สุขภาพและการบำบัด
สดศรี สุริยะฉาย
รายงานการค้นคว้าที่น่าสนใจ ตอนที่ 2

ผลของโกรทฮอร์โมนต่อเบาหวาน

มีรายงานบ่งชัดว่าโกรทฮอร์โมนอาจช่วยให้เบาหวานทุเลาขึ้น ด็อกเตอร์แบลคแมน ศึกษาหาผลของโกรทฮอร์โมนต่อระดับกลูโคสในกระแสโลหิต ซึ่งเป็นหนึ่งของการค้นคว้าที่สถาบันจอห์น ฮอบคินส์ กล่าวว่า “เราคิดว่า ความแก่ตัวลงอยู่ในภาวะที่โกรทฮอร์โมนลดต่ำ มีไขมันสะสมที่พุงมากขึ้น อินซูลินทำงานเสื่อมลง มักจะมีแนวโน้มเป็นเบาหวาน หากเราให้โกรทฮอร์โมนทีละน้อยแทนการให้จำนวนมาก ระดับน้ำตาลในเลือดจะดีขึ้น แทนที่จะแย่ลง” และจากการสนทนากับด็อกเตอร์เกรก ฟาไฮ Ph.D. แห่งสถาบันการค้นคว้าของราชนาวี เขาเล่าถึงการค้นคว้าที่ยังไม่ได้รายงานของเขาเกี่ยวกับว่าโกรทฮอร์โมนมีผลดีต่ออาการเบาหวานอย่างมาก และว่าเขาอาจะค้นพบวิธีการรักษาเบาหวานที่เกิดกับผู้ใหญ่ โดยใช้โกรทฮอร์โมนแล้ว “โกรทฮอร์โมนส่งเสริมปฏิกิริยาการทำงานของอินซูลิน” ด็อกเตอร์เฮอร์โทกี กล่าว “เมื่อเราใช้โกรทฮอร์โมน ดูเหมือนว่ามันจะสั่งให้อินซูลินเอาพลังงานจากน้ำตาลไปส่งให้หัวใจ กล้ามเนื้อ และเซลล์ประสาท แทนที่จะไปเพิ่มให้เซลล์ไขมัน ดูเหมือนว่าโกรทฮอร์โมนจะช่วยปรังปรุงภาวะเบาหวานให้ดีกว่าเดิม”

โกรทฮอร์โมนและสารคล้ายอินซูลิน IGF-1 สามารถลดการพึ่งอินซูลินลงได้ 45% ในรายคนไข้ที่ต้องฉีดอินซูลิน (Insulin-dependent diabetes mellitus) IGF-1 เป็นสารที่คล้ายคลึงที่สุดที่จะส่งเสริมอินซูลินแบบเดียวกับที่อินซูลินผลิตโดยร่างกาย ถ้าแม้มันจะไม่ทำให้ปลอดจากภาวะต้องการอินซูลินเสียเลยทีเดียว แต่ก็ช่วยรักษาภาวะน้ำตาลในเลือด และอาจช่วยป้องกันอันตรายร้ายแรงถึงชีวิตอันสืบเนื่องมาจากเบาหวาน เช่นโรคหัวใจ ตาบอด และประสาทเชื่อมต่อกับกล้ามเนื้อมีปัญหาจนถึงกับต้องตัดอวัยวะทิ้ง


โกรทฮอร์โมนกับวัยเติบโตของเด็ก

โกรทฮอร์โมนมนุษย์ผลิตโดยต่อมพิทุอิทารีของมนุษย์ ตลอดชีวิตในอัตราที่ลดต่ำลงเรื่อยๆ มันเป็นตัวสำคัญต่อการพัฒนาเติบโตของเด็ก และการสังเคราะห์พลังงานของผู้ใหญ่ เริ่มได้รับความสนใจเมื่อปี 1950 และส่วนประกอบของมันได้รับการวิเคราะห์ปี 1956 จนกระทั่งกลางปี 1980 จึงได้นำโกรทฮอร์โมนจากแหล่งเดียวในขณะนั้นคือจากการสังเคราะห์ จนกระทั่งกรรมวิธีการสร้างจีนส์จากวิศวกรรมสมัยใหม่จึงสามารถสร้างโมเลกุลของโกรทฮอร์โมนเป็นปริมาณมากได้ และสามารถนำใช้ให้เป็นประโยชน์ในรายที่ขาดโกรทฮอร์โมน

