สุขภาพและการบำบัด
สดศรี สุริยะฉาย
สมองสั่งการ ตอน 2

ก่อนที่จะต่อเรื่องสมองสั่งการ ผู้เขียนมีตัวอย่างของสมองสั่งการระหว่างสัตว์กับมนุษย์ให้ประจักษ์ความจริงเป็นตัวอย่าง สัปดาห์ที่แล้วจากส่งต้นฉบับได้ 2 วัน ผู้เขียนเกิดเจ็บที่หัวใจตอน 6 โมงเช้าซึ่งปลุกให้ตื่นก่อนปกติ ไม่รู้ว่าเจ้าบีบี้นอนอยู่ปลายมือ ปกติเขาจะไม่นอนบนเตียงเลยตั้งแต่เลี้ยงมาหลายปีแล้ว เมื่อเขาเห็นผู้เขียนตื่นผิดเวลา ไม่รู้ว่าสมองสั่งการให้เขาเลียมือผู้เขียนเพราะผู้เขียนปวดหัวใจหรือเปล่า แต่ความสุขจากการสัมผัสของเขาที่ปลายมือทำให้เกิดความสุข ความปวดหัวใจก็คลายและหายไปเอง ปกติแล้ว ถ้าปวดหัวใจต้องอมยา Nitroglycerin ใต้ลิ้นเพื่อคลายความปวด แต่วันนั้น แมวช่วยรักษาให้ เขาถึงเรียกว่า supportive animal เป็นตัวอย่างหนึ่งของสมองสั่งการให้ความสุขคลายความเจ็บที่หัวใจ

12.การหมุนเวียนโลหิต เข้าห้องหัวใจขวาบน แล้วลิ้นหัวใจเปิดลงห้องขวาล่าง ส่งไปสู่ปอด ทำการฟอกโลหิต โดยออกซิเจนช่วยทำงาน แล้วปอดส่งคาร์บอนไดออกไซด์โดยหายใจออกไป แล้วปอดส่งโลหิตกลับมาที่ห้องซ้ายบน ส่งลงสู่ห้องซ้ายล่าง แล้วส่งโลหิตออกทาง aorta เพื่อส่งไปสู่ร่างกายส่วนต่างๆของร่างกาย เช่นลำไส้ กระเพาะอาหารเพื่อรับสารอาหารและของเหลว แล้วส่งไปสู่ตับเพื่อกำจัดสารพิษ และทำให้โลหิตมีประโยชน์เช่น โปรตีนที่จำเป็น หรือสารที่จะช่วยให้โลหิตจับตัวเป็นก้อนเมื่อจำเป็น เช่นการปิดปากแผลหลังจากนั้นถูกส่งไปที่ไตทั้งสองเพื่อขับของเหลวส่วนเกิน เช่นกรด หรือแร่ธาตุ ที่ม้าม (spleen) จะทำการแยกเซลล์ไร้ประโยชน์หรือหมดอายุแล้วกำจัดไป

13.การสร้างโลหิต ประกอบด้วยพลาสม่า กับ เซลล์โลหิต ซึ่งควบคุมปริมาณโดยไต ตับสร้างโปรตีนในพลาสม่าเป็นส่วนใหญ่ เซลล์โลหิตถูกสร้างในโพรงกระดูก (bone marrow) เม็ดโลหิตแดงเป็นส่วนใหญ่ของโลหิตปริมาณเกือบครึ่ง เซลล์โลหิตเกิดและโตในโพรงกระดูกบางส่วน รวมถึง กระดูกอก เชิงกราน ซี่โครง กระดูกสันหลัง กระดูกส่วนยาวที่ขา (กระดูกโคนขา และกระดูกขาปล้องที่ 4) เมื่อสมบูรณ์ได้ที่ เซลล์โลหิตก็เข้าสู่ระบบโพรงกระดูกเพื่อสูบฉีดไปทั่วร่างกาย เซลล์โลหิตขาว (Lymphocytes) เดินไปหาต่อมโลหิตขาว ไปสู่ต่อมไทมัส และม้าม (Spleen) เมื่ออายุมากขึ้นเต็มที่ ก็กลับเข้าสู่ระบบโลหิต

เม็ดโลหิตเติบโตจากสเต็มเซลล์ ชื่อว่า primitive stem cells อันสำคัญมีชื่อเรียกว่า multipotential stem cells ซึ่งจะสร้างเม็ดโลหิตขาว (white blood cells) อันที่สำคัญสร้าง Myeloid stem cells ซึ่งจะสร้างเม็ดโลหิตแดง และเซลล์โลหิตขาวอื่นๆ รวมทั้ง สร้าง megakaryocytes ซึ่งสร้าง platelets สำหรับปิดปากแผล ตัวสเต็มเซลล์หลักก็สร้างมากขึ้นสำหรับเตรียมพร้อมเมื่อเซลล์ชราอายุขัย

