จรรยาบรรณของล่ามในศาลในอเมริกา ตอนที่ 1

บทความนี้เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นล่าม ผู้ที่ทำงานกับล่ามหรือที่ใช้บริการล่ามและผู้ที่สนใจเรื่องกฎหมายเกี่ยวกับการแปลควรอ่านไว้เป็นความรู้ค่ะ

การเป็นล่ามในศาล
แม่แบบที่เป็นตัวชี้แนะสำหรับนโยบายและการปฏิบัติของล่ามในศาลประจำรัฐต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา

โดย
วิลเลียม อี ฮิวิทต์ (William E. Hewitt)

แปลจากต้นฉบับภาษาอังกฤษโดย เบญจวรรณ ภูมิแสน


บทที่ 9

ประมวลจรรยาบรรณของล่ามที่ใช้เป็นแม่แบบให้กับศาลต่างๆ ว่าด้วยความรับผิดชอบของล่ามมือ อาชีพในศาลยุติธรรม


บทนำ

เอกสารฉบับนี้เป็นประมวลจรรยาบรรณของล่ามที่ใช้เป็นแม่แบบให้กั บศาลต่างๆ ว่าด้วยความรับผิดชอบของล่ามมือ อาชีพในศาลยุติธรรม ประมวลจรรยาบรรณแม่แบบนี้ได้อธิบายถึงแนวความคิดและกฎที่สำคัญต่างๆ ที่ได้ปรากฏอยู่ในรัฐบัญญัติ กฎระเบียบ กฎหมายเฉพาะคดีและประสบการณ์ในฐานะล่ามมืออาชีพในระยะหลายปีที่ ผ่านมา เช่นเดียวกับกฎหมายแม่แบบสำหรับ ล่ามในศาล (ในบทที่ 10) เอกสารฉบับนี้ได้ถูกจัดเตรียมขึ้นโดยได้รับคำปรึกษาจากคณะที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษในการแปลในศาล บุคคลต่างๆ ที่อยู่ในคณะที่ปรึกษานี้ก็มีกลุ่มผู้พิพากษา ทนายความ เจ้าพนักงานศาลและล่ามมืออาชีพที่ ได้รับรองโดยรัฐต่างๆ และโดยรัฐบาลกลาง ท่านต่างๆ เหล่านี้มีชื่ออยู่ในส่วนประกาศ คุณูปการของเอกสารฉบับนี้


จุดประสงค์ของประมวลจรรยาบรรณแม่แบบ

จุดประสงค์ของประมวลจรรยาบรรณแม่แบบนี้มีอยู่สามประการด้วยกันคือ

1) เพื่ออธิบายให้ชัดเจนถึงหลักการ ที่เป็นแก่นสำคัญ ซึ่งควรนำมาใช้ร่วมกับประมวลจรรยาบรรณที่มีลักษณะคล้ายคลึงกั นที่อาจจะนำไปใช้ในรัฐอื่นๆ หรือในเขตอำนาจศาลอื่นๆ ในแต่ละท้องถิ่น

2) เพื่อที่จะใช้เป็นตัวอ้างอิงที่ล่าม ผู้พิพากษาและเจ้าหน้าที่ศาลสามารถใช้เป็นที่ปรึกษาหรืออ้างถึ งได้ในกรณีที่ไม่มีมาตรฐานที่น่ าเชื่อถือมาใช้อ้างอิง และ

3) เพื่อเป็นรากฐานสำหรับการศึกษาและการฝึกอบรมล่ามและผู้ประกอบอาชีพด้านกฎหมายอื่นๆ


ประมวลจรรยาบรรณว่าด้วยความรับผิดชอบของล่ามมืออาชีพในศาลยุติธรรม


อารัมภบท

บุคคลจำนวนมากที่มาปรากฏตัวต่อหน้าศาลไม่สามารถที่จะเข้าร่วมใน กระบวนการยุติธรรมได้อย่างเต็มที่ บางคนอาจจะเข้าร่วมได้เพียงบางส่วน บางคนไม่สามารถเข้าร่วมได้เลย ทั้งนี้เนื่องมาจากความสามารถในการเข้าใจภาษาอังกฤษหรือการบกพร่องทางวาจาและการได้ยิน เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องกำจัดอุปสรรคในการสื่อสารนี้ให้ ได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อที่จะให้บุคคลเหล่านั้นอยู่ในสถานะเช่นเดียวกับผู้ที่ไม่มี อุปสรรคดังกล่าวในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ของทางศาล ล่ามจะต้องให้แน่ใจว่าบุคคลเหล่านั้นได้รับความเสมอภาคในกระบวน การยุติธรรมและการบริการช่วยเหลือต่างๆ ของศาลอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ล่ามเป็นผู้ประกอบวิชาชีพที่มีทักษะสูงที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการยุติธรรม


การนำไปประยุกต์ใช้

ประมวลจรรยาบรรณแม่แบบนี้จะเป็น ตัวชี้แนะและเป็นตัวกำหนดกฎเกณฑ์ ต่างๆ ให้กับทุกคน ทุกหน่วยงาน และทุกองค์กรที่บริหาร ควบคุมดูแลการใช้หรือให้บริการการล่ามแปลภาษาให้กับศาลยุติธรรม


บทอธิบาย

ผู้ที่ร่างหลักการขั้นพื้นฐานของประมวลจรรยาบรรณแม่แบบนี้คิดว่า หลักการเหล่านี้เป็นหลักการที่จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้โดยทั่วไปโดยที่จะไม่มีการขัดแย้งกับข้อกำหนดเฉพาะของกฎระเบียบหรือ ของกฎหมายในรัฐต่างๆ ดังนั้นคำว่า "จะ" (shall) ให้ถือว่าเป็นหลักการขั้นพื้นฐาน ส่วนคำกล่าวในบทอธิบายที่ใช้คำว่ า "ควรจะ" (should) นั้นใช้เพื่ออธิบายการกระทำที่แสดงถึงหรือเพื่ออธิบายหลักการเพิ่มเติม บทอธิบายต่างๆ มีไว้เพื่อสื่อความหมายที่ผู้ร่างประมวลจรรยาบรรณแม่แบบนี้เชื่อว่าจะเป็นสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้น หรือคาดว่าจะเกิดขึ้น ในกรณีที่มีการขัดแย้งเกิดขึ้นที่เกี่ยวกับด้านนโยบายของศาลหรือการปฏิบัติที่มีอยู่เป็นประจำ ขอแนะนำว่าให้มีการตรวจสอบเหตุผลต่างๆ ด้านนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการเป็นล่ามในศาล


หลักการที่ 1: การแปลด้วยความถูกต้องแม่นยำและการแปลให้ครบถ้วน

ล่ามจะต้องแปลให้ครบถ้วนและอย่างถูกต้องแม่นยำซึ่งรวมถึงการอ่านเอกสารแล้วแปลโดยทันที (sight translation) โดยที่ไม่ทำการเปลี่ยนแปลง ตกหล่นหรือแต่งเติมสิ่งใดๆ ที่ได้กล่าวไว้หรือเขียนไว้ และจะต้องไม่ให้คำอธิบายใดๆ


บทอธิบาย

ล่ามมีหน้าที่สองอย่างด้วยกัน 1) ให้แน่ใจว่าข้อความต่างๆ ที่เป็นภาษาอังกฤษจะต้องตรงตามที่ผู้พูด (ที่ไม่พูดภาษาอังกฤษ) ต้องการจะสื่ออย่างถูกต้อง และ 2) ทำให้ให้ผู้ที่ไม่พูดภาษาอังกฤษ อยู่ในสถานะเดียวกับผู้ที่พูดภาษาอังกฤษ ล่ามมีหน้าที่ที่จะต้องรักษาทุก องค์ประกอบของข้อมูลขณะที่ทำการ สื่อสารเนื้อหาที่อยู่ในภาษาต้นฉบับเมื่อแปลมาเป็นภาษาเป้ าหมายให้คงอยู่

ดังนั้นล่ามจึงจำเป็นต้องใช้ทักษะที่ดีที่สุดและวิจารณญาณของตน เพื่อที่จะรักษาความหมายของสิ่งที่ได้กล่าวในศาลให้ได้มากที่สุด รวมทั้งสไตล์การพูดและระดับความ สุภาพของภาษา การแปลแบบ "ตามตัว" นั้นไม่เหมาะสมเพราะอาจจะทำให้ความหมายของภาษาต้นฉบับบิดเบือนได้ ล่ามจะต้องแปลทุกข้อความ ถึงแม้ว่าข้อความนั้นอาจจะดูเหมือนว่าเป็นการตอบไม่ตรงคำถาม เป็นภาษาลามก พูดเรื่อยเปื่อย พูดไม่รู้เรื่อง ซึ่งรวมถึงการดูเหมือนว่าจะเป็น การให้การผิด ล่ามจะต้องไม่สอดแทรกคำวลีหรือสำนวนของตน ถ้ามีความจำเป็นต้องอธิบายปัญหา เกี่ยวกับการแปล (เช่น การไม่มีคำแปลสำหรับบางคำ บางวลีหรือบางสำนวนเป็นภาษาเป้า หมาย หรือมีการเข้าใจผิดเกิดขึ้นที่มี เพียงล่ามเท่านั้นที่จะสามารถอธิบายได้) ล่ามควรจะขออนุญาตจากศาลเพื่อที่จะให้คำอธิบาย ล่ามควรถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึก ของผู้พูดโดยที่ไม่สร้างภาพซ้ำหรือล้อเลียนอารมณ์ความรู้สึกของผู้พูด หรือต้องไม่แสดงท่าทางในเชิงเร้าอารมณ์

