ธรรมะสมสมัย

หลวงพ่อไสว ชมไกร



การให้ นำมาซึ่งความสุข

ธรรมะสวัสดีท่านท่านทานบดีทั้งหลาย พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก

@ ให้สิ่งที่ชอบใจแก่ผู้ใด เพียงใด ย่อมสร้างความสุขให้แก่เขาผู้นั้น เพียงนั้น

@ ส่วนเราผู้ให้ก็เป็นสุขใจพลัน เพราะความสบายใจนั้นได้เกิดขึ้นทันที

@ อีกจะปรารถนาใดๆ สารพัดในปฐพี ปราชญ์ท่านให้เอาไมตรีแลกได้ดังใจตน

@ บุคคลผู้ให้ย่อมเป็นที่รักชีวิตจักไม่อัปจน ผู้คนที่ได้รับการให้จักชูชัยช่วยเหลือ

@ จิตใจย่อมสุขสงบเย็นได้เห็นความเอื้อเฟื้อ สัมผัสคุณค่าการให้ ทุกเมื่อเป็นสุขสุดที่จะพรรณา

และผู้ให้ยังเป็นผู้ได้บำเพ็ญทานบารมี ย่อมได้อานิสงส์ 5 ประการ ดังนี้

1. ย่อมเป็นที่รักของมหาชนเป็นอันมาก

2. คนดีหลายหลากย่อมคบหาสง่าศรี

3. ชื่อเสียงอันดี ย่อมขจรขยายไปทั่วสารทิศา

4. ย่อมเข้าสู่ที่ประชุมชนอย่างผู้ กล้าหาญ องอาจด้วยศรัทธา

5. อีกเมื่อลาละโลกแล้ว ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์นิรันดร

ประเภทของการให้

1) การให้วัตถุสิ่งของ (อามิสทาน) พระพุทธเจ้าตรัสว่า ข้าว (อาหาร) และน้ำเป็นทรัพย์โดยปรมัตถ์ สิ่งอื่นเป็นทรัพย์โดยบัญญัติเพราะเกิดจากการสมมุติของของคนที่ทำให้เกิดความจำเป็น เช่น เสื้อผ้าถ้าใส่กันอาย ให้เงิน ให้ทอง ให้เพชร นิล จิณดา ที่กินไม่ได้และไม่มีประโยชน์ นี้เรียก การให้อามิสสินจ้างรางวัล หรือแปลว่าให้วัตถุสิ่งของต่างๆ

2) การให้ที่ไม่เป็นวัตถุสิ่งของ (ธรรมทาน) ได้แก่ ให้สติ ให้ธรรมะ สอนคุณธรรม ให้กำลังใจ ให้อภัย (อภัยทาน) ให้วิทยาความรู้ หรือที่เรียกกันว่าให้วิทยาทาน

3) การยกโทษด้วยการไม่พยาบาทจองเวร (อภัยทาน) บัณฑิตกล่าวเป็นทานที่ให้ได้ยากที่สุด โดยเฉพาะการให้แก่อภัยศัตรู หรือผู้ที่ทำร้ายตนอย่างเจ็บแค้นแสนสาหัส นี้จะปลดปลงปล่อยวางนี้ยากนัก แม้จะแผ่เมตตาทุกๆ ค่ำ-เช้า แต่ก็ใช้จะระงับดับลงจากเจ้ากรรมนายเว้นให้เย็นลง จนกว่าจะปลงลงให้ถึงที่สุด จนกว่าจะสิ้นพบสิ้นสังสารวัฏ

มีบทคัดย่อ

จากการวิจัยทางพระพุทธศาสนาเรื่องทานวัตถุ (ของพระสาธิต เขื่อนคำแสน) กล่าวถึง

1) ศึกษาการให้ทานในพระพุทธศาสนาเถรวาท

2) ศึกษาวัตถุทานในพระพุทธศาสนาเถรวาท

3) วิเคราะห์วัตถุทานในพระพุทธศาสนาเถรวาท เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลจากคัมภีร์พระไตรปิฎก อรรถกถา วรรณกรรมพุทธศาสนา ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 รูป/คน ใช้เครื่องมือการสัมภาษณ์เชิงลึก จากนั้นนำมาวิเคราะห์เนื้อหา และนำเสนอในรูปแบบพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า

การให้ทาน คือ การให้ การแบ่งปันต่างๆ โดยสุจริตใจ หมายถึง การเสียสละ การลดความเห็นแก่ตัว มุ่งประโยชน์ของผู้อื่นมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ ความตั้งใจก่อนให้ทาน ความตั้งใจขณะกำลังให้ทาน และความตั้งใจหลังจากให้ทานแล้ว ทานแบ่งออกเป็น วัตถุทาน และธรรมทาน คือเป็นวัตถุสิ่งของ และที่ไม่เป็นวัตถุสิ่งของ

