ความจริงหรือความคิด
ไพฑูรย์ สุขสิขารมย์
ความจริงหรือความคิด 3 กรกฎาคม 2564

ช่วงภาคปิดฤดูร้อน บ้านเต็มไปด้วยลูกหลาน ลูกชายมาจากฮาวาย หลังจากเรียนจบ Phd. จากมหาวิทยาลัย “มานัว” ก็หางานทำที่ฮาวาย ตอนจบใหม่ มหาวิทยาลัยมีความ “เมตตา” ให้ทำงานสอนหนังสือ 1 ปี คงจะพัฒนาความรู้อยู่ใกล้ครูบาอาจารย์ผู้ซึ่งมีความรู้ความสามารถ มากอาจารย์ในอเมริกาอาจแตกต่างจากสถาบันในไทย อย่างธรรมศาสตร์เคยเป็นจุดเป้าหมายของผม ปี 2502 เป็นปีสุดท้ายที่ไม่ต้องสอบเข้า เหมือนมหาวิทยาลัยเอ่ยคำพูดเชื้อเชิญหลังจากปี 2502 ต้องแข่งขันสอบเข้าเรียน

ใจจริงชอบระบบ แข่งขัน คัดเลือกคนมีคุณภาพเข้าสู่สถาบัน แม้แต่งาน แต่สถาบันอันหนึ่งที่ผมดูแล้วถึงจะมีการแข่งขัน โดยการหาเสียงไปเยี่ยมราษฎร คือการเป็นตัวแทนของประชาชนที่เรียกว่า ส.ส. สำหรับผมช่วงประเทศมีโรคโควิดจะเป็น ส.ส. ฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายตรงข้าม (ไทยเรียกฝ่ายค้าน) โดยจรรยาบรรณของชีวิต การเป็นคนมีหน้าที่ควรช่วยเหลือ เกื้อกูล แนะนำ หรือออกไปยังท้องถิ่นตัว ดูแลคนเจ็บป่วย ยากจน และสำคัญช่วง “ฉีดยา” เกี่ยวกับโควิดหลายผู้คนกลัว ฉีดยาแล้วอาจพบจุดจบของชีวิต จากตัวอย่างโดยปกติคำว่า “ยา” น่าจะมีทางเดียว รักษาโรคให้ความคุ้มครอง แต่เหตุที่รับการฉีดแล้วเกิดปัญหาย่อมมาจากภูมิของตัวและโรคภัยที่มีอยู่กัดกินร่างกาย เมื่อฉีดยาความมุ่งหมายรักษาโรคคือทำลายโรค พวกเชื้อโรคก็ย่อมเกิดอาการฉุน ถือโอกาสแทรกแซง ทำร้ายส่วนที่ทำได้

แต่สำหรับตัวผม การศึกษาจากพ่อแม่ สังคมรอบตัว วัด และโรงเรียน “เชื่อในระบบถูกต้อง” คำว่าระบบถูกต้อง คือระบบที่ยุติธรรม มีเมตตา แม้แต่ฉีดยา ความเมตา คือหลังจากฉีด ย่อมป้องกันโรคได้ เมื่อมีหน้าที่ก็ควรช่วยเหลือ อย่างน้อยให้ความกระจ่างถูกต้อง ไม่ใช่ค้านอย่างเดียว คนเดือดร้อนคือประชาชน แล้วประชาชนยังก้มหน้า กา (X) ให้พวก ส.ส. ที่ดีแต่ค้าน ไม่ช่วยเหลือ ยังก้าวมานั่งในสภา กินภาษีของพวกเรา

