ซุปเปอร์แพท
ปิยะพัชรี ศิลปี



ประเทศไทย เป็น “หนึ่งเดียว”

ดิฉันเขียนบทความนี้ขึ้นมาด้วยความเป็นห่วงประเทศไทย และประชาชนชาวไทย ในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประเทศแม่ที่ให้กำเนิด ถึงแม้ปัจจุบันดิฉันจะกลายเป็นพลเมืองอเมริกันไปแล้วก็ตาม ตวามรักที่มีต่อประเทศไทยยังอยู่ในสายเลือดเสมอมา ขนบธรรมเนียม ประเพณีอันดีงามของประเทศไทยนั้นเป็นหนึ่งไม่รองใคร เรามักนำมาอวดคนต่างชาติในแดนไกลด้วยความภูมิใจทุกครั้งที่มีโอกาส ....แต่บัดนี้ดิฉันมีความอัดอั้นตันใจและเสียใจ ที่เห็นพวกน้องๆรุ่นลูกๆหลานๆของนักศึกษาที่กำลังก่อม๊อบที่ประเทศไทยในปัจจุบันนี้ลืมขนบธรรมเนียมประเพณีที่สวยงาม ใช้ปฎิกิริยาที่ไม่เคารพต่อผู้อาวุโส ใช้กิริยา วาจาถ้อยคำหยาบคาย แต่งกายไม่สุภาพออกไปประท้วง ไม่อยู่ในขอบเขตเสรีภาพของผู้เจริญแล้ว อีกทั้งยังจาบจ้วงผู้มีพระคุณ ไม่ว่าจะเป็นบุพการี หรือประเทศชาติบ้านเมือง ถิ่นกำเนิดของตนเอง ทำให้อาจตกเป็นเครื่องมือของบุคคลที่สามที่จ้องจะทำลายประเทศชาติไทยที่สวยงาม อุดมสมบูรณ์อีกต่างหาก ด้วยความที่น้องๆเหล่านี้มีจิตใจบริสุทธิ์ในการรักชาติ มีความจริงใจแต่ไร้ประสบการณ์ และ มีพลังแห่งความคึกคะนองตามอายุ อาจทำให้ตกเป็นเครื่องมือของผู้แสวงหาผลประโยชน์โดยรู้ไม่เท่าทัน

จากการถูกอบรมบ่มนิสัยที่เคยได้รับมาเรียกว่า ได้รับการขัดเกลาจากคนสันดานดิบให้เป็นคนที่พัฒนาทั้งมารยาทการกระทำ จนเรียกได้ว่า “เป็นคนได้รับการศึกษามาแล้ว “ จึงอยากเสนอความคิดของตัวเองให้น้องๆว่า จะทำอะไร แสดงออกทางสิทธิเสรีภาพควรมีกิริยา วาจาอยู่ในระดับที่ได้รับการอบรมเพาะบ่มความเป็นคนพัฒนามาแล้ว ใช้สติปัญญาไตร่ตรองวิเคราะห์เหตุและผล ไม่ยอมให้ถูกชักจูงง่ายๆ อย่าตามแห่สถานะการณ์โดยไม่พิจารณาให้รอบคอบถึงผลที่จะได้รับ และอย่าลืมให้เกียรติผู้อื่น เท่ากับให้เกียรติตนเอง...นะคะคุณน้องๆ

ที่มาของบทความวันนี้คือ...จากเหตุการณ์ขัดแย้งทางการเมือง ที่ประเทศไทย แนวร่วมกลุ่มนักศึกษาและประชาชนกว่า 30 องค์กรที่รวมตัวโดยใช้ชื่อว่า "คณะราษฎร" ประกาศแผนชุมนุมใหญ่มาตั้งแต่วันที่ 14 ต.ค. 2563 ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน และปักหลักพักค้างคืนเพื่อกดดันรัฐบาลและรัฐสภา ให้ทำตามข้อเรียกร้อง 3 ข้อของกลุ่มผู้ชุมนุม เชื่อประชาชนเข้าร่วมชุมนุมหลักแสน

ข้อเรียกร้อง 3 ข้อ ที่กลุ่ม "คณะราษฎร" ประกาศว่าจะเป็นจุดยืนของการชุมนุม ได้แก่ 1. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และองคาพยพ ลาออก 2. รัฐสภาต้องเปิดประชุมวิสามัญทันทีเพื่อรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน และ 3. ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ให้อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญตามระบอบประชาธิปไตย

ทำให้เกิดเป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลก ทั้งข่าวจริง ข่าวปลอม ปลิวว่อนทางเน็ต ทางโซเชียลมีเดีย จนสับสนไปหมดไม่รู้จะเชื่อถือข่าวใดดี ขอให้คุณๆใช้วิจารณญาณไตร่ตรองทั้งเหตุและผลกันให้ดีๆ