วัตถุทาน หมายถึง การให้วัตถุสิ่งของเป็นทาน ในพระสูตรต่าง ๆ กล่าวไว้ 10 ประการ คือ อันนัง ปานัง วัตถัง ยานัง มาลา ศันธัง วิเลปนัง เสยยา อาวัสถัง ปริเปยยัง นั้น

วัตถุทานแบ่งตามทวารได้ 6 อย่าง คือ

- รูปทาน การให้รูปเป็นทาน

- สัทททาน การให้เสียงเป็นทาน

- คันธทาน การให้กลิ่นเป็นทาน

- รสทาน การให้รสเป็นทาน

- โผฏฐัพพทาน การให้สัมผัสทางกายเป็นทาน และ

- ธรรมทาน การให้สิ่งที่เป็นธรรมเป็นทาน

ถูกแบ่งออกเป็นของจากภายในตัวเรา เรียกว่า อัชฌัตตะ และของที่อยู่นอกตัวเรา เรียกว่า พหิทธะ

จากยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การให้ทานด้วยวัตถุทาน จะถือเอาแต่ความสะดวกสบาย รวดเร็ว ในการจัดหามาเป็นลำดับแรก มุ่งแต่อานิสงค์แห่งการถวายวัตถุทาน ขาดการพิจารณาถึงประโยชน์แก่ผู้รับ ทำให้อานิสงค์แห่งการถวายทานไม่บริบูรณ์ ดังนั้นเพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจ และประโยชน์สุข ทั้งผู้ให้ทาน ผู้รับทาน จึงนำมาซึ่งการศึกษาวิเคราะห์วัตถุทานในพุทธศาสนาเถรวาทในครั้งนี้ จึงได้นำมาเพื่อประโยชน์สุขแก่ทุกท่านผู้ได้เข้ามาร่วมศึกษา

พระไตรปิฎกเล่มที่ 23 พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ 15
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

ทานวัตถุ หมายถึง สิ่งของ หรือข้าวของสำหรับทาน ในบาลีแสดงทานวัตถุไว้ 10 อย่าง คือ :

1. อนฺนํ (อันนัง) ข้าวจ้าว ข้าวเหนียวเตรียมไว้เทียวอาหารที่เหมาะแก่บิณฑบาตร

2. ปานํ (ปานัง) น้ำดื่ม น้ำปานะ น้ำใช้อย่าให้ขาด สะอาดใส

3. วตฺถํ (วัตถัง) สบงจีวร ผ้านุ่ง ผ้าห่ม ผ้าเช็ดตัว หรือจะรวมผ้าผ่อนท่อนสไบ

4. ยานํ (ยานัง) ยานพาหนะ เครื่องนำไป อุปกรณ์การใช้ เช่น ร่ม รองเท้า ถนน สะพาน ยานพาหนะที่อาจรวมค่าตั๋วเดินทาง

5. มาลา (หรือมาลัย) มวลดอกไม้ จัดตั้งไว้เพื่อบูชา ไม้ดอกไม้ใบนา ปลูกไว้เห็นเป็นร่มเงา

6. คนฺธํ (คันธัง) อย่างของหอม จัดรวมเข้า ธูปหอมเครื่องกำยาน ประดับดอมนมัสการ โชยกลิ่นไกลไปทวนลม

7. วิเลปนํ (วิเลปะนัง) ยกตัวอย่างเครื่องย้อมทา ลิปมันกันผิวแตก อีกผ้าแฉกและธงทิวปลิวไสว

8. เสยฺยา (เสยยา) นิสีทนะ เสื่อหมอน ที่นอนใหม่ มุ้งที่ใช้กันเหลือบยุง

9. วสถํ (วะสะถัง) เสนาสนะกุฏิวิหารที่พักอาศัยไกลเรื่องยุ่ง เรือนรับรอง ศาลาการเปรียญเพียรพัฒนา

10. ปทีเปยฺยํ (ปะทีเปยยัง) ประทีปเทียน แสงสว่าง ค่าไฟฟ้า เทียนพรรษา ไฟระย้า และโคมไฟ

ทานวัตถุ ๑๐ อย่างนี้ เป็นเกณฑ์พิจารณาในขั้นแรกว่าของที่ควรให้ มีสิ่งใดบ้าง ด้วยประการฉะนี้

ร่วมบุญกับทางวัดพระธาตุทุ่งเศรษฐี กรุณา Donation check payable to "Buddhist Meditation Society" หรือ อีกบัญชีหนึ่งชื่อ Wat Phrathat Thongsethi ส่งไปตามที่อยู่ที่แจ้งไว้พร้อมนี้ 6763 East Avenue H. Lancaster CA 93535 ส่วนท่านที่สะดวก Transfer money with Zelle ก็โอนด้วยเบอร์ (562) 249-3789 รูปขอจำเริญพร