ท่องไปในซานฟรานฯ
นายรุงรัง



ต้นเหตุ ความแตกต่าง ของรายได้ของชนชาวไทย
โดย พท.พญ.กมลพรรณ ชีวพันธ์ศรี
thai9lee@gmail.com,
www.thammapiban.com

ปัจจุบัน ความแตกต่างของรายได้ และความรำรวยกับความยากจน จะยิ่งห่างกันมากขึ้น

คนจนสุด ๑๐% ?กับคนรวยสุด ๑๐% ?มีความแตกต่างของรายได้ ๒๓ เท่า ในขณะที่ทั่วประเทศกลุ่ม G ๒๐ ?( อันได้แก่ ประเทศอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ?อเมริกา ?อังกฤษ แคนนาดา ?ยุโรป ฯ และประเทศ อุตสาหกรรมขนาดกลางเช่นแอฟริกา เกาหลี ตุรกี อาร์เจนติน่า อินเดีย จีน บราซิล แมกซิโก ฯ ?อยู่ที่ ๔.๓ เท่า คนรวยสุด หนึ่งในห้า(๑/๕)ในไทย ?มีรายได้รวมสามในห้า(๓/๕) (กว่าครึ่ง) ของประเทศ

คนจนสุด หนึ่งในห้า(๑/๕)มีรายได้หนึ่งในยี่สิบ(๑/๒๐) ?ของประเทศ ที่มา ? ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/kobsak/20100407/108995/การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำของรายได้.html หรือดูที่ www.kopsak.com

ตระกูลร่ำรวยมากๆ มีไม่กี่ตระกูล มักเป็นนักการเมือง นักธุรกิจ ทั้งที่รวยจากการประกอบอาชีพ ธุรกิจด้วยมันสมองของตนเอง ?และ หรือ การเมือง

อาชีพของคนไทยส่วนใหญ่คือเกษตรกร สินค้า พืชผลไม้ เกษตรตกต่ำ กว่าจะขายได้สัก บาทสองบาทช่างยากเย็น ยกเว้นข้าว ราคาไข่ ราคาหมูที่ขายปลีก ราคาสูง

การผูกขาดการขนส่งทางอากาศ ทำให้ สินค้าเกษตร พืช ผลไม้ ส่งออกไม่ได้ ตัดโอกาสเกษตรกรไทย

การกำหนดราคาปุ๋ย ยาฆ่าแมลง การไม่ส่งเสริมสนับสนุนการผลิตสินค้าเกษตร แหล่งน้ำ ไม่มีที่ปรึกษาคอยให้คำแนะนำประจำจังหวัดรายได้ไม่พอกับค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะประชาชน ระดับรากหญ้า ชาวบ้านที่หาเช้ากินค่ำจำเป็นต้องใช้ปัจจัยสี่ได้แก่อาหาร รวมค่าเดินทาง ทำงาน ที่อยู่อาศัยเครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค(มี๓๐ บาทรักษาทุกโรค รอดไป )

ค่าครองชีพแพง โดยเฉพาะราคาสินค้าอุปโภค บริโภค ค่าเดินทางไปทำงาน ค่าเสื้อผ้า ข้าวของเครื่องใช้ ราคาไฟฟ้า ราคาน้ำมัน สาเหตุพอจะวิเคราะห์ ได้ดังนี้

-ค่าครองชีพแพงมาจากราคาสินค้า ค่าอาหาร ค่าบริการ ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าค่ารถเมล์ ค่ารถโดยสารอื่นๆ ค่าเดินทาง ค่าอาหารในชีวิตประจำวัน ซึ่งองค์ประกอบมาจาก ต้นทุนทั้งจาก ราคาการผลิต ค่าแรง ค่าบริหารจัดการ ค่าไฟฟ้า ค่าขนส่งซึ่งมาจากราคาน้ำมัน