วันนี้ดิฉันขอนำบทความบางตอน “ความเป็นหนึ่งเดียว” จากผู้ทำวิทยานิพนธิ์ นายอภิชาติสุขแสง ชื่อปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการพัฒนาสังคม) วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการพัฒนาสังคม) คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 2555 มาให้อ่านเพื่อเป็นอาหารสมอง และดูแนวทางประเทศไทยจะสรุปเหตุการณ์นี้ได้อย่างไร

ความเป็นหนึ่งเดียวกันตามความเข้าใจของชุมชนหมายถึงการมีความเชื่อร่วมกันปฏิบัติร่วมมือกันช่วยเหลือกันให้ความสําคัญต่อการมีส่วนร่วมมีความเห็นพ้องไปในทิศทางเดียวกันเข้าใจกันเชื่อใจกันเอื้ออาทรเกื้อกูลต่อกันมีความตระหนักในหน้าที่ทั้งของส่วนตนและส่วนรวมลักษณะของความเป็นหนึ่งเดียวกัน มีองค์ประกอบของความเป็นหนึ่งเดียวกันอยู่ 5 องค์ประกอบด้วยกันคือความคล้ายคลึงกันของสมาชิกมีเป้าหมายร่วมกันการทําหน้าที่อย่างมีจิตสํานึกมีการปฏิสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่องและการมีส่วนร่วมของสมาชิกในส่วนของขั้นตอนการขับเคลื่อนความเป็นหนึ่งเดียวกันชุมชนจะใช้สถานศึกษาศาสนาครอบครัวและชุมชนเข้ามาเป็นเครื่องมือในการขัดเกลาความคิดและความรู้สึกของสมาชิกให้เกิดความต้องการที่จะเป็นหนึ่งเดียวกันได้ให้ความสําคัญกับการมีส่วนร่วมอย่างเสมอภาคในทุกขั้นตอนและยังให้ความสําคัญกับการศึกษาโดยการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ชุมชนขึ้นเพื่อให้สมาชิกได้ร่วมคิดร่วมทําร่วมเรียนรู้จนเกิดเป็นกลุ่มอาชีพเกิดขึ้นซึ่งตรงจุดนี้ก็สามารถสร้างรายได้ให้กับสมาชิกและยังเป็นประโยชน์กับสังคมอีกด้วยจากการที่สมาชิกได้ผ่านการเรียนรู้และได้รับประโยชน์จากการพัฒนาที่เกิดขึ้นจิตสํานึกร่วมของคนในชุมชนก็มีมากขึ้นตามไปด้วยปัญหาหลักของการขับเคลื่อนความเป็นหนึ่งเดียวกันมี 2 ด้านคือด้านบุคคลและด้านการดําเนินการโดยปัญหาในด้านบุคคลมี 3 ประเด็นย่อยค

ปัญหาความขัดแย้งระหว่างบุคคลปัญหาการเห็นแก่พวกพ้องและประโยชน์ส่วนตนและปัญหาการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนในชุมชนส่วนปัญหาด้านการดําเนินการคือการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่เพียงพอขาดความต่อเนื่องและชุมชนไม่มีการรวมกลุ่มที่ถาวรสําหรับข้อเสนอแนะจากการศึกษาสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเด็นคือประเด็นแรกเป็นจะเป็นข้อเสนอแนะเกี่ยวกับชุมชนในเรื่องของการรับผิดชอบในบทบาทของตนเองและกําหนดแนวทางการพัฒนาชุมชนร่วมกันโดยที่ทุกคนควรเข้ามามีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนประเด็นที่สองเป็นข้อเสนอแนะต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเข้ามามีส่วนร่วมกับชุมชนมากขึ้นสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างหน่วยงานและชาวชุมชนรับทราบถึงปัญหาเป็นที่ปรึกษาให้ชุมชนเพื่อให้เกิดความร่วมมือที่ดีและตอบสนองความต้องการของชุมชนได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

ท้ายสุดนี้ ดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ทั้งรัฐบาลและกลุ่มนักศึกษาที่มีความเห็นขัดแย้งกัน น่าจะหาวิธีลงเอยกันด้วยการ”รักษาชาติไทย” ของชาวไทยไว้ได้อย่างสง่างาม

***ทุกครั้งที่มีโอกาส พวกเราชาวอเมริกัน เชื้อสายไทย จะภูมิใจที่ได้อวดขนบธรรมเนียม ประเพณี การแต่งกายไทยๆ ดังในรูป***

ด้วยรักและปราถนาดีจาก Super Pat (323)702-0788