สุขภาพและการบำบัด
สดศรี สุริยะฉาย
รู้จักร่างกายของตัวเอง

ร่างกายของเรามีชีวิตและบงการด้วยฮอร์โมน ฮอร์โมนคือวิธีการสื่อสารระหว่างเซลล์ ให้กระตุ้นต่อมและอวัยวะผลิตสารเข้าสู่ระบบเลือด ไปส่งให้จุดรับของระบบประสาท นำไปใช้งานตามหน้าที่ซึ่งร่างกายออกแบบไว้ จึงควรให้ความเข้าใจการทำงานภายในที่เรียกว่า ระบบต่อมผลิตฮอร์โมน โดยมีต่อมทำงานรับหน้าที่เช่น

1.ต่อมพิจุอิทาริ (Pituitary Gland) อยู่ด้านล่างส่วนหน้าของสมอง เป็นต่อมที่ทำหน้าที่สื่อสารด้วย สารเคมีเรียกว่า โกรทฮอร์โมน หรือ ฮอร์โมนแห่งการเจริญเติบโต ผลิตตั้งแต่เริ่มจุติชีวิต จนถึงวัยยุติการเจริญเติบโต เช่น ประมาณ 20 หรือ 25 ปี หรือบางคนก็ยังผลิตฮอร์โมนนี้อยู่จนถึง 30 ปี แต่โดยมาก ร่างกายมักจะหดเตี้ยลง กะโหลกศีรษะหดตัวลง ทำให้เกิดผิวส่วนเกิน ใบหน้าเกิดรอยย่นเพราะผิวมากกว่ากระดูก ผู้เขียนเคยเป็นตัวแทนจำหน่ายโกรทฮอร์โมนขวดหนึ่งออนซ์ ราคากว่า 200 ดอลล่าร์ สเปรย์ใต้ลิ้นก่อนอาหารวันละ 3 เวลา สัปดาห์ละ 5 วัน เว้น 2 วัน เดือนหนึ่งขายไม่ต่ำกว่า 200 ขวดจนกระทั้งเศรษฐกิจซบเซาจึงเลิกขาย แต่ก็นับว่าได้ผลดีต่อระบบร่างกายให้ทำงานผลิตฮอร์โมนส่งความเจริญเติบโตไปสู่ระบบทั้ง 10 ระบบในร่างกายได้ เพียงแต่กระตุ้นให้ต่อมพิจุอิทาริให้ผลิตฮอร์โมนสำคัญนี้ ส่งฮอร์โมนไปกระตุ้น 10 ระบบของร่างกายให้ทำงานอยู่เสมอ โกรทฮอร์โมน จะช่วยรักษาโรค Lou Gehrig’s Disease ซึ่งทำให้กล้ามเนื้อหมดสมรรถภาพเคลื่อนไหว

2.ต่อมไทรอยด์ (Thyroid) อยู่ติดกับหลอดลม ผลิตฮอร์โมนชื่อว่า ไทรอกซิน (Thyroxin) และ ไทโอโดไทโรนิน (Triiodothyronine) มีบทบาทสำคัญหลายอย่าง เช่น ทำให้ไม่อ้วนตุตะ เนื่องจากส่งเสริมการใช้พลังงานในร่างกายให้เป็นปกติ ทำให้ไม่เกิดผิวย่นแห้ง เพราะรักษาระดับน้ำในร่างกายให้สมดุล ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง เพราะสั่งการใช้แป้ง ไขมัน และโปรตีนให้สมควร ทำให้แผลหายเร็ว เพราะเสริมสร้างเซลล์ทำให้ไม่เป็นโรคคอพอก เพราะขาดไอโอไดน์ ถ้าต่อมนี้ไม่ได้รับการควบคุมที่มีประสิทธิภาพจากฮอร์โมน หัวหน้าใหญ่คือโกรทฮอร์โมน หรือขาดฮอร์โมนจากต่อมนี้ จะเห็นอาการผิวแห้ง ผอมแห้ง เซื่องซึม ไม่มีอารมณ์โรแมนติค ไอโอไดน์ได้จากเกลือไอโอไดน์สามารถสร้างฮอร์โมนนี้