หลายคนบอกว่าชาวนาไม่เคยเสียภาษีไม่จริง เสียภาษีซิครับ เพียงแต่ระบบภาษีเรียกว่าเสียทางอ้อม เช่น 1.คนกลางพ่อค้าซื้อข้าว หลายคนตกข้าว คุณเข้าใจคำว่าตกข้าวไหม ตลอดการทำงานคือปลูกข้าว เงินขาดมือมีนายทุนยื่นมือช่วยเหลือ ให้เงินก่อน และคิดการตอบแทน คิดเป็นจำนวนข้าว ครับราคาย่อมถูกกว่าตลาด เมื่อซื้อขายข้าวซึ่งในอนาคตย่อมถูกบวกดอกเบี้ยระยะเวลา ราคาข้าวย่อมถูกหลายคนเรียกการขายเสียภาษีทางอ้อม คือการถูกเอาเปรียบของคนกลาง หรือนายทุน (นายทุนคือให้ยืมเงินก่อน) นายทุนเมื่อขายสู่ผู้บริโภครายได้ทั้งหมดย่อมต้องเสียภาษี

2.ภาษีอีกอย่าง คือภาษีที่ขายปลีกและถูกกดราคา เท่ากับการเอาเปรียบ ราคาแตกต่างที่เรียกได้ประชาชนทำงานด้านเกษตรถูกกดราคาซื้อราคาถูก ไม่ขายสินค้าบางประเภทเน่า

ลูกสาวผมก็มาด้วย สุภัคร์ (MD.) พาลูกชาย 3 คนมาด้วยอายุ 10, 12-14 ทุกปีหลานชายจะมาอยู่ด้วย ชอบแคลิฟอร์เนีย หลานชายคนโตบอกว่าอยากมาอยู่กับตายาย อยากเข้า UC เบิร์คเล่ย์ ครับยูซีย่อมเข้ายาก แต่การเข้ายูซี ถ้าไม่ใช่ “เรสซิเด้น” ต้องจ่ายราคาต่างชาติ แต่สามารถมาอยู่ ลงทะเบียนบ้านของตาและยาย หลานปกติเรียนโรงเรียนเอกชนทั้ง 3 คน คนโตบอกว่าถ้ามาอยู่เรียนโรงเรียนธรรมดาได้ พ่อแม่ไม่ต้องจ่ายเงินเรียนแพง โรงเรียนเอกชนเหมือนทุกวัน

แต่ช่วงมาอาทิตย์หน้าคนโตต้องกลับบ้านกับแม่ ไปกวดวิชาแปลกแท้ เข้าโรงเรียนที่ต้องเรียนอยู่ แต่โรงเรียนก็ต้องคัดเอาเด็กมีคุณภาพ ถึงหลานทั้ง 3 จะเรียนโรงเรียนเอกชนที่เดียวกัน ชื่อ Country Day

ส่วนตัวผมศรัทธาโรงเรียนเอกชนเพราะโรงเรียนคือพื้นฐานทางความคิด และกิจกรรมเหมือนผมเติบโตต่างจังหวัด มีวันหนึ่งไปเรือซื้อข้าวกับแม่ ระหว่างคนงานแบกข้าวลงเรือ แม่เห็นผมขี้มูกน้ำตาไหล แม่เรียกมาหาคำพูดของแม่ “จบ ป.4” แม่อยากให้ลูกไปเป็นศิษย์ของสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 18 ของกรุงรัตนโกสินทร์ เหตุผลแม่บอกเล่า กรุงเทพฯ มีโรงเรียนรัฐบาลดีๆ แม่เชื่อความขยันของลูก ถ้าลูกเรียนที่อยุธยา อย่างดีเข้าโรงเรียนมัธยมของจังหวัด ถ้าสอบเข้าได้ เช้าต้องนั่งเรือจ้าง (เรือแจวท้ายเรือ หัวมีคนพาย) เรือแต่ละลำมีเด็ก 6-7 คนต่างไปเรียน ครับการมีสายตามองไกลทางการศึกษา น้องผมสองคนคนแรกจบกฎหมาย อีกคนเป็นนายตำรวจเพราะแม่-พ่อต่างทุมเท ลงทุน

