ท่องไปในซานฟรานฯ
นายรุงรัง



ผลประโยชน์ทับซ้อนของเจ้าหน้าที่รัฐ ทำให้ค่าไฟฟ้าแพง 29 พย 55
สำหรับค่าไฟฟ้าเอฟทีมีการคิดคำนวณ โดย

๑ ค่าต้นทุนเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ ในการผลิตไฟฟ้า ในสัดส่วน๒๗%ของค่าเอฟที

๒ ต้นทุนการรับซื้อไฟฟ้าจากเอกชนในสัดส่วน ๗๒%ของค่าเอฟที กฟผ รับซื้อไฟจากบริษัทเอกชน ในราคาที่สูงขึ้นเรื่อยๆ โดยที่ทำให้เอกชนที่ผลิตไฟฟ้ามีกำไรเพิ่ม เช่น บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด บริษัท EGCO

๓ ชดเชยค่าไฟฟ้าพลังงานทดแทน และอื่นๆตามนโยบายรัฐ ๑%

เมื่อเข้าไปดูการรับซื้อไฟฟ้าจากเอกชน พบว่า กฟผ รับซื้อในราคาที่สูงกว่า บริษัทเอกชน อื่นๆ คืออยู่ที่ ๓.๐๕๖๙ บาทต่อหน่วย เอกชนรายอื่นอยู่ที่ ๐.๗-๒.๖๗๒๘ บาทต่อหน่วย ( เอกสารแนบ ๑ ) เมื่อเข้าไปดูรายชื่อกรรมการปรากฎชื่อ นายนายคุรุจิต นาครทรรพ เป็นประธานกรรมการ ซึ่งมีตำแหน่ง เป็นรองปลัดกระทรวงพลังงาน และกรรมการในคณะกรรมการ กฟผ. ซึ่งถือเป็นผลประโยชน์ทับซ้อน กรรมการใน ราชบุรีโฮลดิ้งมี หลายคนที่เป็น เจ้าหน้าที่ในกฟผ. ตามข้อมูลด้านล่างนี้

เช่นเดียวกัน บริษัทEGCO (เอ็กโก) (รับซื้อค่าไฟฟ้า จากเอกชนในราคา ๒.๔๘-๒.๖๗ บาทต่อ หน่วย ในส่วนที่แพงกว่าหลายบริษัท รองจากบริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรี ) มีบริษัทในเครือคือ RY= บริษัทผลิตไฟฟ้าระยอง, NK = บริษัทผลิตไฟฟ้าขนอม, GPG = บริษัทกัลลฟ์ เพาเวอร์ เจเนอเรชั่น จำกัด มี นายพรชัย รุจิประภา เป็นประธานคณะกรรมการ และยังเป็นอดีต ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธาน คณะกรรมการ กฟผ.

(อ้างอิงhttp://www.set.or.th/set/companyhighlight.do?symbol=EGCO&language=th&country=TH)

กฟผ ประกอบด้วยประธานคณะกรรมการคือ นายพรชัย รุจิประภา และรองประธาน ได้แก่นายคุรุจิต นาครทรรพ ทั้งสองคนได้รับผลประโยชน์ในรูปโบนัสมากน้อย ตามกำไรบริษัทเอกชนที่เป็นกรรมการ

http://gphone.prd.go.th/dp.php?MID=22&DID=178


บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)
1. นายคุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดก.พลังงาน,รองประธานบอร์ด กฟผ. เป็น ประธาน คณะกรรมการ
2. นายนพพล มิลินทางกูร รองผู้ว่า กฟผ. เป็น กรรมการผู้จัดการใหญ่
3. นายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ผู้ว่าการการ กฟผ. เป็น กรรมการ
4. นายตระกูล วินิจนัยภาค รองอัยการสูงสุด เป็น กรรมการ
5. นายวิรัช กาญจนพิบูลย์ รองผู้ว่า กฟผ เป็น กรรมการ
6. นายธนา พุฒรังสี ผู้ช่วยผู้อำนวยการ กฟผ เป็น กรรมการ
7. นายสาธิต รังคสิริ อธิบดีกรมสรรพากร เป็น กรรมการ

