ความจริงหรือความคิด
ไพฑูรย์ สุขสิขารมย์
ความจริงหรือความคิด 27 มกราคม 2561

ตื่นเช้า แม่เคยบอกตอนเด็ก การตื่นเช้าได้เปรียบชีวิต เช้าอากาศสดชื่น มลภาวะอากาศเสียยังไม่เริ่ม เช้ามืดจะได้จำเอาเป็นแบบอย่างจากสัตว์ อย่างนกยังไม่สาง คำว่าว่า “สาง” คือ ตาสามารถสัมผัสกับสิ่งธรรมชาติรอบตัว เกิดจากแสงดวงอาทิตย์ขึ้น ทั้งที่ดวงอาทิตย์ยังไม่โผล่ แต่แสงจากดวงอาทิตย์ก็สามารถมองเห็นธรรมชาติ ยิ่งเป็นกรุงเทพฯ ชีวิตคนเริ่มแล้ว บนถนนรถมากมายต่างมุ่งหน้าจุดปลายทางคือที่ทำงาน บนฟุตบาทคนมากมายเดินไปมาสวนกัน สิ่งที่เหมือนกันคือที่ทำงาน หาเงิน เพื่อครอบครัวปากและท้อง

ทุกเช้าคนขับรถจะไปส่งหลานไปทำงานจากสวนหลวง ร.9 ถึงกลางซอยอโศก ที่จริงไม่ไกลเลย แต่วิถีชีวิตทุกคนต้องรีบ เดินทางไปทำงานบนถนนออกจากบ้าน 7:30 AM กว่าจะถึงซอยอโศก เกือบ 3 ชั่วโมง ทิศทางของการเดินทาง จะอาศัยทางด่วน พอออกจากซอยบ้าน เลี้ยวซ้ายไปประมาณ 2-3 กิโล เลี้ยวซ้าย เพื่อไปขึ้นทางด่วนแล้วย้อนกลับ สิ่งที่กระทำเสียเวลา ค่าด่าน 50 บาท คนมีรถกรุงเทพฯ ส่วนมากจะขึ้นทางด่วน การใช้จ่ายเงินย่อมเพิ่มค่าพาหนะ ชีวิตประจำวันที่ซับซ้อน ใครคือผู้ทำให้เกิด

ทางด่วนกรุงเทพฯ เดี๋ยวนี้มีมากมาย สร้างทางด่วน หลังจากบ้านเรือนก่อสร้างมานาน บ่อยครั้งก็ต้องเวนคือ การพิจารณาให้ค่ารื้อถอน รัฐบาลถึงไม่เอ่ย เหตุผลที่ คือไม่เอาเปรียบเงินที่ได้ ตีราคาในความเป็นปัจจุบัน ครับเมื่อคนหนาแน่น รถมากขึ้น ทางด่วนย่อมต้องการมากขึ้น รายได้จากค่าเก็บทางด่วน ราคาจะขยับ เร็วข้าขึ้นอยู่กับหลักเศรษฐศาสตร์ คงจะประเภทเดียวกับที่เบย์แอเรีย สะพานข้ามไปสู่ซานฟรานซิสโกที่เห็นมี 4 สะพาน ราคาจะขยับขึ้นบ่อย หลายวันข่าวหน้าทีวีจาก 6 เหรียญ กำลังจะเป็น 8 เหรียญ เชิญเถอะขอรับ

