ซุปเปอร์แพท
ปิยะพัชรี ศิลปี



เรื่องควรรู้เกี่ยวกับวัคซีนแอนตี้โควิด

วันนี้มาคุยกันถึงเรื่องสำคัญเกี่ยวกับสุขภาพความอยู่รอดที่กำลังติดตลาดดัง ฮือฮาไปทั่วโลก เรื่องการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด 19 นั้นดีอย่างไร ดิฉันได้อ่านบทความที่น่าสนใจให้ความรู้ เป็นประโยชน์จึง ขออนุญาติ ศาสตราจารย์ เกษียร เตชะพีระ เจ้าของบทความที่ได้เข้าไปอ่านการวิเคราะห์ วิจัย เรื่องวัคซีนแอนตี้โควิด ได้อย่างละเอียด ให้ความรู้ มีประโยชน์ ทันต่อเหตุการณ์ ช่วงมัจจุราช โควิด อาละวาด จึงนำบางช่วงบางตอนมาลงให้แฟนคลับ นสพ. ไทยแอลเอ ได้อ่านจะได้เข้าใจที่มาที่ไปของโรคนี้บ้าง

ในสภาพที่ยังไม่มียาบำบัดรักษาโรคระบาดโควิด-19 โดยตรงได้ชะงัดแน่นอน วัคซีนเหล่านี้ให้ความหวังแก่ชาวโลกว่ามันอาจช่วยสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นทั่วโลกมากพอจะหยุดยั้งการแพร่เชื้อไวรัสโคโรนา เพื่อผู้คนจะค่อยๆ กลับสู่ชีวิตปกติได้เพียงใด

คนที่ฉีดวัคซีนแล้วยังจะแพร่เชื้อให้คนอื่นได้อยู่หรือเปล่า? ภูมิคุ้มกันที่ผู้ฉีดได้รับจากวัคซีนจะยืนนานแค่ไหน? วัคซีนยังจะใช้ได้ผลไหมถ้าหากเชื้อไวรัสโคโรนากลายพันธุ์ไป? จะต้องฉีดวัคซีนให้ประชากรเป็นสัดส่วนเท่าไหร่กันถึงจะสกัดโควิด-19 ได้อยู่หมัด?

เชื้อโควิด-19 vs. วัคซีนแอนตี้โควิด

วัคซีนส่งผลป้องกันเชื้อโดยตรง ผู้ถูกฉีดวัคซีนแล้วแม้จะได้รับเชื้อ ก็มีน้อยรายนักที่จะล้มป่วย และดังนั้น กรณีผู้ป่วยโควิดแบบอาการหนักก็จะลดลง

วัคซีนยังป้องกันเชื้อทางอ้อมด้วย กล่าวคือ ผู้ป่วยโควิดไม่สามารถแพร่เชื้อเป็นอันตรายต่อคนหน้าใหม่ผู้ยังไม่ติดเชื้อได้กระจายทั่วถึงดังก่อน เพราะผู้ถูกฉีดวัคซีนแล้วมีภูมิคุ้มกันจึงไม่กลายเป็นพาหะส่งเชื้อต่อ เชื้อไวรัสโคโรนาจึงแพร่กระจายหมุนเวียนต่อไปไม่ได้เท่าเดิม

ถ้างั้นจะต้องฉีดวัคซีนแอนตี้โควิดให้ประชากรกี่มากน้อยถึงจะส่งผลยุติการระบาดของโรคได้ล่ะ?

ยอดจำนวนคนที่ผู้ป่วยรายหนึ่งอาจแพร่เชื้อติดต่อให้ได้ตลอดช่วงเวลาที่เขาหรือเธอป่วยติดเชื้ออยู่

แต่ละคนจะแพร่เชื้อให้แก่คนหน้าใหม่ผู้ยังไม่ติดเชื้อได้ราวสองถึงสามคน

จึงกล่าวได้ว่าจากจำนวนประชากรสมมุติ 100 คนข้างต้น ฉีดวัคซีนแอนตี้โควิดให้แก่ 60 คนก็เพียงพอจะหยุดยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 แล้ว

แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่เป็นตัวแปรเสริม เข้ามาเกี่ยวข้องให้ยุ่งยากซับซ้อนขึ้นซึ่งเราต้องคำนึงถึงในการใช้วัคซีนให้บรรลุผลสกัดการระบาดของโรค

