จรรยาบรรณของล่ามในศาลในอเมริกา ตอนที่ 2
หลักการที่ 4: การวางตัวในฐานะล่ามมืออาชีพ

ล่ามจะต้องปฎิบัติตัวให้สมศักดิ์ศรีกับการเป็นล่ามในศาลและจะต้องไม่ก่อความรำคาญ แทรกแซงหรือก้าวก่ายเท่าที่จะสามารถทำได้


บทอธิบาย

ล่ามควรจะรู้และสังเกตดูพิธิสาร กฎระเบียบและขั้นตอนต่างๆ ที่มีอยู่เพื่อที่จะช่วยในการให้ บริการในการแปล เมื่อล่ามพูดภาษาอังกฤษ ล่ามควรพูดในอัตราและระดับความดังที่จะสามารถให้คนที่อยู่ในห้องศาลได้ยินและเข้าใจ นอกเหนือจากนั้นแล้ว ล่ามควรหลีกเลี่ยงการแสดงตัวให้ เป็นจุดเด่นให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ล่ามควรจะทำหน้าที่ของตนโดยที่ไม่ดึงดูดความสนใจที่เกินควรหรือ ที่ไม่สมควรเท่าที่จะเป็นไปได้ ล่ามควรจะแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อยให้สมศักดิ์ศรีกับการเป็นล่ามในกระบวนพิจารณาของศาล

ล่ามควรจะหลีกเลี่ยงไม่เห็นตัวเองบังผู้ที่เข้าร่วมในกระบวนพิจารณา อย่างไรก็ตาม ล่ามที่ใช้ภาษามือหรือใช้การสื่อทัศนะอื่นๆ จะต้องจัดตำแหน่งให้ตนอยู่ในที่ ที่ผู้ตนแปลให้นั้นสามารถมองเห็นการใช้มือแสดงท่าทาง การแสดงออกทางใบหน้าและการเคลื่ อนไหวของร่างกายทั้งหมด ล่ามควรหลีกเลี่ยงการมีความสัมพันธ์ที่เป็นส่วนตัวหรือความสัมพันธ์ด้านการงานที่อาจจะทำให้ศาลเสื่อมเสียได้


หลักการที่ 5: การรักษาความลับ

ล่ามจะต้องรักษาความลับสำหรับข้อมูลที่เป็นเอกสิทธิ์และข้อมูลที่เป็นความลับอื่นๆ


บทอธิบาย

ล่ามจะต้องปกป้องและรักษาความลับของข้อมูลที่เป็นเอกสิทธิ์ทั้งหมดที่ได้มาขณะปฏิบัติหน้าที่เป็นล่าม เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่ล่ามจะต้องเข้าใจถึงเอกสิทธิ์ระหว่างทนายความและลูกความ ซึ่งจำเป็นต้องมีการรักษาความลับของการสื่อสารระหว่างทนายความและลูกความ กฎข้อนี้ยังสามารถนำไปใช้กับการปกป้องรักษาข้อมูลให้เป็นความลับในการสื่อสารที่เป็นเอกสิทธิ์อื่นๆ

ล่ามยังจะต้องหลีกเลี่ยงที่จะบอกต่อหรือเปิดเผยข้อมูลที่ตนได้ มาในช่วงเวลาที่ตนได้รับการว่าจ้างที่อาจเกี่ยวข้องกับกระบวนพิจารณาด้านกฎหมาย

ในกรณีที่ล่ามทราบข้อมูลที่ได้บ่งชี้ว่าจะก่อให้เกิดภัยอันตรายต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งหรือเกี่ยวข้องกับคดีอาญาที่กำลังก่อขึ้นในระหว่างกระบวนพิจารณา ล่ามจะต้องเปิดเผยข้อมูลนั้นโดย ทันทีต่อเจ้าหน้าที่ที่เหมาะสมในระบบศาลยุติธรรมที่ไม่ใช่ผู้ที่เป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินคดี และให้ขอคำปรึกษาเพื่อดูว่าจะมี ผลประโยชน์ที่ขัดกันเกิดขึ้นหรือไม่จากการรับผิดชอบในฐานะที่ เป็นล่ามในกรณีเช่นนี้


