ความจริงหรือความคิด
ไพฑูรย์ สุขสิขารมย์
โรงเรียนของแม่ ตอนที่ 12

ดูตามธรรมชาติ ชีวิตคน หมู่บ้านโรงเรียนของแม่ สุขภาพน่าจะไม่ค่อยเจ็บป่วย แดดจ้าทุกวัน แดดย่อมบริสุทธิ์ เพราะบรรยากาศช่วงใกล้พื้น ไม่มีมวลสารที่กั้นแสงแดดก่อตัวมากนัก ที่ชาวกรุงเรียกสารมลพิษ เกิดจากไอเสียของรถ แต่ก็มีบ้างที่โรงงานอุตสาหกรรมก็มีควันเสีย คนต่างจังหวัดทำงานกลางแจ้ง โดยเฉพาะทำไร่ ทำนา เดินทุกวัน ไปไร่ กลับจากไร่ เมื่อรายได้น้อย จะกินหมูเป็ดไก่ คงจะมีบ้างถ้าทำต้มแกง ก็เป็นเพียงกระสายให้เห็นเนื้อ และกลิ่น ผักที่เป็นตัวยืนโรงเต็มหม้อ สุขภาพจิตคนต่างจังหวัดก็มี โดยเฉพาะเรื่อง ทำมาหากิน ต้องอาศัยธรรมชาติ แม้แต่ได้ข้าว ได้ผัก ได้ผลไม้ก็ต้องรอธรรมชาติของคนซื้อ โดยเฉพาะคนกลางใจบุญ มีเมตตา ไม่เอาเปรียบ กดราคา เหตุผลอ้างที่ซื้อราคาต่ำ ผลไม้มากมายออกพร้อมทั่วทุกภาค คนกินกันไม่ทัน และโดยปกตินิสัยของผลไม้ พอสุกก็อยู่ไม่นานก็ต้องโยนทิ้ง คำพูดของคนกลางความต้องการของตลาดจึงมีความจำกัด ก็เลยวกมาที่ผลไม้ ราคาย่อมตกด้วย ชาวบ้านกินผักทุกมื้อ และผักที่ปลูกไม่ต้องเร่ง ใส่ปุ๋ย สามารถพูดเต็มปาก ผักปลอดสาร ชาวบ้านที่เป็นส่วนของโรงเรียนแม่ อยากได้คนออร์แกนไนซ์ เปิดตลาดผักสดมาจากคนปลูกโดยตรง เรียกว่า “ฟาร์มเมอร์มาร์เก็ต” ผักปลอดสารไม่ผ่านคนกลางบุคลิกซื่อ ผักสดเพิ่งเด็ดเมื่อวานเย็น เช้าก็มาวางที่เห็น

ครับถึงรอบๆ ตัว จะวิเศษอย่างไร ชีวิตคนก็มีวันอ่อนแอ โรคภัยเข้าคุกคาม ยึดร่างกาย ขยายพันธุ์ ออกลูกหลาน นัยว่าเป็นรางบอก ชีวิตคนต้องไม่ประมาท กินอาหารสะอาด ออกกำลัง ใจต้องหมั่นดูแล ไม่คิดหมักหมม เก็บเรื่องไร้สามารถ ทับถม ขยายในใจ

หมอต่าน เปาริก ตายเมื่ออายุเกือบ 90 ปี ก่อนตายยังเดินไปรักษาคนไกลบ้านได้ เป็นหมอแผนโบราณ ประกาศนียบัตรประกอบยา ได้มาจากครอบครัว ตอนเป็นเด็ก ไม่อยากยึดอาชีพหมอชาวบ้าน เหตุผล เมื่อรับหน้าที่ชีวิตย่อมจำเจ เติบโตสุดท้ายก็ย่อมต้องถูกเผาที่วัดโพธิ์ทอง วัดที่หลวงลุงน้อยเป็นเจ้าอาวาส ที่จริงไม่ได้ตั้งแง่หรอก เพียงแต่ ใจตั้งความหวัง อยากเรียนหนังสือให้จนจบมหาวิทยาลัย เคยตั้งความหวัง อยากเรียนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยเปิด ตอนเป็นเด็ก พระผู้ใหญ่มาจากวัดมหาธาตุ ศักดิ์เป็นญาติ (ลุง) ใกล้ชิด เคยไปหาท่าน ท่านเคยถามอ้ายต่าน เอ็งจะไปอยู่กับข้าไหม แล้วเรียนหนังสือจบ ม. 8 แล้วเข้าธรรมศาสตร์ เอ็งไม่ต้องสอบเข้าเป็นมหาวิทยาลัยเปิด อย่างเอ็งควรเรียนกฎหมายจะได้มีความรู้ กฎ ระเบียบ ไม่ถูกเอาเปรียบ ใครจะรู้ เอ็งเรียนจบ ทำงาน ผันตัวมาสมัครเล่นการเมือง จะได้พัฒนาท้องที่ เพียงเอาความรู้ ใส่ใจดูแลชาวบ้าน ชีวิตญาติของพวกเรา หู ตา ความคิด จะได้ทันเขา ชาวบ้านจะได้ ไม่ถูกเอาเปรียบ ครั้งแล้วครั้งเล่า

