'สุเทพ' เสนอ 5 แนวทางปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง รับกำลังหาทางไม่ให้มีเลือกตั้ง 2 ก.พ.57 แต่ไม่เข้าข่ายขวางเลือกตั้ง เปิดแผน22ธ.ค.ปิดกทม.ครึ่งวันไล่'ปู'
18ธ.ค.2556 ผศ.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง กล่าวเปิดงาน "หาทางออกประเทศไทย ปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง" ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง ก่อนเปิดงานได้กล่าวต้อนรับ เสร็จแล้วได้เชิญนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. ขึ้นเวทีโดยยังคงกล่าวย้ำให้มีการปฏิรูปประเทศไทยก่อนเลือกตั้ง พร้อมปฏิรูปกติกาการเลือกตั้ง กฎหมายที่ลงโทษผู้กระทำผิดทุจริตคอรัปชั่น ไม่มีอายุความ ปรับโครงสร้างสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม และการกระจายอำนาจปกครองลงไปท้องถิ่น มีแค่ส่วนกลางและท้องถิ่น จัดให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด จากนั้น จึงมีการเสวนา โดยมี นายสุริยะใส กตะศิลา ดร.เจษฎ์ โทณวนิก นายคมสันต์ โพธิ์คง และนายชัยมงคล เสน่หา เป็นวิทยากร ซึ่งได้รับความสนใจจากอาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักศึกษา บุคคลทั่วไปจำนวนมาก
นายสุเทพ กล่าวว่า ขณะนี้ไปไหนมาไหนก็ลำบาก เพราะมีหมายจับติดตัวอยู่ แต่เมื่อทาง ม.รามคำแหงจัดเวทีที่เป็นประโยชน์ขึ้นมา ก็ต้องมาให้ได้ ถึงตอนนี้ที่ประชาชนออกมาสู้เพื่อโค่นระบอบทักษิณ และต้องการปฏิรูปประเทศ ยังคงเป็นรูปแบบที่ยึดความสันติ ไม่ใช่ความรุนแรง จะเห็นได้ว่าการชุมนุมที่ผ่านมาของกปปส.ไม่เคยมีเหตุร้ายเกิดขึ้นจากน้ำมือของผู้ชุมนุมเลย เพราะนี่เป็นการต่อสู้ของคนที่รักชาติ ไม่ใช่พวกก่อการร้าย
ทั้งนี้ การต่อสู้ด้วยมือเปล่ากับระบอบทักษิณจำเป็นต้องใช้เวลา จบสั้นๆ คงเป็นไปไม่ได้ ต้องใช้พลังที่มาจากแรงใจของผู้ชุมนุม โดยจะชนะกันได้ก็ต้องวัดกันที่มวลชนที่ออกมาร่วมสู้ด้วยกัน ถึงขณะนี้เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า ประชาชนต้องการปฏิรูปประเทศ เพื่อเป็นทางออกให้บ้านเมืองได้เดินก้าวหน้า แต่ยังมีเรื่องที่สับสน ซีกของรัฐบาลบอกว่า ต้องเลือกตั้งกันก่อนแล้วถึงจะปฏิรูป ซึ่งประชาชนไม่เอาแน่นอน เพราะหากเลือกตั้งก็เป็นคนกลุ่มเดิมที่กลับมามีอำนาจอีก และหากจะแก้ไขกฎหมาย หรือปฏิรูปก็เกิดจากน้ำมือของคนอำนาจเดิมที่ไม่มีความไว้เนื้อเชื่อใจแล้ว ซึ่งเป็นสิ่งที่ประชาชนไม่ต้องการ แต่หากปฏิรูปก่อนการเลือกตั้ง ก็จะเป็นการกระทำจากความต้องการของประชาชน ไม่มีนักการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ตนยืนยันว่าจะไม่กลับไปเล่นการเมืองอีกแน่นอน งานนี้จะเป็นงานสุดท้าย พอจบแล้วก็เลิกกัน