นั่งดูบ้านเรือน ระหว่างทางที่รถอยู่บนทางด่วน บ้านมากมายหลายที่ บ้านชั้นเดียวหรือสองชั้น อยู่กันเป็นกลุ่ม ตึกสูงหลายสิบชั้นไม่มี แสดงถึงสร้างมานาน เป็นที่อยู่อาศัย การวิเคราะห์ บ้านสร้างต้นๆ คือแหล่งคมนาคมเก่าของสังคม ถ้าจะสร้างทางด่วนย่อมสะดวก และบ้านที่จำเป็นต้องเวนคืน ไม่น่าจะมีปัญหา ทางด่วนผ่าน บ้านแม้แต่ตัวตึก ไม่ยกเว้นกำแพงเก่าของทางด่วน เขรอะด้วยความดำด่าง หลายคนบอกว่า มันคือ “เชื้อรา” ครับอันตรายไหม ผมไม่มีคำตอบ ถ้าเป็นความรู้สึกที่สัมผัส ย่อมมีแน่นอน สกปรก ไม่พัฒนา วัดหลายที่ ทางด่วนบังรัศมีเด่นของกุฏิ โบสถ์ และวิหาร ย่านธุรกิจของกรุงเทพฯ คนเดินทางเท้ามากมาย ยิ่งช่วงเช้าก่อนเข้างาน มากคนเดินทางมาจากขอบเมืองเพื่อต่อรถ กลางวันย่านธุรกิจคนทำงานเยอะ ต้องออกมาหาอาหารทาน มากคนถือเป็นช่วงพักผ่อนออกมาเดิน แม้แต่ชอปปิ้งตามตู้กระจก ถึงไม่ซื้อ แต่กิเลสก็จะสะสมให้ความรู้สึกอยากเป็นเจ้าของ ครับกิเลสมากคนคิดตรงข้ามกับหลักพุทธศาสนา กิเลสสามารถทำให้ขยัน มานะ อดทน ใช้เงินแบบเจียมตัว ใจมุ่งหวัง วัตถุที่อยากได้

ความต้องการครอบครองเป็นเจ้าของวัตถุเป็นความจริง เมื่อได้มาแล้วรุ่นใหม่ตามมาก็อยากเปลี่ยน ในความคิด การมีชีวิตทันต่อกาลและเวลา หัวใจเต้นสูบฉีดเลือด ชีวิตแต่ละนาทีมีความหวัง

การสร้างสะพานคร่อมถนน เพื่อให้ประชาชนข้ามไปมาจำเป็น เพราะกรุงเทพฯ รถแน่นเกือบทุกเส้นทาง ระหว่างคนเดินข้ามถนน กับรถ ความรู้สึกแยกกันเสมอ อุบัติเหตุจึงเกิดได้ตลอดเวลา

ประเทศที่เจริญ กฎหมายรถชนคนเข้มมาก นอกจากจะจ่ายค่ารักษา หายแล้วมากรายสุขภาพจิตของคนถูกรถชนก็ทรุดด้วย ทนายฝ่ายผู้เสียหาย จะยืนกรานเอาค่าดูแลในอนาคตด้วย การศึกษาเล่าเรียนต้องปรับปรุงให้ผู้ใช้ทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบันและซื่อสัตย์

รถผมนั่งผ่านสะพานข้ามถนน ย่านคนเดินมากมาย ตรงกลางสะพานมีผ้าขาว ผูกติดยาว ข้อความ “เรารักกรุงเทพ” พออ่านจบยิ้มกับตัวเอง เขาใช้คำว่าเรา คงหมายถึงคนอีกมากมาย หลงใหลกรุงเทพฯ จริงดังคำเขียน กรุงเทพฯ คนเยอะ ผมไม่รู้สถิติ แต่คิดว่าราว 10 ล้านคน คนทุกมุมของประเทศไทยเดินทางมาอยู่กรุงเทพฯ คนมากมายเบื่อหน่ายอาชีพหลักของพ่อแม่ ทำนา ทำสวน แม้แต่รับจ้างทั่วไป งานที่เรียกว่ากระดูกสันหลังของชาติ อย่างทำนาปลูกข้าว คนไทยทุกคนต้องกิน ผลไม้ได้รับการพัฒนาจากเกษตรกรให้รสดี ออกนอกฤดูกาล แม้แต่สิ่งที่ป้อนโรงงานอุตสาหกรรม อย่างยางพารา น้ำมันพืช ปาล์ม

นึกดูแล้ว เมื่อคนมีงานทำ ชีวิตน่าจะสุขสบาย ชีวิตประจำวัน มีความอบอุ่นกับครอบครัว อยู่ใกล้ชิด พึ่งพา เกื้อกูลกัน แต่ความเป็นจริงของชีวิตไม่เป็นอย่างที่เราคิด ผลิตผลทางเกษตรทุกประเภท กว่าจะถึงปากผู้บริโภคจะผ่านตัวกลางมากมาย ตัวกลางกลายเป็นผู้กำหนดราคา คือควบคุม และต่อรองราคา ครับชาวเกษตรกรจะเสียเปรียบ คนเหล่านี้ไม่มีทุนสำรอง ผลิตผลกว่าจะออกผลก็ใช้เวลา คนส่วนมากจะมีหนี้สิน ชีวิตจึงเหมือนถูกบังคับซื้อขาย โดยกฎหมายเกื้อกูล

