ฮือฮา ทั่วแผ่นดินกัมพูชา"นวรัตน์ อยู่บำรุง” อดีตสก.หนองแขม น้องชาย ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง แต่งงานกับ“ทอน ดารา”ดาราและพิธีกรชื่อดังเขมร เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ข่าวใหญ่ในแวดวงสังคมและแวดวงบันเทิงกัมพูชา เป็นข่าว“ทอน ดารา”ดารานักแสดงและพิธีกรรายการทีวีที่โด่งดัง เข้าพิธีวิวาห์กับนักการเมืองไทย ชื่อ“นวรัตน์ อยู่บำรุง”อดีตสมาชิกสภากรุงเทพมหานคร (สก.) เขตหนองแขม ซึ่งเป็นน้องชายของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง นักการเมืองชื่อดังย่านฝั่งธนบุรี และอดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง ในงานวิวาห์ของ “นวรัตน์ อยู่บำรุง” มีเพียง “วัน อยู่บำรุง” ลูกชายคนที่ 2 ของ ร.ต.อ.เฉลิม คนเดียวเท่านั้นที่เป็นตัวแทนญาติมิตรจากบางบอน บินไปร่วมงานแต่งดังกล่าวที่ประเทศกัมพูชา สำหรับแขกเหรื่อทางฝ่ายเจ้าสาวนั้น มากมายไปด้วย “เซเลบเขมร” และเพื่อนดาราที่มีชื่อเสียงในแวดวงบันเทิงของกัมพูชา โดยเฉพาะแขกคนสำคัญของงานนี้ คือ “ฮุนมาเน็ต” ลูกชายหัวแก้วหัวแหวน ของสมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีของกัมพูชา N อนึ่ง “นวรัตน์ อยู่บำรุง” ผ่านการแต่งงานแล้ว แต่ไม่มีข่าวว่าเขาหย่าร้างกับภรรยาคนไทยหรือไม่
เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ขณะนี้ ยังมีการออกมาให้สัมภาษณ์ตอบโต้ ท้าทายกันจากทั้งฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายเห็นต่าง ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่น่าเกิดประโยชน์ต่อการบริหารราชการแผ่นดินให้เปลี่ยนแปลงประเทศไปในทางที่ดีขึ้น ทางที่ดีที่สุดวันนี้คือ หากมีใครทำผิดกฎหมาย ผู้มีอำนาจรักษากฎหมายต้องทำตามครรลองมากกว่าตอบโต้ ท้าทายไปมา โดยเฉพาะผู้นำประเทศ ถ้าหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าซึ่งกันและกันกับกลุ่มคนในสังคมได้ น่าจะดี เป็นโยชน์ต่อประเทศมากกว่า
กรมโรงงานเผยครึ่งปีแรกยอดขอใบอนุญาต รง.4และขยายกิจการรวมมูลค่ากว่า 2.24 แสนล้านบาทลดลง 7.7 % แต่ยังมั่นใจทั้งปีโตไม่น้อยกว่า 5% จากแรงหนุนมาตรการกระตุ้นภาคอุตสาหกรรมของรัฐ รวมทั้งการเปิดเขตเศรษฐกิจพิเศษ ช่วยเพิ่มความมั่นใจนักลงทุน
นายพสุ โลหารชุน อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เปิดเผยว่า การขอใบอนุญาต รง.4 และขยายกิจการช่วง 6 เดือนแรกปี 2559 (มกราคม-มิถุนายน) มีจำนวนโรงงานทั้งสิ้น 2,407 โรงงาน ลดลงช่วงเดียวกันในปี 2558 ที่มีอยู่ที่ 2,468 โรงงาน หรือลดลง 2.47% ขณะที่มูลค่าการลงทุนอยู่ที่ 2.24 แสนล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2558 ที่อยู่ที่ 2.42 แสนล้านบาท หรือ ลดลงประมาณ 7.7%
โดยแบ่งเป็นการเปิดกิจการใหม่จำนวน 2,052 โรงงานลดลง 0.67% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาที่มีอยู่ 2,066 โรงงาน ขณะที่มูลค่าการลงทุน 1.39 แสนล้านบาท ลดลง 22.69% เมื่อเทียบกับปีก่อน อยู่ที่ 1.79 แสนล้านบาท ส่วนการขยายกิจการมีจำนวน 355 โรงงานลดลง 11.69% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาที่มีอยู่ 402 โรงงาน ขณะที่มูลค่าการลงทุน 8.49 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 35% เมื่อเทียบกับปีก่อน อยู่ที่ 6.28 หมื่นล้านบาท
