ครบเครื่อง
ญ. อมตะ



หุ่นยนต์เหยี่ยวใช้ไล่ฝูงนกรอบสนามบิน

“นก” ไม่ว่าจะอยู่ตัวเดียวหรือเป็นฝูง ล้วนเป็นอันตรายต่อเครื่องบิน เมื่อเครื่องบินชนกับนก ก็อาจจะมีความเสียหายเกิดขึ้น บางครั้งอาจส่งผลให้เกิดหายนะ เช่น เหตุการณ์เครื่องบินลงจอดในแม่น้ำฮัดสัน รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกาในปี 2552 ก็เพราะมีนกถูกดูดเข้าไปในเครื่องยนต์ของเครื่องบิน ทำ ให้เครื่องขัดข้อง จึงมีความพยายามหาวิธีป้องกันไม่ให้นกเข้าสู่พื้นที่บิน แต่ทุกวันนี้ ก็สำเร็จไปบางส่วนเท่านั้น เช่น ใช้โดรนทำให้นกหวาดกลัว

เมื่อเร็วๆนี้ ทีมวิจัยหลายสถาบัน นำโดยนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโกรนิงเงิน ในเนเธอร์แลนด์, มหาวิทยาลัยทัสเซีย ในอิตาลี และกองทัพอากาศเนเธอร์แลนด์ เผยว่า ได้ออกแบบหุ่นยนต์เหยี่ยวชื่อ “โรบอตฟัลคอน” (RobotFalcon) มีรูปลักษณ์และบินได้เหมือนเหยี่ยวเพเรกริน ทำจากไฟเบอร์กลาสและโพลีโพรพิลีน ทาสีให้ดูเหมือนเหยี่ยวจริงเพื่อนำไปขับไล่ฝูงนกที่อยู่รอบๆ สนามบิน การทำงานของโรบอต ฟัลคอนก็ไม่ต่างจากเหยี่ยวจริงๆ หุ่นยนต์ถูกฝึกฝนและติดตั้งระบบการส่งเสียง บินด้วยเครื่องยนต์ภายในที่ขับเคลื่อนแบบ 2 ใบพัดที่อยู่ด้านหน้าของปีกแต่ละปีก

การทดสอบภาคสนามแสดงให้เห็นว่า โรบอตฟัลคอน เลียน แบบการบินของเหยี่ยวและทำให้นกตกใจ เหยี่ยวโรบอตจะไล่ฝูงนกไปทั้งหมดภายใน 5 นาทีที่มาถึง และการทดสอบหลายครั้งกับฝูงนกกลุ่มเดียวกันตลอด 3 เดือน พบว่า นกไม่เกิดความชินชาหรือรู้ทันว่านี่ไม่ใช่เหยี่ยวจริง จะเห็นว่านกจะกลัวโรบอตฟัลคอนทุกครั้ง ไม่ว่าจะเห็นบ่อยแค่ไหนก็ตาม.

Credit : Journal of The Royal Society Interface (2022).


สุดผวา นักวิทย์พบดาวเคราะห์น้อยเพชฌฆาต ซ่อนตัวใต้แสงอาทิตย์ อาจชนโลก

ทีมนักดาราศาสตร์พบดาวเคราะห์น้อย 3 ดวง ซ่อนตัวใต้แสงเจิดจ้าของดวงอาทิตย์ หนึ่งใน 3 มีขนาดใหญ่ และถูกจัดให้เป็นดาวเคราะห์น้อยอันตราย ที่อาจจะพุ่งชนโลกในวันข้างหน้า

เมื่อ 1 พ.ย. 2565 สำนักข่าวต่างประเทศ รายงาน ทีมนักดาราศาสตร์ระหว่างประเทศ พบดาวเคราะห์น้อยใกล้โลก 3 ดวง ซึ่งซ่อนอยู่โดยไม่มีใครสังเกตเห็นได้ภายใต้แสงเจิดจ้าของดวงอาทิตย์ และมีวงโคจรระหว่างโลกกับดาวศุกร์ โดยหนึ่งใน 3 ของดาวเคราะห์น้อยใกล้โลกที่ถูกพบนี้ มีขนาดใหญ่ที่สุด จนถูกจัดให้เป็นวัตถุอันตรายขนาดใหญ่ที่สุดต่อโลก ที่ถูกพบในช่วง 8 ปีล่าสุด หรือตั้งแต่ปี 2557

