สุขภาพและการบำบัด
สดศรี สุริยะฉาย
ความงาม - ความเจ็บ – กับการรักษาอวัยวะภายใน

หัวข้อเรื่องนี้แปลก อนุสนธิมาจากหลายกรณี เช่น จากข่าวโคโมลาออกจากตำแหน่ง เพื่อการพิจารณาคดีต่อไป หรือเรื่องมะเร็งเต้านม คนมีหน้าอกสวย บางทีอาจมีเซลล์มะเร็งอยู่ เดี๋ยวนี้กินยารักษาได้ไม่ต้องผ่าตัดออกทิ้งไปทั้งเต้า ก็ดีไปอย่าง เพราะแค่ตรวจพบเนื้อเยื่อปกติ อาจยังไม่เป็นเซลล์มะเร็งก็ได้ ยังไม่รู้แน่นอน ก็ต้องเอาเนื้อเยื่อจากเต้านมไปตรวจดูว่ามีเซลล์มะเร็งหรือเปล่า ตอนเจาะเต้านมเพื่อดึงเอาเนื้อเยื่อไปพิจารณาว่าเป็นเซลล์มะเร็งหรือเปล่า นี่ก็เจ็บปวดมากโขอยู่แล้ว ถึงขั้นตัดเอาออกไปทั้งเต้าคงจะเจ็บและเสียความงามมากทีเดียว ตามเอกสารการแพทย์ในห้องหมอ เขาบอกว่า เนื้อเยื่อภายในเต้านมจะมีสภาพเปลี่ยนแปลงภายในมีความข้นมากขึ้น เมื่ออายุมากขึ้น ตอนนี้แหละ เขาอยู่รู้ว่า เป็นเซลล์มะเร็งบ้างไหม เลยต้องเจาะเอาเนื้อเยื่อที่เต้านมไปตรวจให้แน่ชัด เวลาเจาะผิวเต้านมก็เจ็บแทบวางวาย แถมเขาไม่ฉีดยาชาเสียด้วย ไม่รู้เหตุผลอะไร ปล่อยให้เจ้าของเต้านมน้ำตาไหลพรากๆ แถมระบมไปอีกนาน เพราะเนื้อเยื่อขาดหายไปบางส่วนจากที่เคยติดต่อกัน นี่ถ้าเป็นเพศชาย เขาเจาะเอาเซลล์ที่ต่อมลูกหมากไปตรวจหาเซลล์มะเร็ง ไม่รู้ว่าเขามีวิธีการตรวจโดยวิธีเอาเนื้อเยื่อไปหาเซลล์มะเร็งอย่างไร ไม่เคยมีใครเล่าให้ฟัง คงไม่ใช้วิธีเดียวกันหรอกนะ เจ็บตายเชียว ฉะนั้นที่เห็นหน้าอกสวยๆ เตรียมตัวเตรียมเต้าไว้เชียว ยิ่งสตรีที่ผ่าตัดเสริมทรวงอก ไม่รู้ว่าเขาทนได้อย่างไร คงหายเจ็บตอนเห็นหน้าอกตัวเองใหญ่โตสวยงามนั่นแหละ

ฉบับนี้ไม่รู้จะเขียนเรื่องอะไร ได้แต่ภาวนาอย่าให้ร่างกายเกิดเจ็บปวด ก็นวดมือนวดนิ้วไปพลางๆ เผื่อว่าจะส่งสารไปสู่อวัยวะภายในให้แข็งแรงได้

ท่าที่ 1 สองมือยื่นไปข้างหน้า ข้อศอกงอเล็กน้อย ฝ่ามือคว่ำลง กำหัวแม่มือไว้ในฝ่ามือ แล้วกระทบด้านหัวแม่มือชนกัน 36 ครั้ง จะช่วยให้ชีพจรของลำไส้ใหญ่สู่ประสาทโดยรวมทั่วร่างกาย สามารถรักษาโรคท่อนบนของร่างกายเกี่ยวกับผิวพรรณของใบหน้า ปวดหัว จมูกอักเสบ ปวดหู ปวดฟัน ต่อมทอนซิลอักเสบ คออักเสบ โรคลมชัก และป้องกันการเป็นหวัด

ท่าที่ 2 เหมือนท่าที่หนึ่ง แต่หงายมือทั้งสองกระทบกันด้านข้างนิ้วก้อย ชนกัน 36 ครั้ง จะช่วยให้ชีพจรของลำไส้ใหญ่และลำไส้เล็ก รักษาตัวเอง จะช่วยให้คลายอาการปวดศีรษะ คอแข็ง ปวดหู ปวดหลัง ปวดหัวไหล่ จะผ่อนคลาย และป้องกันกระดูกผุ กระดูกเสื่อม

ท่าที่ 3 สองมือหงายขึ้น ฝ่ามือทั้งสองชนกันด้านข้างนิ้วก้อย 36 ครั้ง จะช่วยชีพจรหัวใจและชีพจรเนื้อเยื่อหุ้มหัวใจ รักษาอาการนอนไม่หลับ ป้องกันโรคหัวใจ อึดอัดแน่นหน้าอก ผ่อนคลายความตึงเครียด