สำหรับอุตสาหกรรมที่มีจำนวนเปิดกิจการใหม่และขยายกิจการที่มีมูลค่ามากที่สุดในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2559 ได้แก่ การผลิตยานพาหนะและอุปกรณ์รวมทั้งการซ่อมยานพาหนะและอุปกรณ์ มูลค่าการลงทุน 4.4 หมื่นล้านบาท อุตสาหกรรมอาหาร 2.2 หมื่นล้านบาท ผลิตภัณฑ์จากพืช 1.1 หมื่นล้านบาท ผลิตภัณฑ์โลหะ 1.04 หมื่นล้านบาท ผลิตภัณฑ์อโลหะ 9.4 พันล้านบาท ตามลำดับ
“ยอดขอ รง.4 และขยายกิจการในช่วง 6 เดือนแรกลดลงไม่มากนักเมื่อเทียบกับปี 2558 ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติ เพราะนักลงทุนส่วนใหญ่จะมาเร่งเมื่อเข้าสู่ครึ่งปีหลัง ซึ่งก็จะมีการขอ รง.4ที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปี และเชื่อว่าในปีนี้ยอดการขอใบ รง.4 อาจจะสูงขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากรัฐบาลมีมาตรการออกมาช่วยเหลือภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐมีนโยบายและมาตรการกระตุ้นการลงทุนในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเช่นนโยบายการพัฒนาคลัสเตอร์ภาคอุตสาหกรรมแห่งอนาคต, ไทยแลนด์ 4.0,อินดัสเทรียล 4.0 เป็นต้น รวมทั้งเม็ดเงินลงทุนต่างๆ ที่รัฐบาลได้อัดฉีดไปในโครงการต่างๆ เริ่มเห็นผลมากขึ้นทำให้นักลงทุนมีความมั่นใจและเริ่มมีการลงทุนและขยายกิจการมากขึ้น ทำให้คาดว่าในปีนี้การขอ รง.4 และขยายกิจการน่าจะใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมาหรือโตขึ้นประมาณ 5%” นายพสุ กล่าว
สำหรับการแจ้งประกอบและเริ่มส่วนขยายโรงงานในช่วง 6 เดือนแรกของปี พบว่า มีจำนวน 2,020 โรงงาน ลดลง 20% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมามี 2,500 โรงงาน มูลค่าการลงทุน 2.30 แสนล้านบาท ลดลง 52% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา อยู่ที่ 4.89 แสนล้านบาท มีการจ้างงาน 9,820 คน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา14.4% ขณะที่ในเดือนมิถุนายนมีจำนวน 336 โรงงาน ลดลง 24.49% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา อยู่ที่ 454 โรงงาน
โดยอุตสาหกรรมที่มีการแจ้งประกอบและเริ่มส่วนขยายโรงงานที่มีมูลค่ามากที่สุดในช่วง 6 เดือนแรก ได้แก่ การผลิตยานพาหนะและอุปกรณ์รวมทั้งการซ่อมยานพาหนะและอุปกรณ์ มูลค่าการลงทุน 2.74 หมื่นล้านบาท อุตสาหกรรมอาหาร 1.88 หมื่นล้านบาท ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ 1.33 หมื่นล้านบาท ผลิตภัณฑ์จากพืช 1.1 หมื่นล้านบาทผลิตภัณฑ์อโลหะ 1.21 หมื่นล้านบาท เคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์เคมี 1.2 หมื่นล้านบาท ตามลำดับ
ส่วนจังหวัดที่มีมูลค่าการลงทุนมากสุดที่เข้ามาแจ้งประกอบและเริ่มขยายโรงงงานมากที่สุด ได้แก่ ชลบุรี 3.14 หมื่นล้านบาท ปราจีนบุรี 2.55 หมื่นล้านบาท ปทุมธานี 2.48 หมื่นล้านบาท สระบุรี 1.48 หมื่นล้านบาท สมุทรปราการ 1.13 หมื่นล้านบาทตามลำดับ