“ผมบอกได้เลยว่าสถานการณ์การเมืองทุกวันนี้ไม่ใช่เหตุการณ์ปกติ พวกโลกสวยทั้งหลายจงรู้ไว้ด้วย หากจะเอาหลักเกณฑ์มาแก้ไขปัญหานั้นคงไม่ได้ เพราะสถานการณ์เช่นนี้ไม่มีอยู่ในตำรา สิ่งที่ประชาชนต้องการคือให้น.ส.ยิ่งลักษ์ ชินวัตร และครม.ลาออกจากการรักษาการ เพื่อให้เกิดสุญญากาศในช่วงสั้นๆ และจะได้มีนายกรัฐมนตรีเฉพาะกาลที่มาจากประชาชน เพื่อนำไปสู่การตั้งสภาประชาชนต่อไป เราอยากได้การเลือกตั้ง แต่ขอให้มีการปฏิรูปก่อนเพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์ ยุติธรรม ไม่ใช้การเลือกตั้งเป็นบันไดสู่อำนาจเหมือนเช่นที่ผ่านมา ซึ่งผมยืนยันไม่ได้ว่าการเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.พ.2557 จะเกิดขึ้นหรือไม่ แต่ส่วนตัวกำลังปรึกษากันว่า จะทำอย่างไรเพื่อไม่ให้มีการเลือกตั้ง และการกระทำนั้นต้องไม่เข้าข่ายความผิดขัดขวางการเลือกตั้ง” นายสุเทพ กล่าว
นายสุเทพ กล่าวต่อไปว่า คำว่าสภาประชาชนถูกโจมตีว่าคือระบอบคอมมิวนิสต์ จริงๆ คือเป็นสภาที่ไม่มีนักการเมืองมาเกี่ยวข้อง ประชาชนต้องการที่จะดำเนินการเองทั้งหมด เพราะที่ผ่านมานักการเมืองเข้ามาในสภาก็เขียนกฎหมาย แก้กฎหมายเพื่อพวกพ้องตนเองทั้งหมด นี่คือสัจธรรมของนักการเมือง แต่สภาประชาชนก็จะอยู่ไม่นาน จะอยู่เพียงแค่ 1 ปีเพื่อแก้ไขปัญหาปฏิรูปประเทศชาติ และนำไปสู่การเลือกตั้ง โดยสิ่งที่ต้องปฏิรูปโดยสภาประชาชนมีอยู่ 5 เรื่อง คือ
1.การเลือกตั้ง โดยต้องเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ ยุติธรรม ต้องไม่ให้มีการทุจริตการเลือกตั้ง เพื่อให้ประชาชนได้ตัวแทนที่เป็นตัวแทนจริงๆ เป็นคนดีเข้าไปทำงานในสภา
2.การคอรัปชั่น ต้องแก้กฎหมายการทุจริต คอรัปชั่นให้ครอบคลุม เช่น หากมีการทุจริตขึ้นมา ประชาชนในฐานะที่เป็นผู้เสียหาย สามารถยื่นฟ้องผู้ทุจริตได้ทันที ไม่ต้องผ่านกระบวนการทางตำรวจ ที่ยุ่งยากชักช้า และรับใช้นักการเมืองทำให้คดีไม่มีความคืบหน้า อีกทั้ง คดีคอรัปชั่น ต้องไม่มีอายุความ คนทุจริตแก่แค่ไหนเมื่อทำผิดก็ต้องเข้าคุก ต่อให้หนีไปต่างประเทศกลับมาก่อนตาย ก็ถือว่ามีความผิด
3.ยกเลิกระบบราชการส่วนภูมิภาค ประชาชนสามารถเลือกและแต่งตั้งผู้ว่าราชการจังหวัดได้เอง ไม่ใช่นักการเมืองเข้ามาแต่งตั้งให้ รวมถึงงบประมาณของแต่ละจังหวัดก็ต้องเป็นธรรม ไม่ใช่จังหวัดของฝ่ายค้านแล้วรัฐบาลไม่จัดสรรงบให้
4.แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม ซึ่งเชื่อว่ามีประเด็นที่สามารถทำได้ในระยะเวลาอันสั้น ช่วยเหลือคนจนให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยดูแลเรื่องที่พักอาศัย การศึกษา อาชีพ และการรักษาพยาบาล และจะไม่ให้มีนโยบายประชานิยมมาหากินอีกต่อไป เพราะถือเป็นการต้มประชาชน และ