อย่างไรก็ตาม สำหรับล่ามภาษามือต้องใช้สัญญาณ บอกใบ้จากภาพที่เห็นที่จำเป็นต้ องใช้ในภาษาที่ตนแปล รวมทั้งการแสดงออกทางใบหน้า กิริยาท่าทางและการใช้มือแสดงท่าทาง ดังนั้น ล่ามภาษามือควรให้แน่ใจว่าผู้ที่เข้าร่วมอยู่ในกระบวนการของศาลไม่สับสนว่าองค์ประกอบต่างๆ ของภาษาที่ตนกำลังแปลอยู่นั้นเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมของล่าม

หน้าที่ที่จะต้องรักษาความถูกต้องแม่นยำนั้นรวมถึงการที่ล่ามจะต้องแก้ไขข้อผิดพลาดใดๆ ที่ตนได้ค้นพบในระหว่างที่กำลังแปล ล่ามควรจะแสดงถึงความเป็นมืออาชี พของตนโดยการวิเคราะห์สิ่งที่ท้าทายสมรรถภาพของตนอย่างไม่มีอคติ


หลักการที่ 2: การแสดงคุณสมบัติของตน

ล่ามจะต้องแสดงการรับรอง การฝึกอบรมและประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้องและสมบูรณ์


บทอธิบาย

การที่ล่ามรับแปลในคดีใดคดีหนึ่งนั้นได้แสดงถึงความสามารถทางด้านการใช้ภาษาในสถานการณ์ต่างๆ ในศาลของล่าม การถอนตัวหรือถูกขอร้องให้ถอนตัวออกจากการเป็นล่ามในคดีใดคดีหนึ่งหลังจากที่คดีได้เริ่มไปแล้วนั้นจะเป็นการขัดจังหวะกระบวนพิ จารณาต่างๆ และจะเป็นการสูญเสียทรัพยากรของสาธารณะ ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ล่ามจะต้องแสดงด้วยความสัตย์จริงและอย่างเต็มที่ว่าตนได้ผ่านการฝึกอบรม ได้รับการรับรองและมีประสบการณ์ ก่อนที่จะได้รับมอบหมายที่จะแปล เพื่อที่จะให้เจ้าหน้าที่ศาลสามารถประเมินความสามารถของล่ามอย่างพอควรเพื่อที่จะได้รับการบริการแปลภาษา


หลักการที่ 3: การไม่มีอคติและการหลีกเลี่ยงกา รมีผลประโยชน์ขัดกัน

ล่ามจะต้องไม่มีอคติและไม่ลำเอียง และจะต้องหลีกเลี่ยงการกระทำใดๆ ที่จะส่อให้เห็นว่ามีการลำเอียง เกิดขึ้น ล่ามจะต้องเปิดเผยหากมีผลประโยชน์ขัดกันที่เกิดขึ้นหรืออาจจะเกิดขึ้น


บทอธิบาย

ล่ามทำหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ของศาลและหน้าที่ของล่ามในกระบวนพิจารณาของศาลคือการให้บริการกับทางศาลและสาธารณะซึ่งเป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องบริการประชาชน นี่เป็นหน้าที่ของล่าม ไม่ว่าล่ามจะได้รับการว่าจ้างโดยเงินของรัฐบาลหรือว่าจ้างโดยเอกชนโดยใช้เงินว่าจ้างจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

ล่ามควรจะหลีกเลี่ยงการกระทำหรือความประพฤติใดๆที่จะแสดงว่ามีการลำเอียงไปยังฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ล่ามควรจะรักษาความสัมพันธ์ในฐานะผู้เป็นมืออาชีพกับลูกความและ ไม่ควรมีส่วนร่วมอย่างเกินควรกับกระบวนพิจารณาต่างๆ ล่ามควรจะพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้ ผู้ที่ตนแปลให้นั้นต้องคอยพึ่งพาตน

