ทำไมถึงคนอยากมาอเมริกากันนัก ตอนที่ 3

ประเภทของวีซ่าเข้าอเมริกา

วีซ่าเข้าอเมริกานั้นมีอยู่สองประเภทหลักๆ ด้วยกันคือ nonimmigrant visa (ประเภทอยู่ชั่วคราว ไม่ประสงค์ที่จะอพยพมาอยู่อเมริกา) กับ immigrant visa (ประเภทอยู่ถาวร สำหรับผู้ประสงค์ที่จะอพยพมาอยู่อเมริกา) ตารางข้างล่างนี้จะช่วยให้ผู้อ่านจะได้เห็นภาพกว้างๆ ว่าจะสามารถเดินทางเข้าสหรัฐอเมริกาในรูปแบบใดบ้าง

Nonimmigrant Visa วีซ่าชั่วคราว

A-3 & G-5 Personal or domestic employee of representatives of foreign governments สำหรับผู้แทนหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐบาล

B-1, B-2 The visitor visa, which is issued to aliens for several purposes, e.g., for tourism, visit to relatives and friends or similar reasons or for medical or emergency situations สำหรับผู้มาเยือน B1 ผู้มาเรื่องธุรกิจโดยทั่วไป เช่น มาประชุม ฝึกอบรมในช่วงเวลาอันสั้น B2 ผู้มาท่องเที่ยว เยี่ยมญาติ เพื่อนๆ หรือเหตุผลที่คล้ายคลึงกัน มาด้วยเหตุผลทางการแพทย์หรือเหตุการณ์ฉุกเฉิน เป็นประเภทที่คนไทยขอมากที่สุด ผู้มาวีซ่าประเภทนี้สามารถมาดูงานประชุม เจรจาธุรกิจ ซื้อสินค้าได้ แต่ห้ามมาทำงาน รับเงินค่าจ้างหรือเข้าร่วมงานด้านอาชีพที่ได้รับค่าตอบแทนใดๆ

E1, E2 Treaty Traders and Treaty Investors สำหรับวีซ่าพ่อค้าหรือผู้ประกอบการ (trader) E1 วีซ่านักลงทุน (investor) E2 เฉพาะประเทศที่มีสนธิสัญญาทางการค้ากับอเมริกาเท่านั้น ผู้สมัครประเภท E1 จะต้องมีงานที่ประเทศอมริการองรับ ต้องเป็นตำแหน่งหัวหน้างาน หรือผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ผู้สมัครประเภท E1 จะต้องเป็นผู้ลงทุนที่มีสัญชาติไทย ที่มีการประกอบธุรกิจอยู่จริง วีซ่าประเภทนี้ส่วนใหญ่มักจะให้ทนายความเป็นผู้ดำเนินเรื่องให้

F-1, F-2 Students in academic or language programs สำหรับนักเรียนที่มาเรียนด้านวิชาการ หรือเรียนภาษาในโปรแกรมต่างๆ ต้องมีแบบฟอร์ม I-20 ที่โรงเรียนหรือโครงการในอเมริกาออกให้ และแบบฟอร์ม I-901 ซึ่งเป็นใบเสร็จยืนยันการจ่ายค่าธรรมเนียม SEVIS F-2 สำหรับผู้ติดตามผู้ถือวีซ่า F-1

H-1B, H-2A, H-2B, H-3, H-4 Temporary workers and trainees H-1B สำหรับผู้มาทำงานชั่วคราวหรือผู้ที่มาฝึกงาน H-2A สำหรับผู้มาทำงานการเกษตรชั่วคราวตามฤดูกาล H-2B สำหรับผู้มาทำงานแทนชั่วคราว H-3 สำหรับผู้มาฝึกงานหรือการศึกษาพิเศษ H-4 สำหรับผู้ติดตามผู้ถือวีซ่า H-1B ที่เป็นคู่สมรสหรือบุตรที่อายุต่ำกว่า 21 ปี นายจ้างต้องยื่นเรื่องผ่าน DO และ USCIS ก่อนตามลำดับ H-3 ต้องผ่าน USCIS ก่อน

I Journalists and members of the media สำหรับสื่อมวลชน นักข่าว ผู้สื่อข่าว กองถ่าย บรรณาธิการ นักข่าวอิสระก็สามารถขอวีซ่านี้ได้ถ้ามีบัตรประจำตัวที่ออกให้โดยสมาคมนักข่าวมืออาชีพ อยู่ภายใต้สัญญาจ้างงานในองค์กรสื่อมวลชน และเผยแพร่ข้อมูลที่ไม่ใช่ในเชิงพานิชย์

J-1 Exchange visitors สำหรับผู้มาโครงการแลกเปลี่ยน ด้านวัฒนธรรมและการศึกษา เป็นวีซ่าระยะสั้นสำหรับนักศึกษา ผู้มาศึกษาต่อหลังจบปริญญาเอก อาจารย์ ศาสตราจารย์ ผู้มาทำวิจัย ดูงานหรือมาเข้าร่วม การประชุมต่างๆ นักเรียนในโครงการแลกเปลี่ยน ต้องเสียค่า SEVIS เพิ่มจากค่าขอวีซ่าปกติ และมีแบบฟอร์ม DS-2019 เป็นเอกสารที่แสดงว่าผู้ขอวีซ่าอยู่โครงการแลกเปลี่ยนชนิดใด