ค่าเช่าบ้าน ผ่อนบ้านส่วนใครมีบุตรหลานก็เพิ่มค่า ใช้จ่ายในโรงเรียนค่าเดินทาง ค่าเล่าเรียน ค่าเสื้อผ้าเพิ่มเติม

หากมององค์ประกอบเหล่านี้ในอดีตจนปัจจุบัน

๑ เรามีหน่วยงาน กรมการค้าภายใน ทำหน้าที่ เป็นเลขาคณะกรรมการกำกับสินค้าและบริการ สังกัด กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งคอยกำหนดและอนุญาต หรือควบคุมสินค้าชนิดต่างๆที่จำเป็นต่อการดำรงค์ชีพ ซึ่งก็จะทราบทั้งต้นทุนการผลิต ราคาค่าบริหารจัดการซึ่งรวมเอา ค่าโฆษณาลงไปด้วย สินค้าบางอย่างมีค่าการบริหารจัดการ ๖๐-๗๐ เปอเซ็นต์

หากนายทุนร่วมมือกับกรมการค้าภายใน อะไรจะเกิดขึ้น คือราคาสินค้าแพงขึ้น จะเห็นว่า ปีที่ผ่านมา กำไร น้ำมันพืช เพิ่มขึ้นมากราคานมในเมืองไทย แพงกว่าอเมริกา (๕ลิตร ราคา ๓-๕ เหรียญค่าโฆษณาในทีวีในไทย ไม่มีการกำหนดเพดานราคาค่าโฆษณาเจ้าของทีวีมีใครบ้าง ที่รับสัมปทาน รวยขึ้น แต่ชาวบ้านที่ซื้อสินค้า จนลงเพราะเป็นการสมยอมของผู้ซื้อเวลา กับเจ้าของรายการ แต่เคราะห์กรรมไปตกกับผู้บริโภค (นาทีละ สี่-ห้าแสน )ท่านทราบไหมว่าราคา ไข่ในอเมริกาถูกกว่าไทยทั้งที่ ค่าครองชีพเขาแพงค่าแรงเขาแพงกว่าเรามากๆหลายเท่า ไข่ไก่ ๑๒ฟองใหญ่ๆ ราคา ตั้งแต่ ๙๙ เซ็นต์ ถึง หนึ่งเหรียญอเมริกา ?๓๐กว่าบาทของไทยเรา๓๖+ บาท เคยมีมติครม ๗ มค ๕๓ โดยรมต กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ ให้จำกัดการผลิตไข่เพราะกลัว ล้นตลาด( แต่ทำให้ราคาแพงขึ้น …ใครได้ประโยชน์ )

๒ เรามีหน่วยงาน สำนักงานกำกับกิจการพลังงาน มีหน้าที่กำหนดราคาค่าไฟฟ้า เมื่อก่อนขึ้นลงทุกสี่เดือนมีสินค้าอะไรที่ขึ้นลงไดุ้กสี่เดือน แต่ส่วนใหญ่มักจะขึ้นมากกว่าลง ซึ่งแปรผันตามค่าต้นทุนก๊าซที่เป็นตัวผลิต กระแสไฟฟ้า ซึ่งแปรผันตามราคาน้ำมันดิบ และตลาดโลกตามมติครม (ซึ่งขัดรัฐรรมนูญ )และค่าบริหารจัดการ ค่าเงินเดือน ค่าโบนัส ค่าเบี้ยประชุมคณะกรรมการ และเงินเดือน พนักงานรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเพิ่มขึ้นในแต่ละปี ค่าเบี้ยประชุมของคณะกรรมการ หลายหมื่นบาทรวมค่าเงินเดือนเป็นแสน

กรรมการไม่กี่คนรวย แต่ผลกระทบต่อชาวบ้านที่แบกภาระ ราคาค่าไฟฟ้าขึ้นกับราคาก๊าซที่ผูกขาดมาโดยตลอดของปตท กำไร ของผู้ถือหุ้น และกรรมการบอร์ดเจ้าหน้าที่ปตท รวยขึ้น แต่ชาวบ้านรับกรรม