หลักการที่ 6: การห้ามไม่ให้ล่ามแสดงความคิดเห็ นต่อสาธารณะ

ล่ามจะต้องไม่พูดคุย รายงานหรือแสดงความคิดเห็นต่อสาธารณะเกี่ยวกับคดีที่ตนกำลังเป็นล่ามหรือเคยเป็นล่ามให้ถึงแม้ว่าข้อมูลดังกล่าวจะไม่ใช่ข้อมูลที่เป็นเอกสิทธิ์หรือข้อมูลที่กฎหมายกำหนดไว้ว่าจะต้องรักษาให้เป็นความลับ


หลักการที่ 7: ขอบข่ายของการปฏิบัติงานในฐานะล่าม

ล่ามจะต้องจำกัดขอบเขตของตนอยู่ ที่การเป็นล่ามหรือการแปลเท่านั้น และจะไม่ให้คำแนะนำทางด้านกฎหมาย ไม่แสดงความคิดเห็นส่วนตัวให้กับผู้ที่ตนกำลังแปลให้หรือเข้าร่วมในกิจกรรมใดๆ ที่อาจจะถูกตีความว่าเป็นการให้ บริการอื่นๆ ที่นอกเหนือไปกว่าการเป็นล่ามหรือผู้แปลในขณะที่ตนทำงานเป็นล่ามอยู่นั้น


บทอธิบาย

เนื่องจากหน้าที่รับผิดชอบของล่ามคือเพียงให้ผู้คนสามารถติดต่อสื่อสารกัน ล่ามจึงควรจำกัดขอบเขตหน้าที่ของตนให้อยู่ที่การเป็นล่ามหรือเป็นผู้แปลเท่านั้น ล่ามควรหลีกเลี่ยงที่จะเป็นผู้ริเริ่มการพูดคุยขณะที่กำลังทำหน้าที่แปลอยู่ เว้นเสียแต่ว่ามีความจำเป็นที่จะต้องทำความแน่ใจเรื่องเกี่ยวกับความถูกต้องแม่นยำและการตีความ หมายให้ตรงกับภาษาต้นฉบับ

ล่ามอาจจะจำเป็นที่จะต้องริเริ่มการสนทนาในระหว่างกระบวนพิจารณาเมื่อคิดว่ามีความจำเป็นที่จะต้องขอความช่วยเหลือเพื่อที่จะช่วยในการปฏิบัติหน้าที่ของตน ตัวอย่างของสถานการณ์เช่นนี้ก็มี การขอคำชี้แจงเมื่อตนไม่สามารถทำ ความเข้าใจหรือไม่สามารถคิดคำหรือแปลความคิดบางอย่างได้ การขอให้ผู้พูดปรับอัตราความเร็ วในการสื่อสาร หรือให้พูดบางอย่างซ้ำหรือให้พูดใหม่ การแก้ไขข้อผิดพลาดของล่ามเอง หรือการแจ้งให้ศาลทราบว่าตนไม่มี คุณสมบัติหรือความสามารถที่จะแปลงานใดงานหนึ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในกรณีดังกล่าว ล่ามควรระบุอย่างชัดเจนว่า ล่ามกำลังเป็นผู้พูดสิ่งเหล่านั้นเอง

ล่ามอาจจะบอกต่อคำแนะนำทางด้านกฎหมายที่ได้รับจากทนายความไปยังบุคคลที่รับฟังในขณะที่ทนายความกำลังให้คำแนะนำทางด้านกฎหมายอยู่นั้น ล่ามไม่ควรอธิบายจุดประสงค์ของแบบฟอร์ม การบริการต่างๆ หรือทำตัวเป็นที่ปรึกษาหรือผู้ให้คำแนะนำ เว้นเสียแต่ว่าล่ามแปลให้กับคนที่อยู่ในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ ล่ามอาจจะแปลภาษาที่อยู่ในแบบฟอร์มให้กับคนที่กำลังกรอกแบบฟอร์มนั้น แต่จะต้องไม่อธิบายแบบฟอร์มนั้น หรือจุดประสงค์ของแบบฟอร์มให้กับบุคคลที่ตนแปลให้

ล่ามไม่ควรที่จะปฏิบัติตัวเป็นเจ้าหน้าที่ โดยที่หน้าที่ความรับผิดชอบนั้น เป็นของเจ้าหน้าที่ของศาลคนอื่น ๆ รวมถึงแต่ไม่จำกัดแต่เฉพาะ เสมียนศาล เจ้าหน้าที่สอบสวนหรือเจ้าหน้าที่ สัมภาษณ์จำเลยที่ถูกปล่อยตัวออก มาก่อนการพิจารณาคดี หรือเจ้าหน้าที่ที่ปรึกษาการควบ คุมความประพฤติ


