากคือประเพณีการกลิ้งไข่อีอีสเตอร์ (Egg Rolling) ในปี ค.ศ. 1876 สภาคองเกรสออกกฎห้ามเด็กๆเล่นการละเล่นนี้ในพื้นที่ของสภา ดังนั้น ประธานาธิบดี รัทเธอร์ฟอร์ด บี. เฮส จึงเปิดสนามหญ้าของทำเนียบขาวให้เด็กๆได้เข้ามาเล่นกัน หลังจากนั้นประเพณีกลิ้งไข่อีสเตอร์ประจำทำเนียบขาว (The White House Easter Egg Roll) ก็กลายเป็นประเพณีประจำที่เกิดขึ้นทุกปี


แล้วกระต่าย อีสเตอร์กระโดดมาเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลได้อย่างไร กระต่ายวัยเจริญพันธุ์เป็นสัญลักษณ์ของชีวิตที่เกิดใหม่ตามความเชื่อของเพ เกนมาเป็นเวลานาน ในช่วงศตวรรษที่ 16 พ่อแม่เริ่มบอกลูกตัวเองว่า ถ้าเด็กๆเป็นเด็กดี กระต่ายอีสเตอร์ก็จะมาวางไข่หลากสีไว้ที่บ้าน เด็กๆก็จะทำรังไว้ในบ้าน เพื่อล่อให้กระต่ายเข้ามา นี่เองเป็นที่มาของประเพณีการล่าไข่อีสเตอร์ (Ester Egg Hunt) และตะกร้าไข่อีสเตอร์ (Easter Basket)

เพื่อช่วยให้เด็กๆ เติมตะกร้าอีสเตอร์ให้เต็มได้ง่ายขึ้น ช่างทำช๊อคโกแล็ตในยุโรป ในช่วงยุคศตวรรษที่ 19 ได้เริ่มผลิตช๊อคโกแล็ตรูปไข่ออกมา ขนมแบบนี้ได้รับความนิยมไปทั่วโลก และคนในปัจจุบันใช้เงินเป็นพันๆล้านดอลลาร์ทุกปี เพื่อซื้อขนมในเทศกาลอีสเตอร์

เทศกาลอีสเตอร์เป็นวันแห่งความปีติที่ ชาวคริสต์เฉลิมฉลองการฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซู แค่สองพันปีที่ผ่านมานี้มีธรรมเนียมประเพณีใหม่ๆ ถูกผนวกเข้าไว้มากมาย บ้างเป็นประเพณีทางศาสนา และบ้างก็เป็นประเพณีเพื่อความสนุกสนาน แต่อีสเตอร์ยังเป็นช่วงเวลาที่ทุกคนในครอบครัวมารวมตัวกันเพื่อเฉลิมฉลองการ มาถึงของฤดูใบไม้ผลิด้วย ฤดูกาลที่ชีวิตใหม่เกิดขึ้นหลังความหนาวเย็นของฤดูหนาว

เพื่อเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับการที่กระต่ายกลายเป็นส่วนหนึ่งของสัญญลักษณ์ของเทศกาลอีสเตอร์ไปได้นั้น หนังสือพิมพ์ผู้จัดการออนไลน์ได้นำเสนอข้อคิดที่น่าสนใจ ดังที่ผู้เขียนได้คัดนำมาลงดังนี้

เนื่องจากกระต่ายมีพฤติกรรมผสมพันธุ์อันน่าทึ่ง สัตว์ขนปุกปุยเหล่านี้จึงถูกนำมาเป็นเครื่องบูชาเทพีอีสเตอร์ และดูเหมือนว่าชาวแองโกลแซกซันจะวาดภาพเทพเจ้าของพวกเขามีเศียรเป็นกระต่าย ด้วย แม้จะไม่มีหลักฐานทางโบราณคดีชี้ชัดก็ตาม

ในศตวรรษที่ 2 ชาวคริสต์ เริ่มรู้จักพิธีนอกรีตนี้และนำมาผสมผสานกับพิธีฉลองการฟื้นคืนชีพของพระเยซู คริสต์ ลักษณะเดียวกับการเฉลิมฉลองเทศกาลคริสต์มาสในช่วงฤดูหนาว คือ จัดพิธีขึ้นในวันที่ดวงอาทิตย์อยู่ห่างจากเส้นศูนย์สูตรของโลกมากที่สุด

คริสตศักราช 325 จักพรรดิคอนสแตนตินพยายามสร้างแบบแผนในการฉลองวันสำคัญทางศาสนาทั้งสองโดย จัดประชุมสภาที่เมืองไนเซีย ซึ่งที่ประชุมได้กำหนดให้ฉลองเทศกาลอีสเตอร์ในวันอาทิตย์แรก หลังจากพระจันทร์เต็มดวงในวันวิษุวัต (วันที่มีกลางคืนและกลางวันเท่ากัน) ของฤดูใบไม้ผลิ

