เกร็ดความรู้จากล่าม

ล่ามไม่ใช่ไกด์และไกด์ก็ไม่ใช่ล่าม
Interpreters v. Tour Guides

หลายคนมักเข้าใจผิดคิดว่าไกด์กับล่ามคืออันเดียวกัน บางคนก็รู้ว่าต่างกัน แต่ไม่รู้ว่าต่างกันยังไง

ไกด์ก็คือผู้นำทางหรือนำเที่ยว จะเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องสถาน ที่ที่ตัวเองทำหน้าที่เป็นไกด์ จะเป็นผู้นำทัวร์และจะอธิบายราย ละเอียดเกี่ยวกับสถานที่ที่ตนนำเที่ยว มีความรู้ด้านวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ไกด์จะพูดได้คล่องมาก เพราะได้ฝึกพูดแต่เรื่องเดิมๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ไกด์จะรู้คำศัพท์ที่ตนใช้ในการนำเที่ยวเป็นอย่างดี

แต่ไกด์หลายครั้งก็จะทำหน้าที่แปลด้วย เช่น เวลาลูกค้าช็อปปิ้ง หรือพูดคุยกับคนขับรถ หรือแปลเรื่องสัพเพเหระให้กับลู กทัวร์ทั่วๆ ไป

ส่วนล่ามไม่ใช่ไกด์นะคะ ไม่ได้เป็นคนนำเที่ยว (ยกเว้นงามล่ามบางงานที่ต้องพาลูกค้าออกเที่ยวนอกสถานที่) ล่ามจะแปลภาษาต้นฉบับจากภาษาหนึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่ง แต่ไกด์ไม่ต้องแปล ไกด์จะพูดภาษาของลูกทัวร์ไปเลย ยกเว้นว่าเป็นไกด์สองหรือสามภาษา (เช่น ที่ประเทศบราซิลไกด์พูดทั้งอังกฤษ สเปนและโปรตุเกส)

ก็มีข้อยกเว้นตรงที่บางคนเป็นทั้งล่ามจริงๆ และไกด์จริงๆ

หลายครั้งที่ฉันเป็นล่ามให้กับไกด์ เช่น ตอนไปทัวร์ฟาร์มของนิวทรีไลท์ ไกด์ของบริษัทพูดไทยไม่ได้จึงต้องจ้างล่ามไทย-อังกฤษไปแปลให้คณะทัวร์จากไทย หรือตอนแปลให้กับไกด์ของเมืองหลวงวอชิงตันดีซี ที่พาแขกของรัฐบาลอเมริกาจากประเทศลาวเที่ยว เพราะไกด์พูดลาวไม่ได้ และล่ามก็ไม่สามารถเป็นไกด์ได้ (เพราะไม่มีความรู้และไม่มีบัตรไกด์)

ตอนเข้าประชุมธุรกิจที่เฟซบุ๊คกับกูเกิล ไกด์จากไทยที่พาคณะทัวร์มาก็ทำหน้าที่เป็นล่ามแปลไม่ได้เพราะเขาเป็นเฉพาะไกด์นำเที่ยว ไม่สามารถแปลในการประชุมธุรกิจนานาชาติได้ เป็นต้น

บางคนบอกเราว่าเขาทำงานเป็นล่าม เลยถามเขาว่าล่ามแบบไหน เขาบอกว่าแบบเป็นไกด์พาคนเที่ยว เราฟังก็งง ตกลงเป็นล่ามหรือไกด์กันแน่ เพราะไกด์จะไม่แปล จะอธิบายเฉยๆ ถ้าจะแปล ก็แปลแต่เพียงเล็กน้อย