ทีมนักดาราศาสตร์ระหว่างประเทศกลุ่มนี้ ได้ตีพิมพ์รายงานการค้นพบดาวเคราะห์น้อย 3 ดวงนี้ ลงในวารสารด้านดาราศาสตร์ ‘The Astronomical Journal’ เมื่อวันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม ที่ผ่านมา โดยระบุว่าดาวเคราะห์น้อยดวงที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในจำนวน 3 ดวง ถูกตั้งชื่อว่า ‘2022 AP7’ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 กิโลเมตร (0.9 ไมล์) และมีวงโคจรที่อาจจะชนโลกในวันใดวันหนึ่งข้างหน้า เนื่องจากเป็นเรื่องยากลำบากที่นักวิทยาศาสตร์จะรู้ได้ว่าดาวเคราะห์น้อย ‘2022 AP7’ จะชนโลกเมื่อใด

ส่วนดาวเคราะห์น้อยอีก 2 ดวงที่พบในครั้งนี้ ถูกตั้งชื่อว่า ‘2021 LJ4’ และ ‘2021 PH27’ ถือว่ามีความปลอดภัยกับโลกเพราะมีวงโคจรที่ห่างจากโลก

จากรายงานระบุว่า ทีมนักดาราศาสตร์ระหว่างประเทศได้พบดาวเคราะห์น้อย 3 ดวงที่ซ่อนอยู่ใต้แสงเจิดจ้าของดวงอาทิตย์ จากการใช้กล้องสำรวจพลังงานมืด (Dark Energy Camera หรือ DECam) ซึ่งสามารถตรวจจับวัตถุผ่านแสงสะท้อนของดวงอาทิตย์ ซึ่งติดตั้งบนกล้องโทรทรรศน์ Víctor M. Blanco 4-meter ที่หอดูดาว Cerro Tololo Inter-American Observatory ในชิลี

ที่มา : CNN, Indiatoday


จีนเฮ โมดูล ‘เมิ่งเทียน’ เชื่อมต่อสถานีอวกาศเทียนกง สำเร็จแล้ว

องค์การอวกาศจีน เผย โมดูลห้องปฏิบัติการที่ 2 ‘เมิ่งเทียน’ เชื่อมต่อกับโมดูลหลัก เทียนเหอ ที่สถานีอวกาศเทียนกง สำเร็จราบรื่น หลังถูกส่งขึ้นสู่ห้วงอวกาศโดยจรวดยักษ์ ลองมาร์ช

เมื่อ 1 พ.ย. 2565 สำนักข่าวซินหัว รายงานว่า องค์การอวกาศที่มีมนุษย์ควบคุมแห่งประเทศจีน (CMSA) เปิดเผยว่า โมดูลห้องปฏิบัติการ ‘เมิ่งเทียน’ (Mengtian) เชื่อมต่อกับสถานีอวกาศเทียนกงของจีนสำเร็จแล้ว หลังถูกส่งขึ้นสู่ห้วงอวกาศโดยจรวด Long March 5B-Y4 เมื่อ 31 ต.ค.2565

เมิ่งเทียน ซึ่งเป็นโมดูลห้องปฏิบัติการที่ 2 และเป็นโมดูลชิ้นสุดท้าย ของสถานีอวกาศเทียนกง เชื่อมต่อกับท่าเทียบด้านหน้าของโมดูลหลักเทียนเหอ เมื่อ 04.27 น. ของวันอังคาร (1 พ.ย. 2565) ตามเวลากรุงปักกิ่ง หลังจากเข้าสู่วงโคจรที่กำหนด โดยกระบวนการนัดพบและเทียบท่าทั้งหมดใช้เวลาราว 13 ชั่วโมง

ขณะที่ องค์การอวกาศจีน กล่าวว่า โมดูลห้องปฏิบัติการเมิ่งเทียนจะดำเนินการเปลี่ยนตำแหน่งตามที่กำหนด อีกทั้งจะรวมเข้ากับโมดูลหลักเทียนเหอและโมดูลห้องปฏิบัติการเวิ่นเทียน เพื่อทำให้สถานีอวกาศเทียนกงประกอบเป็นโครงสร้างรูปตัวที (T)