หลักการที่ 8: การประเมินและการรายงานอุปสรรคต่างๆ ที่มีผลต่อการปฏิบัติงานล่าม

ล่ามจะต้องประเมินความสามารถในการแปลของตนอยู่ตลอดเวลา ถ้าล่ามคิดว่ามีบางสิ่งบางอย่าง ที่เป็นอุปสรรคต่อความสามารถที่ จะแปลในงานใดงานหนึ่งได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ล่ามควรรายงานถึงอุปสรรคนั้นให้ กับเจ้าหน้าที่ของศาลที่เกี่ยวข้องทราบโดยทันที


บทอธิบาย

ถ้าวิธีการสื่อสารหรือภาษาของผู้ที่ไม่พูดภาษาอังกฤษไม่สามารถแปลได้อย่างทันทีทันใด ล่ามควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ของศาลที่เกี่ยวข้องทราบ

ล่ามควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ของศาลที่เกี่ยวข้องทราบหากมีสถารการณ์หรือข้อจำกัดทางร่างกายที่ จะเป็นอุปสรรคหรือสิ่งกีดขวางความสามารถในการแปลได้อย่างเป็นที่น่าพอใจ (เช่น ห้องศาลไม่เงียบพอสำหรับล่ามที่จะได้ยินหรือที่จะให้ผู้ที่แปลให้ฟังนั้นได้ยิน เวลาที่มีคนพูดพร้อมกันมากกว่าหนึ่งคน หรือบุคคลหลักในคดีหรือพยานพูดด้ วยความเร็วเกินกว่าที่ล่ามจะสามารถแปลได้ทัน) ส่วนล่ามภาษามือจะต้องให้แน่ใจว่าตนสามารถมองเห็นและสามารถถ่ายทอดองค์ประกอบต่างๆ ด้านการมองเห็นสำหรับผู้ใช้ภาษามือให้ครบถ้วนตามความจำเป็นที่จะต้องใช้ในการสื่อสาร ซึ่งรวมถึงการแสดงออกทางใบหน้าและการเคลื่อนไหวของร่างกาย และการใช้มือแสดงท่าทางต่างๆ

ล่ามควรแจ้งให้กับเจ้าหน้าที่ศาลที่เป็นผู้นำในการประชุมหรือการพิจารณาคดี (มักหมายถึงผู้พิพากษา) ให้ทราบหากล่ามต้องการจะหยุดพักเป็นระยะๆ เพื่อที่จะคงความตื่นตัวทางด้าน ร่างกายและจิตใจและเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ล่ามอ่อนเพลียเมื่อยล้า ล่ามควรแนะนำและสนับสนุนให้มีการแปลแบบเป็นทีมเมื่อมีความจำเป็น

ล่ามควรที่จะสอบถามข้อมูลเกี่ยว กับคดีทุกครั้งหากเป็นไปได้ก่อน ที่จะรับงานล่าม การทำเช่นนี้จะช่วยให้ล่ามสามารถจัดระดับวิทยะฐานะ ทักษะและประสบการณ์ให้เหมาะสมกับงานนั้นๆ และเพื่อที่จะสามารถประเมินความ สามารถของตนได้อย่างถูกต้องเพื่ อที่จะแปลงานนั้นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

แม้แต่ล่ามที่มีความสามารถและประสบการณ์สูง ก็อาจจะพบกับคดีในกระบวนพิจารณา ที่มีอยู่เป็นประจำว่ามีคำศัพท์ เทคนิคหรือคำศัพท์เฉพาะทางที่ตนไม่คุ้นเคยโผล่ขึ้นมาอย่างทันทีทันใด (เช่น การให้การของพยานผู้เชี่ยวชาญที่ไม่ได้มีอยู่ในตารางกำหนดการ) ในกรณีที่สถานการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น ล่ามควรจะขอให้มีการหยุดพักเพื่ อที่จะขอเวลาให้ตนได้ทำความคุ้นเคยกับเนื้อหานั้นๆ ถ้าการที่จะทำความคุ้นเคยกับเนื้อหาวิชานั้นจะต้องใช้เวลาศึกษาหรือค้นคว้าเป็นเวลานาน ล่ามควรจะแจ้งให้ผู้พิพากษาทราบ