ผู้เคยป่วยแล้วหายป่วยและมีภูมิคุ้มกันโควิดตามธรรมชาติอีก แน่นอนว่าการณ์จะเป็นดังนี้ได้ การฉีดวัคซีนแอนตี้โควิดต้องมุ่งฉีดกลุ่มคนที่ไม่ได้มีภูมิคุ้มกันอยู่ก่อนแล้วตามธรรมชาติ (หรือนัยหนึ่งไม่ไปฉีดวัคซีนซ้ำซ้อนแก่ผู้เคยป่วยเป็นโควิด-19 แล้วหายป่วยและมีภูมิคุ้มกันของตัวเองอยู่แล้ว)

นั่นหมายความว่าต้องมีการตรวจเชื้อโควิด-19 ในคนทั้งหมดอย่างทั่วถึงก่อนคัดกรองเพื่อให้มารับการฉีดวัคซีนนั่นเอง

คนที่ฉีดวัคซีนแล้วยังจะแพร่เชื้อให้คนอื่นได้อยู่หรือเปล่า? ภูมิคุ้มกันที่ผู้ฉีดได้รับจากวัคซีนจะยืนนานแค่ไหน? ใครควรได้รับการฉีดวัคซีนเร่งด่วนเป็นกลุ่มแรกก่อนเพื่อน? วัคซีนยังจะใช้ได้ผลไหมถ้าหากเชื้อไวรัสโคโรนากลายพันธุ์ไป?

ยังมีปัจจัยเชื้อมูลอีกอย่างหนึ่งซึ่งเรามีความรู้เกี่ยวกับมันน้อยและสามารถถ่วงหน่วงการต่อสู้โรคระบาดโควิด-19 ให้เนิ่นช้าออกไป กล่าวคือ

วัคซีนบางขนานช่วยสกัดโรคโควิด-19 ไม่ให้กำเริบร้ายแรงในตัวเราได้ แต่มันไม่สามารถขัดขวางการแพร่เชื้อไวรัสโคโรนาจากตัวเราต่อไปยังคนอื่นอีก

พูดอีกอย่างก็คือ ถึงแม้ตัวผู้ได้รับการฉีดวัคซีนแล้วจะไม่ล้มป่วยเอง แต่เขาหรือเธอก็ยังอาจแพร่เชื้อไวรัสให้ระบาดลุกลามต่อไปได้อยู่ดี

หรือนัยหนึ่งวัคซีนที่ช่วยให้เจ้าตัวผู้ได้รับการฉีดวัคซีนมีชีวิตอยู่ต่อไปได้โดยบรรเทาโรคภัยไข้เจ็บลง แต่ไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อโรคใหม่เข้ามาในตัว ไม่ได้ป้องกันการผลิตซ้ำเชื้อโรคนั้นในตัว และไม่ได้ป้องกันการแพร่เชื้อโรคนั้นจากตัวต่อไปให้คนอื่นอีก จึงปล่อยให้สายพันธุ์ไวรัสที่ร้ายกาจแพร่ระบาดหมุนเวียนต่อไปได้ ถึงแม้กรณีดังกล่าวจะเกิดขึ้นน้อยมากในคนเรา แต่มันก็เป็นความเป็นไปได้ที่ต้องคำนึงถึง

ทั้งนี้ มิได้หมายความว่า “วัคซีนไม่สมบูรณ์แบบ” จะเปล่าประโยชน์ ตรงกันข้าม เพราะหากฉีดให้ประชากรจำนวนมากมายใหญ่หลวงพอ มันก็จะยังช่วยปกป้องคุ้มกันผู้ได้รับการฉีดวัคซีนทั้งหลายให้หลีกเลี่ยงโรคระบาดในรูปแบบที่อาการหนักหนาสาหัสได้

ผู้ได้รับวัคซีนแล้วจะมีภูมิคุ้มกันไปได้ยาวนานเท่าไหร่? – เพราะปัจจัยนี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อจำนวนโดสวัคซีนที่จำเป็นต้องหามาให้มากพอ เมื่อพิจารณาว่าการรณรงค์ฉีดวัคซีนแอนตี้โควิดให้เสร็จสิ้นจะกินเวลาราวหนึ่งปี

สมมุติให้ประสิทธิศักย์ของวัคซีนขนานที่ใช้อยู่ที่ 90% ในกรณีที่ภูมิคุ้มกันของวัคซีนนี้ยืนยาว 3 ปี