ทั้งนี้ องค์การอวกาศจีนได้ส่งจรวดยักษ์ ลองมาร์ช 5บี-วาย4 (Long March 5B-Y4) ทะยานขึ้นจากศูนย์ส่งดาวเทียมเหวินชาง บนเกาะไหหลำ เมื่อเวลา 14.37 น. ของวันที่ 31 ตุลาคม 2565 ตามเวลาท้องถิ่น เพื่อนำโมดูลห้องปฏิบัติการที่ 2 ‘เมิ่งเทียน’ ไปเชื่อมต่อกับโมดูลเทียนเหอ ซึ่งเป็นโมดูลแกนกลางของสถานีอวกาศเทียนกง ที่ระดับความสูง 393 กิโลเมตรจากผิวโลก ซึ่งเป็นจังหวะที่สถานีอวกาศเทียนกงโคจรมาที่มุมเอียง 42 องศาพอดี.


‘นกนางนวลหัวดำ’ หนีหนาวหลบพักกายในคุนหมิง

นกนางนวลหัวดำ (ชื่อวิทยาศาสตร์ : Chroicocephalus ridibundus) เป็นนกนางนวลขนาดเล็กที่กระจายพันธุ์อยู่ส่วนมากในยุโรปและมีบ้างในเอเชีย ตลอดจนชายฝั่งด้านตะวันออกของแคนาดา

สำนักข่าวซินหัว-ผู้คนเยี่ยมชมและให้อาหารฝูงนกนางนวลหัวดำริมทะเลสาบเตียนฉือในนครคุนหมิง เมืองเอกของมณฑลอวิ๋นหนาน (ยูนนาน) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน โดยนกสายพันธุ์นี้มักอพยพมายังแหล่งพักพิงอันอบอุ่นในคุนหมิงช่วงฤดูหนาวทุก ๆ ปี

นกนางนวลหัวดำ (ชื่อวิทยาศาสตร์ : Chroicocephalus ridibundus) เป็นนกนางนวลขนาดเล็กที่กระจายพันธุ์อยู่ส่วนมากในยุโรปและมีบ้างในเอเชีย ตลอดจนชายฝั่งด้านตะวันออกของแคนาดา จะอพยพลงมาทางใต้ในฤดูหนาว แต่ก็มีบางส่วนที่ไปอาศัยอยู่ทางสุดตะวันตกของยุโรป และบางส่วนอพยพไปถึงทางชายฝั่งตะวันออกของทวีปอเมริกาเหนือในฤดูหนาว ไข่ของมันถือเป็นอาหารราคาแพงในสหราชอาณาจักร รับประทานโดยการต้มน้ำเดือด

ขนาดตัวยาว 38-44 ซม. ช่วงปีกกว้าง 94-105 ซม. โตเต็มวัยเมื่อมีอายุราว 2 ปี อายุขัยตามธรรมชาติสูงสุดที่ 33 ปี ขณะบินจะเห็นลายพาดสีขาวตลอดสันปีกชัดเจน ตัวโตเต็มวัยจะมีสีน้ำตาลช็อกโกแลตในช่วงฤดูร้อน (ไม่ใช่สีดำ แม้ว่าเวลามองจากไกล ๆ แล้วจะเหมือนสีดำ) ลำตัวสีขาวซีด มีจะงอยปากและขาเป็นสีแดง ขนบนหัวจะหลุดไปในช่วงฤดูหนาว ชอบอาศัยอยู่กันเป็นกลุ่มใกล้กับแหล่งน้ำเช่นเดียวกับนกนางนวลสายพันธุ์อื่น ๆ


"จันทรุปราคา" ส่อง 7 ขั้นตอน การเกิด ราหูอมจันทร์ วัน ลอยกระทง 2565

"จันทรุปราคา 2565" จันทรุปราคาเต็มดวง ส่อง 7 ขั้นตอน การเกิด ราหูอมจันทร์ "วันลอยกระทง 2565" ครั้งสุดท้ายของปี