“การแจ้งประกอบและเริ่มส่วนขยายโรงงานนั้น ขณะนี้มีการเปิดกิจการจริงแล้วประมาณ 80-90%ของยอดขอ รง.4 ทั้งหมด โดยจะเห็นว่าในเขตเศรษฐกิจพิเศษตะวันออก (EEC) เริ่มมีขยายตัวมากขึ้นหลังรัฐบาลเริ่มมีความชัดเจนในเรื่องนโยบาย ทั้งนี้ในแต่ละปีจะมีโรงงานที่เปิดและขยายกิจการจริงแจ้งเข้ามาประมาณ 5 พันโรงงาน มูลค่าการลงทุนประมาณ 5 หมื่นล้านบาท” นายพสุกล่าว
อนึ่งก่อนหน้านี้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือบีโอไอ เปิดเผยว่า แนวโน้มปี 2559 การยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนกับบีโอไอจะเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ในระดับ 45,0000 ล้านบาทจากที่ครึ่งปีแรกประเมินว่าจะมีการยื่นคำขอ 300,000 ล้านบาท ส่วนเม็ดเงินลงทุนจริงปีนี้จากโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนไปแล้วก่อนหน้าคาดว่าจะมีวงเงิน 600,000-700,000 ล้านบาท จากไตรมาสแรกปี 2559 มียอดลงทุนจริงแล้ว 100,000 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2558 อุตสาหกรรมที่นักลงทุนสนใจจะเข้ามาลงทุนในไทย จะอยู่ใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย และภาคบริการ ได้แก่ อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ที่ใช้เทคโนโลยีสูง อาหารเพื่อสุขภาพ ชิ้นส่วนโทรคมนาคมอย่างออฟติกไฟเบอร์ และเครื่องมือแพทย์ เป็นต้น
เป็นถึง “ภรรยาผู้ว่าการรัฐเมน” แต่ แอน เลอเพจ ไม่อายเลยที่จะต้องมาเดินเสิร์ฟน้ำ เสิร์ฟอาหารให้ลูกค้าที่เข้ามานั่งรับประทานอาหารที่ร้านแมคซีกัล”ส (McSeagull”s) ใน เมืองบูธเบย์ ฮาร์เบอร์ รัฐเมน ซึ่งอยู่ใกล้ๆ บ้านเธอและ “พอล เลอเพจ” สามีซึ่งดำรงตำแหน่งผู้ว่าการรัฐเมนคนปัจจุบัน
จากข่าวเล่าว่า แอนเพิ่งเริ่มงานที่ร้านอาหารแมคซีกัล”ส เมื่อต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา หลังจากแม่ของเธอซึ่งป่วยด้วยโรคหนังแข็ง (scleroderma) มานานเพิ่งเสียชีวิตไป ทำให้เธอ ซึ่งก่อนหน้านี้เคยมีหน้าที่คอยดูแลแม่เริ่มมีเวลาว่าง เธอจึงอยากออกมาหางานทำเพื่อช่วยผ่อนแรงสามีอีกแรงหนึ่ง
จากที่เริ่มทำงานแบบเงียบๆ โดยไม่มีใครรู้ว่าเธอเป็นใคร แต่แล้วเรื่องก็มาแตกเมื่อสามีเธอได้พูดที่ศาลาว่าการเรื่องที่เธอไปทำงานเป็นพนักงานเสิร์ฟให้ผู้คนได้รู้ว่า ภรรยาของเขาได้ออกมาทำงานเพื่อช่วยครอบครัวหาเงินอีกแรงหนึ่ง นอกเหนือจากเงินเดือนในตำแหน่งผู้ว่าการรัฐเมนของเขาที่มีรายได้ 70,000 ดอลลาร์ต่อปี (ราว 2,485,000 บาท) ซึ่งเป็นเงินเดือนผู้ว่าการรัฐที่น้อยที่สุดในสหรัฐอเมริกา เมื่อเทียบกับผู้ว่าการรัฐทั้ง 50 รัฐทั่วประเทศ
ทั้งนี้ จากข้อมูลเงินเดือนผู้ว่าการรัฐทั้งหมดในสหรัฐอเมริกาเมื่อปี 2558 ระบุว่า ผู้ว่าการรัฐส่วนใหญ่มีเงินเดือนเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 135,000 ดอลลาร์ (ราว 4,792,500 บาท) โดยมีผู้ว่าการรัฐบางรัฐอาจมีเงินเดือนสูงกว่านี้ แต่ไม่มีผู้ว่าการรัฐคนใดที่มีเงินเดือนต่ำกว่าผู้ว่าการรัฐเมนอีกแล้ว ซึ่งก่อนหน้านี้ พอล เลอเพจ เคยพยายามเรียกร้องขอเพิ่มเงินเดือนผู้ว่าการรัฐเมนให้ปรับขึ้นมาอยู่ที่ 150,000 ดอลลาร์ (ราว 5,325,000 บาท) แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ
ทุกวันนี้ผู้ว่าการรัฐเมน และภรรยาอาศัยอยู่ในบ้านพักผู้ว่าฯกับเจ้าวีโต้ สุนัขพันธุ์แจ็ค รัสเซลล์ เทอร์เรีย และทั้งสองได้ซื้อบ้านราคา 215,000 ดอลลาร์ (ราว 7,632,500 บาท) ไว้เมื่อ 2 ปีที่แล้ว ขณะที่แอนก็ซื้อรถโตโยต้าซึ่งยังต้องผ่อนอยู่
แอนเล่าว่า เธอสนใจอยากทำงานเป็นสาวเสิร์ฟมานาน อีกทั้งลอว์เรน ลูกสาวเธอก็เคยทำงานพาร์ตไทม์เป็นพนักงานเสิร์ฟที่ร้านแมคซีกัล”ส ได้ค่าแรงชั่วโมงละ 28 ดอลลาร์ (ราว 994 บาท) ดังนั้น พอมีโอกาส เธอจึงได้ทำตามฝัน โดยทำงานสัปดาห์ละ 3 วัน แต่เธอกำลังขอเพิ่มวันทำงานให้มากขึ้นกว่านี้
“เพราะด้วยสถานภาพของฉัน และคนที่ฉันแต่งงานด้วย ฉันจึงตั้งใจทำงานอย่างมาก เพื่อต้องการแสดงให้ทุกคนเห็นว่า ฉันสามารถทำงานนี้ได้”
แอนเล่าว่า เธอไม่เคยบอกให้ใครรู้ว่าเธอเป็นใคร หรือแม้แต่เพื่อนร่วมงาน ยกเว้นแต่ว่าจะมีใครถาม แต่ถึงกระนั้น นีน่า สตอดดาร์ด ก็ว่า “แต่ฉันรู้ และนั่นก็คือเหตุผลว่า ทำไมฉันจึงจ้องมองเธอ เพราะฉันอดสงสัยไม่ได้ว่าเธอต้องมาทำงานเพื่อหาเงินจริงๆ หรือ?”
ขณะที่ ลอว์รี่ กรีน เพื่อนของนีน่า บอกว่า เธอรู้สึกชื่นชมแอน “ฉันเกลียดพวกนักการเมืองที่ร่ำรวย มีเงินทอง แต่พวกเขาไม่เคยรู้เลยว่า พวกชาวบ้านส่วนใหญ่เขาทำอะไรกัน เขาเป็นยังไงกัน”
สตรีทั้งสองยังบอกด้วยว่า แอนน่าจะลงสมัครชิงตำแหน่งผู้ว่าการรัฐเมน เพราะ “เธอคือคนเหมาะที่สุดที่จะเป็นตัวแทนของพวกเรา คนที่ยืนด้วยสองขาของตัวเอง และเท้าติดดิน”
เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม ทางการสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือยูเออี ประกาศเตือนพลเรือนของตนให้ระมัดระวังการแต่งกายด้วยชุดประจำชาติขณะเดินทางไปยังประเทศอื่นๆ นอกภูมิภาค ทั้งนี้คำประกาศดังกล่าวมีขึ้นเพียงไม่กี่วันหลังจากชายชาวยูเออีรายหนึ่งถูกควบคุมตัวในสหรัฐอเมริกาเพราะแต่งกายในชุดประจำชาติในโรงแรมที่รัฐโอไฮโอ ลูกจ้างของโรงแรมเกิดความหวาดกลัวว่านักธุรกิจชายชาวยูเออีรายนี้อาจประกาศความจงรักภักดีต่อกองกำลังรัฐอิสลาม หรือไอเอส หลังจากเห็นชายผู้นี้แต่งกายด้วยชุดประจำชาติของชาวอาหรับอยู่ภายในโรงแรมจึงแจ้งตำรวจให้มาจับกุมแถลงการณ์ของกระทรวงกิจการภายในของยูเออีได้ร้องขอให้คนในชาติใช้ความระมัดระวังในการแต่งกายเมื่ออยู่ในต่างแดน โดยชาวยูเออีควรจะหลีกเลี่ยงการแต่งชุดประจำชาติเพื่อความปลอดภัย อย่างไรก็ดีแถลงการณ์ดังกล่าวไม่ได้มีการอ้างถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่รัฐโอไฮโอแต่อย่างใด ภาพจากกล้องบอดี้แคมของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่อยู่ในเหตุการณ์ดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าตำรวจพร้อมอาวุธครบมือได้บุกประชิดตัวนายอาเหม็ด อัล-เมนฮาลี นักธุรกิจยูเออีรายนี้ที่ด้านนอกโรงแรม และบังคับให้นอนลงกับพื้นก่อนจะทำการค้นตัว โดยนายกเทศมนตรีและตำรวจเมืองเอวอนได้ขอโทษนายเมนฮาลีต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ระหว่างที่เขาพักรักษาตัวในรัฐโอไฮโอหลังเข้ารับการรักษาตัวเนื่องจากเกิดหัวใจวายเฉียบพลัน