ล่ามจะต้องใช้ทักษะด้านภาษา โดยเฉพาะเรื่องคำศัพท์ สำนวนและมีความรู้รอบตัวโดยเฉพา ะด้านภาษามากกว่าไกด์ ส่วนไกด์จะต้องใช้ทักษะด้านการให้ความบันเทิงกับลูกค้า ความรู้ในสิ่งที่ตนทำหน้าที่เป็นไกด์ในเชิงลึกมากกว่าล่าม ส่วนเรื่องทักษะการพูด การใช้ไวยากรณ์ การออกเสียง ทั้งไกด์และล่ามจะต้องทำให้ได้ดีพอๆ กัน

Attention members! Beware of Phishing and Phishermen! ขอเตือนสมาชิกทุกคน

สมัยนี้มิจฉาชีพมาในทุกรูปแบบ ไม่นานมานี้มีพวกที่ส่งอีเมลทำเหมือนจะมาเป็นลูกค้าล่ามหรือลูกค้าแปลเอกสาร (ส่วนมากทำเหมือนว่าเป็นเอเจนซี ) แล้วขอข้อมูลส่วนตัว และให้กรอกฟอร์มบางอย่าง รวมทั้งขอหมายเลขประกันสังคมด้วย (สำหรับผู้อยู่อเมริกา)

ปีนี้ฉันได้รับอีเมลแบบนี้สามหรือสี่ครั้งที่ไม่ใช่เอเจนซีจริงๆ ไปค้นดูก็ไม่มีบริษัทเป็นตัวเป็นตน มีบางอันมีเว็บไซท์ แต่ไม่มีข้อมูลมากมาย เบอร์โทรก็ไม่มี

วันนี้ก็มีคนส่งจดหมายมาขอหมายเลขประกันสังคมจากฉัน บอกให้ไปรับเงินค่าลิขสิทธิ์ (royalties) พร้อมให้กรอกแบบฟอร์มภาษี เขารู้ว่าฉันเป็นนักเขียนและได้ รับค่าลิขสิทธิ์จากแหล่งต่างๆ โชคดีสามีเช็คให้ก่อน บอกว่าอันนี้ไม่ใช่ (เกือบแล้ว)

เมื่อหกอาทิตย์ก่อน โปรไฟล์ตัวเองถูกก๊อป เอารูปไปทำโปรไฟล์ใหม่ แต่สะกดชื่อต่างกันแค่ตัวเดียวเป็น Benjawan Poomsen พี่สะใภ้โดนหลอก โอนเงินไปให้เขาห้าหมื่นบาทภายในเวลาชั่วโมงเศษ หลอกได้เนียนมาก พอได้แล้วปิดเฟซทันที

เพื่อนๆ หลายคนที่รู้จักก็โดนแก๊งมิจฉาชีพออนไลน์หลอกจนนับไม่ถ้วน เขาจะหลอกให้ตายใจหรือทำให้หลงรักจนโงหัวไม่ขึ้น

มีเคสหนึ่งบอกว่าจะได้รับมรดกก้อนใหญ่ที่แอฟริกา เขาใช้เวลาหลอกหกเดือน มีเบอร์ทนายที่เป็นผู้จัดการมรดกให้พร้อม ต้องส่งเงินค่าทำเอกสาร ค่าให้ทนายเดินเรื่องและค่าจิปาถะ ถูกหลอกจนหมดตัว ขนาดคนนี้มีความรู้ระดับปริญญาโท แถมจบเมืองนอกด้วย (เคสนี้โดนหลอกเพราะความโลภ)

อย่าเชื่ออะไรง่ายๆ อย่าเห็นแก่เงินนะคะ ต้องอ่านและวิเคราะห์ดูดีๆ และควรปรึกษาเพื่อนที่ไว้ใจหรือ บุคคลที่น่าเชื่อถือก่อน พวกที่ถูกหลอกคือพวกที่มั่นใจใน ตัวเองเกินไปว่าตัวเองเก่ง ว่าเขารักเราจริง ว่าตัวเองเป็นคนพิเศษได้รับเลือกให้รับมรดก ว่าตัวเองเป็นคนดีที่ได้รับการไว้วางใจ ฯลฯ

พอสักระยะ พวกมิจฉาชีพก็จะคิดวิธีใหม่มาหลอก ถ้าไม่ใช้ปัญญา ตามพวกมันไม่ทันแน่นอน

เรื่องหมอๆ Mor - Doctors and Experts

กลับเมืองไทยคราวนี้ ได้เจอหลายหมอมาก มีเพื่อนและคนที่รู้จักหลายคนเป็นหมอ...