3.ต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid) มีอยู่ 4 ต่อมที่คอ มีความสำคัญต่อระบบประสาทมาก โดยการส่งแคลเซียมและ ฟอสฟอรัสเข้าสู่ระบบประสาทให้พอเพียง มิฉะนั้น อาจเกิดโรคลมบ้าหมูขึ้นได้ หรือมิฉะนั้นก็ขาดแคลเซียมในกระแสโลหิต ทำให้กระดูกและฟันอ่อนแอ นอกจากนี้ แคลเซียมยังช่วยดำรงสภาพกรดให้สมดุล บางที กรดสูงขึ้นเบื้องบนทำให้ปวดศีรษะ ตาพร่าได้ แคลเซี่ยมช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซน์เพื่อให้เซลล์ได้รับสารที่เป็นประโยชน์จากอาหารเต็มที่ยิ่งขึ้น แคลเซียมช่วยให้การทำงานของหัวใจเป็นปกติ ไม่เกิดอาการกระตุกของกล้ามเนื้อ หรือเป็นตะคริวในกล้ามเนื้อ ซึ่งปวดมาก ถ้าต่อมนายใหญ่ที่ผลิตโกรทฮอร์โมนไม่ผลิตดีพอเพียง หรือขี้เกียจทำงานผลิตฮอร์โมนบ้าง ทำให้ไปดึงเอาแคลเซียมจากกระดูกมาหมุนเวียนในระบบโลหิตมากไป กระดูกก็ไม่แข็งแรงอีก

4.ต่อมไทมัส (Thymus) อยู่ตรงกระดูกไหปลาร้าตรงกลางอก ข้างล่างต่อมไทรอยด์ ต่อมนี้ตอนทารกแรกเกิดมีขนาดใหญ่ เพราะต้องพึ่งฮอร์โมนจากต่อมนี้ไปสร้างภูมิคุ้มกันโรค เมื่อร่างกายผลิตภูมิต้านทานโรคจากส่วนอื่นๆ มากขึ้น เซลล์ในโลหิตขาว น้ำเหลือง และภูมิคุ้มกันในผิว ต่อมนี้ทำหน้าที่น้อยลง ขนาดก็เล็กลง

5.ต่อมอะดรีนัล (Adrenals) มีอยู่สองต่อตรงส่วนบนของไต บางทีเรียกกันว่า ต่อมหมวกไต ผลิตฮอร์โมนที่สมควรได้รับการควบคุมอย่างสูง เพราะถ้าเกิดไม่ผลิตฮอร์โมนขึ้นมาเมื่อไร หรือผลิตไม่พอ คุณจะกลายเป็นคนน่าเบื่อ คุณเคยชอบใครสักคนไหม เพราะเขาหรือเธอมีความกระฉับกระเฉง กระปรี้กระเปร่า ความคิดฉับไว ฉลาด มีความเป็นหญิงหรือชายเต็มตัว ไม่ครึ่งๆกลางๆ แบบม้าดีดกะโหลกหรือประเทืองรูปร่างเพรียว ไม่กลมตะลุมปุ๊กหรือเทอะทะ มีฮอร์โมนสมดุล หมายถึงว่ามีความพร้อมเพรียงด้วยประการทั้งปวง ผิวพรรณดี รู้จักเอาตัวรอดในยามคับขัน มีการตัดสินใจรวดเร็ว บุคลิกที่ดีต่างๆเหล่านี้ เป็นผลของฮอร์โมนผลิตจากต่อมอะดรีนัล ซึ่งได้แก่ สเตอรอด์สร้างกล้ามเนื้อ อัลโดสเตอโรนช่วยการเผาผลาญไขมัน คอร์ติซอลช่วยในการป้องกันอ้วน ใช้ในการซ่อมแซมร่างกาย การเจริญเติบโต และผลิตฮอร์โมนเพศ เช่น แอนโดรเจนในชาย เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนในหญิง และผลิตเอพิเนฟรีน หรือ อะดรีนารีน เพื่อความปราดเปรื่อง