นักวิจัยคำนวณว่าสัดส่วนจำนวนประชากรที่จะต้องได้รับการปลูกฉีดวัคซีนแอนตี้โควิดในปีแรกอย่างน้อยจะต้องเท่ากับ 60% ของประชากรทั้งหมด

แต่ถ้าภูมิคุ้มกันของวัคซีนยืนนานแค่ 1 ปี สัดส่วนที่ว่านี้จะต้องเลย 90% ขึ้นไป

สัดส่วนกว่า 90% นี้จำเป็นเพื่อชดเชยให้แก่บรรดาผู้ได้รับวัคซีนที่ค่อย ๆ สูญเสียภูมิคุ้มกันพร้อมกับเวลาที่ล่วงเลยไป ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อที่จะธำรงรักษายอดผู้มีภูมิคุ้มกันโดยรวมเอาไว้ที่ 60% ของประชากรนั่นเอง

ฉะนั้น ความยืนยาวของภูมิคุ้มกันจึงเป็นข้อมูลที่เป็นแม่กุญแจในการจัดวางยุทธศาสตร์การฉีดวัคซีน เพราะภาระการฉีดวัคซีนให้ประชากร 60% เทียบกับถึง 90% นั้นมันท้าทายแตกต่างกันคนละเรื่องเลยทีเดียว

ถึงตอนนี้คงพอสรุปอย่างแน่ใจได้ว่าควรต้องฉีดวัคซีนให้ประชากรจำนวนมากๆ เพื่อหยุดยั้งโควิด-19 ระบาด และการรณรงค์ฉีดวัคซีนนั้นกินเวลาพอควร

คำถามถัดไปคือใครกลุ่มใดบ้างควรได้รับการฉีดวัคซีนเร่งด่วนเป็นอันดับแรกก่อนเพื่อน?

ก่อนอื่น เราอาจเริ่มต้นโดยพุ่งเป้าฉีดวัคซีนเร่งด่วนให้แก่ประชากรกลุ่มเสี่ยง

เราทราบว่าผู้สูงวัยล่อแหลมต่อโควิด-19 เป็นพิเศษ แต่ก็ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นที่ควรคำนึงถึงด้วย อาทิ โรคอ้วน (obesity) และโรคเบาหวาน (diabetes) เป็นต้น

สำหรับคนกลุ่มเสี่ยงนี้ ยิ่งพวกเขาได้รับการฉีดวัคซีนคุ้มครองตัวเร็วเพียงใด โอกาสเสียชีวิตเพราะป่วยด้วยโรคโควิด-19 ก็จะยิ่งต่ำลงเพียงนั้น

ทว่าในประเด็นนี้ มีเงื่อนไขประกอบ 2 ประการให้คำนึงถึง กล่าวคือ :

1) วัคซีนต้องปลอดภัยสำหรับคนที่ร่างกายอ่อนแอ

2) วัคซีนต้องใช้การได้สำหรับกลุ่มประชากรจำพวกนั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่จะพิสูจน์ได้โดยผ่านขั้นตอนการตรวจสอบต่างๆ ขนานใหญ่

อันดับถัดไปจากประชากรกลุ่มเสี่ยง ผู้ที่ควรเป็นเป้าการฉีดวัคซีนรองลงมาได้แก่ กลุ่มคนที่มีโอกาสแพร่เชื้อติดต่อไปให้คนอื่นมากที่สุด

พ่อค้าแม่ขายตามตลาดหรือร้านอาหารที่ทำงานทุกวันและพบปะผู้คนมากหน้าหลาย ป็นไปได้ด้วยว่าคนต่างๆ ย่อมมีอัตราการแพร่เชื้อโรคติดต่อแตกต่าง มาตรการป้องกันจำกัดกิจกรรมการเดินทางรวมตัวต่างๆ ออกมารวมทั้งการเว้นระยะห่างทางกายภาพ ใส่หน้ากากอนามัยเป็นประจำ หมั่นล้างมือและเว้นระยะห่างทางกายภาพ เขา/เธอก็ยิ่งมีโอกาสแพร่เชื้อให้คนอื่นน้อยลง

หวังว่าบทความนี้ คงให้ข้อมูลความรู้อีกด้านหนึ่งเพื่อเป็นประโยชน์การดูแลสุขภาพของคุณให้ดียิ่งๆขึ้นไป ปลอดโรค ปลอดภัย ไร้กังวล กันทุกๆคน

ด้วยรักและปรารถนาดีจาก Super Pat (323)702-0788