ความจริงหรือความคิด
ไพฑูรย์ สุขสิขารมย์
ความจริงหรือความคิด 30 พฤศจิกายน 2567

ครับชีวิตผม หลังจาก June 3, 2024 อายุย่าง 85 ปี ครับชีวิตวัยสูงอายุของผม ยังถือว่าโชคดี ยังช่วยตัวเอง ทุกคืนจะเข้าห้องนอน ก่อน 2 ทุ่ม (8:00 AM) ของทุกวันจะอาบน้ำ และแปรงฟัน ทุกวันจะทานอาหาร 2 มื้อ เช้าจะมีกาแฟยี่ห้อ French Roast ซื้อจากคอสโก้ ดื่มกาแฟไม่เติมน้ำตาลและครีม กาแฟที่ผมเริ่มดื่มตอนเริ่มเรียนมัธยม “วัดราชบพิธ” อาศัยวัดราชบพิธ เป็นศิษย์สมเด็จพระสังฆราชองที่ 18

กาแฟตอนเป็นเด็กอยู่มัธยม ดื่มไม่บ่อย คือโอเลี้ยง ร้านชื่อ อุ้ยหลีฮะกี่ รสขมแก่ หวาน กลิ่นกาแฟหอม ครับเวลาหลังจากเลิกเรียน มีสตังค์โอเลี้ยงขมหวาน ชื่นใจ

ช่วงเรียนมัธยม เมื่อเป็นศิษย์วัดอาหารต้องทำเองหรือซื้อกิน ตรงร้านกาแฟมีร้านอาหารริมถนน ติดกับคลองหลอด ผมจะแวะทานบ่อย มี 2 อย่างที่ชอบ ข้าวหมูแดง กับข้าวขาหมู รอบๆ จะมีคนแขก แต่งชุดขาว เอาเทไม้เทิร์นหัว มีโรตีและถั่ว เป็นลูกค้าประจำ ชอบโรตี ชอบแบบกรอบ เติมนมข้นเยอเหน่อย ม้วนกลมห่อกระดาษ เดินทาน

ชีวิตวัยเด็ก มีความเป็นอิสระทั้งๆที่ สมเด็จพระสังฆราช จะอบรมสั่งสอนมารยาทสมเด็จพระสังฆราชจะอบรม สั่งสอนมารยาท ความเป็นคนดี แต่ก็มีประจำชอบเดิน ซื้อของและเดินกิน แต่เศษกระดาษผมไม่มักง่ายทิ้งบนถนน จะทิ้งลงในถังขยะการเรียนรู้สิ่งดีงาม สังฆราชอบรมเสมอ เด็กวัดราชบพิธ ทุกวันอาทิตย์จะเข้าโบสถ์ สวดมนต์และพระจะเปลี่ยน “รูป” มาอบรมสั่งสอน ขอบคุณครับ

วัยเด็กเรียนประถม มีปีหนึ่งอยู่ประถม 4 พ่อแม่ส่งไปอาศัยอยู่กับอาที่อยู่คนละเมือง เหตุผล อาผมที่เล่าเป็นครู สอนโรงเรียนผม ซึ่งอาจจะพายเรือมาสอนใช้เวลาเกินครึ่งชั่วโมง ยุคผมเป็นเด็ก การเดินทางไปเยี่ยมญาติไกลหน่อยจะนั่งเรือโดยสาร วิ่งในแม่น้ำป่าสัก ระบบรถโดยสารระหว่างหมู่บ้านยังไม่มี เหตุผลคือยังขาดการพัฒนาสร้างถนน

เมื่อไปอยู่บ้านอา ทุกคืนอาจะสอนวิชาต่างๆ ความคิดของอาตรงกับพ่อแม่ พอผมจบต้องเรียนต่อมัธยม แม่ตั้งใจจะส่งผมไปเรียนกรุงเทพฯ แทนที่จะเรียนอยุธยา ครับการเข้าเรียน ต้องสอบแข่งขันเข้าเรียน