สำหรับเอ็ง อ้ายต่าน ถ้าไปอยู่กับข้าจะเข็นเอ็งให้ได้ดี ข้าคิดว่าเด็กๆ อย่างเอ็งมีแววถ้าขนาบหนักหน่อย แล้วค่อยผ่อน พอถึงวันนั้นเอ็งน่าจะเป็นคนที่ทำประโยชน์ได้มาก เป็นปากเป็นเสียง แทนชาวบ้านของเราได้ จำไว้ประชาธิปไตย พวกเราต้องเรียนรู้ และบอกจากปากของลูกหลาน

เด็กต่านฟังหลวงลุง จากวัดมหาธาตุเคยตั้งความหวัง จะขยันเรียน ท่านบอกว่าเด็กขยันเรียน จะเป็นผู้มีพฤติกรรมดีๆ อย่างน้อยเรียนเก่ง มีความรู้ และมันจะสัมพันธ์กับการเป็นเด็กดี

หลายคน บอกว่าชีวิตทุกผู้ “กรรม” คือการกระทำเป็นผู้ชี้ทิศทาง ถ้าตั้งใจ และทุ่มเทในทิศทางที่หวัง จะไปได้หรือไม่ อย่างน้อยในจุดหมายก็พอกพูน รอวันเริ่มใหม่ หลายคนเคยบอก ถึงเราไปไหน ทางที่หวังไม่ได้ กลายเป็นคนเชียร์ก็ยังดี หรือดูเป็น

ระหว่างเรียน ยังเด็ก พ่อของหมอต่าน คือหมอชาวบ้าน คนเจ็บป่วยจะมาบ้าน มาปรึกษามาเอายา บ่อยครั้งต่านจะเรียนรู้ และเป็นความจริงมากสิ่ง จะสืบสานเรียกว่า พันธุกรรมทางสายเลือด หมอต่านเห็นพ่อตัวเองเอาใจใส่ดูแลคนเจ็บป่วย คนป่วย นอกจากจะนับถือ ยังรักใคร่ คนป่วยมาไม่ได้ หมอต่านจะเดินไปกับพ่อ ช่วยถืออุปกรณ์ (ยา) รักษา หมอต่านเรียนรู้ สารพัดสิ่งที่เกิด เติบโต เป็นอาหารประจำวันของคนไทย อย่างตะไคร้ ใบมะกรูด พริก ชะอม ขี้เหล็ก ไข่ ปลา มากสิ่งพ่อบอกว่า อาหารถึงจะไม่ใช่ยาโดยตรง หมายถึงยารักษาโรค แต่อาหารคือตัวสร้างภูมิคุ้มกัน อย่างไข่ มีโปรตีน บำรุงกำลังกายใจ สติปัญญาจะดี

พ่อสอน การเป็นหมอชาวบ้าน คือการดูแล รักษา และแนะนำ ซื่อสัตย์ อย่าเอาเปรียบ

ยาของพ่อหมอต่าน สามารถรักษาโรคภัย ขึ้นพื้นฐานได้สารพัดโรค เจ็บคอไอ เป็นไข้ เป็นฝี หลังคลอดลูก ยาเป็นประเภทใบ ราก เปลือก เมล็ด ผสมปนเป มากตัวยา อย่างเจ็บคอ ไอ จาม จะใช้ตัวยาบดแล้วกวาดคอ คำว่ากวาดคอ เอานิ้วชี้ป้ายยาที่บดรวมกันจนละเอียด แล้วจับเด็กอ้าปาก เอานิ้วชี้ป้ายยา แหย่เข้าในปาก แล้วป้ายรอบๆ ในคอ เป็นฝีใช้ยาตำฟอก เป็นไข้เอาส่วนผสมมากมาย ใส่หม้อต้มจนน้ำงวด หมายถึงคุณค่าในเปลือก ราก ใบ ของหลายสิ่งถูกน้ำชะล้าง กลายเป็นยา กลิ่น รส ต้องกลั้นใจดื่ม บ่อยครั้ง จะทำยาอายุวัฒนะ กินแล้วสุขภาพจะดี อายุยืน ไล่ลม ปวดท้องมีทั้งยาต้ม และยาทา ชาวบ้านรักใคร่หมอต่าน เจอเข้ามาทัก ยกมือไหว้

ครับสารพัด หมอต่านเรียนจากการเป็นลูกมือ เดินไปกับพ่อเยี่ยมและซักถามคนป่วย คนมาที่บ้าน หมอต่านเป็นลูกมือกระตือรือร้น เรียนรู้ ช่วยเหลือ แม้แต่พยุงคนเจ็บป่วย ระหว่างเรียนมัธยมในตัวเมืองบ่อยครั้งจะไปร้านยา เอายาที่พ่อสั่ง

ความคุ้นเคย สะสม จนกลายเป็นชอบพอ เรียนรู้สารพัดยา พอพ่อแก่หมอต่านเริ่มวัยรุ่น เริ่มทำหน้าที่แทนพ่อเป็นหมอชาวบ้าน ความคิดเรียนกฎหมายที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ถึงจะยังมี แต่ความคิดเป็นเพียงตัวรอง

หมอต่าน เป็นหมอชาวบ้าน เติบโตกับการเรียนรู้จากพ่อของตัว ความรักในอาชีพ ยึดมั่นในความคิด ถึงจะไม่ได้เป็นหมอที่เรียนในมหาวิทยาลัย เรียนเตรียมแพทย์ ไปเรียนหมอศิริราช หรือจุฬาฯ จบฝึกงาน 6-7 ปี กว่าจะเรียนจบ แต่ชีวิตหมอต่านตั้งแต่เด็ก ฝึกงานคือการเป็นลูกมือ ฝึกการเรียนรู้ คุณค่าส่วนประกอบยา เลยกลางคนหมอต่าน ใช้ยาสมัยใหม่ ควบคู่กับยาแผนโบราณ

ความศรัทธา ของชาวบ้านต่อหมอต่านมีมากมาย เป็นที่พึ่ง เป็นสมาชิกทางสังคม หมอต่านจะไปวัดทุกวันพระ พกลูก ภรรยาไปด้วย หมอต่านพูดกับชาวบ้าน การทำตัวมีเมตตา สวดมนต์ นั่งสมาธิ คือเบื้องต้นของการดูแลตัวเอง เพื่อหลีกเลี่ยงความเจ็บป่วย พวกเราคงจำได้หมอต่านพูดต่อ หลวงลุงน้อยบอกเสมอ การสวดมนต์ สามารถทำใจให้สะอาด และฟอกใจ

อาชีพหมอชาวบ้านไม่รวยเงิน แต่รวยความรัก ความเป็นมนุษย์ คำว่ามนุษย์ที่ดี มีอาชีพบริสุทธิ์ ไม่เอาเปรียบ ค่ายายุติธรรม บางครั้งรู้สึกว่าค่าของยาน่าจะขาดทุนด้วยซ้ำ เป็นแบบอย่าง และที่สำคัญ กระจายความรักสู่รากความรู้สึกแก่ทุกคน

ไม่ไกลกัน มีหมออีกคน ชื่อหมอสิงห์ แสงทอง มาจากจังหวัดอื่น ยึดหมู่บ้านใกล้โรงเรียนแม่ รักษาโรคเป็นหมอแผนปัจจุบัน คนเคยว่า เรียนจบมัธยมถูกเกณฑ์ทหาร เป็นทหารเสนารักษ์ รักษาทหาร เป็นลูกมือหมอ เป็นคนเก่ง ไฝ่ความรู้ พอสองปีหมดความรับผิดชอบ ได้เลื่อนเป็นนายสิบทหารหมอ ดูแลตรวจ ฉีดยา ให้ยา แก่ทหารได้โดยเฉพาะชั้นประทวน ไม่หวังทหารสัญญาบัตร อยู่นานปี จนเกิดความชำนาญวินิจฉัยโรค ปวดหัว ปวดท้อง เป็นไข้ ไข้ทับระดู ก็วินิจฉัยได้ฉมัง การตรวจใช้ระบบการตรวจแบบหมอจบโรงเรียนหมอ ฉีดยา จ่ายยาเม็ด ยาน้ำ ราคาระดับสูงกว่าหมอต่าน เปาริก