การขาดโกรทฮอร์โมนเป็นเพราะร่างกายผลิตไม่เพียงพอ ถ้าไม่ได้รับการบำบัด เด็กชายอาจสูงแค่ 130 เซนติเมตร เมื่ออายุ 18 ปี เปรียบเทียบกับความสูงปกติ 162 เซนติเมตร ถ้าให้โกรทฮอร์โมนเสียแต่เนิ่นๆ เด็กชายอาจสูงตามปกติได้ทันการ

เทอร์เนอร์ซินโดรม คือการการขาดความสูงตามปกติ เป็นกับเด็กหญิงเท่านั้น เนื่องมาจากความผิดปกติของโครโมโซมเอกซ์

โรคเรื้อรังที่ก่อให้เกิดความไม่เติบโตหรือโตอย่างเชื่องช้าในวัยเด็ก การถ่ายเลือดหรือการถ่ายอวัยวะอาจช่วยชีวิตระยะสั้นแต่ความขาดการเติบโตก็กลับมาให้โทษอีก ความแคระจะเป็นปัญหาเรื้อรัง

เด็กที่ไม่ผลิตโกรทฮอร์โมนแตกต่างไปจากเด็กที่กล่าวนี้ นอกจากแคระมากแล้ว ยังไม่เติบโตตามวัยในอัตราปกติด้วย จะเป็นเด็กที่เล็กที่สุดในชั้น และจะไม่มีความสูงแบบผู้ใหญ่จนกว่าจะได้รับการบำบัด

ตามรายงานของด็อกเตอร์มอนด์ ไฮนซ์ ศาตราจารย์แห่งโรคเด็กที่สแตนฟอร์ด กล่าวว่า หลังจากฉีดโกรทฮอร์โมนเป็นเวลา 7 ปีแล้ว เด็กในกลุ่มทดลองสูงขึ้น 3 นิ้วมากกว่าอัตราปกติที่เขาควรจะสูงได้โดยปราศจากการบำบัด

ด็อกเตอร์เจมส์ กูไฮ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเด็กที่มิชิแกน กล่าวว่า “มันช่วยให้เด็กที่ขาดโกรทฮอร์โมนมีโอกาสเติบโตทางสรีระตามธรรมชาติ”

การขาดฮอร์โมนจากต่อมพิทูอิทารีคือโกรทฮอร์โมนมักจะเป็นผลให้เด็กไม่สามารถเติบโตได้ตามอัตราหรือสูงตามส่วนที่ควร หรือตามกรรมพันธุ์ เด็กจะสูงขึ้น 10 นิ้วในหนึ่งปี อีก 4 นิ้วในปีต่อไป และสูงปีละ 2.5 นิ้วต่อจากนั้นทุกปีจนวัยแตกพาน ความไม่สูงอาจไม่แสดงจนกว่าจะไม่สูงเท่าเพื่อนในกลุ่ม ปัญหาจึงไม่ได้รับการวิเคราะห์ จนกระทั่งเตี้ยเสียแล้ว

ในหลายกรณี RA-H อาจช่วยบำบัดได้ในรายที่ขาดโกรทฮอร์โมน โดยการเสริมโกรทฮอร์โมนด้วยฮอร์โมนสังเคราะห์ RA-H ไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ ซื้อได้ตามผู้แทนจำหน่ายทั่วไป เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีตัวยาเหมือนกับโกรทฮอร์โมนจากการผลิตของต่อมของผู้ใหญ่หรือเด็กปกติสุขภาพดีทั่วไป จากการทดลอง ในการใช้โกรทฮอร์โมนกับเด็กก่อนวัยแตกพาน 23 รายทุกวัน ปรากฏว่าสูงขึ้น 4.0+-1.1 ถึง 10.7+-2.3 เซนติเมตรต่อปี