เหมือนผมกับแม่บ้าน ทำงานหนักทุกวันส่งลูกเรียนเอกชนตั้งแต่เด็กจนจบไฮสกูล พอถึงวันนี้ ลูกทั้งสองมีระเบียบวินัย สำคัญที่พวกเขายึดมั่น คือรักพ่อแม่ ถึงจะอยู่ไกลกันก็โทรมาทุกวัน ทุกครั้งจะติดต่อกันทาง “Alexa” เหมือนโทรศัพท์คุยกันได้ทั้ง 3 คน เห็นหน้า และ Alexa สามารถถามความรู้เพลง หนังได้

สำหรับผมระบบการศึกษาเราต้องใส่ใจต่อโรงเรียนของลูกเรา และผมเชื่อทุกโรงเรียนของทุกเมือง โรงเรียนแตกต่างความแตกต่างอาจมาจากครู และสำคัญครอบครัวพื้นฐานของเด็ก โรงเรียนที่ดี ต้องมีห้องสมุด บ้านเราห้องสมุดหายาก ตอนเรียนไปห้องสมุดแห่งชาติ ข้อความถูกฉีก ครับแปลกแต่จริง เด็กรุ่นใหม่แม้แต่หลานผม และผมไปวัดมงคล มีขายอาหาร เจอเด็กเพื่อนหลานช่วงเรียนภาษาไทยช่วงภาคฤดูร้อน เด็กวัยรุ่นจะเห็นว่า เด็กแม่ยังพาไปวัดช่วยขายของ (อาหาร) เด็กแต่ละคน สูง ความคิดแตกต่าง ปีกลายหลานคนโต หงุดหงิดตลอด พอวันนี้ ยิ้มแย้มย่อมเกิดจาก “ฮอร์โมน” ข่าวดีเกี่ยวกับการรักษาโรค ใช้เวลาพัฒนา 20 ปี คือยาเกี่ยวกับรักษาโรค “อัลไซเมอร์” คนทั่วโลกเป็นเยอะไม่มีการยกเว้น แต่ยาแพงมาก ครับจะแพงหรือถูก ขอให้มีบางครั้งราคาแพง ช่องทางของแต่ละชีวิตยากจน แต่มีระบบค้ำประกันทางสุขภาพที่มี อาจเข้าช่างทางไปจ่ายได้ รักษาหรือจ่ายพอที่เราจะต้องก้มหน้ายอมรับ

เด็กรุ่นใหม่ต่างเล่นกีฬา กีฬาที่ผมเห็นลูกหลานเล่น คือซ็อกเกอร์ คาราเต้ และมีอีกมากมาย ครับควรสนับสนุนลูกหลาน จะเป็นอาร์ต ดนตรี หรือกีฬา ส่งเสริมให้ลูกได้มีกิจกรรม เด็กจะเริ่มมีสังคมที่ดีออกกำลัง รู้จักกิจกรรมเล่นร่วมกัน และสิ่งที่เน้น จะเป็นอาร์ต ดนตรี หรือกีฬา เด็กทุกคนจะใส่ใจ ฝึกและกีฬาคือการมีกิจกรรมร่วมกัน คำภาษาไทยเคยสอน คือแพ้ ชนะ ยังเป็นคำสอนที่มีคุณค่า ต้องมีใจ รับรู้ และถ้าชนะอย่างทะนงตัว แพ้อย่าหดหู่ ดนตรียิ่งฝึกความสามารถจะถึงจุดทุกคนมีสติ และสำคัญจิตจะผ่อนคลาย ผมอดเสียดาย การศึกษาบ้านเราหลายอย่างถูกตัดออก เพราะความไม่เข้าใจอย่าประวัติศาสตร์ สมบัติผู้ดี และศาสนา มันคือพื้นฐานรากเหง้า เอาออกจากการเรียนรู้ได้อย่างไร คือเป็นเพทุบายที่อยากกระทำสิ่งผิด