ปรากฏการณ์จันทรุปราคา หรือ หรือความเชื่อทางโหราศาสตร์เรียกว่า "ราหูอมจันทร์ เกิดจากดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์ โคจรมาอยู่ในแนวเดียวกัน มีโลกอยู่กลางระหว่างดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์และเป็นจังหวะที่ดวงจันทร์โคจรผ่านเข้าไปในเงาของโลก ทำให้ผู้สังเกตบนโลกฝั่งกลางคืน ในพื้นที่กว่าครึ่งโลกสามารถมองเห็นดวงจันทร์เว้าแหว่งหายไปในเงามืดแล้วโผล่กลับออกมาอีกครั้ง "จันทรุปราคา 2565" จะเกิดขึ้นอีกครั้งในคืน "ลอยกระทง 2565" วันที่ 8 พฤศจิกายน ซึ่งจะเป็นการเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง

"จันทรุปราคา 2565" จันทรุปราคาเต็มดวง ส่อง 7 ขั้นตอน การเกิด ราหูอมจันทร์ "วันลอยกระทง 2565" ครั้งสุดท้ายของปี

ปรากฏการณ์จันทรุปราคา หรือ หรือความเชื่อทางโหราศาสตร์เรียกว่า "ราหูอมจันทร์ เกิดจากดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์ โคจรมาอยู่ในแนวเดียวกัน มีโลกอยู่กลางระหว่างดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์และเป็นจังหวะที่ดวงจันทร์โคจรผ่านเข้าไปในเงาของโลก ทำให้ผู้สังเกตบนโลกฝั่งกลางคืน ในพื้นที่กว่าครึ่งโลกสามารถมองเห็นดวงจันทร์เว้าแหว่งหายไปในเงามืดแล้วโผล่กลับออกมาอีกครั้ง "จันทรุปราคา 2565" จะเกิดขึ้นอีกครั้งในคืน "ลอยกระทง 2565" วันที่ 8 พฤศจิกายน ซึ่งจะเป็นการเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง

จันทรุปราคาเต็มดวง วันลอยกระทง 2565

วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน 2565 เกิดจันทรุปราคาเต็มดวง บริเวณที่เห็นจันทรุปราคาครั้งนี้ ได้แก่ ด้านตะวันตกของแอฟริกา ยุโรปตะวันตก อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ เอเชีย ออสเตรเลีย มหาสมุทรแอตแลนติก และมหาสมุทรแปซิฟิก ขณะเกิดจันทรุปราคา ดวงจันทร์อยู่ในกลุ่มดาวแกะ จันทรุปราคากำลังดำเนินอยู่ขณะดวงจันทร์ขึ้นเหนือขอบฟ้าประเทศไทย

"จันทรุปราคา 2565" จันทรุปราคาเต็มดวง ส่อง 7 ขั้นตอน การเกิด ราหูอมจันทร์ "วันลอยกระทง 2565" ครั้งสุดท้ายของปี

ปรากฏการณ์จันทรุปราคา หรือ หรือความเชื่อทางโหราศาสตร์เรียกว่า "ราหูอมจันทร์ เกิดจากดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์ โคจรมาอยู่ในแนวเดียวกัน มีโลกอยู่กลางระหว่างดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์และเป็นจังหวะที่ดวงจันทร์โคจรผ่านเข้าไปในเงาของโลก ทำให้ผู้สังเกตบนโลกฝั่งกลางคืน ในพื้นที่กว่าครึ่งโลกสามารถมองเห็นดวงจันทร์เว้าแหว่งหายไปในเงามืดแล้วโผล่กลับออกมาอีกครั้ง "จันทรุปราคา 2565" จะเกิดขึ้นอีกครั้งในคืน "ลอยกระทง 2565" วันที่ 8 พฤศจิกายน ซึ่งจะเป็นการเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง

จันทรุปราคาเต็มดวง วันลอยกระทง 2565

วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน 2565 เกิดจันทรุปราคาเต็มดวง บริเวณที่เห็นจันทรุปราคาครั้งนี้ ได้แก่ ด้านตะวันตกของแอฟริกา ยุโรปตะวันตก อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ เอเชีย ออสเตรเลีย มหาสมุทรแอตแลนติก และมหาสมุทรแปซิฟิก ขณะเกิดจันทรุปราคา ดวงจันทร์อยู่ในกลุ่มดาวแกะ จันทรุปราคากำลังดำเนินอยู่ขณะดวงจันทร์ขึ้นเหนือขอบฟ้าประเทศไทย

ขณะเกิดจันทรุปราคาในวันนี้ ดาวยูเรนัสกำลังจะผ่านตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์พอดี ทำให้บางส่วนของโลก รวมทั้งพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศไทย สามารถเห็นดวงจันทร์บังดาวยูเรนัสได้

ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคา "ลอยกระทง 2565"

ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก เวลา 15:02:15

เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน เวลา 16:09:12

เริ่มเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง เวลา 17:16:39

ดวงจันทร์เข้าไปในเงาลึกที่สุด เวลา 17:59:10 (ขนาดอุปราคา = 1.3592)

สิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง เวลา 18:41:39

สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน เวลา 19:49:05

ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก เวลา 20:56:11

ลักษณะของดวงจันทร์เมื่อเกิดราหูอมจันทร์ หรือจันทรุปราคาเต็มดวง

เมื่อเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง ดวงจันทร์ไม่ได้หายไปจนมืดทั้งดวง แต่จะเห็นเป็นสีแดงอิฐ เนื่องจากมีการหักเหของแสงอาทิตย์เมื่อส่องผ่านชั้นบรรยากาศของโลก สีของดวงจันทร์เมื่อเกิดจันทรุปราคาแต่ละครั้งจะไม่เหมือนกัน แบ่งออกได้เป็น 5 ระดับ ดังนี้

ระดับ 0 ดวงจันทร์มืดจนแทบมองไม่เห็น

ระดับ 1 ดวงจันทร์มืด เห็นเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาลแต่มองไม่เห็นรายละเอียด ลักษณะพื้นผิวของดวงจันทร์

ระดับ 2 ดวงจันทร์มีสีแดงเข้มบริเวณด้านในของเงามืด และมีสีเหลืองสว่างบริเวณด้านนอกของเงามืด

ระดับ 3 ดวงจันทร์มีสีแดงอิฐและมีสีเหลืองสว่างบริเวณขอบของเงามืด

ระดับ 4 ดวงจันทร์สว่างสีทองแดงหรือสีส้ม ด้านขอบของเงาสว่างมาก

จันทรุปราคา เกิดจากอะไร

ข้อมูลจากเว็บไซต์วิกิพีเดีย ระบุว่า จันทรุปราคาไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย ๆ เนื่องจากระนาบการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ และระนาบการโคจรของดวงจันทร์รอบโลกทำมุมกัน 5 องศา ในการเกิดจันทรุปราคา ดวงจันทร์จะต้องอยู่บริเวณจุดตัดของระนาบวงโคจรทั้งสอง และต้องอยู่ใกล้จุดตัดนั้นมาก จึงจะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง หรือจันทรุปราคาบางส่วนได้

"จันทรุปราคา 2565" จันทรุปราคาเต็มดวง ส่อง 7 ขั้นตอน การเกิด ราหูอมจันทร์ "วันลอยกระทง 2565" ครั้งสุดท้ายของปี

ปรากฏการณ์จันทรุปราคา หรือ หรือความเชื่อทางโหราศาสตร์เรียกว่า "ราหูอมจันทร์ เกิดจากดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์ โคจรมาอยู่ในแนวเดียวกัน มีโลกอยู่กลางระหว่างดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์และเป็นจังหวะที่ดวงจันทร์โคจรผ่านเข้าไปในเงาของโลก ทำให้ผู้สังเกตบนโลกฝั่งกลางคืน ในพื้นที่กว่าครึ่งโลกสามารถมองเห็นดวงจันทร์เว้าแหว่งหายไปในเงามืดแล้วโผล่กลับออกมาอีกครั้ง "จันทรุปราคา 2565" จะเกิดขึ้นอีกครั้งในคืน "ลอยกระทง 2565" วันที่ 8 พฤศจิกายน ซึ่งจะเป็นการเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง