ท่องไปในซานฟรานฯ
นายรุงรัง



การป้องกันไตเสื่อม

อย่าเข้าใจว่า ขอบตาดำ เกิดจากนอนน้อย นอนดึก เท่านั้น ร่างกายจะมีสัญญาณบอกความผิดปกติ ที่เกิดขึ้นเสมอ แต่เราไม่เข้าใจ ไม่รู้ว่า ร่างกายต้องการบอกอะไร คนที่ขอบตาดำ พึงระวังไว้ครับ ว่าร่างกายกำลังเตือนว่า ไตกำลังจะเสื่อม! ไม่ว่าอายุแค่ไหน หนุ่มสาว หรือ แก่ชรา ล้วนมีสิทธิไตเสื่อมด้วยกันทั้งนั้น ผมพูดถึงไตเสื่อมนะครับ ไม่ใช่โรคไต ไตทำหน้าที่กรองของเสียในร่างกาย ซึ่งเป็นเพียงหนึ่งในหน้าที่หลายๆ อย่างของไต จึงสรุปสั้นๆว่า ไตเปรียบเหมือน GM หรือ ผจก. ของร่างกาย คนยุคปัจจุบัน ทำร้ายไตตัวเองโดยไม่รู้ตัว ไม่ว่ากินอาหาร ที่ปรุงแต่งมากเกินไป (เค็ม-มัน-เผ็ดมาก ฟาสฟู้ด-อาหาร สำเร็จรูป–แช่แข็ง-อาหารอุตสาหกรรม ฯลฯ) ร่างกายเสีย สมดุล อีกทั้งการใช้ชีวิตที่ไม่สอดคล้องกับเวลาที่ถูกต้อง นอนน้อยเกิน นอนมากเกิน นอนไม่เป็นเวลา ไม่ออกกำลังกาย (รวมถึงออกกำลังไม่เหมาะกับสภาพร่างกายตัวเอง) เครียดมาก กดดันมาก รีบเร่งมาก ฯลฯ คนยุคปัจจุบัน มีแนวโน้มที่จะไตเสื่อมมากขึ้น และให้สังเกตร่างกายตัวเองดังต่อไปนี้


1. อ่อนเพลียบ่อย ขาดความกระตือรือร้น
2. นอนไม่ค่อยหลับ หรือ หลับไม่สนิท
3. ปัสสาวะบ่อย หรือ กะปริดกะปรอย
4. ปวดตามตัว เป็นตะคริวบ่อย
5. จาม คัดจมูก เป็นหวัดง่าย
6. ซึมเศร้า ปวดหัวง่าย ขี้ลืม ขี้วิตกกังวล
7. หย่อนสมรรถภาพทางเพศ หลั่งเร็ว ประจำเดือนไม่ปกติ
8. ขอบตาดำคล้ำ ผมหงอก ผมร่วงก่อนวัย

จริงๆมีเยอะกว่านี้ เอาแค่นี้เช็คตัวเองก่อนแล้วกัน ไม่ได้หมาย ความว่าต้องมีอาการแบบนี้ทั้งหมด แต่โดยรวมแล้วมีปรากฏ ให้เห็นกับตัวเอง

อะไรบ้างที่ทำให้ไตเราเสื่อม 1. ใช้ชีวิตขาดสมดุล: น้อยไปไม่พอ ทำงานหนักหามรุ่งหามค่ำ เที่ยวกลางคืนหนัก หมกมุ่นความบันเทิง ฯลฯ
2. เพศสัมพันธ์: มีเพศสัมพันธ์มากเกินควร และหลั่งอสุจิมาก เกินควร ทำให้ร่างกายเสียพลังโดยเปล่าประโยชน์ และไต จะอ่อนแอลง
3. การทานยารักษาโรคนานๆ หรือปริมาณที่มาก: ทั้งยาแก้ปวด ยาคุมฯ ยาแก้หวัด แก้ไอ แก้เครียด ซึ่งแม้โรคจะหาย แต่ไตจะมีเคมีของยาตกค้างอยู่

ยังมีอีกเยอะครับ แต่แค่นี้คงครอบคลุมแล้วลองดูตัวเองว่า เป็นอย่างไร มีอาการตามที่ว่าหรือไม่

การแก้ไข ง่ายสุด คือ ปรับพฤติกรรมตัวเอง ทั้ง การนอน การกิน การอยู่ หนึ่งวันมี 24 ชม.
ให้แบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนละ 8 ชั่วโมง
- ทำงาน 8 ชั่วโมง
- ส่วนตัว 8 ชั่วโมง (เที่ยว พักผ่อน ดูทีวี สรรทนาการ ออกกำลังกาย)
- นอน 8 ชั่วโมง

หมอจะกำไรมากขึ้นจากการรักษาคนป่วย แต่คนป่วยจะไตพัง กันมากขึ้น จากการกินยา แล้ววนมาให้หมอรักษาไตอีก