6.ต่อมบนตับอ่อน (Pancreases) ต่อมนี้มีท่อต่อเข้าสู่ระบบลำไส้ มีเซลล์เรียกว่า อัลฟ่า กับเบต้า (Alpha & Beta) นับล้านเซลล์ อัลฟ่าผลิตกลูตากอนเพิ่มปริมาณน้ำตาลในเลือด และกระตุ้นให้สลาย ไกลโคเจนเป็นกลูโคส สลายไขมันและโปรตีนนำไปใช้ประโยชน์ในรูปของพลังงานและซ่อมแซมเสริมสร้างร่างกาย เบต้าผลิตอินซูลินซึ่งมีบทบาทสำคัญในการควบคุมปริมาณน้ำตาล โดยสั่งให้ตับเปลี่ยนกลูโคสเป็นไกลโคเจนเมื่อจำเป็น และกระตุ้นให้เนื้อเยื่อรับกลูโคสไปใช้ซ่อมแซมส่วนที่ได้ใช้หมดไป ถ้าร่างกายผลิตอินซูลินไม่พอ ก็เป็นผลให้กลูโคสไม่ถูกใช้งาน และเดินทางไปสู่ไต และสูญเสียกลูโคสไปกับปัสสาวะ เป็นทางไปสู่โรคเบาหวาน เรียกว่า Hyperglycemia

7.ต่อมเพศ เพศหญิงผลิตเอสโตรเจนมากหน่อย โปรเจสเตอโรนซึ่งเป็นฮอร์โมนกลางคอยสมดุล ฮอร์โมนอื่นๆก็มีบ้าง และผลิตเทสโทสเตอโรนน้อยหน่อย เพศชายก็ผลิตเทสโทสเตอโรนมาก ผลิตเอาโตรเจนน้อย ถ้าเกิดผลิตเอสโตรเจนมากไปอาจเสื่อมความอยากมีแฟนเพศตรงข้าม เดี๋ยวนี้แพทย์เริ่มคิดแล้วว่า การที่เอสโตรเจนสะสมในร่างกายมากเกินไปทั้งเพศหญิงและเพศชาย ไม่ใช่ของที่ดี เพราะก่อให้เกิดความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคความต้องการทางเพศเสื่อม แพทย์เลยผลิตครีมโปรเจสเตอโรนใช้ทาภายนอก บนผิวส่วนที่บาง เช่น คางสองชั้น หน้าท้อง ใต้แขน ตะโพกบน ครีมจะซึมเข้าไปสู่จุดรับ เปลี่ยนไขมันเป็นพลังงาน ลดส่วนไขมันพอก และเปลี่ยนฮอร์โมนที่มากเกินขนาดความต้องการของร่างกายให้สมดุลเป็นปกติ ฮอร์โมนเพศช่วยให้มีบุคลิกเป็นเสน่ห์ ใครเห็นก็อดรักไม่ได้เพราะแรงดึงดูดมาจากฮอร์โมนเพศ ตาก็โตแวววาว ถ้าเป็นหญิงก็เรียกว่า หยาดเยิ้ม มีความเชื่อมั่นในตัวเอง และองอาจ

จะเห็นความสำคัญแล้วว่า เพียงฮอร์โมนจากต่อมพิจุอิทาริเท่านั้น ที่ร่างกายจะได้รับการกระตุ้นให้มีฮอร์โมนอื่นๆ ที่จำเป็นอีกหลายอย่าง พอล่วงเข้าวัยกลางคน ต่อมพิจุอิทาริจะเหนื่อยล้า ผลิตฮอร์โมนน้อยลงเดี๋ยวนี้ฮอร์โมนเสริมจากต่อมพิจุอิทาริมีบทบาทมากขึ้นในการชดเชยความเหนื่อยล้านั้น ให้ได้รับการกระตุ้นให้ทำงานอันสมควรต่อไป เรียกว่า RA-H (Reverse-Aging Hormone, Growth Hormone) ผู้เขียนเคยเป็นผู้แทนจำหน่าย ขนาดขวดละ 1 ออนซ์ ราคา 210 เหรียญ เมื่อเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงก็เลิกกิจการทั้งด้านธุรกิจการจำหน่ายโกรทฮอร์โมน และธุรกิจเสริมความงามด้านผิว