ท่าที่ 4 ฝ่ามือทั้งสองหงายขึ้น นิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือกางออกประมาณ 90 องศา ให้นิ้วมือที่กางออกกระทบกัน 36 ครั้ง รักษาเลือดกำเดาออก ท้องอืด อาการไอ ตลอดจนลำไส้และกระเพาะอาหารหดตัว

ท่าที่ 5 สองมือกางออก กางนิ้วมืออก ให้มือทั้งสองชนกัน 36 ครั้ง รักษาโรคลมตะกัง ปวดฟัน ตาบวม มือบวม นิ้วมือทั้ง 5 ปวดชา มือชา เท้าชา

ท่าที่ 6 มือข้างซ้ายกำหมัด มือขวายื่นออก กางนิ้วออกเพื่อรับกับหมัดซ้าย ชกมือขวา 36 ครั้ง

ท่าที้ 7 มือขวากำหมัด มือซ้ายยื่นออก กางนิ้วออกเพื่อรับกับหมัดข้างขวาชกมือซ้าย 36 ท่าที่ 6 และท่าที่ 7 อยู่ที่ชีพจรหัวใจและชีพจรเยื่อหุ้มหัวใจ

ท่าที่ 8 ฝ่ามือขวาหงายขึ้น ฝ่ามือซ้ายคว่ำลง ใช้หลังฝ่ามือกระทบกัน 36 ครั้ง ส่วนประสาทที่กระทบคืออวัยวะ 3 ตอน ตอนบน ตอนกลาง ตอนล่าง กระทบระบบภายใน รักษาอาการกระหายน้ำ ปากแห้งเกรียม หนาวๆ ร้อนๆ ปวดข้อมือ ป้องกันและรักษาโรคเบาหวาน

ท่าที่ 9 หัวแม่มือกับนิ้วชี้ทั้งสองดึงปลายหู 36 ครั้ง ปลายประสาทของใบหูมีมากมาย รักษาสายตา ประสาทใบหน้า ตลอดจนการไหลเวียนของโลหิตในสมอง

ท่าที่ 10 อุ่นฝ่ามือจนร้อนอาจด้วยผ้าขนหนูอุ่น แล้วใช้ฝ่ามือที่ร้อนนั้นประกบตาทั้งสอง กลอกตาเวียนซ้าย 6 ครั้ง มองสุดตาซ้าย มองสุดตาขวา สลับไปมา 6 ครั้ง นวหน้าโดยใช้มือ 2 ข้างลูบลงจากจุดกลางใบหน้าไปโคนขมับ โคนหู โคนติ่งหู โคมกราม ใช้มือเคาะศีรษะเบาๆ นวดกระพุ้งแก้ม ใช้หลักทฤษฎีของกำลังภายในซี่กง เพื่อปรับประสาทตา รักษาสายตาสั้น และฝ้ามัว


ท่าบำรุงอวัยวะภายใน ตรีสัญจร เตรียมทำ warm up กระตุ้นลมปราณ

ท่าที่ 1 บริหารลำไส้ใหญ่ แก้ท้องผูก คว่ำมือใช้แรวนิ้วชี้ถึงนิ้วโป้ง โค้งเป็นรูปตัว C กระทบกัน 36 ครั้ง

ท่าที่ 2 บริหารลำไส้เล็ก หงายมือให้แนวนิ้วก้อยอยู่ถึงสันมือกระทบกันเบาๆ 36 ครั้ง

ท่าที่ 3 บริหารเยื้อหุ้มหัวใจ ตั้งมือทั้งสองข้างขึ้น หงายมือออกเป็นรูปดอกบัว แล้วใช้อุ้งมือตีกันนับ 36 ครั้ง

ท่าที่ 4 สร้างภูมิต้านทานโรค กางนิ้วสองข้างนอก แล้วสอดเข้าหากัน ให้มีเสียงดับฉับ บีบนิ้วมือทั้งสองข้างเล็กน้อยแล้วดึงออก ทำซ้ำ 36 ครั้ง

ท่าที่ 5 บริหารปอดซ้าย ขวา กางมือออกไม่ต้องเกร็ง แล้วใช้นิ้วหัวแม่มือขวาหนึบแล้วดึงตรงกลางระหว่างนิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือ นับ 36 ครั้ง และสลับข้างทำอีก 36 ครั้ง

ท่าที่ 6 บริหารกล้ามเนื้อหัวใจ ให้กำมือขวาและกางมือซ้ายออก จากนั้นกำหมัดต่อยอุ้งมือซ้าย ไม่ให้มีเสียงนับ 36 ครั้ง เช่นเดียวกัน

ท่าที่ 7 การบริหารไตขวาและไตซ้าย ให้หงายมือขวาขึ้น มือซ้ายคว่ำลง ใช้มือขวาตีบนหลังมือซ้าย ทำ 36 ครั้งและสลับข้างทำนับ 36 ครั้ง เช่นเดียวกัน

ท่าที่ 8 การกระตุ้นเส้นลมปราณ เปิดจุดรับพลัง ซ้าย-ขวา ให้กางมือซ้าย จากนั้นใช้นิ้วหัวแม่มือขวาหมุนตามเข็มนาฬิกา รอบจุเล่ากง คือบริเวณหัวแม่มือขึ้นไป ค่อนไปทางนิ้วโป้ง นับ 36 รอบ และสลับข้าง นับ 36 รอบ