สุขภาพและการบำบัด
สดศรี สุริยะฉาย
รักษาร่างกายด้วยอวัยวะภายใน

ร่างกายของเรานี้มหัศจรรย์ที่สร้างได้ครบทั้งการเจริญเติบโต การบำบัดความบกพร่อง และการส่งเสริมภาวะการทำงานอันดี เพียงแต่เรามีความรู้ว่า อะไรทำหน้าที่อะไร และคอยป้อนอาหารกับความรู้สึกนึกคิดให้เอื้อประโยชน์ต่อการทำงานของอวัยวะต่างๆให้ครบถ้วนของระบบต้านทาน ที่เรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Immune System แท้ที่จริงก็มาจากอวัยวะภายในที่ทำหน้าที่อิสระ ผลรวมคือสุขภาพตลอดร่างกาย รวมทั้งภาวะความรู้สึกทางจิตใจด้วย นับว่ามหัศจรรย์มาก

ระบบภูมิคุ้มกัน เริ่มพิจารณาตั้งแต่ อวัยวะภายใน ต่อมภายใน ตั้งแต่ต่อมในปากและลำคอ ต่อมที่กระดูกไหปลาร้าซึ่งผลิตเซลล์ป้องกันโรค ต่อมน้ำเหลืองที่ม้าม ในลำไส้ และไขกระดูก ไส้ติ่ง และไขกระดูกทำงานประสานกับอวัยวะภายใน เช่นสมอง ไต กระเพาะ ตับ หัวใจ ซึ่งประสานงานกับการสร้างโลหิต และการเดินทางหมุนเวียนของระบบเลือด ระบบขับถ่ายของเสีย ระบบประสาททั้งหมด แม้แต่อารมณ์ก็มีส่วนกระทบกระเทือนการประสานงานของอวัยวะและการผลิตข่าวสื่อสารที่เรียกว่า ฮอร์โมน เราไม่รู้ว่าใครสร้างความมหัศจรรย์ต่างๆ เหล่านี้ ศาสนาคริสต์อาจให้คำตอบว่าพระเจ้าเป็นผู้สร้าง ธรรมชาติอาจให้คำตอบว่า ฉันเป็นผู้สร้าง เช่น ให้พืชมีเปลือกเหนียวเพื่อยืนลำต้น มีรากเพื่อแสงหาอาหารและน้ำมาป้อนการเติบโตของลำต้น สัตว์ก็ต้องมี 4 เท้า เพื่อยึดพื้นที่ละสองเท้าเวลาเดินไปข้างหน้าหรือถอยหลัง สัตว์ก็ยิ้มเมื่อถ่ายรูปเพราะความรู้สึกบอกให้ยิ้ม นี่คือความลึกล้ำของระบบประสาทของสิ่งมีชีวิต

ร่างกายของเรา จัดระบบการทำงานไว้ 10 ระบบ คือ 1.ระบบโครงสร้างกระดูก 2.ระบบกล้ามเนื้อ 3.ระบบโลหิต 4.ระบบน้ำเหลือง 5.ระบบทางเดินหายใจ 6.ระบบย่อยอาหาร 7.ระบบปัสสาวะและขับถ่าย 8.ระบบสืบพันธุ์ 9.ระบบโครงสร้างผิว 10.ระบบประสาท ระเบียบการจัดระบบน่าสนใจมากจนมนุษย์นึกไม่ถึง แค่การเรียนรู้ว่าอวัยวะอะไรทำหน้าที่อะไรในระบบนั้นๆ ก็ต้องระมัดระวังไม่ให้ผิดพลาดตามที่ร่างกายสร้างไว้ให้ใช้งาน เหมือนอย่างพืชเราก็ต้องระมัดระวังไม่ทำลายรากพืชเพราะพืชอาจจะตายได้

1.ระบบโครงสร้างกระดูก มีการประสานงานที่ละเอียดอ่อนกับระบบกล้ามเนื้อ โลหิต น้ำเหลือง เอ็นกระดูกอ่อน และเนื้อเยื่อที่เกี่ยวข้องติดกัน รวมทั้งน้ำหล่อลื่นไขข้อกระดูก และเส้นเอ็น เราต้องยกให้เป็นการปรับตัวแห่งการใช้งานของกระดูกว่าต้องการเนื้อเยื่อชนิดใดมาทำหน้าที่ประสานงานให้กระดูกแข็งสามารถสื่อสารกับส่วนอื่นเช่นน้ำหล่อลื่นไขข้อ และส่วนที่ยืดหยุ่นเรียกว่า spongy bone เมื่อร่างกายเคลื่อนไหวจะได้ไม่เกิดการขัดสีจนเสียหาย และมีโพรงกระดูกติดต่อกับของเหลวหรือโลหิตสำหรับเลี้ยงส่วนต่างๆ เรียกว่า red marrow ให้พร้อมเพรียงเพื่อจะได้ไม่ขาดอาหารจากโลหิต การบริโภคอาหารที่ดีจะทำหน้าที่ป้อนความแข็งแรงของกระดูกได้ทั่วถึง

2.ระบบกล้ามเนื้อ มีอยู่ 6 ประเภท แล้วแต่การใช้งานเคลื่อนไหวให้เหมาะสมกับร่างกายแต่ละส่วน เช่น กล้ามเนื้อคือ แขน ใบหน้า ลำตัว ขา แผ่นหลัง หน้าท้อง เราจะเห็นได้จากรูปปั้นชายสมัยก่อนที่มีกล้ามเนื้อแผ่นอกและหน้าท้องสวยงามน่าทึ่ง