5.ปฏิรูปตำรวจ ต้องเป็นตำรวจที่มาจากประชาชนอย่างแท้จริง คนที่จะให้คุณให้โทษกับตำรวจคือประชาชน ไม่ใช่นักการเมืองอีกต่อไป และคณะกรรมการตำรวจที่เป็นพลเรือน ก็ต้องเป็นประชาชนอย่างแท้จริง ไม่ใช่พวกพ้องของตำรวจเหมือนเดิม และเมื่อปฏิรูปได้ตาม 5 ข้อข้างต้นแล้ว ก็จะกลับเข้าสู่รูปแบบการเลือกตั้งได้ทันที
อธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหงกล่าวถึงเหตุการณ์การปะทะที่รามคำแหง ว่า ขณะนี้กำลังมีกลุ่มบุคคลที่พยายามบิดเบือนข้อมูลว่านักศึกษารามคำแหง เป็นผู้ก่อเหตุสร้างความรุนแรง ซึ่งหลังจากกองพิสูจน์หลักฐานเข้ามาเก็บหลักฐานทำให้ทราบว่ามีอาวุธไม่ต่ำกว่า 15 ชนิดภายในมหาวิทยาลัยแสดงถึงความตั้งใจผู้ก่อเหตุที่มุ่งทำร้ายนักศึกษา ทั้งนี้ จากที่ตนอยู่กับนักศึกษาตลอดในวันปะทะทำให้ทราบว่านักศึกษาในมหาวิทยาลัยไม่มีอาวุธ แต่มีกลุ่มคนพยายามบอกว่ามีอาวุธ ซึ่งขณะนี้เหตุการณ์ปะทะที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงสามารถทำแผนที่จุดเกิดเหตุได้แล้ว และที่สำคัญไม่มีทางเป็นไปได้ที่กระสุนจะยิงจากมหาวิทยาลัยไปตกที่สนามรัชมังคลาฯ โดยหลังเกิดเหตุตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.เป็นต้นมาได้แต่สาปแช่ง และตนรู้ว่าใครเป็นคนสั่งยิง แต่ขณะนี้ยังทำอะไรไม่ได้ โดยได้แต่สาปแช่งผู้ที่ก่อเหตุ ย้ำว่าเหตุการณ์ที่รามคำแหงในคืนเกิดเหตุไม่มีตำรวจ และรู้สึกเสียใจ คนที่นับถือไม่ได้ให้ความช่วยเหลือ อย่างไรก็ตาม วานนี้ (17 ธ.ค.) ทางคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) เรียกให้ไปชี้แจงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยโดยตั้งคณะกรรมการไต่สวนเรื่องนี้แล้ว โดย มีนายวิชา มหาคุณ เป็นประธาน
ผศ.วุฒิศักดิ์ กล่าวอีกว่า ส่วนที่การกล่าวหาว่า อธิการบดีเป็นคนตั้งเวทีจนเกิดการปะทะ ย้ำว่าไม่ได้เป็นคนตั้งเวทีโดยเน้นว่าหากอธิการบดีรามคำแหงเป็นคนตั้งเวทีคนจะออกมาเป็นแสนคนไม่ใช่เหมือนเหตุการณ์ที่นักศึกษาออกมา 2-3 พันคน ส่วนที่ทหารเข้ามาช่วยนักศึกษา และมีคนพยายามบิดเบือนนั้น เหตุที่ทหารเข้ามาช่วยเป็นเพราะประสานผ่าน พล.ร.อ.พระจุณณ์ ตามประทีป และให้เบอร์ติดต่อทาง พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. โดยตรง ภายใน15 นาทีจึงมีการส่งทหารเข้ามาช่วยนักศึกษา และหลายภาคส่วนเข้ามา ที่น่าสังเกตหลังทหารเข้ามามือปืนหายหมด ซึ่งก่อนหน้านั้นมีการยิงเสียงดังตลอดเป็นระยะ จึงอยากฝากให้ชาวรามคำแหงได้จดจำและสำนึกบุญคุณในวันนั้น
