ความจริงหรือความคิด
ไพฑูรย์ สุขสิขารมย์
ความจริงหรือความคิด 24 กรกฎาคม 2564

หลังจากมื้อกลางวันที่วัดมงคล อิ่ม อร่อย ชอบขนมครก ครับโชคดีที่เติบโตกับพุทธศาสนา พุทธศาสนาสมมุติว่า พระพุทธองค์ ไม่บำเพ็ญเพียรจนมองเห็นหลังของธรรมชาติ คือ ทุกข์-สุข ทำดี ทำชั่ว และสุดท้ายทำดี ก็ต้องอนุรักษ์ความดีงามให้อยู่กับตัว จึงจะสมบูรณ์เป็นชาวพุทธ ศาสนาพุทธก็ยังมีอยู่ แต่คำสอนคงจะไม่เกิด

เมื่อมีคำสอนของพุทธองค์ เป็นความดีงาม รวบรวม จัดหมวดหมู่ ทำให้การเรียนรู้ง่าย สะดวก จะนำมาศึกษา ค้นคว้าเมื่อไหร่ การก้าวลึกถึงความศรัทธาในพุทธศาสนา ยิ่งมีคุณค่าต่อผู้ปฏิบัติ

ผมอดคิดถึงการไปวัด ช่วงก่อนโควิด คนคุ้นเคยจะวัดพุทธานุสรณ์ หรือวัดมงคล รู้จักมักคุ้น ครับทำให้การไปวัดไม่เพียงมีความเป็นมงคล ได้สนทนาธรรมกับพระสงฆ์ ยังมองเห็นคนคุ้นเคย เติบโตจากวัยหนุ่มสาว เริ่มถึงวัยชรา

ครับหลักความจริง หรือหลักจิตวิทยาซึ่งนำเหตุผล เป็นหลักยึดของคนในสังคมใครปฏิบัติตาม สุขภาพกาย ใจ และจิต ย่อมพัฒนาถึงจุดของความพอใจในชีวิต หลายคนมากมายยังตัดพวกวุ่นวายของชีวิตได้ถึงจะไม่สิ้นสุด ก็ยังพอเหมือนยา เจ็บ ป่วย ทานยาก็หาย แต่จุดสำคัญอยู่ที่ ต้องปฏิบัติตนให้ห่างจากสาเหตุแห่งโรค

ช่วงนี้ยุคผ่อนคลายการปิดจมูก ปาก สาเหตุแห่งการติดเชื้อโควิด ผมมองคนเคยรู้จัก เคยสนทนา แต่เหลือเชื่อผมไม่เคยจำได้ พูดถึงเรื่องความจำ ความจำในความสำนึกของผม คือ จำความรู้ จะเล่าเรียน หรือประสบการณ์ วัยของผมยังโชคดี ยังพอจำได้ ถึงจะไม่ชาร์ปเหมือนช่วงหนุ่ม แต่ก็พอจำได้ ส่วนมากจะลากสิ่งที่อยากจำไปสัมพันธ์กับข้อความบางอย่าง ความรู้สึก อ้อ พอจะจำได้

อีกอย่างจำหน้าคนและชื่อ ส่วนตัวผม แย่มากจำยากคงจะเป็นความสนใจน้อยก็ว่าได้ หรือเพราะความจำด้านนี้ เริ่มล้มเหลว ขอโทษด้วยที่จำไม่ได้ พอคนทักเริ่มสนทนา ความสว่างแห่งความจำเริ่มเห็นแสง

หลายคนทักผม ช่วงปิดหน้าอดคิด มิราเคิ้ล (มหัศจรรย์) ชีวิตคนย่อมแตกต่าง ผมอดที่จะลากโยงเข้าสู่การทำบุญ ให้ทาน จิตมีเมตตา อยากให้คนได้มีความสุข ครับผมความสุขที่เราอยากให้คนอื่นมี ย่อมเป็นส่วนนำความผาสุกมาสู่สังคมด้วย

ครับวัดคือศูนย์กลางของความรักกระบวนการของความรัก ผมสารภาพเคยอ่านเรื่องความรักของมนุษยชาติ จากท่านผู้มีความรู้เขียน

ความรักที่เราทุกคนมาวัด รับรู้ความรัก จากพุทธศาสนา เป็นความรักที่เสียสละไม่หวังสิ่งตอบแทน เหมือนกับให้เปล่า แต่ลึกซึ้งมากกว่า ความรักที่เรียกว่าเมตตาจากหลักของพุทธศาสนา เป็นความรักที่บริสุทธ์ ความเมตตา จะให้สมบูรณ์ ต้องประกอบเป็นองค์ หมุนเวียนไปมา ครบรอบหรือไม่ ใจของผู้คิด มองความรักที่เกิดจากจิตเมตตา คือความสุขที่เห็น เหมือนเห็นคนหิว ขาดอาหาร ให้เปล่าไม่คิดเงิน และใจแสดงความรู้สึกยินดี องค์ของความรักจะให้สมบูรณ์ทั้งผู้ให้ผู้รับ ไม่หวังผลตอบแทน ไม่มีอคติ เหมือนความรักของแม่ เป็นความรักที่ทุ่มเทกายใจ แรงงานทำมาหากิน ส่งต่อผลของแรง สู่ลูก ไม่ว่าจะเป็นเงินหรือแรงงาน สำคัญคือการปฏิบัติตัวต่อลูก แรงงานที่ลูกเห็นพ่อแม่ คือความรับรู้ซึ้งคือเมตตา ชีวิตผมก้าวมาถึงจุดของความเมตตา 3 เจนเนอร์เรชั่น (Generation)