ล่ามควรหลีกเลี่ยงที่จะรับคดีที่ตนรู้สึกว่าภาษาและเนื้อหาวิชาของคดีนั้นเกิดขีดทักษะหรือความสามารถของตน ล่ามไม่ควรที่จะรู้สึกผิดที่จะแจ้งให้ผู้พิพากษาทราบถ้าตนรู้สึกว่าไม่สามารถที่จะแปลได้อย่างมีประสิทธิภาพอันเนื่องมาจากความไม่คุ้นเคยกับคำศัพท์ การเตรียมตัวไม่พร้อมหรือการยากลำบากในการเข้าใจพยานหรือจำเลย

ล่ามควรจะแจ้งให้ผู้พิพากษาทราบ ถึงการมีอคติที่ล่ามอาจจะมีที่เกี่ยวเนื่องกับแง่มุมใดแง่มุมหนึ่งของกระบวนการพิจารณา เช่น ล่ามที่เคยเป็นผู้เสียหายจากการ ทำร้ายทางเพศอาจจะขอถอนตัวจากการแปลในคดีที่คล้ายคลึงกับเหตุการณ์ที่ตนเคยประสบมา


หลักการที่ 9: หน้าที่ในการรายงานการทำผิดจรรยาบรรณ

ล่ามจะต้องรายงานให้กับเจ้าหน้า ที่ของศาลที่เกี่ยวข้องทราบหากมี การกระทำใดๆ ที่เป็นอุปสรรคขัดขวางไม่ให้ตนป ฏิบัติตามกฎข้อใดข้อหนึ่ง ข้อกำหนดข้อใดข้อหนึ่ง หรือนโยบายที่เป็นทางการข้อใดข้ อหนึ่งที่เป็นตัวควบคุมการเป็นล่ ามในศาลและการแปลด้านกฎหมาย


บทอธิบาย

เนื่องจากผู้ใช้บริการล่ามมักจะเข้าใจผิดถึงบทบาทที่เหมาะสมของล่าม จึงอาจจะขอให้ล่ามหรือคาดหวังให้ ล่ามทำหน้าที่หรือทำกิจกรรมต่างๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้ในข้อกำหนดของประมวลจรรยาบรรณนี้หรือในกฎหมายหรือกฎระเบียบอื่นๆ หรือนโยบายที่เป็นตัวกำหนดบทบาท หน้าที่ของล่ามในศาลอื่นๆ ดังนั้น จึงเป็นความรับผิดชอบของล่ามที่ จะแจ้งให้บุคคลเหล่านั้นทราบถึง หน้าที่ต่างๆ ของตน ถ้าล่ามได้แจ้งให้บุคคลนั้นทราบ ถึงหน้าที่ต่างๆ ของล่ามแล้ว แต่บุคคลนั้นก็ยังยืนกรานที่จะขอร้องให้ล่ามทำผิดจรรยาบรรณ ล่ามควรแจ้งให้กับล่ามที่เป็นผู้ควบคุมดูแล ผู้พิพากษาหรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ที่มีอำนาจในการตัดสินเรื่องที่เกี่ยวข้องกับล่ามเพื่อที่จะแก้ ไขสถานการณ์นั้น


หลักการที่ 10: การพัฒนาทักษะด้านวิชาชีพ

ล่ามจะต้องพัฒนาทักษะด้านวิชาชีพและความรู้ของตนอย่างต่อเนื่อง และให้ก้าวหน้าทางด้านวิชาชีพโดยการเข้าร่วมในกิจกรรมต่างๆ เช่นการฝึกอบรมและการศึกษาด้านวิชาชีพและการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมอาชีพล่ามและผู้เชี่ยวชาญ ต่างๆ ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง


บทอธิบาย

ล่ามจะต้องมีมานะที่จะพัฒนาความรู้ด้านภาษาที่ตนแปลในฐานะล่ามมืออาชีพอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งคำศัพท์ที่ใช้ในอดีตและในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นศัพท์เทคนิค ภาษาชาวบ้านและภาษาท้องถิ่นและการนำไปประยุกต์ใช้ในกระบวนพิจารณาของศาล

ล่ามควรได้รับทราบถึงกฎระเบียบและนโยบายทั้งหมดของศาลยุติธรรมที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่เป็นล่ามมืออาชีพในศาล

ล่ามควรพยายามยกระดับมาตรฐานทางวิชาชีพของตนผ่านการเข้าร่วมในการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การประชุมล่ามต่างๆ การมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมอาชีพล่ามและการอ่านสิ่งตีพิมพ์ต่างๆ ที่มีอยู่ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของล่าม