นักวิชาการ 4 ท่าน กล่าวว่าชนชั้นกลางส่วนหนึ่งมีมายาคติเกี่ยวกับการเลือกตั้งอยู่หลายประการ และมายาคติเหล่านี้ก็ทำให้พวกเขาต่อต้านการเลือกตั้ง แล้วไปเชื่อในระบบสรรหาแทน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เวียงรัฐ เนติโพธิ์ ผู้ทำวิจัยเรื่อง "การเลือกตั้งกับพลวัตทางการเมือง" กล่าวว่า ชนชั้นกลางมีมายาคติว่า เงินซื้อเสียงเป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดการตัดสินใจเลือกผู้สมัครและพรรคการเมือง แต่ใความเป็นจริงแล้ว นโยบายของพรรคการเมืองเป็นปัจจัยกำหนดการตัดสินใจของคนมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่เงินและของขวัญก็มีผลน้อยลงเรื่อยๆ
นักวิจัยผู้นี้ยังกล่าวด้วยว่า ชนชั้นกลางเข้าใจผิด ว่าสิ่งตอบแทนทางการเมืองและการอุปถัมภ์นั้น มีอยู่ในระบบเลือกตั้งเท่านั้น แต่จริงๆ แล้วสิ่งเหล่านี้ก็มีอยู่ในระบบแต่งตั้งสรรหาเช่นกัน
ศาสตราจารย์ นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักประวัติศาสตร์การเมือง กล่าวว่าชนชั้นกลางมีมายาคติว่า การศึกษาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับประชาธิปไตย แต่ในความเป็นจริงแล้ว ประชาธิปไตยจะทำงานได้นั้น ขอแค่ประชาชนแต่ละคนรู้ว่าความต้องการของตัวเองคืออะไร และนโยบายแบบไหนจะสนองความต้องการเขาได้ ก็เพียงพอแล้ว การมีการศึกษาสูง ไม่ได้หมายความว่าจะเข้าใจความต้องการของคนอื่นได้ดีกว่าตัวพวกเขาเอง
ประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยกตัวอย่างประเทศอินเดีย เพียงแสดงให้เห็นว่า ระดับการศึกษาและฐานะทางเศรษฐกิจ ไม่ได้บ่งชี้ความเจริญงอกงามของประชาธิปไตย
ประจักษ์ ยังเห็นว่า ชนชั้นกลางยังมีมายาคติด้วยว่า การตั้งองค์กรที่ไม่ผูกพันอยู่กับรัฐสภา เช่น "สภาประชาชน" ของกลุ่ม กปปส. นั้น เป็นประชาธิปไตยทางตรง ซึ่งดีกว่าประชาธิปไตยแบบตัวแทน แต่ในความเป็นจริงแล้ว "สภาประชาชน" ของ กปปส. ก็เป็นแค่ตัวแทนแบบหนึ่ง และเป็นตัวแทนของคนกลุ่มเดียว ไม่ใช่ตัวแทนประชาชนทุกกลุ่ม
ส่วน ปิยบุตร แสงกนกกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ชนชั้นกลางมีมายาคติว่า ศาลและองค์กรอิสระไม่ได้เป็นผู้เล่นทางการเมือง จึงปราศจากข้อบกพร่องที่นักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งมี แต่ในความเป็นจริง ศาลและองค์กรอิสระก็เป็นผู้เล่นทางการเมืองเหมือนผู้เล่นอื่นๆ ไม่ได้วิเศษบริสุทธิ์กว่าผู้เล่นอื่น
นักวิชาการทุกคนเห็นตรงกันว่า มายาคติเหล่านี้ทำให้ชนชั้นกลางบางส่วนต่อต้านการเลือกตั้ง
คำถามแรกที่เกิดขึ้นหลังรัฐบาลมีแผนสร้างรถไฟความเร็วสูง นั่นคือคนไทยมีความสามารถในการซื้อตั๋วโดยสารเพียงใด จากข้อมูลเบื้องต้นที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) คำนวณออกมา คาดว่าราคาค่าโดยสารต่อคนจะอยู่ระหว่าง 1.60 – 2.50 บาทต่อกิโลเมตร