1.ครอบครัวของผมคือพ่อแม่และน้อง พ่อแม่ดูแลห่วงใย ทำงานหนักส่งทุกคนเรียน ความเชื่อของพ่อแม่ คือการศึกษา การศึกษาท่านเชื่อ สามารถพัฒนาจิตวิญญาณความคิด ความรับรู้ และการตอบสนองต่อคนหรือสังคม อาชีพหน้าที่ได้ดี

2.เจนเนอร์เรชั่นที่ 2 คือตัวผมกับภรรยา ยึดระบบความเชื่อ เรื่องการศึกษาต่อมาจากพ่อแม่ เป็นสิ่งหนึ่งที่เราเรียกว่า “ยีนส์” คือตัวคุณภาพของชีวิต จะเป็นไหวพริบความเจริญของสติปัญญา ชิฟที่รับจากพ่อแม่เรื่องการศึกษา ผมและแม่บ้านทำงานหนัก ส่งลูกทั้งสองเรียนโรงเรียนเอกชนที่ดี วันนี้ลูกสาวจบ MD ลูกชายจบ Ph.D. การที่พ่อแม่ลงทุนทำงานหนักแล้วส่งการดูแลลูก เรียกว่าความรักคือเมตตา

3.เจนเนอร์เรชั่นที่ 3 คือลูกสาว เขากับสามี หมอทั้งคู่ มีลูกชาย 3 คน 10 – 12 – 14 เรียนเอกชนมาแต่เด็ก อยู่โรงเรียนไพรเวทย์ ชื่อ เค้าน์ตี้เดย์ ตอนนี้หลาน 10-12 ขวบอยู่กับผม คนอายุ 12 ปี ตอนนี้ เรียน Souling คนอายุ 10 ขวบ เล่นซอกเกอร์ คนโตกลับบ้านไปเรียนกวดวิชา เข้าไฮสกูลที่กำลังเรียนอยู่ ทุกอย่างที่พ่อแม่ทำหวังผลในอนาคต มันคือความรักที่เรียกว่าเมตตา สิ่งที่ผมเล่าทางการศึกษา เรียกว่าระบบที่ดี สามารถนำไปใช้ และรับรู้ว่าสิ่งสัมพันธ์ ส่งต่อ ถ้าเป็นสิ่งที่เรียกว่า “คุณภาพ” เราสามารถเรียนรู้ ศึกษาให้เกิดความเข้าใจ ทางพุทธศาสนา เรียกสิ่งที่ศึกษาเป็นความถูกต้อง ดีงาม และสุดท้ายคือสร้างความเจริญให้สังคม คือขยันทำงาน เสียภาษี ไม่เอาเปรียบ สิ่งเหล่านี้คือ คุณความดี บุญกุศล จะพัฒนาของตัวตน เป็นความสุข ความชอบธรรม เป็นคำสอนของพุทธศาสนา สถาบันที่ผมนั่งทานอาหาร เดินดูกิจกรรมรอบตัว ผมยึดหลักการรับรู้กิจกรรมจำเป็นต่อการเติบโต “ทางความคิด” อาจเป็นสติปัญญา หรือจินตนาการ มันคือความสมบูรณ์ของเมตตา

ความรักอีกอย่างคือโรมานส์ (Romance) ท่านอาจารย์ประยุตก์ ความรักแบบนี้ เรียกเป็นความรักแบบ “ราคะ” ผมเคยอ่านหนังสือ ด็อกเตอร์ แกร้น เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย คอร์แนลย์ กล่าวว่าถ้าจะอ้างคนไทยที่มีสติปัญญาเป็นเลิศ เป็นแบบอย่างในการปฏิบัติ สามารถอ้างท่านอาจารย์ประยุตก์

ครับถ้าจะถามผมว่ารักแบบราคะหรือรักแบบเมตตา อะไรที่เราควรเลือกจะรักแบบไหน โลกมอบมาให้ทั้ง 2 อย่าง รักแบบราคะเป็นพฤติกรรมที่ต่อสายพันธุ์ เมื่อต่อสายพันธุ์ย่อมต้องพัฒนาความถูกต้องให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข แน่นอนทั้งคู่ชีวิตคุณผมย่อมสัมพันธ์ต่อความรักทั้งคู่ เมื่อมีความรักทางราคะเป็นการปลดปล่อยความรู้สึก เสร็จแล้วประคองชีวิตราคะให้ไปด้วยดีก็ด้วยเมตตาธรรม สาธุโยม