ชีวิตเติบโตไปเรียนหลายที่ เมืองไทยต้อง สอบแข่งขันเข้าเรียนทั้งนั้น อาจต่างจากที่นี่ อย่างเข้าโรงเรียนภาคบังคับ คำว่าบังคับคือทุกคนต้องเรียน อย่างประถมศึกษา จะได้มีความรู้อ่านออกเขียนได้

ชีวิตคนรุ่นผม แม้แต่ตัวผมก็ย่อมผ่านการสอบเข้าเรียน อย่างจบประถม 4 ไปเรียนมัธยมวัดราชบพิธ (กรุงเทพฯ) ก็ต้องสอบแข่งขัน ผมจบมัธยมปลาย สอบแข่งขันได้ทุนเรียนครู การเข้ามหาวิทยาลัยก็ต้องสอบเข้า อย่างผมจบ กศ.บ. บางแสน กศ.บ. เป็นตัวย่อมาจากการศึกษาบัณฑิต ตอนผมมาเรียนวิทยาลัยที่รัฐออริกอน 1969 ปลายปีก็สอบ หลายวิทยาลัยการสอบเพียงดูคะแนน และสัมภาษณ์ และดู ทรานสคริป คะแนนปริญญาตรี ตรงผมยืน อดีตเป็นร้านอาหารไทย ชื่อ “โบราณ” ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อ และอาหารร้านโบราณตั้งอยู่ประมาณ 20 ปี ผมได้ซื้อต่อ และทำอาหารไทยขาย ชื่อโบราณ ผมเอาชื่อมาจากจังหวัดที่ผมเกิด คือ จังหวัดอยุธยา อยุธยาเคยเจริญรุ่งเรือง เป็นเมืองหลวงของไทยมาหลายสิบปี ช่วงโน้นไทยยังรบกับพม่า ผลัดกันแพ้และชนะ เวลาผ่านไป กษัตริย์ย้ายจากอยุธยา ไปอยู่กรุงธนบุรี และสุดท้ายที่กรุงเทพฯ

ผมอยู่อยุธยาไม่นาน หลังจบ ป.4 แม่บอกว่า การศึกษาที่อยุธยา ยังไม่มีมหาวิทยาลัยแม่พ่อบอกว่า อยากให้ลูกเรียนมหาวิทยาลัย อยู่จะได้มีงานให้ความรู้ และความสามารถ สิ่งดังกล่าว คือการพัฒนาชีวิตให้ก้าวหน้า

หลังจบ ป.4 พ่อนำผมไปฝากเป็นศิษย์สมเด็จพระสังฆราช วัดราชบพิธ สมเด็จพระสังฆราช (สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วาสนา) สมเด็จบ้านติดอยู่กับบ้านผม สมเด็จจะมาอยุธยา ที่โรงเรียนประถม 1 - ประถม 4 ทุกปี หลังจากเด็กสอบเสร็จ จะมาให้รางวัลเด็กเรียนได้ที่หนึ่ง ผมได้รางวัลเรียนดีทุกปี หลังจากเรียนจบประถม พ่อแม่นำผมมาเป็นศิษย์วัดราชบพิธ อยู่กับสังฆราช อาทิตย์ละ 2 คืน ท่านจะเรียกผม ถามเกี่ยวกับการเล่าเรียน หลังจากจบ ม.6 ผมสอบได้ทุนเรียนครูก็ออกจากวัด ขึ้นไปกราบลาสมเด็จพระสังฆราช ท่านอวยพรให้ขยันและเป็นคนดี

วันรายงานตัว ต้องเข้าไปอยู่หอ ขึ้นไปกราบลา สมเด็จพระสังฆราช 6-7 ปี ที่เป็นศิษย์วัด อาทิตย์อย่างน้อย คืนหรือสองคืน ท่านจะเรียกผมไปอบรมสั่งสอน ถามเรื่องการเล่าเรียน “ท่านย้ำเสมอ” เรามาจากต่างจังหวัด ห่างไกลจากพ่อและแม่ เหตุผลมาเล่าเรียน เป็นพื้นฐานของอาชีพ โตขึ้นแล้วทำงาน ถ้าขาดการศึกษา การพัฒนาครอบครัวก็ย่อมลำบาก