3.ระบบหัวใจ ประกอบด้วยโลหิตส่วนที่เรียกว่าพลาสม่า 55% มีโปรตีน 8% กรดออร์แกนิค 1% และเกลือ 1% ส่วนที่เหลือ 45% คือเม็ดเลือดขาว Leukocytes กับเกร็ดเลือด Platelets 1% และเม็ดเลือดแดง Erythrocytes 44%

4.ระบบน้ำเหลือง ตั้งอยู่ตามส่วนของการพับข้อในการเคลื่อนไหวมากๆ เช่นใต้กราม (cervical lymph node) ใต้รักแร้ (axillary lymph node) ต้นขาหนีบ (inguinal lymph node)

5.ระบบหายใจ เริ่มจากจมูกสู่ปอดสองข้าง เราสามารถทดแทนกายหายใจผ่านปากสู่ปอดได้เพราะไปติดต่อกับท่อหายใจเดียวกันที่ลำคอ และการกระตุ้นการหายใจสามารถกระทำได้โดยการกดที่หน้าอกออกสู่ปาก ในขณะที่คนหมดสติหายใจด้วยตัวเองทางจมูกไม่ได้

6.ระบบย่อยอาหาร มีการเคี้ยวและกลืนผ่านท่ออาหารสู่กระเพาะที่จะทำการบดย่อยอาหารก่อนส่งผ่านไปยังลำไส้เล็กที่จะเสริมน้ำย่อยและแยกกากอาหารออกสู่ลำไส้ใหญ่เพื่อการระบายของเสียออกจากร่างกายต่อไป หลังจากกินอาหาร 30 นาทีเราจะรู้สึกง่วง เพราะร่างกายภายในต้องทำงานกำจัดของเสียได้เต็มที่ประมาณ 8 ชั่วโมง ที่เราหลับ

สาเหตุที่ต้องใช้เวลาการนอนหลับนานถึง 8 ชั่วโมง ก็เพื่อให้กระเพาะปัสสาวะ gall bladder ทำงานร่วมกับตับอ่อน pancreas ม้าม spleen และ ตับ liver ในการย่อยแยกและเติมสารที่ร่างกายต้องการหรือทิ้งสารไม่ต้องการไปด้วยความร่วมมือของหลายอวัยวะ

7.ระบบปัสสาวะ เป็นระบบที่สำคัญต่อการรักษาไว้ซึ่งปริมาณน้ำตาลในเลือดและระดับน้ำ มิฉะนั้นอาจเป็นช่องทางของเบาหวานชั้นเริ่มต้น Hypoglycemia

8.ระบบสืบพันธุ์ ประกอบด้วยท่อปัสสาวะ urethra แยกกับท่ออสุจิ

9.ระบบผิวเป็นส่วนประกอบที่แยกแยะตามหน้าที่และความต้องการของเซลล์ผิว 3 ชั้น

10.ระบบประสาท ประกอบด้วยสมองสองหน้า และส่วนหลัง ทำหน้าที่ต่างกัน ติดต่อกับประสาท ส่วนกระดูกสันหลัง อาการของระบบประสาทบกพร่อง เช่น ปวดหัว คลื่นไส้อาเจียน ไวต่อเสียงหรือแสง นอนไม่หลับ บุคลิกแปรเปลี่ยน สายตาเสื่อม สับสน เดินไม่แข็งแรง ขาดสมาธิ ตื่นลำบากมีอาการงงงวย คอแข็ง มีความชาตามส่วนต่างๆของร่างกาย ชักกระตุก การรักษาอาจต้องพึ่งแพทย์ หากมีอาการเลวร้ายมากขึ้น มีอาการบวมหรือเขียวคล้ำตามร่างกาย มีไข้สูงกว่า 100.4 องศาฟาเรนไฮท์ เลือดออกตามจมูกหรือหู มีการคลุ้มคลั่งหรือกระดูกงอกผิดปกติอาจใช้บำบัดด้วยสมาธิจิตหรือบำบัดด้วยจักระ เพื่อให้โอกาสระบบประสาทมีความว่าง สามารถเรียบเรียงการประสานงานได้ดีขึ้น

อาหารบำรุงสมองและประสาท และเป็นสารต้านศัตรูอิสระในร่างกาย ได้จากไวตามิน ซี อี และแร่ธาตุ เช่น เซเลเนี่ยม ฟอลิคแอซิด ไนอาซิน สังกะสี โปตัสเซี่ยม ได้จากพืช และถั่ว เช่น ส้มโอ แคนตาลูป มะเขือเทศ แห้ว ผักเขียว สะระแหน่ เม็ดทานตะวัน กล้วยน้ำว้า มันเทศ มันฝรั่ง ไวตามินอีช่วยปกป้องมิให้เซลล์เป็นมะเร็ง ป้องกันโรคหัวใจ และคาตาแร็คที่ดวงตา Kelp ได้จากพืชทะเล ไอโอไดน์จากเกลือ Tryptophan ได้จากนม เนื้อสัตว์ ปลา กล้วย ถั่วลิสง สาร Phenylalanine จากถั่วเหลือง ถั่วอัลมอนด์ งา เม็ดฟักทอง หอย กุ้ง อาหารทดแทนนมสำหรับใส่ในช็อคโกแลตเดี๋ยวนี้ผลิตจากถั่วเหลืองละลายยากกว่านม แต่เหมาะสำหรับมังสวิรัติ ผลไม้ ได้แก่ ฝรั่งแอปเปิล พุทรา เม็ดมะม่วงหิมพานต์ องุ่นแห้ง