ตัวที่จะบงการการเกิดและความชราของเซลล์โลหิตเรียกว่า cell growth factors ซึ่งอยู่ในโพรงกระดูกและบางส่วนมาจากฮอร์โมนสร้างโดยอวัยวะส่วนอื่นๆ เดินทางมาที่โพรงกระดูก ตัวปัจจัยแห่งการเติบโตอาจได้รับการกระตุ้นโดยตัวยากระตุ้นการสร้างเม็ดโลหิตต่างๆ ชนิด ยกตัวอย่างเช่นที่ผู้เขียนใช้สเปรย์โกรทฮอร์โมนใต้ลิ้น 3 ที ครึ่งชั่วโมงก่อนอาหารหรือก่อนนอน เคยจำหน่ายขวดละ 200 เหรียญเดือนหนึ่งมากกว่าร้อยขวด เดี๋ยวนี้ก็สเปรย์อยู่เมื่อนึกขึ้นได้ โดยมากลืม อีกทางหนึ่งก็คือการถ่ายสเต็มเซลล์ (transfusion) โดยการผ่าตัดเปลี่ยนโพรงกระดูก (bone marrow transplant)

14.กายหายใจ คนเราหายใจ 18 ครั้งต่อนาที ชั่วโมงละ 1,080 ครั้ง วันละ 25,900 ครั้ง ซึ่งเท่ากับจำนวนปีที่โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ (จากหนังสือค้นหาวิธีบำบัดโรคด้วยตัวท่านเอง โดย ดร.โรเบิร์ต เซนนี่)

การหายใจประกอบด้วยการนำออกซิเจนเข้าสู่ปอด และการหายใจเอาคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากปอด โดยผ่านระบบลมหายใจ (airways) เมื่อนำออกซิเจนหายใจเข้าสู่ปอด ส่วนหนึ่งของออกซิเจนจะเข้าสู่ระบบโลหิต เมื่อกระบังลม (diaphragm) ขยายตัวซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญของการหายใจหดตัวก็จะส่งอากาศเข้าสู่ท้องก็จะส่งอากาศประกอบด้วยออกซิเจนสู่ปอด ถ้ามีออกซิเจนน้อยในโลหิต เซลล์สมองก็จะส่งข่าวให้ปอดหายใจถี่ขึ้นและลึกมากขึ้น

ที่ปลายของระบบลมจะมีถุงลม (alveoli) โดยมีเส้นโลหิตฝอยนำออกซิเจนเข้าระบบเลือด ในขณะที่คาร์บอนไดออกไซด์ส่วนเกินในโลหิตก็จะเลื่อนระหว่างช่องว่าง ทั้งออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์เคลื่อนอย่างง่ายดายระหว่างช่องว่างได้เพราะทั้งถุงลมและเส้นโลหิตฝอยมีผนังบาง เป็นโอกาสให้ออกซิเจนกลับเข้าสู่ระบบปอดและระบบหัวใจได้

15.ระบบฮอร์โมนทำงานอย่างไร

1.สมมุติว่าเด็กชายมีแผลที่แขนของเขา และใส่ยาป้องกันเชื้อโรคที่แผลด้วยสำลีชุบยา ก่อให้เกิดความแปลบ สมองได้รับความสะดุ้งแปลบและส่งสัญญาณให้ Hypothalamus ซึ่งเป็นต่อมที่สมองส่งสัญญาณการเพิ่มผลิตฮอร์โมนชื่อ corticotrophin-releasing hormone (CRH) ซึ่งจะเดินทางจากต่อมไฮโปทาลามัสที่สมองไปสู่ต่อมพิจุอิทาริที่สมองในการสนองตอบ

2.ต่อมพิจุอิทาริจะเพิ่มการผลิตฮอร์โมนชื่อ adrenocorticotropic hormone (ACTH) ซึ่งจะเข้าสู่ระบบโลหิตและส่งไปที่ต่อมหมวกไต

3.ต่อมหมวกไตจะส่งสัญญาณให้ผลิตฮอร์โมนแห่งความเจ็บปวดไปทั่วร่างกายโดยความช่วยเหลือของระบบ stress เพื่อช่วยร่างกายรับกับความกดดันด้านความปวด โดยสร้างฮอร์โมนชื่อคอร์ติโซล (cortisol) ซึ่งจะถูกส่งไปทั่วร่างกายเพื่อรับกับสภาพความเจ็บปวด และเดินทางไปยังส่วนบนของเซลล์ผิว ส่งผลให้เปลี่ยนสารเคมีในเซลล์ เพื่อพร้อมรับกับความเปลี่ยนแปลงที่ต้องการ

4.ต่อมไฮโปทาลามัสก็ส่งสัญญาณผ่านระบบประสาทอัตโนมัติ autonomic nerves ไปยังต่อมหมวกไตเพื่อสร้างอะดรีนาลีน เป็นฮอร์โมน epinephrine เดินทางไปกับกระแสโลหิต กระตุ้นหัวใจให้เต้นเร็วและความดันโลหิตเพิ่มขึ้น

16.คุณสมานแผลอย่างไร ระบบโลหิตจะป้องกันการสูญเสียเลือดมากเกินไปโดยสร้างการปิดแผลด้วยเกล็ดเลือด platelets โปรตีนในโลหิตสร้างการแข็งตัว เม็ดเลือดขาวเดินทางไปสู่แผล ทำการล้อมสิ่งแปลกปลอมและกำจัดแบคทีเรียออกไปจากแผล ภายใน 24 ชั่วโมง จะมีเซลล์เกิดขึ้นที่ริมปากแผลและเพิ่มมากขึ้นปิดรอบและบนปากแผล ในขณะเดียวกันจะมีเซลล์อีกชนิดหนึ่งเรียกว่า fibroblast เดินทางไปที่แผลสร้างสายใยปิดแผลเรียกว่าคอลลาเจนเพื่อสร้างสมรรถภาพให้ผิวเป็นการสมานผิว