ตอนขึ้นบ้านใหม่ก็มีหมอธรรมมาช่วยงานตอนพระมาสวด ตอนไปดูงานล่ามที่ศาลก็ไปกับเพื่อนๆ ที่เป็นหมอความ พอปวดเมื่อยก็ไปหาหมอนวด งานสงกราานต์ก็ได้ฟ้อนใส่เพลงที่บรรเลงโดยหมอแคนและร้องโดยหมอลำ แถมมีทั้งหมอดูและหมอเดามาดูดวง ให้ด้วย

ในภาษาไทย คำว่าหมอ เป็นคำที่น่าสนใจคำหนึ่ง แค่เติมคำเพิ่มเข้าไป ก็มีความหมายหลากหลาย

ประเภทแรก ถ้าเป็นหมอรักษาคนไข้ทั่วไปที่เ ป็นแพทย์ที่รักษาคนป่วยเรียกกัน ว่า doctor หรือแพทย์แผนปัจจุบันก็จะหมายถึง medical doctor ภาษาไทยง่ายดี เติมนามหรือกริยาลงไป ก็จะได้แพทย์ที่เชี่ยวชาญเรื่อง นั้นๆ เช่น

- หมอเด็ก pediatrician

- หมอฟัน dentist

- หมอเท้า podiatrist

- หมอตา ophthalmologist

- หมอผ่าตัด surgeon

- หมอยาสลบ anesthesiologist, anesthetist

- หมอไต nephrologist

- หมอหู คอ จมูก otolaryngologist

- หมอหัวใจ cardiologist

ประเภทที่สอง ผู้ที่ไม่ใช่แพทย์ที่รักษาคนป่วยทางกาย แต่เป็นผู้เยียวยารักษาผู้ป่วยทางใจ ทางอารมณ์หรือเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอื่นๆ ก็มี...

- หมอนวด masseuse, massager

- หมอดู fortune teller, astrologer, forecaster

- หมอลำ Lao and Isaan music singer

- หมอธรรม dharma expert

- หมอแคน "khaen" player

- หมอความ, หมอกฎหมาย lawyer, attorney, barrister

- หมอตำแย midwife

- หมอผี shaman, ghost or spirit buster

- หมอสอนศาสนา missionary

- หมอยา pharmacist

- หมอขวัญ doctor for elephants

- หมองู snake catcher, snake charmer

ประเภทที่สาม ไม่อยู่ในทั้งสองประเภท เช่น

หมอเถื่อน quack

หมอนั่น that guy, that fellow

หมอเดา fortune teller that guesses your future without any basis

หัวหมอ wise, wise person, person who talks and behaves like someone who knows everything, smarty-pants

ล่ามเอ๋ปล่อยไก่

นานๆ ทีฉันจะปล่อยไก่ในศาลที ล่ามในศาลต้องรู้คำศัพท์เยอะจริงๆ เลยนะ ต้องรู้หลากหลายสาขาวิชาและต้อง คิดให้ไวด้วย

เมื่อไม่นานมานี้ ได้แปลให้พยานขณะให้การในศาลในคดีหนึ่ง เป็นคดีแพ่งที่มีศัพท์ทางการเกษตรเยอะมาก

พยานให้การว่า "ก่อนที่จะรีดนมวัว ฉันต้องกระตุ้นวัวด้วยการลูบคลึงนมวัวก่อน"

ฉันแปลว่า "Before I start milking the cow, I have to stimulate the cow by touching and stroking the cow's breast first."