ดังนั้น ต้องตัดสินใจเองว่าจะบริหารจัดการชีวิตตนเองอย่างไร ที่ไม่เสียงาน ไม่เสียสุขภาพ

นอกจากนี้ ผมมีข้อแนะนำ ดังนี้ครับ
1. ปรับวิธีการออกกำลังกาย: แอโรบิคก็เป็นการออกกำลังที่ดี แต่ช่วงที่ร่างกายขาดสมดุล จึงไม่แนะนำให้เล่นต่อ เพราะอาจทำ ให้คุณสูญพลังมากขึ้น อยากให้คุณฝึกโยคะกับครูผู้ชำนาญ ซึ่งหาเรียนได้ไม่ยากในเวลานี้ (ห้ามฝึกเองจากหนังสือ หรือ ซีดีเด็ดขาดนะครับ จะเสียมากกว่าได้)

การฝึกโยคะ ไม่ได้ให้ประโยชน์แค่เรื่องความสวยงาม แต่เป็นการ ปรับสมดุลของระบบภายในร่างกาย ช่วยฟื้นฟูสภาวะที่ผันแปรต่างๆ ให้เข้าที่ แต่ต้องฝึกอย่างมีวินัย และมีสมาธิ นอกจากนี้ หากมีฝึก ชี่กง ควบคู่ไปด้วย จะเห็นผลดี และเร็วขึ้น หากรู้สึกว่ายากหรือห่างตัวเกินไป ก็ให้เลือกการว่ายน้ำ โดยว่าย อย่างเบาๆ แต่ต่อเนื่อง ในเวลาที่พอสมควร (เหนื่อยให้หยุดพัก ห้ามฝืนต่อ) คุณไม่ได้ไปแข่งกับใคร คุณกำลังบำบัดตัวเอง

2. ปรับอาหาร: งดเนื้อสัตว์ย่อยยาก วัว หมู ไก่ เป็ด ของเผ็ด ของเย็น (ไอศกรีม น้ำแข็ง) ของมัน ของทอด ให้ทานปลา ทดแทน และทานผักสด ที่ปรุงน้อย (เช่นสลัด)มากขึ้น ทานพวกถั่วแดง งาดำ ข้าวโพด ข้าวกล้อง ดื่มน้ำเปล่าอุณหภูมิปกติ (ห้ามดื่มน้ำเย็น) และงดเครื่องดื่มของมึนเมา น้ำอัดลม นม น้ำอุตสาหกรรม (ชาเขียว ชาขาว เครื่องดื่มบำรุงกำลัง)

3. อยู่ห้องแอร์ให้น้อยลง อยู่หน้าจอคอม จอโทรทัศน์ให้น้อยลง: หาเวลาอยู่กับธรรมชาติมากขึ้น (เดินเท้า เปล่าในสนามหญ้าได้จะดีมาก) จะเห็นว่าที่แนะนำไป ดูเบสิคมากเลยใช่มั้ยครับ แต่ทำยากมากเลย นี่ล่ะครับ ผมถึงบอกว่าคนในยุคนี้ป่วยกันมากขึ้น เพราะมีพฤติกรรม ทำลายวงจรธรรมชาติของตัวเอง อาการผิดปกติที่แสดงออกทาง ร่างกาย ไม่ว่าพฤติกรรม หรือความรู้สึก ล้วนสัมพันธ์กับไต

ไตเหมือนแบตเตอรี่ที่มีค่ายิ่งของมนุษย์ เป็นผลึกแก้ววิเศษ ที่มีค่ามหาศาล แต่ก็เปราะบางยิ่งนัก และง่ายต่อการแตกร้าว วิธีการดูแลรักษาไม่ยากสำหรับคนในยุคก่อน แต่ยากยิ่งสำหรับ คนยุคนี้ นั่นคือ "คล้อยตามธรรมชาติ" คนสมัยก่อน ตื่นเช้า นอนแต่หัวค่ำ ทานอาหารสดใหม่ไม่ผ่าน กระบวนการอุตสาหกรรม ดื่มน้ำบริสุทธิ์ ใช้กำลังกายมากกว่า พึ่งพาสิ่งอำนวยความสะดวก ฯลฯ ในขณะที่คนยุคนี้ นอนดึกเป็นกิจวัตร (ทำงาน, ดูบอล, ดูโทรทัศน์, เที่ยวกลางคืน) ทานอาหารปนเปื้อน แปรรูป ดื่มน้ำอัดลม พึ่งพาเทคโนโลยีจนเกินความจำเป็น ฯลฯ


อาการไตเสื่อมจะเกิดใน 2 ลักษณะ แยกเป็น ไตหยิน กับ ไตหยาง
อาการไตหยาง หรือ ไตหดตัวแน่น
- นอนไม่หลับ หรือ หลับๆตื่นๆ
- นอนกัดฟัน ฝันร้ายบ่อย
- อสุจิเคลื่อนตอนนอน
- เป็นเหน็บชาบ่อย ฯลฯ