ปตท กำไรจากการขายก๊าซ หลายหมื่นล้าน และอ้างอิงราคานำมัน แต่เมื่อนำมันลดลง กว่าครึ่งราคาก๊าซไม่ได้ลดลง และราคาไฟฟ้าก็ไม่ได้ลดลงเลย เเถมจะเพิ่มขึ้นด้วยอ้างเหตุผลนานาประการ ที่ชาวบ้านตามไม่ค่อยทัน ตอนนี้ก็ดีหน่อยตรงที่รมตพลังงานให้หยุดขึ้นค่าไฟฟ้าเอฟ ก๊าซ จนถึงสิ้นปี ๕๔

๓ เรามีหน่วยงาน สำนักนโยบายและแผนพลังงาน ไว้เพื่อ ควบคุมกำหนดราคาน้ำมันซึ่งมีมติครม ให้ปรับเปลี่ยนตามราคาตลาดโลก ซึ่งราคาน้ำมันเมืองไทยแพงกว่า ในอเมริกา สองเท่า น้ำมันธรรมดา ราคา ๒.๕ถึง๒.๙ ดอลล่าร์ ต่อแกลลอน (๕ลิตร )แล้วแต่ แต่ละรัฐ ซึ่งเท่ากับ ๒.๕คูณ ๓.๒ หารด้วย๕เท่ากับ ๑๖ บาทต่อ ลิตร แต่ของไทย ๓๐กว่าบาท เนื่องจากไทยมีค่ากองทุน (ซึ่งไปทำอะไรบ้างไม่ได้เปิดเผยชัดเจน แต่เท่าที่รับรู้คือ มีการโฆษณาของปตท เกือบทุกสถานีวิทยุ ) ค่าภาษี ต่างๆ เกือบครึ่งของราคาน้ำมัน ค่าการตลาด (กำไรหน้าปัมพ์ และรายจ่ายอื่นของปัมพ์ ) เหตุผลเขาคือ หากราคาน้ำมันถูก คนไทยจะสุรุ่ยสุร่ายใช้น้ำมันเปลื่อง นำเข้ามาก ขาดดุลย์ เป็นเหตุผลที่ดี แต่ ไม่ควรให้คนที่ขายราคาสูงตกแก่นายทุน อันน่าจะเป็น ภาษีมากกว่ากองทุน เพราะกองทุน กรรมการบอร์ด ปตท เอาไปบริหารเอง ไม่ได้ตกแก่ภาครัฐ

๔ เรามีหน่วยงาน กรมธนารักษ์ สำนักประเมินที่ดิน กระทรวงการคลัง คอยกำหนดประเมินราคาที่ดิน ที่ปรับสุงขึ้นเป็นระยะ คนซื้อบ้าน เช่าบ้านก็รับกรรมไปแทน เพราะราคาแพง หาซื้อยาก

๕ เรามีคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบก กลางที่คอยควบคุมราคาค่าโดยสารต่างๆ ซึ่งที่จริงแล้วควรให้โดยสารรถเมย์ฟรี หรือ สามบาทรวดเดียวทุกสาย ไปเลยทั้งวัน สามบาท เพื่อช่วยเหลือคนยากจน และการเดินทางในต่างจังหวัดควรลดราคาลงกว่าครึ่ง ลด จำนวนรถโดยสาร ที่มาแข่งขันกันด้วย เพราะ คำนวณแล้วกำไรมาก