ผมปฏิบัติตามสมเด็จพระสังฆราช ปกติช่วงเรียนประถม ผมเป็นเด็กขยัน เรียนดีได้ที่หนึ่งทุกปี พอมาสอบเข้าเรียนมัธยม สอบผ่านครับ พอจบ สอบุทนเรียนครูได้ ถึงเวลารายงานตัวก็ขึ้นไปกราบสมเด็จพระสังฆราช จะต้องไปเรียนและอยู่หอ สังฆราชท่านสั่งสอนและอวยพร “เป็นเด็กดีนะ ขยันเล่าเรียน เป็นเด็กดี”

ผมยึดการปฏิบัติตามคำสอนของสมเด็จพระสังฆราช

ถึงเวลารายงานตัว ต้องย้ายไปอยู่หอ ช่วงโน้นการเดินทางไม่มีกระเป๋าใบใหญ่อย่างตอนนี้ จะใส่ของใช้ในกระเป๋าไปโรงเรียน และใส่ถุงกระดาษ

ผมยังจำเหตุการณ์ ตอนไปอยู่หอ นักเรียนมีแต่นักเรียนชาย ทุกคนเป็นนักเรียนได้ทุนเรียน คำว่าทุน คือเรียนฟรี คำว่าฟรีคือค่าเทอม สำหรับ สมุด ดินสอ อุปกรณ์ส่วนตัว ถ้าจะถามเจ้าของทุน คำตอบว่า เป็นเรื่องส่วนตัวต้องควักกระเป๋าตัวเอง

ครับช่วงแรกของการไปอยู่หอ ต้องปรับตัวหลายอย่าง ตึกนอนเป็นแถวยาว เตียงติดกัน เวลาอาบน้ำทุกคนจะยืนตักน้ำ ซึ่งสร้างเป็นคอนกรีตกว้างยาว เวลาอาบน้ำ จะยืนเป็นแถวใช้ขันตักอาบ

ครับมีหลายคนแก้ผ้าอาบ นอนแรกๆ นินทา หัวเราะ เป็นโจ๊ก นานวันมากคนนิยม อาบน้ำแบบไม่มีผ้า

ชีวิตการดูแลตัวเอง อิสระ ตอนเป็นนักเรียนทุน กับตอนเป็นศิษย์วัด อยู่กับสมเด็จพระสังฆราชต่างกัน ตอนเป็นนักเรียนทุนอยู่หอ ตี 5:00 AM อาจารย์ที่หอจะเป่านกหวีด คำพูดลุก ครับวันเสาร์จะถูกเรียกเข้าแถวออกวิ่ง โรงเรียนอยู่กลางทุ่งบางเขน แต่เป็นศิษย์วัด เวลานอนและตื่นตามสบาย แต่อยู่วัดศิษย์วัดทุกคน วันอาทิตย์ เวลา 3:00 PM ต้องเข้าโบสถ์ พระท่านจะสอนการท่องสวดมนต์ และได้รับการอบรมให้เป็นเด็กดี คำว่าดีที่ได้รับการสั่งสอน ปฏิบัติดี และช่วยสังคม

หลังจากอาทิตย์แรกของการอยู่หอเป็นนักเรียนทุน วันหนึ่งมีการเสนอเลือกหัวหน้าห้อง มีคนเสนอ 4 คนรวมทั้งผม สุดท้ายผมได้เป็นหัวหน้าห้อง และพอขึ้นปี 2 ปีสุดท้าย ได้รับเลือกเป็นประธานสวัสดิการ ทุกเดือนวันเสาร์ อาจารย์แฉล้ม หลิมวานิช เวลาท่านไปกระทรวงศึกษา จะเรียกผมไป ถือกระเป๋าให้ท่าน

ครับการเป็นนักเรียนทุน คือประสบการณ์ ต้องดูแลตัวเอง ช่วยสังคม และเป็นแบบอย่างจากประสบการณ์ ผมมีส่วนเป็นนายกสมาคมไทยในเบย์แอเรีย