เราลองคำนวณค่าโดยสารในสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ที่คาดว่าระยะทางอยู่ที่ 669 กิโลเมตร หากใช้ราคาต่ำสุด 1.60 บาท/กม. จะอยู่ที่ 1,070.40 บาทต่อคน แต่หากใช้ราคาสูงสุดคือ 2.50 บาท/กม. จะอยู่ที่ 1,672.50 บาทต่อคน หรือถ้าใช้ราคากลางที่ 2 บาท/กม. จะอยู่ที่ 1,338 บาทต่อคน และหากใช้เกณฑ์ความเร็วเฉลี่ย 250-300 กม./ชม. ตามมาตรฐานรถไฟความเร็วสูงของนานาชาติ จะใช้เวลาเดินทางเฉลี่ย 3-4 ชั่วโมง หรือถ้าใช้ความเร็วเท่า Express Line ของรถไฟฟ้า Airport Link ในไทยคือ 130-160 กม./ชม. จะใช้เวลาเดินทางเฉลี่ย 4-5 ชั่วโมง
เมื่อเปรียบเทียบกับตัวเลือกอื่นๆ เช่น “รถทัวร์” ใช้เวลาเดินทางเฉลี่ย 9-10 ชั่วโมง เราลองใช้ข้อมูลจากบริษัทเดินรถชื่อดัง 2 แห่ง คือนครชัยแอร์กับสมบัติทัวร์ ในส่วนของนครชัยแอร์ พบว่าชั้น First Class อยู่ที่ 876 บาทต่อคน ส่วน Gold Class อยู่ที่ 657 บาทต่อคน ขณะที่สมบัติทัวร์ มี 3 ราคา คือรถปรับอากาศชั้น 1 (ข) อยู่ที่ 563 บาทต่อคน รถปรับอากาศพิเศษ (พ) อยู่ที่ 657 บาท และรถ VIP (ก) อยู่ที่ 876 บาทต่อคน
หรือตัวเลือกใหม่ที่กำลังมาแรงอย่าง “สายการบินต้นทุนต่ำ” (Low Cost Airline) เราลองใช้ข้อมูลจากผู้ให้บริการยอดนิยมอย่างนกแอร์ ตั๋วเครื่องบินชั้นประหยัด (NOK ECO) เฉลี่ยอยู่ที่ 1,500-2,500 บาทต่อคน (ขึ้นอยู่กับความต้องการโดยสาร เช่นตั๋วในช่วงเทศกาลปีใหม่ราคาจะอยู่ในเกณฑ์สูงกว่าวันปกติ) ใช้เวลาเดินทางเพียงชั่วโมงเศษๆ เท่านั้น
แม้กระทั่งสายที่ใกล้ที่สุดอย่างกรุงเทพฯ-หัวหิน ที่คาดว่าระยะทางน่าจะอยู่ที่ 225 กิโลเมตร หากใช้เกณฑ์ราคาต่ำสุด 1.60 บาท/กม./คน จะอยู่ที่ 360 บาท หรือราคาสูงสุด 2.50 บาท/กม./คน จะอยู่ที่ 562.50 บาท และถ้าใช้ราคากลางที่ 2 บาท/กม./คน จะอยู่ที่ 450 บาท
ดูเหมือนว่าไม่น่าจะแพงนัก แต่รายงานของ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ระบุว่ารถไฟความเร็วสูงจะคุ้มทุน ก็ต่อเมื่อมีผู้โดยสาร 9 ล้านคนต่อปี ปัญหาคือ..เรามีประชากรที่มีกำลังซื้อมากขนาดนั้นหรือไม่? เพราะค่าโดยสารก็ไม่ใช่ถูกๆ อย่างที่คำนวณไปแล้วข้างต้น
ทั้งนี้แม้กระทั่งรถไฟฟ้า (BTS) และรถไฟใต้ดิน (MRT) ใน กทม. ที่ดูเหมือนคนใช้กันหนาแน่น (7 แสนคนต่อวัน) แต่เมื่อเราออกไปสังเกตการณ์ในจุดต่างๆ ตามแนวรถไฟฟ้า ก็พบว่ายังมีคนอีกเป็นจำนวนมาก ยอมทนลำบากโหนรถเมล์ท่ามกลางการจราจรที่ติดขัด เนื่องจากต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย ในยุคที่ค่าครองชีพสูงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเทียบกับรายได้ (ประชากร กทม. ที่ลงทะเบียนไว้มีราว 5 ล้านคน แต่คาดว่ามีประชากรจริงๆ ราว 13 ล้านคน เพราะส่วนใหญ่ย้ายเข้ามาเรียนหรือทำงาน แต่ไม่ได้ย้ายทะเบียนบ้านเข้ามาด้วย)
