ธรรมะสมสมัย

หลวงพ่อไสว ชมไกร



ความพยามค้นให้พบตัวตนที่แท้จริง

โดยหลวงพ่อไสว ชมไกร

ขอความเจริญในธรรมจงปรากฏในทุกท่าน บางครั้งสิ่งมีคุณค่ารายล้อมอยู่รอบตัวเราก็ถูกมองข้ามคุณค่าความสำคัญ พระพุทธเจ้าสอนให้เราเข้าใจกฎธรรมชาติ สอนให้เราเข้าถึงหลักความจริง ตามที่มีเหตุปัจจัยเกื้อหนุนต่อกัน พระองค์ตรัสไว้ว่า

อิมสฺมึ สติ อิทํ โหติ
เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี
อิมสฺสุปฺปาทา อิทํ อุปฺปชฺชติ
เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้จึงเกิด

อิมสฺมึ อสติ อิทํ น โหติ
เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี
อิมสฺส นิโรธา อิทํ นิรุชฺฌติ
เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ


เมื่อเหตุหรือปัจจัยยังมีอยู่ การเกิดย่อมยังมีอยู่

เมื่อสิ้นเหตุหรือปัจจัย การเกิดอีกย่อมไม่มี

ทุกสรรพสิ่ง เกิดจากความไม่มี แล้วก็ดับกลับคืนสู่ความไม่มี

“อวิชชา ปัจจยา สังขารา สังขารา ปัจจยา วิญญาณัง......ฯลฯ”

เพราะเราไม่พยายามเดินเข้าหาเหตุปัจจัยให้เกิดศีลเกิดธรรม (หรือไม่) ทำให้เราห่างออกไปจากความพยายามที่จะค้นหาตนเอง ดังนั้นอย่าได้ให้กลุ่มคำเหล่านี้เกิดขึ้น เช่นคำว่า

1. ยาก เพราะคำว่ายากไปทำลายกระบวนการเรียนรู้/ทำลายฉันทะและความเชื่อมั่นสิ่งที่ตนศรัทธาที่เคยรักใคร่พอใจ

2. ทำไม่ได้ เพราะคำว่าทำไม่ได้ไปทำลายความแกล้วกล้า ที่ตนองอาจสง่างามในความฝึกฝนจนเป็นนิสัยแล้วให้ถดถอยย่อหย่อน

3. ท้อ เพราะคำว่าท้อไปทำลายขวัญและกำลังใจให้สูญเสียกระบวนทัศน์การคิดวิเคราะห์

4. ขี้เกียจ เพราะคำว่าไปทำลายความเพียร ด้อยค่าวิริยารัมภะ ทำให้เกิดการสะสมอารมณ์ที่เป็นมลทิน ทำให้การงานคั่งค้าง

5. เหนื่อย เพราะคำว่าไปทำลายเข้มแข็ง เป็นอุปสรรคต่อความสำเร็จ เพราะร่างกายและจิตใจจะตอบสนองให้หยุดทุกอย่างลง ด้วยหัวใจถูกความอ่อนแอเข้าไปแทนที่เสียแล้ว

เวสารัชชกรณธรรม

ธรรมเป็นเครื่องกระทำความเป็นผู้แกล้วกล้า แห่งภิกษุผู้เสขะ 5 ประการนี้ 5 ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้


1. เป็นผู้มีศรัทธา

2. เป็นผู้มีศีล

3. เป็นพหูสูต

4. เป็นผู้ปรารภความเพียร

5. เป็นผู้มีปัญญา


ฉะนั้น ธรรมนี้จึงชื่อว่าเป็นเครื่องกระทำความเป็นผู้แกล้วกล้าแห่งภิกษุผู้เสขะ ที่ต้องพยายามทำความเข้าใจสิ่งสำคัญใกล้ตัว ดังนี้แล รูปขอจำเริญพร

10 กุมภาพันธ์ 2566