ท่องไปในซานฟรานฯ
นายรุงรัง



แดง เหลือง เขียว ชมพู สีที่ตามมาจากการปฏิวัติ !

ความแตกต่างที่ตามมาด้วยความความแตกแยก รุนแรงและยังคุกรุ่นของทุกชนชั้นในเมืองไทย ไม่เลือกเดินซ้ายหรือขวาก็กลายเป็นที่สงสัย ประชาชนต้องเลือกฝ่ายที่แบ่งแยกกันด้วยสีสัน แม้แต่บนโต๊ะอาหารก็ไม่สามารถวิจารณ์การเมืองได้ แม้จะใช้น้ำชำระล้างแต่แผลที่นับวันจะต้านยาลงลึกจนหาทางเยียวยาไม่ไหวนอกจากผ่าตัดทิ้งไป การขอแก้ไขรัฐธรรมนูญกลายเป็นระเบิดเวลาลูกใหม่ไปแล้ว.......

การปฎิวัติเมื่อปี กันยายน 2549ผลที่ตามมาคือการแบ่งแยกของประชาชนอย่างออกหน้าออกตา ไม่ว่าจะเป็นสีแดง สีเหลือง สีเขียวและสีชมพู การศึกษาสถานการณ์การเมืองไทยนั้น เราต้องเรียนรู้ถึงถึงความสำคัญของกองทัพไทย เพราะการเปลี่ยนการยึดครองเก้าอี้ของพรรคการเมืองนั้น ต้องมีกองทัพเป็นฐาน กำลัง โปรเฟสเซอร์ James Ockey ph.D cornell ปัจจุบันอาศัยอยู่ที่ มหาลัย แสตนร์ฟอร์ด บรรยายพิเศษให้นักศึกษา และอาจารย์ที่ มหาลัยเบริกส์เล่ย์ฟัง

