ท่องไปในซานฟรานฯ
นายรุงรัง



เปิดรายงาน คอป ฉบับสมบูรณ์ กรกฎาคม 2553 – กรกฎาคม 2555

รายงานฉบับสมบูรณ์ของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ฉบับนี้เป็นบทสรุปการดำเนินงานของคอป. ตลอดช่วงเวลาการทำงานเมื่อครบ ๒ ปี

ซึ่งจะมีเนื้อหาครอบคลุมภารกิจทั้งหมดตั้งแต่ข้อมูลเบื้องต้นของ คอป.งบประมาณ บุคลากรความร่วมมือกับหน่วยงานในประเทศและต่างประเทศการตรวจสอบและค้นหาความจริง การศึกษาวิจัยรากเหง้าของปัญหา การเยียวยาและฟื้นฟูรวมถึงข้อเสนอแนะอันเป็นแนวทางในการสร้างความปรองดองในชาติโดยมีประเด็นสำคัญต่างๆ ทั้งระยะเร่งด่วนระยะกลางและระยะยาว

ดร.คณิต ณ นคร ประธานกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.)

โดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าวได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานของ คอป.

๑. ตรวจสอบและค้นหาความจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรุนแรงที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๓ รวมตลอดถึงประเด็นที่เป็นรากเหง้าของปัญหาความขัดแย้งและเหตุการณ์ความรุนแรงในประเทศในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา

๒. เยียวยาและฟื้นฟูบุคคลสังคมองค์กรและสถาบันที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงทั้งในระยะสั้นและระยะยาวตามแนวทางความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ และความยุติธรรมทางสังคมเพื่อส่งเสริมให้เกิดความปรองดองในประเทศต่อไป

๓. วางมาตรการเพื่อลดความขัดแย้งในสังคมไทย และป้องกันมิให้เกิดเหตุความรุนแรงและความสูญเสียขึ้นอีกในอนาคต


ตารางโครงสร้างคณะอนุกรรมการตรวจสอบและค้นหาความจริง 5 คณะ จากรายงานฉบับสมบูรณ์

ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน

๑. คอป. ทำหน้าที่ในฐานะกลไกสำคัญนำพาสังคมสู่ความปรองดองแต่ไม่มีอำนาจตามกฎหมายใด เนื่องจากการดำเนินงานของ คอป. เป็นไปในลักษณะการขอความร่วมมือเพราะ คอป. ไม่มีอำนาจเรียกบุคคลหรือหน่วยงานใดมาให้ข้อมูลเป็นเหตุให้ในบางกรณีการขอรับความร่วมมือจากหน่วยงานของรัฐและเอกชนมีอุปสรรคทำให้ไม่ได้ข้อมูลสำคัญที่มากเพียงพอสาหรับการพิจารณาประเด็นต่างๆ อีกทั้งบางหน่วยงานอ้างว่าข้อมูลบางส่วนเป็นความลับของทางราชการ จึงไม่สามารถได้ข้อเท็จจริงเชิงลึกที่เพียงพอในการวิเคราะห์เพื่อให้ได้ความจริงอันเป็นที่ยอมรับได้ทำให้เกิดคำถามจากสังคมตามมาว่าข้อมูลที่ไม่ได้รับอนุญาตให้เปิดเผยหรือไม่ประสงค์จะเปิดเผยหรือมีความลังเลล่าช้าในการส่งให้ คอป.นั้น เป็นข้อมูลที่ปิดบังซ่อนเร้นข้อเท็จจริงสำคัญๆบางประการไว้และการปิดบังนั้นคุ้มค่ากว่าการเปิดเผยต่อสาธารณชนแม้อาจเสี่ยงต่อการถูกครหาถึงความโปร่งใสและการตกเป็นกลไกขัดขวางการนำพาสังคมสู่ความปรองดองของคอป. ก็ตาม

๒. ขาดการคุ้มครองความปลอดภัยของบุคคลหรือองค์กรที่ให้ข้อมูล ความกังวลของบุคคลหรือองค์กรที่ไม่กล้าให้ข้อมูลแก่คณะอนุกรรมการตรวจสอบ และค้นหาความจริง ทำให้การเชิญบุคคลหรือองค์กรมาเพื่อให้ข้อมูลข้อเท็จจริงมีอุปสรรคพอสมควร เนื่องจากพยานบุคคลบางคนเกรงว่าจะได้รับอันตรายหากเสนอพยานหลักฐานที่อาจมีผลกระทบต่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด

๓. ข้อจำกัดจากสถานภาพและที่มาของ คอป. เนื่องจากปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นทาให้มีข้อกังวลถึงที่มาของคอป. ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลที่ถูกมองว่าเป็นฝ่ายหนึ่งของความขัดแย้งทำให้บางฝ่ายขาดความเชื่อมั่นและไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบและค้นหาความจริงอย่างไรก็ดีจากการดำเนินการที่ผ่านมา จนกระทั่งคอป. สิ้นสุดวาระลง ปรากฏว่ามีพัฒนาการไปในทางที่ได้รับการยอมรับมากขึ้นเนื่องจากแนวทางในการทำงานของ คอป. ที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ถึงความเป็นอิสระและมีความเป็นกลางและรัฐบาลได้แสดงให้เห็นว่าให้ความอิสระและไม่เข้ามาแทรกแซงการทางานของ คอป. ข้อเสนอแนะในการเผยแพร่รายงานฉบับสุดท้าย

กระบวนการปรองดองเป็นเรื่องที่มีความเกี่ยวข้องกับประชาชนทั้งประเทศ และต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน คอป. จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลและสื่อมวลชนนำเสนอและเผยแพร่รายงานฉบับสุดท้ายของ คอป. ซึ่งเป็นการเปิดเผยข้อเท็จจริง รวมทั้งรากเหง้าของความขัดแย้งและเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น และข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางในการสร้างความปรองดอง ให้ประชาชนและสังคมทุกระดับได้รับรู้อย่างกว้างขวาง เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ต้องตรงกันต่อเหตุการณ์และสาเหตุของความขัดแย้งที่เกิดขึ้น และรับทราบแนวทางในการแก้ไขปัญหา

โดย คอป. เห็นว่าความเข้าใจดังกล่าวจะมีส่วนสำคัญในการลดความรู้สึกโกรธแค้นชิงชัง ช่วยผสานความแตกแยกของคนในสังคม นำมาซึ่งการเปิดใจยอมรับฟังฝ่ายตรงข้ามและการให้อภัย ช่วยสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการแสวงหาทางออกร่วมกันของสังคมในการแก้ไขความขัดแย้งที่เกิดขึ้น และนำพาประเทศชาติไปสู่ความปรองดองได้ในที่สุด

คอป.มีความเชื่อว่าในทุกสังคมต้องมีช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งที่เป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่านที่สำคัญของสังคม หากสังคมไทยได้ใช้โอกาสแห่งการเปลี่ยนผ่านของสังคมทำความเข้าใจถึงปัญหาพื้นฐานที่สำคัญและแสวงหาแนวทางร่วมกันในการหาทางออก ก็จะทำให้สังคมไทยไม่เพียงก้าวข้ามปัญหาความขัดแย้งนี้แต่จะทำให้สังคมไทยมีความเข้มแข็งและก้าวหน้าอย่างยั่งยืนด้วย