๖ เรามีคณะกรรมการการศึกษาห้าแห่ง มีนโยบายทางการศึกษา ที่เรียนฟรี แต่ มีการกำหนดภาระค่าใช้จ่ายทางการศึกษามีค่านั้่่ั้นค่านี่เยอะ แยะไปหมด เดี๋ยวก็ค่าเรียนพิเศษครูต่างประเทศ ค่าเรียนคอมพิวเตอร์ ค่าเดินทางไปเรียนห่างจากบริเวณบ้าน ค่าเสื้อกีฬา เสื้อพละ ชุดลูกเสือ เนตรนารี กี่ฬาสี การกำหนดชุดเนตรนารี ลูกเสือใส่แล้วทำให้เด็กเป็นคนดีขึ้นหรือไม่ ใช่เป็นสากลทั่วโลกแต่ไม่มีเครื่องหมายมากมายเยอะเเยะเกินความจำเป็น เพิ่มภาระค่าใช้จ่ายโดยเฉพาะต่อคนยากจน ทุกอย่างที่ปรับขึ้นลง ประชาชนไม่อาจจะทราบข้อมูลที่แท้จริงได้ แต่ผลลัพท์สุดท้ายที่ประชาชนเห็นๆคือ

๑ ความร่ำรวยของผู้ถือหุ้นปตท และคณะกรรมการบอร์ดที่มีค่าประชุมหลายหมื่นบาทต่อครั้ง ตอนนี้ไม่รู้ว่าจะทะลุหลักแสนหรือยัง ในการประชุมแต่ละครั้งของคณะกรรมการบอร์ดซึ่งรวมเอาทั้ง ตัวแทนอัยการ ตัวแทนผู้ตรวจเงินแผ่นดิน ตัวแทนหน่วยงานรัฐ ที่คณะกรรมการกฤษฎีกา (ซึ่งมีข้าราชการเป็น คณะกรรมการหลายหน่วยงานไม่ว่า รัฐวิสาหกิจ อดีตกรรมการปตท อดีต ปลัดกระทรวงศึกษา ) ตีความว่าไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน

เงินรายได้ของปทต กำไรหลายหมื่นล้าน ถึงแสนล้าน ส่วนใหญ่จากการขายก๊าซที่ส่วนใหญ่ ขุดได้ในประเทศไม่บอกว่าเท่าไร และนำเข้าเท่าไร ส่งออกไปเท่าไร ที่ชัดเจนสู่สาธารณะ ยกเว้นต้องไปค้นข้อมูลเอง ก็หายาก สำหรบัชาวบ้านธรรมดา

รายได้จากการส่งออก มีสัดส่วนเท่าไร ไม่ปรากฎชัดต่อสาธารณะชน มีแต่การประชาสัมพันธ์ทางสื่อว่า เราต้องนำเข้าก๊าซ เพราะไม่พอใช้ แต่ไม่ทราบตัวเลขที่ชัดเจนแน่นอน ลอยไปลอยมา

แต่เมื่อก๊าซไม่พอใช้ ทำไม ปตท.ร่ำรวยจากการขายก๊าซมาจากส่วนไหน กัน และที่ว่าอ้างอิงตามราคาน้ำมัน เวลาน้ำมันลดลงกว่าครึ่งไม่เห็นลดราคา เมื่อราคาน้ำมันขึ้น ราคาสินค้าพลอยขึ้นไปด้วยรวมทั้งค่าเดินทางค่าโดยสาร ที่มีกลุ่มพวกฉวยโอกาส พากันขึ้นราคา

๒ ความร่ำรวยของนักการเมืองจากไม่มีอะไรเลย จนรวยอันดับต้นๆ

๓ ความร่ำรวยของข้าราชการระดับสูง ขับรถเบนซ์ เงินเดือนสูงสุดแค่หลักแสน แต่ทำไมซื้อรถเบนซ์ได้ ราคาห้าล้าน ผ่อน ห้าปี เดือนหนึ่งก็ แสนบาท ไม่ต้องกินต้องใช้เลยก็ไม่สามารถผ่อนได้