กองทัพจะพังพินาศถ้าทหารขัดขากันเอง อย่างเหตุการณ์นองเลือดในประเทศไนจีเรีย เมื่อทหารขนอาวุธออกมาห้ำหั่นกันเอง นั่นเป็นเพราะการเมืองเข้ามาแทรกแซงกองทัพ จนทำให้กองทัพอ่อนแอ เพราะเมื่อนายทหารเข้าไปยุ่งกับการเมือง ก็เป็นเหตุให้กองทัพแตกแยก ดังนั้นความสัมพันธ์¬องกองทัพ การเมืองและภาคประชาชนต้องมีขอบเขต สำหรับเมืองไทย กองทัพไทยมองตัวเองว่าเป็นประชาธิปไตย จากอดีตที่เคยร่วมกันล้มราชบัลลังค์แล้วนำกลับมา บูรณาการขึ้นมาใหม่ มีประเทศไทยประเทศเดียวที่ทหารไทยนำสโลแกนของคำว่าประชาธิปไตยในการต่อต้านลัทธิคอมมูนิตได้สำเร็จ ทหารมีความสัมพันธ์โดยตรงกับประชาชน ผ่านสภา หัวใจ และสมอง เพราะกองทัพทำตัวสนองนโยบาย ประชาธิปไตย การปฎิวัติเมื่อปี 2549 นั้นงบประมาณทางทหารถูกตัดลงเหลือเพียง 102 พันล้านบาท งบประมาณและการมองหน้าที่ของตัวเองจาก สงครามเย็น สงครามก่อการร้าย สงครามทั่วโลกตั้งแต่ปี 1997 ขณะที่เศรษฐกิจกลายเป็นฟองสบู่ กองทัพถูกตัดงบประมาณเหลือเพียง 83 พันล้านบาทขณะที่ภาคเอกชนและภาครัฐได้รับงบประมาณเพิ่มขึ้น เพราะรัฐบาลทักษิณในขณะนั้นไม่เชื่อใจกองทัพ ดูได้จากจำนวนนายทหารที่สำเร็จออกมาแค่ 159นาย ขณะที่อดีตนายกฯทักษิณแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารรุ่นน้องข้ามหน้ารุ่นพี่ เมื่อเปรียบเทียบกับการโยกย้ายนายทหารในสมัยพล.อ เปรม ติณสูรานนท์เป็นนายกฯเมื่อปี1975 ที่มีนายทหารสำเร็จออกมาถึง 371นาย กองทัพได้รับงบประมาณที่เรียกว่าขัดสน ตั้งแต่ปี 2007-2009 งบประมาณเพิ่มขึ้นจาก 102พันล้านบาท เป็น 168พันล้านบาทหลังการปฎิวัติ มีโครงการจัดซื้ออาวุธยุโธปกรณ์ที่ได้รับอนุมัติแล้วกว่า 500พันล้าน หลังการปฎิวัติเมื่อปี2006จุดมุ่งหมายของกองทัพเปลี่ยนไปเป็นการปกป้องราชบัลลังค์ และเปิดเผยขบวนการล้มเจ้าทั่วโลก หน้าที่ของกองทัพเพิ่มมากขึ้น ทั้งด้านรักษาความปลอดภัย การต่อต้านยาเสพติด ป้องกันช่วยเหลือประชาชนจากภัยธรรมชาติ ปราบและจับคนต่างด้าว และผู้ร้ายช้ามชาติ กองทัพไทยแบ่งจ่ายงบประมาณกว่า 319ล้านบาทในการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมาสนับสนุน เคาะประตูขอการสนับสนุน การส่งกำลังทหารออกช่วยชาวไร่ชาวนา และช่วยผู้ประสบอุทกภัย การต่อสู้ทางความคิดโดยยังใช้การสื่อสารทางวิทยุ-โทรทัศน์ อาทิโครงการในพระราชดำริ การเมืองกับการบริหารจัดการ ต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 112 แต่ผลการเลือกตั้งที่ผ่านมาไม่ประสบผลสำเร็จ แม้เกษียณมาแล้วกว่า 30 ปีแต่พล.อเปรม ติณรสูรานนท์ไม่สามารถตั้งรัฐบาลที่เข้มแข็งได้เพราะทั้ง พล.อ สนธิ บุญยกรินและพล.อ สุรยุทย์ จุฑานนท์ ไม่แข็งพอ หน้าที่ของกองทัพโดยเฉพาะ บูรภาพยัคฆ์ หรือ Queen’s Guard ถูกส่งกำลังเข้ามาคุ้มครองพระราชินี และพล.อเปรม ติณสูลานนท์ มีการวางตัวผู้ที่จะเข้มาทำหน้าที่ปกป้องราชบัลลังค์ อย่งพล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา และพล.อ ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก ที่มาจาก บรูภาพยัฆย์ จึงเป็นที่รู้กันในกองทัพว่า ถ้าไม่ใช่นายทหารที่มาจาก กองพลบูรภาพยัคฆ์แล้วโอกาสก้าวหน้าช้ามาก กองทัพเริ่มใส่เสื้อเหลืองหลังการปฎิวัติ เพื่อต่อต้านเสื้อแดง แล้วเริ่มเปลี่ยนไปใส่เสื้อสีชมพู เมื่อเสื้อเหลืองเริ่มนอกลู่นอกทาง ขนาดที่อดีตผู้บัญชาการกองทัพบก พล.อ อนุพงษ์ เหล่าจินดากล่าวต่อนายทหารว่า หัวใจเหล่าทหารเป็นอะไรไม่สำคัญ แต่ถ้าสวมเครื่องแบบอยู่ในหน้าที่แล้วต้องไร้สี กองทัพใช้กำลังพลจาก บูรภาพยัคฆ์ต่อต้านเสื้อแดง ขณะที่เสธแดง พล.ต ขัตติยะ สวัสดิผลต้องออกมาทำการฝึกการรบให้กับกองกำลังการ์ดเสื้อแดง กองกำลังเสื้อดำที่ถูกส่งออกมาเด็ดชีวิตทหารหาญนั้นไม่ใช่ยุทธการณ์ยึดพื้นที่ แต่แค่ยิงทหารแล้วจากไป

การที่คนในกองทัพสนใจการเมือง ทำให้ กองทัพเกิดความแตกแยก เกิดความรุนแรงแผ่กระจายเข้ามาถึงสังคมรอบตัว แต่การแต่งตั้งโยกย้ายนายทหทารยังคงถูกปกป้องโดย 5ทหารเสือที่ทรงอำนาจโดยมีเพียงสามคนที่มาจากฝ่ายการเมืองเท่านั้นจะไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงความต้องการของกองทัพได้ ปัจจุบันมีนายพลทหารกว่า 800 นายที่ไม่มีงานทำ ทำให้เกิดความลำบากใจต้องให้มีการขอให้เกษียณก่อนอายุ ฝ่ายการเมืองมีความพยายามแก้กฎหมายเพื่อให้เข้าไปเปลี่ยนกลไกในกองทัพแต่ล้มเหลว แม้จะมีนายทหารบางคนเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด แต่ผลประโยชน์ที่ได้มานำมาใช้ในพรรคการเมือง ในอดีตนั้น จะว่ากองทัพปกป้องราชบัลลังค์จริงๆแล้วก็ไม่ถูกต้องนัก เพราะทั้งพล.อ ถนอม กิตติขจร และพล.อ.ประภาส จสรุเสถียรนั้นแค่ทำเพื่อตนเอง แต่ปัจจุบัน ทั้งกองทัพ และประชาชนหันมาร่วมกันหาหลักค้ำตนเอง.............................

พรพิไล ถ่ายถอด