ในระหว่างการดำเนินกระบวนพิจารณาต่างๆ ล่ามไม่ควรจะสนทนากับคู่กรณี พยาน ลูกขุน ทนายความหรือเพื่อนๆ หรือญาติๆ ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยกเว้นในกรณีที่ตนไม่ได้อยู่ในสถานะของการเป็นเจ้าหน้าที่ศาล เป็นสิ่งสำคัญที่ล่าม (ซึ่งมักจะทำงานอย่างคุ้นเคยกับ ทนายความหรือเจ้าหน้าที่ของศาลที่ ทำงานกันเป็นกลุ่ม) จะต้องงดการสนทนาไม่ว่าจะเป็นการสนทนาทั่วไปหรือการพูดคุยเรื่องส่วนตัวกับทุกคนในศาลที่อาจจะทำให้เกิดการเข้าใจว่ามีความสัมพันธ์พิเศษหรือความลำเอียงให้ กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่เป็นผู้เข้าร่วมในกระบวนการของทางศาล

ล่ามควรจะพยายามอย่างยิ่งที่จะไม่ยึดติดกับสิ่งที่ตนได้พบเห็นในศาล ล่ามจะต้องหลีกเลี่ยงการแสดงออก ไม่ว่าจะทางวาจาหรือท่าทางที่แสดงถึงอากัปกิริยา ความลำเอียง อารมณ์หรือความคิดเห็นส่วนตัวต่างๆ อยู่ตลอดเวลา หากล่ามได้ตระหนักว่ามีผู้เข้าร่ วมในกระบวนพิจารณาของศาลเห็นว่าล่ามกำลังลำเอียงหรือเป็นฝ่ายถูกลำเอียง ล่ามควรแจ้งให้กับเจ้าหน้าที่ศาลที่เกี่ยวข้องและทนายความทราบ

สถานการณ์ใดก็ตามที่เป็นตัวขัดขวางจุดประสงค์ของการทำงานของล่ ามนั้นสามารถที่จะทำให้เกิดผลประโยชน์ที่ขัดกันได้ ดังนั้น ก่อนที่จะให้บริการในคดีใด ล่ามควรจะเปิดเผยข้อมูลบางอย่างให้กับทุกฝ่ายและกับเจ้าหน้าที่ ศาลที่เกี่ยวข้องกับคดีนั้นก่อนที่จะเริ่มเข้ามาเกี่ยวข้องในฐานะล่าม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องส่วนตัวหรือในเรื่องการงานในฐานะล่ามมืออาชีพที่อาจจะทำให้ถูกตีความได้ว่ามีผลประโยชน์ที่ขัดกันเกิดขึ้น การเปิดเผยข้อมูลนี้ไม่ควรที่จะรวมไปถึงการเปิดเผยข้อมูลที่เป็นเอกสิทธิ์หรือข้อมูลที่เป็นความลับ

สถานการณ์ต่างๆ ต่อไปนี้อาจจะทำให้มีผลประโยชน์ ที่ขัดกันเกิดขึ้นได้จริงหรืออาจจะดูเหมือนว่ามีผลประโยชน์ที่ขัดกันเกิดขึ้นได้ ซึ่งในกรณีเหล่านี้ ล่ามไม่ควรที่จะทำหน้าที่แปล

1.ล่ามเป็นเพื่อน คนรู้จัก หรือญาติของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือ เป็นทนายความให้กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่เกี่ยวข้องในกระบวนพิจารณาต่างๆ ของศาล

2.ล่ามได้เคยแปลในขั้นตอนการสืบสวนสอบสวนให้กับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่ พัวพันกับคดีนั้นมาก่อนแล้ว

3.ล่ามเคยได้รับว่าจ้างโดยหน่วยงานพิทักษ์กฎหมายเพื่อช่วยในการจัดเตรียมคดีอาญาคดีเดียวกัน

4.ล่ามหรือคู่สมรสหรือบุตรของล่าม มีส่วนได้ส่วนเสียทางการเงินในเรื่องที่กำลังเป็นที่โต้แย้งกันอยู่หรือเป็นบุคคลที่ร่วมอยู่ ในกระบวนพิจารณา หรือมีส่วนได้ส่วนเสียด้านอื่นๆ ที่อาจจะมีผลต่อรูปคดี

5.ล่ามเคยมีส่วนเกี่ยวข้องกับทนาย ความหรือสำนักงานทนายความในคดีนั้น

ล่ามควรจะเปิดเผยให้กับศาลและฝ่ายอื่นๆ ทราบว่าตนเคยได้รับการว่าจ้างเป็นการส่วนตัวมาก่อนจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับคดีนั้น

ล่ามไม่ควรจะมีเงื่อนไขในการรับสินจ้างสำหรับการบริการการแปลของตนไม่ว่าจะด้วยกรณีใดๆ โดยการตัดสินจากผลของคดี

ล่ามที่มีอาชีพเป็นทนายความด้วย นั้นไม่ควรที่จะทำหน้าที่เป็นทั้งล่ามและทนายความในคดีเดียวกัน