ข้อกำหนดดังกล่าวถูกนำมาใช้ปฏิบัติกันจนถึงปัจจุบัน ยกเว้นในศาสนจักรออร์ทอดอกซ์ ซึ่งมีปฏิทินถือปฏิบัติแตกต่างออกไป ทั้งนี้ ตามปฏิทินดังกล่าวชาวออร์ทอดอกซ์จะจัดฉลองอีสเตอร์ในวันใดวันหนึ่งระหว่าง วันที่ 21 มีนาคมถึง 25 เมษายายนของทุกปี

เวลาล่วงเลยมา ออสเตอร์กลายเป็นอีสเตอร์ ด้วยความเคร่งครัดและยึดมั่นพิธีกรรมทางศาสนาเริ่มเข้าไปแทนที่การฉลองนอก รีต กระต่ายเปลี่ยนจากสัญลักษณ์ของการสืบพันธุ์ไปเป็นสัญลักษณ์แห่งความบริสุทธ์ ไร้เดียงสา

อย่างไรก็ตาม บันทึกของเวเนอเรเบิล บีด นักบวชผู้บันทึกเหตุการณ์การใช้ชีวิตของชาวอังกฤษในสมัยกลางระบุว่า พิธีกรรมนอกรีตยังปรากฏต่อมาอีกหลายศตวรรษ ซึ่งก็หมายความว่าบางครั้งอาจมีการฉลองเทศกาลอีสเตอร์ปีละ 2 ครั้ง

แม้ว่าจะไม่แน่ชัดว่า การมอบไข่นั้นเข้ามาเกี่ยวข้องกับเทสกาลอีสเตอร์ตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่ไข่ก็เป็นสัญลักษณ์ของชีวิตและการถือกำเนิดขึ้นอีกครั้งมานานแสนนานแล้ว การระบายสีสันลงบนไข่นั้นเกิดขึ้นย้อนหลังไปถึงสมัยโรมยุคโบราณ คือ ช่วงปี 1200 ราชพงศาวดารของอังกฤษบันทึกว่า กษัตริย์เอดเวิร์ดที่ 1 ทรงใช้เงิน 18 เพนนี เพื่อซื้อไข่ 450 ฟองที่ถูกระบายสีเป็นรูปใบไม้สีทองแจกจ่ายให้แก่สมาชิกของราชวงศ์

ประเพณีค่อยๆ เป็นที่นิยมแพร่หลายในเวลาต่อมา อีก 500 ปีให้หลัง กษัตริย์หลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศสถึงกับทรงกำหนดให้อีสเตอร์เป็นประเพณีถือปฏิบัติ โดยทรงขอให้พสกนิกรมอบไข่ใบใหญ่ที่สุดที่ออกมาในช่วงสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์แด่ พระองค์ และในวันอีสเตอร์ซันเดย์พระองค์ก็จะทรงแจกไข่ระบายสีทองแก่ประชาชนและข้าราช บริพาร

พิธีการและขนบธรรมเนียมของอีสเตอร์นั้นแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ ในประเทศที่นับถือนิกายออร์ทอดอกซ์ เช่น ในกรีซ จะระบายไข่เป็นสีแดงซึ่งหมายถึงโลหิตของพระเยซู และในช่วงเลาเที่ยงคืนของวันเสาร์ก็จะพากันตีไข่ให้แตก เท่ากับเป็นการป่าวประกาศการฟื้นคืนชีพของพระเยซู

ในฝรั่งเศส การตีระฆังโบสถ์ในเช้าของวันเสาร์เป็นสัญลักษณ์หมายถึงการกลับจากโรมพร้อม ไข่เต็มตะกร้า ทั้งนี้พิธีปฏิบัติดังกล่าวถูกห้ามระหว่างศตวรรษที่ 7 ด้วยเป็นสัญลักษณ์ของการไว้ทุกข์จากวันมอนดีเทอร์สเดย์ (วันพฤหัสบดีก่อนวันอีสเตอร์ ถึงวันอีสเตอร์ซันเดย์)

ระยะเวลาผ่านไปหลายร้อยปี แม้แต่กระต่ายอีสเตอร์ก็ได้เกิดใหม่เช่นกัน กระต่ายปุกปุยแสนน่ารักที่เป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลในปัจจุบันนั้น มีต้นกำเนิดช่วงทศวรรษ 1500 จากเรื่องราวของ ออชเทอร์ ฮาวส์ กระต่ายวิเศษที่เด็กๆ ชาวเยอรมันเชื่อว่าจะออกไข่ทิ้งไว้ให้ตามสวน

ชาวดัตช์และชาวเยอรมันรุ่นแรกที่เดินทางข้ามมหาสมุทรไปตั้งถิ่นฐานใหม่ ได้นำกระต่ายอีสเตอร์ไปสู่ทวีปอเมริกาด้วย และอีกหลายร้อยปีที่ผ่านมา การตลาดอันชาญฉลาดและการค้าช็อกโกแลตที่เติบโตขึ้น ทำให้ห้างร้านต่างๆ ล้วนแต่มีขนมหวานรูปกระต่ายและไข่วางขายเต็มเพียบในช่วงเทศกาลอีสเตอร์แต่ละ ปี หวังว่าเรื่องที่ค้นมาลงนี้จะช่วยเพิ่มความเข้าใจเรื่องของเทศกาลอีสเตอร์ได้มากขึ้น สุขสันต์วันอีสเตอร์ครับ