กำไร(ล้านบาท) ปี 54 จำนวน 4,840.64 และ ปี 55(ก.ย.) 6,875.02

รายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่
กฟผ.
บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด
บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (โสภณพนิช)
บริษัท ไทยประกันชีวิต จำกัด (ล่ำซำ)
กองทุนเปิด กรุงศรีหุ้นระยะยาว
นายไพบูลย์ ปัญญวุฒิ (อดีต รองปตท)
บริษัทผลิตไฟฟ้า EGCO
8. นายพรชัย รุจิประภา อดีต ปลัดก.พลังงาน ,อดีต กบง. เป็น ประธานคณะกรรมการ
9. นายสหัส ประทักษ์นุกูล กรรมการกฟผ เป็น กรรมการ
10. นายกุลิศ สมบัติศิริ ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง เป็น กรรมการ
11. นายธวัช วัจนะพรสิทธิ์ รองผู้ว่าการ กฟผ. เป็น กรรมการ
12. นายธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ อธิบดีอัยการ ฯ สำนักงานอัยการสูงสุด เป็น กรรมการ

กำไร ปี 54 จำนวน 4989.53 ล้านบาท ปี 55(ก.ย.) 10,039.11 ล้านบาท.

รายชื่อผู้ถือหุ้นใหญ่
กฟผ.
บริษัท ไทยเอ็นวีดีอาร์ จำกัด
บริษัท กรุงเทพประกันชีวิต จำกัด (มหาชน)
กองทุนเปิด บัวหลวง
สำนักงานประกันสังคม (2 กรณี)
บริษัท อาคเนย์ประกันชีวิต จำกัด
บริษัทต่างชาติ
ธนาคาร กรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

อ้างอิง -http://www.set.or.th/set/companyprofile.do?symbol=RATCH&language=en&country=US

-http://www.set.or.th/set/companyprofile.do?symbol=EGCO&language=th&country=TH

ดังนั้น ความผิดปกติของการเจรจารับซื้อไฟฟ้า จึงเป็นการปฏิบัติ หน้าที่เอื้อ ธุรกิจเอกชน และมีผลประโยชน์ทับซ้อนของเจ้าหน้าที่รัฐ ที่ถูกกฎหมาย เนื่องจาก รัฐบาลได้แก้ไข ข้อกฎหมาย ไว้แล้วใน พรบ

ดังนั้นเหตุของความเดือดร้อนของประชาชนมาจากผลประโยชน์ทับซ้อนที่ถูกกฎหมายของ นักการเมือง ข้าราชการที่สร้างเกณฑ์ให้เอื้อต่อการมีผลประโยชน์ทับซ้อนที่ถูกกฎหมาย มาทุกสมัย

1 สมัยชวน หลีกภัย กฎหมาย พรบ. ปปช พศ 2542 มาตรา 102

มาตรา 100 ห้ามมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดดำเนินกิจการดังต่อไปนี้

(1) เป็นคู่สัญญาหรือมีส่วนได้เสียในสัญญาที่ทำกับหน่วยงานของรัฐ ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นปฏิบัติหน้าที่

(2) เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่เข้าเป็นคู่สัญญากับหน่วยงานของรัฐ

(3) รับสัมปทานหรือคงถือไว้ซึ่งสัมปทานจากรัฐ หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือราชการ ส่วนท้องถิ่น

(4) เข้าไปมีส่วนได้เสียในฐานะเป็นกรรมการ ที่ปรึกษา ตัวแทน พนักงานหรือลูกจ้างในธุรกิจของเอกชน ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับ ดูแล ควบคุม

มาตรา 102 บทบัญญัติมาตรา 100 มิให้นำมาใช้บังคับกับการดำเนินกิจการของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจกำกับ ดูแล ควบคุม หรือตรวจสอบการดำเนินงานของบริษัท จำกัด หรือบริษัทมหาชนจำกัดมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ในบริษัทจำกัดหรือบริษัท มหาชนจำกัด ที่หน่วยงานของรัฐถือหุ้นหรือเข้าร่วมทุน

2 สมัย สุรยุทธ จุลานนท์ แก้ไข ให้อำนาจ ข้าราชการ มีผลประโยชน์ทับซ้อนที่ถูกกฎหมาย ตาม พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2550 มาตรา 5 กรรมการของรัฐวิสาหกิจ..(10) ไม่เป็นกรรมการ หรือผู้บริหาร หรือผู้มีอำนาจในการจัดสรร หรือมีส่วนได้เสียในนิติบุคคลซึ่งเป็นผู้รับสัมปทาน ผู้ร่วมทุน หรือมีประโยชน์ได้เสียเกี่ยวข้องกับกิจการของรัฐวิสาหกิจนั้น เว้นแต่ เป็นประธานกรรมการ กรรมการ หรือผู้บริหารโดยการมอบหมายของรัฐวิสาหกิจนั้น