ชีวิตความยุติธรรม อยู่ที่ผู้บริหารประเทศ ถ้ามีปัญญาเฉียบแหลม ย่อมคิดกับใจ ถ้าบ้านเมืองเจริญเพียงแห่งเดียวของประเทศ และพลเมือง 70-80 ล้าน ธุรกิจย่อมสร้างเงินทองนำความร่ำรวยมาสู่เจ้าของธุรกิจ เพราะเมื่อคนขาดปัจจัย และเหมือนไม่เห็นคุณค่าในความทัดเทียมและโอกาส จังหวัดขอบเมือง

คนชอบกรุงเทพฯ เพราะกรุงเทพฯ ความเจริญทางวัตถุก้าวหน้ากว่าประเทศอื่นๆ ที่เจริญ ความทัดเทียมมีสินค้า แบรนเนม แม้แต่อาหารประเภทแฟรนไชส์มีให้เลือก จนรวยสามารถเข้าถึงและสัมผัสได้

วันหนึ่งผมเดินในเวิร์ดเทรด ครับทั้งฟลอร์มีคนหนาแน่น พร้อมจะใช้เงิน ร้านอาหารมากมาย ร้านดีๆ ในต่างประเทศมาปักหลักในกรุงเทพฯ ตอนลูกผมยังเล็ก เวลาผ่านมาประมาณ 20-30 ปีแล้ว ไปเข้าคิวซื้อข้าวโพดคั่วที่มีชื่อของเมืองชิคาโก้ วันนี้ร้านนี้มาตั้งในมอลล์ คนยืนแถว ราคาแพง 10 ปีแล้วร้านโดนัทคริสปี้ครีม มาตั้งใกล้วัดพุทธานุสรณ์ ผมตื่นเต้น เช้าคงได้กัดกินโดนัทอร่อยกับกาแฟ

พอถึงวันนี้ ยอมรับมากสิ่งใหม่กระตุ้นความอยากในใจ พอนานวัน คำพูดของพุทธศาสนา “ก็เท่านั้นเอง” คงจะหมายถึงจิตเราถ้าไม่ควบคุมก็จะสอดส่าย สร้างปัญหาให้เราตลอด ความอยากมีอยากได้จะเป็นส่วนของปัญหาชีวิตเสมอ

ผมบอกคนขับรถ จอดทิ้งผมไว้ที่สีลม คนขับบอก คุณตาครับถ้าจะกลับเมื่อไหร่โทรเรียกจะมารับ ขอบใจ ผมกลับเองได้ ครับเมืองกรุงเทพฯ ถึงรถจะติด แต่รถบริการก็มีมากมาย จะนั่งรถ BTS แล้วไปลงปากซอยจะซ้อนรถมอเตอร์ไซค์กลับบ้านก็สะดวก แต่ผมคงไม่เลือก กลัวการรีบเร่ง ลูกชาย ลูกสาวและลูกเขยสอนเสมอ พาหนะคือรถ ถ้าเกิดอุบัติเหตุ เราต้องปลอดภัย ถ้าอุบัติเหตุแล้ว ส่วนของร่างกายบุบสลาย ไม่กลับเป็นความปกติเราจะฝันร้ายตลอด เป็นอันว่าหมดความคิดเกี่ยวกับรถมอเตอร์ไซค์ จะมีรถสองแถวไว้บริการ แบบรถกระบะทำหลังคา ที่นั่งยาวสองฝั่ง คนโดยสารยืนมากมาย มากคนประเภทเล่นโทรศัพท์ เวลารถเบรกก็แซ เด็กเล็กต่ำว่า 10 ขวบ แต่งชุดนักเรียน อาศัยรถสองแถวเยอะ สะดวกจอดทุกที่ราคาถูก เห็นเด็กๆ บ้านเรา ชีวิตมากคนกว่าจะเติบโต เรียนจบ ต้องคุ้นเคยกับประสบการณ์ ยุ่งยากมากมาย ถามผมว่าดีไหม ครับจริงแล้วน่าจะดี เมื่อมีโอกาสดูแลและช่วยตัวเอง แต่ข้อแม้ เด็กแบกความแตกต่างกับเด็กรุ่นเดียวกันที่สะดวกสบาย