โดยมีสาเหตุมาจาก
1.กินรสเค็มจัด หรือ เนื้อย่าง ปิ้งไฟ หรือ พวกเนื้อแห้ง แดดเดียวบ่อยๆ
2.การทำงาน หรือ การใช้ชีวิตที่ขาดระเบียบ
3.การนั่งทำงานหรือ นั่งรถนาน
ส่วนอีกลักษณะคือ ไตหยิน หรือ ไตคลาย
- เฉื่อยชา เกียจคร้าน
- ความต้องการทางเพศต่ำลง
- ปวดเมื่อหลัง เอว
- ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะกลางคืน
- นอนตื่นสาย ไม่อยากตื่น
- อารมณ์อ่อนไหวง่าย
- ขี้หูมาก
- เหงื่อออกเยอะผิดปกติ ตามปกติแล้ว กลางคืน ไต
ซึ่งเป็นอวัยวะธาตุน้ำ หรือ "หยิน" จะทำงานมากกว่ากลางวัน (สังเกตว่าตื่นเช้าเราจะปวดปัสสาวะก่อนเป็นอันดับแรก)

ดังนั้น เมื่อเราใช้ชีวิตที่เพิ่มปัจจัย "หยิน" ในชีวิตประจำวันมาก จนเกินดุล ไตจึงยิ่งทำงานหนักขึ้น (อาการหยินที่เกิด เช่น ขี้เกียจ อยากนอนตลอดเวลา ปัสสาวะบ่อย เซื่องซึม สีหน้าซีดเซียว ขอบตาคล้ำ หงุดหงิดขี้รำคาญ เป็นต้น)

การใช้ชีวิตที่ไปเพิ่มปัจจัยหยินได้แก่
- การดื่มน้ำเย็นเป็นนิสัย รวมทั้ง น้ำแข็ง ไอศกรีม หวานเย็น และอาหารลักษณะนี้
- ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์
- การสวมใส่เสื้อผ้าใยสังเคราะห์ ซึ่งมีไฟฟ้าสถิตย์
- การอาศัยอยู่ในที่เย็นนานๆ เช่น ห้องแอร์ ดังนั้น คนที่ทำงาน ในออฟฟิศที่เปิดแอร์ทั้งวัน ควรหาเวลาเดินไปข้างนอกเปลี่ยน อากาศบ้าง หรือ ใส่เสื้อแจ็คเก็ต (ควรเป็นผ้าธรรมชาติ เช่น คอตตอน) และ หาโอกาสออกกำลังกายกลางแจ้งบ้าง สำหรับคนนอนห้องแอร์ ควรสวมเสื้อผ้า ห่มผ้าให้อบอุ่น
- การนั่งรถนานๆ โดยเฉพาะบนเส้นทางที่รถติดมากๆ ยิ่งเพิ่ม ปัจจัยหยินมากขึ้น
- นอนไม่เป็นเวลา ทำงานไม่เป็นเวลา นอนน้อย หรือนอนผิดเวลา
สำหรับคนที่นอน และ ทำงานผิดเวลา ตามหลักวงจรธรรมชาตินั้น
กลางวัน คือ เวลาสำหรับ ทำงาน เรียนหนังสือ
กลางคืน คือ สำหรับพักผ่อน นอนหลับ
(หยางเคลื่อนไหว หยินสงบนิ่ง)

การใช้ชีวิตที่ผิดวงจรนั้น จะส่งผลถึงสุขภาพร่างกาย และจิตใจ อย่างแน่นอน แม้จะยังไม่แสดงตัวออกมาอย่างเต็มที่ นั่นเพราะ ตัวคุณมี "ทุน" ที่ยังค้ำยันอยู่ แต่ ทุนจะหมด เพราะการใช้ชีวิตที่ผิดสะสม


อาหารที่ควรเลือกรับประทานเป็นหลัก ได้แก่
1. ข้าวกล้อง
2. สาหร่ายทะเล
3. ถั่วแดง ผักสด ผลไม้ไม่หวานและ น้ำน้อย
4. เต้าเจี้ยว

หลีกเลี่ยง การใช้ชีวิต ดังนี้
1. การใส่รองเท้าส้นสูง
2. การนั่งหรือนอนบนเก้าอี้ที่แข็ง หรือ นุ่มเกินไปผิดรูป กายภาพ (เก้าอี้ หรือ เตียง ดีไซน์เก๋ๆ ที่นิยมกันในหมู่คน รุ่นใหม่) ควรเลือกแบบที่ไม่แข็ง ไม่นุ่ม กำลังดี อย่างที่นอน ใยมะพร้าว

การใช้ชีวิตที่ควรปรับเพิ่ม
1. พยายามอย่านั่งหลังงอ
2. อย่านั่งนานๆ หรือ อย่าอยู่อย่างเฉื่อยชานานๆ นึกขึ้นได้ ให้ขยับตัว เคลื่อนไหว เปลี่ยนอิริยาบถ