หมอสิงห์ ไปตรวจไข้ จะมีกระเป๋าหนัง สีดำสี่เหลี่ยม ภายในบรรจุยา เข็มฉีดยา และยาพื้นฐาน พาหนะหมอสิงห์ใช้เรือเครื่อง มีคนขับ ไปมาสะดวกสบาย ทุกครั้งใส่เสื้อขาว กางเกงเปลี่ยนสี สวมรองเท้าแตะ ผมตัดที่ตลาดหัวรอ ซึ่งผิดกับหมอต่าย ตัดจากช่างผมชื่อ ชิ้ง อยู่เลยเกือบสองกิโล ผมก็เป็นขาประจำของช่างชิ้ง มีโต๊ะนั่งตัดผม ปรับขึ้นลงได้ หมุนได้ 360 องศา ห้องกระต๊อบ มุงด้วยจาก เสาไม้ไผ่ทั้งลำ ต้นไม้อยู่รอบ ราคาไม่เคยขยับขึ้น

หมอสิงห์เคยเป็นกำนัน และได้มาอเมริกา กลับบ้านช่วยพัฒนาการเกษตร ควบคู่กับการรักษาโรค มีลูกสี่คน ลูกสาวสาม ลูกชายหนึ่ง ลูกสาวคนโตจบจุฬาฯ คณะอักษรศาสตร์ คนกลางไม่เข้ามหาวิทยาลัย คนเล็กชื่อซิ้ม จบบัญชีธรรมศาสตร์รุ่นเดียวกับผม ซิ้มเรียนโรงเรียนประจำจังหวัด ผมเข้าเรียนกรุงเทพฯ เราเป็นเพื่อนซี้ ความคิดจีบเป็นแฟนไม่เคยบังเกิดในใจ ถ้าถามเหตุผลใดตอบกำปั้นทุบดิน คงเป็นได้แค่เพื่อนกระมัง ครับชีวิตเริ่มวัยรุ่น แยกกันคนละทิศทาง เหมือนเพลงฮิต เป็นได้เพียงแค่เพื่อนซี้ ซิ้มตอนอยู่ธรรมศาสตร์ สวยผิดตา ยิ่งดูตอนจบสง่า เพื่อนเคยถามเสียดายโอกาสหรือเปล่า ได้แต่ยิ้ม จะเป็นหมอต่าน หรือหมอสิงห์ แม่ถือว่าเป็นบุคคลที่ทำคุณประโยชน์ พึ่งพาของชาวบ้าน แม่เคยเปรียบเทียบ หมอกับนักการเมืองชาวบ้าน แม่พึ่งใครได้มากกว่ากัน หมอชาวบ้านพึ่งพายามเจ็บป่วย ขาดเงินติดกันได้ รักษาก่อนจ่ายหลัง ย่อมมีหนี้สิน สูญหายหลังจากตายจาก อโหสิกรรมย่อมยกต่อกัน แต่นักการเมืองถึงจะเป็นนักการเมืองลูกหม้อ อย่างกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แต่จะคิดถึงผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ มากคนพอเป็นนักการเมืองนานปี (ลูกหม้อ) นิสัยเปลี่ยน ความคุ้นเคยเลยจาง

สำหรับแม่คิด อาชีพ คือความแตกต่างของหน้าที่ แต่เมื่อถือเป็นคติ อยู่หมู่บ้านเดียวกันถึงจะมีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง ย่อมต้องพึ่งพาเกื้อกูล ได้เปรียบ เสียเปรียบ เป็นเพียงครู่ยาม อย่าปล่อยให้ความชอบพอ ดูแลกันขาดตอน คำพูดของหลวงลุงน้อย วัดโพธิ์ โยมเราเกิดมาอยู่หมู่บ้านเดียวกัน เหมือนญาติพี่น้อง รักกันไว้เถอะ ให้อภัยต่อกัน แค่นี้ความกังวลที่เป็นต้นตอของความกลุ้มใจก็ไม่หลงเหลือ “มีสุขนะโยม”