๔ ความร่ำรวยของนายทุน นักธุรกิจที่อิงการเมือง มองก็เห็นๆว่ามีตระกุลไหนบ้าง ทั้งหมดจะเห็นว่าการกำหนดราคาสินค้าอุปโภค บริโภค การวางนโยบายของรัฐบาล ล้วนแต่จะทำให้ความแตกต่างของรายได้ห่างกันมากขึ้น

เพราะ เจ้าหน้าที่รัฐ ทั้งนักการเมือง ข้าราชการ บางส่วน และนายทุน ร่วมหมกเม็ด และหัวใจที่สำคัญคือ ประะชาชนเราไม่ตื่นตัว และนอนหลับทับสิทธิไม่ใส่ใจไม่เรียกร้องไม่คัดค้านไม่ติดตาม เพราะฉะนั้นการขึ้นภาษีเพื่อไปจับจ่ายแก่หน่วยงานรํฐ คิดว่าไม่ใช่สิ่งถูกต้องไม่ได้ช่วยแก้ไขปัญหา แต่เพิ่มเงินในการคอรัปชั่น

โครงการต่างๆควรจะตรวจสอบค่าใช้จ่ายอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยไม่ตกหล่น มีประสิทธิภาพ ตอนนี้ กระทรวงต่างๆล้วนมีค่าโฆษณา เป็นว่าเล่น สื่อต่างๆได้ค่าโฆษณา จากหน่วยงานรัฐมากสุด เพื่อปิดปากสื่อหรือไม่ ซึ่งสามารถลดภาระงบประมาณได้เกือบครึ่งแน่นอน

เท่ากับรัฐได้รายได้เพิ่มขึ้น เพียงแต่เงินหา หรือซื้อเสียงอาจจะน้อยลงเท่านั้น ประชาชนคนไทย น่าจะตื่นตัวไม่รับไม่เลือกคนที่แจกเงินนำไปเที่ยว แต่เลือกคนที่มีนโยบายดีมาให้คนไทยและทำได้จริงจะดีกว่า ไหม และสุดท้ายต้องแก้ไขวงจรเลวร้ายที่เคยได้นักการเมืองซื้อ เสียงมาด้วยทุน ก็ต้องหาทุนโดยร่วมมือกับข้าราชการบางส่วน สื่อมวลชนและนักวิชาการบางกลุ่ม มาเป็นนักการเมืองน้ำดี มีนโยบายไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ไม่โกงกินเพื่อหาเงินไปเลือกตั้ง ไม่ออกนโยบาย กำหนดมาตรการที่ เอื้อนายทุน หรือ นักการเมืองหรือกลุ่มอิทธิพล ไม่เพิ่มภาระแก่ประชาชน

สุดท้ายประชาชน/เยาวชนต้องได้รับการพัฒนาศักยภาพใน การประกอบอาชีพที่เพิ่มมูลค่า คือการส่งเสริมการศึกษา ที่ตอบสนอง ความต้องการในปัจจุบัน และทันสมัย ในชีวิตและสังคมปัจจุบัน ต้องแข่งขันกันทั่วโลก ไม่ใช่เฉพาะคนไทยเท่านั้น ทำงานชั่วโมงเท่ากันรายได้ต้องเพิ่มขึ้น ไม่ใช่ขายของกำไรชื้นละหนุึ่งบาทก็ดีใจแล้วเท่านั้น

เขาขายของที อย่างเช่นไอพอท ตัวละหลายหมื่นบาทต้นทุนไม่เท่าไร แต่ขายมันสมองความคิด เท่านี้ประชาชนและความเหลื่อม ล้ำมันน่าจะน้อยลง ประชาชนมีความสงบสุขขึ้นเยอะเลย

สำคัญคือ ประชาชนต้องตื่นเถิดชาวไทย อย่ามัวหลับไหลลุ่มหลงขับเคลื่อนให้ถูกทิศทาง ไม่หลงให้ใครนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการแสวงอำนาจและผลประโยชน์ติดตามกันดีๆ

ลองพิจารณากันดู จะช่วยกันอย่างไร