ในกรณีนี้ ไวยากรณ์เป๊ะ การออกเสียงเป๊ะ แต่มีการเลือกใช้คำไม่ถูกอยู่คำหนึ่ง

คำนั้นคือคำว่า "นมวัว" ฉันแปลว่า "cow's breast" ความจริงต้องแปลว่า "cow's udder"

udder หมายถึงเต้านมของสัตว์เลี้ยงลูก ด้วยนมที่เป็นสัตว์เลี้ยง เช่น วัว ควาย แกะ แพะ

ส่วน breast หมายถึงเต้านมของสัตว์เลี้ยงลูก ด้วยนมในตระกูลลิง และสัตว์บางประเภทเท่านั้น

โอ๊ย!!! ใครจะไปรู้ลึกปานนั้น

ยังไงก็ตามอันนี้ถือว่าเป็นความ ผิดเพียงขั้นลหุโทษ คนฟังเข้าใจความหมาย เพียงแต่เลือกใช้คำไม่ถูกต้อง

ผู้ที่ชี้แนะข้อผิดพลาดนี้ให้คือพี่แซม ล่ามไทยและล่ามลาวที่เป็นคนอเมริกันที่เป็นคนแปลคู่กับฉันในคดี นั้น

มิน่า ตอนเราพูดเสร็จฝรั่งในห้องพากัน อมยิ้ม ถึงแม้ว่าเขาจะเข้าใจก็ตาม แต่มันเป็นประโยคที่ขัดหูเขา

จะไม่ให้ฉันเก่งภาษาได้ยังไงล่ะคะ ฉันมีโอกาสได้แปลในสถานการณ์จริงที่หลากหลายอยู่ตลอด และจะบอกกับทุกคนด้วยว่าถ้าเห็น อะไรผิดพลาด ช่วยแก้ให้ด้วย พี่บ้านก็มีสามีชาวอเมริกันคอยแก้ภาษาให้ ถ้ามีอะไรขัดหูเขา เขาก็จะแก้ให้เรา

แต่เวลาที่ฉันทำงานกับน้องๆ หรือเพื่อนๆ ที่เป็นล่ามด้วยกัน ฉันจะแก้ภาษาให้เฉพาะคนที่เขาขอ ให้ฉันช่วยเท่านั้นนะคะ (ยกเว้นตอนแปลในศาลที่จำเป็นต้องแก้ เพราะถ้าหากแปลผิด จะมีผลต่อคดีได้) ฉันเห็นบางคนมีอีโก้ คิดว่าตัวเองเก่ง หรือบางคนก็ไม่สนใจที่จะพัฒนาภาษาตัวเอง ฉันเห็นเขาพูดผิดหรือใช้คำผิด ฉันก็ไม่แก้ให้นะ ปล่อยให้เขาพูดผิดต่อไปตามอัธยาศัย

ตอนมาอเมริกาใหม่ๆ ฉันปล่อยไก่เยอะมาก แต่ได้เรียนรู้จากข้อผิดพลาดของตน อะไรที่เคยพูดผิดหรือใช้ผิดและมีคนช่วยท้วงติงหรือแนะนำ จะไม่เคยลืมเลย ตอนนี้จำนวนไก่ที่ปล่อยก็ค่อยๆ ลดลง เพราะฉันขยันเรียนภาษาอังกฤษทั้งคำศัพท์ ไวยากรณ์ การออกเสียงและสำนวนต่างๆ ทุกวัน แม้กระนั้น ยังมีไก่ให้ปล่อยอยู่เลย


ป.ล. สำหรับคำว่า "ปล่อยไก่" เป็นคำสแลงในภาษาไทยแปลเป็นภาษา อังกฤษว่า "to blunder" หรือ "to make stupid or careless mistakes" นะคะ


- ล่ามเอ๋ เบญจวรรณ