K-1 Fiancé(e) to marry U.S. Citizen & live in U.S K-3 Alien spouse of a US citizen สำหรับคู่หมั้นที่จะมาแต่งงานกับพลเมือง สัญชาติอเมริกันที่อาศัยอยู่ในสหรัฐ สำหรับคู่สมรสของพลเมือง สัญชาติอเมริกันที่เป็นชาวต่างด้าว สถานทูตหรือกงสุลบางแห่งจัดวีซ่าประเภทนี้ไว้ในกลุ่มวีซ่าถาวร วีซ่า K-4 สำหรับบุตรที่เป็นผู้ติดตามผู้วีซ่าประเภท K-3

L-1, L-2 L-1 สำหรับพนักงานของบริษัทเดียวกันที่ย้ายไปทำงานที่สหรัฐชั่วคราว L-2 สำหรับผู้ติดตาม คู่สมรสหรือบุตรที่อายุต่ำกว่า 21 ปี (ที่เป็นโสด) สามารถสมัครขอเป็นผู้ติดตามได้

M1 สำหรับนักเรียนที่มาฝึกงานด้านวิชาชีพที่ไม่ใช่ด้านวิชาการ ต้องเสียค่า SEVIS เพิ่มจากค่าขอวีซ่าปกติ

O Temporary workers of extraordinary ability สำหรับบุคคลที่มีความสามารถเป็นพิเศษในด้านวิทยาศาสตร์ ศิลปะ การศึกษาในระดับสูง ต้องมีหลักฐานแสดงให้กับทางสถานทูตหรือกงสุลให้เป็นที่พอใจว่าเป็นผู้มีความสามารถพิเศษจริงๆ และต้องผ่าน USCIS ก่อน

P Athletes and entertainers สำหรับนักกีฬา ศิลปิน ผู้ให้ความบันเทิง ผู้ช่วยที่มีความจำเป็นต้องติดตามมาร่วมแสดงงานด้วยอาจขอติดพ่วงไปด้วยได้

Q Cultural exchange visitors สำหรับผู้ที่มาแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ประเพณี ข้อมูลประวัติศาสตร์ ต้องผ่าน USCIS ก่อน

R1 Religious workers สำหรับผู้เผยแพร่ศาสนา หรือมาทำงาแชั่วคราวด้านศาสนา

T สำหรับผู้ตกเป็นเหยื่อของอาชกรรมการค้ามนุษย์ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ส่วนมากจะเป็นการค้าแรงงานที่ผิดกฎหมายข้ามชาติ การถูกบังคับให้ทำงานเยี่ยงทาส การถูกหลอกให้มาเป็นโสเภณี ปรึกษาได้ที่ www.sagesf.org หรือหาข้อมูลโดยใช้คีย์เวิร์ด Victims of Human Trafficking Project และใส่ชื่อเคาน์ตี้หรือชื่อเมืองและรัฐที่คุณอยู่ คุณอาจได้บริการทนายความฟรี

U สำหรับผู้ตกเป็นเหยื่อของอาชญากรรมบางอย่างหรือได้รับการบาดเจ็บอย่างรุนแรงทางด้านร่างกายและ/หรือจิตใจ เช่น ถูกลักพาตัว ถูกข่มขืน ถูกแฟนตบตี ถูกจำขัง ถูกบังคับให้ขายตัว หรือสำหรับผู้เป็นนกต่อให้กับทางการเพื่อนำจับอาชกรที่เป็นตัวการ ถ้าคุณถูกสามีหรือแฟนทำร้ายร่างกายและขู่ไม่ทำใบเขียวให้ คุณอาจสามารถยื่นเรืองขอวีซ่าประเภทนี้ได้เอง ปรึกษาได้ที่ www.womenslaw.org

คำย่อ

DOL = Department of Labor (กระทรวงแรงงาน) นายจ้างจะต้องสมัครขอรับใบรับรองแรงงานต่างชาติจากกระทรวงแรงงานก่อนจะยื่นเรื่องกับ USCIS

USCIS = U.S. Citizenship and Immigration Services (สำนักงานบริการด้านสัญชาติและตรวจคนเข้าเมือง) ที่อยู่ในอเมริกาจะต้องอนุมัติการยื่นเรื่อง (petition) หรือการสมัคร (application) ก่อนไปทำเรื่องต่อที่สถานทูตหรือกงสุลอเมริกา

SEVIS = Student and Exchange Visitor Information System ค่าธรรมเนียมในระบบฐานข้อมูลที่รัฐบาลอเมริกาใช้ติดตามความคืบหน้าของนักศึกษาที่นักศึกษาต่างชาติต้องจ่ายเพิ่มเติมจากค่าธรรมเนียมการขอวีซ่าปกติ



อ่านต่อตอนหน้า