ซึ่งในทรรศนะของ น.ส.รสนา โตสิตระกูล สมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร มองว่าการสร้างรถไฟความเร็วสูงไม่คุ้มค่าและเสี่ยงต่อการขาดทุน เพราะด้วยรายได้ของคนไทยระดับล่างและกลางล่าง คงไม่สามารถโดยสารรถไฟความเร็วสูงได้บ่อยครั้งนัก
“สมมติรถไฟความเร็วสูง จากกรุงเทพไปหัวหิน ซึ่งมี ส.ว. บางท่านอภิปรายว่ามันดีมากเลย บ้านเราอยู่หัวหิน เรามาทำงานกรุงเทพ เราสามารถนั่งรถไปกลับแล้วก็ได้อยู่กับครอบครัว ก็บอกว่าลองดูสิ บาทหกสิบสตางค์ต่อกิโลเมตร ระยะทางสมมติตีซะ 200 กิโลเมตร คุณเสียค่าโดยสารเที่ยวละ 300 บาทขึ้นไป จะมีใครจ่ายเงินไปกลับวันละ 600 บาทเพื่อไปอยู่กับครอบครัว ถามหน่อยสิ? ฉะนั้นโครงการแบบนี้มีแต่เจ๊งลูกเดียว” ส.ว.กทม. ให้ความเห็น
“รถไฟทางคู่” ตอบโจทย์ที่สุดจากกระแสคัดค้านโครงการรถไฟความเร็วสูงของหลายฝ่าย ทำให้กลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาลออกมาโจมตีว่าผู้คัดค้านเป็นพวกไม่อยากให้ประเทศเจริญก้าวหน้า หรือไม่ต้องการกระจายความเจริญไปสู่ชนบท ซึ่งไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ทั้งนี้ยังมีหนทางอื่นในการปฏิรูประบบขนส่งมวลชน โดยใช้งบประมาณที่น้อยกว่ามาก เช่นเรื่องของการปรับปรุงทางรถไฟให้เป็นแบบคู่ขนานทั่วประเทศ หรือเรียกว่า “รถไฟทางคู่” (รางคู่)
นายไกร ตั้งสง่า อุปนายกวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) เปรียบเทียบการพัฒนาระบบขนส่งเหมือนกับการสร้างบ้าน ซึ่งต้องสร้างสิ่งที่จำเป็นของการประกอบเป็นตัวบ้านก่อน จากนั้นเมื่อมีงบประมาณเหลือ หรือฐานะของครอบครัวดีขึ้น ค่อยคิดถึงการตกแต่งให้สวยงามต่อไป
ในที่นี้คือหากจะปฏิรูประบบขนส่งมวลชน ให้ตอบสนองต่อประชาชนที่ส่วนใหญ่ยังกังวลกับรายได้และค่าครองชีพได้จริง รถไฟทางคู่ถือเป็นตัวเลือกที่ดีกว่ามาก เบื้องต้นเสียเพียงค่าปรับปรุงรางเท่านั้น เพราะหัวรถจักรดีเซลที่หลายคนดูถูกว่าเก่าแก่โบราณ ในความเป็นจริงสามารถทำความเร็วสูงสุดได้เฉลี่ย 80-100 กม./ชม. แต่ทุกวันนี้ติดปัญหาที่ต้องรอสับหลีกเมื่อมีขบวนรถสวนมา ทำให้รถไฟไทยไม่สามารถรักษาเวลาได้แบบนานาอารยประเทศ
หรือความกังวลเกี่ยวกับค่าโดยสาร เมื่อไม่ต้องเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ทั้งหมด ก็แทบไม่จำเป็นต้องขึ้นค่าโดยสารในอัตราสูงจนประชาชนเดือดร้อนแต่อย่างใด รวมทั้งลดการสูญเสียชีวิตจากอุบัติเหตุช่วงเทศกาลได้ด้วย เพราะรถไฟมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุได้น้อยกว่ารถยนต์ เมื่อราคาไม่แพง ปลอดภัยและใช้เวลาเดินทางน้อยกว่า ผู้มีรายได้ไม่มากนักย่อมมีทางเลือกเพิ่มขึ้นมาอีกทางหนึ่ง