รายงานการค้นคว้าเกี่ยวกับความดันโลหิต

ถ้าคนไข้มีความดันโลหิตสูงในขั้นอันตรายใช้โกรทฮอร์โมนจะมีผลอย่างไร ขั้นแรกจะมีผลอย่างยิ่งต่อระบบของร่างกาย คือไขมันจะลดลง เพิ่มกล้ามเนื้อแน่นขึ้น ด็อกเตอร์เบงท์สันค้นพบสิ่งที่น่าสนใจว่า โกรทฮอร์โมนจะกำจัดไขมันหน้าท้อง ขั้นที่สอง มันจะสร้างไขมันโคเลสเตอรอลในเลือดในทางที่ถูกต้อง กล่าวคือไขมัน HDL ที่ดีสูงขึ้น และลด LDL ไขมันอันตรายต่ำลง หลังจากการทดลอง 6 เดือน ความดันโลหิตต่ำลง 10 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ตรงข้ามกับที่เคยคิดกันมาก่อน ด็อกเตอร์เบงท์สันกล่าวว่า “นี่เป็นการผิดความคาดหมายของทุกคน เขาคิดกันว่ามันจะเพิ่มความดันโลหิตให้สูงขึ้น แต่ปรากฏผลออกมาตรงข้าม” ผลนี้ไม่ได้เกิดเฉพาะรายที่ขาดโกรทฮอร์โมนเพราะโรคความดันเท่านั้น ในปี 1977 ที่เยอรมัน การศึกษาพบว่า คนสุขภาพปกติทั้งหญิงและชาย ยิ่งมีโกรทฮอร์โมนมากเท่าใดยิ่งมี HDL โคเลสเตอรอลที่ดีมากเท่านั้น การศึกษาล่าสุดที่ด็อกเตอร์เบงส์สันและคณะรายงานว่า ทั้งโคเลสเตอรอลที่ไม่ดีและความดันโลหิตจะตกต่ำลงในรายเป็นโรคอ้วนเมื่อบำบัดด้วยโกรทฮอร์โมน และปรากฏผลอย่างเดียวกันกับการทดลองกระทำโดยด็อกเตอร์เชน และด็อกเตอร์เทอรี่ ซึ่งใช้โกรทฮอร์โมนบำบัดความชรากับกลุ่มคนทดลอง อัตราโกรทฮอร์โมนที่ดีส่งผลถึงหัวใจที่มีสุขภาพดีและหลอดเลือดแข็งแรง

ในการทดลองที่น่าตื่นเต้นยิ่งไปกว่านั้นที่โรงพยาบาลเซนต์โทมาสในลอนดอน เมื่อคนไข้ป่วยมีอาการคุชชิงซินโดรม เป็นโรคของระบบฮอร์โมน ปรากฏว่าอาการหัวใจไม่แข็งแรงและไม่ตอบสนองกับการบำบัดเยียวยาใดๆ อาการทรุดจนถึงขั้นที่ต้องอยู่ในรายชื่อของคนไข้เปลี่ยนหัวใจ เนื่องจากยังไม่มีใครบริจาคหัวใจด็อกเตอร์ปีเตอร์ ซองเซ่น ผู้บุกเบิกการใช้โกรทฮอร์โมนในการบำบัด ตัดสินใจใช้โกรทฮอร์โมนเสริมในการบำบัด การหมุนเวียนของโลหิตไปทั่วร่างกายอยู่ในอัตราที่ดีขึ้นมาก จนไม่จำเป็นที่คนไข้ต้องรับการเปลี่ยนหัวใจ เขากล่าวว่า “ผลต่อหัวใจดีขึ้นอย่างมาก น่าประทับใจและน่าตื่นเต้นทีเดียว” ในรายคนไข้ที่มีอัตราโกรทฮอร์โมนต่ำ โกรทฮอร์โมนเสริมความแข็งแรงของหัวใจช่องบนซ้าย ทำให้การทำงานของหัวใจดีขึ้นทั้งหมด ทำให้เต้นดีขึ้น และสูบฉีดโลหิตดีขึ้น การปรับปรุงการทำงานของหัวใจนี้ไม่ส่งผลกระทบไปถึงการเพิ่มความดันโลหิตสูงขึ้นเลย