วันที่ 28 ก.ย. น.ส.เมแกน ยัง ชาวอเมริกันเชื้อสายฟิลิปปินส์ วัย 23 ปี เป็นผู้ชนะเลิศคว้ามงกุฏ 'มิสเวิลด์ 2013' ไปครอง ในงานประกวดรอบสุดท้ายที่เมืองนูซา ดูอา บนเกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ขณะที่รองชนะเลิศอันดับ 1 และ 2 คือ มารีน เลอร์เฟอแลง จากฝรั่งเศส และ การ์รันซาร์ นา จากกานา ตามลำดับ น.ส.ยัง ผู้แทนประกวดจากประเทศฟิลิปปินส์ กล่าวแสดงความรู้สึกหลังได้รับตำแหน่งว่า เธอพูดไม่ออกเลย และอยากขอบคุณทุกคนที่โหวตเลือกเธอ เธอยังสัญญาด้วยว่าจะเป็นมิสเวิลด์ที่ดีที่สุดเท่าที่เคยมีมา ทั้งนี้ น.ส. ยัง เกิดที่สหรัฐอเมริกา และย้ายไปอยู่ประเทศฟิลิปปินส์ตอนอายุ 10 ปี ปัจจุบันเธอเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย ซึ่งเริ่มเป็นนักแสดงและพิธีกรรายการโทรทัศน์ตั้งแต่อายุ 15 ปี ส่วนความฝันของเธอคือการได้ทำงานเบื้องหลังในฐานะผู้กำกับ สำหรับ ตัวแทนสาวไทย "น้องนาตาลี" นส.กัญญาภัค โภคสมบูรณ์ มิสไทยแลด์เวิลด์ 2013 ที่เดินทางไปร่วมประกวดในปีนี้เป็นที่น่าเสียดายที่ไม่สามารถผ่านเข้ารอบ 10 คนสุดท้ายไปได้ อนึ่ง การประกวดมิสเวิลด์ 2013 มีผู้แทนจากแต่ละประเทศเข้าร่วมประกวด 127 คน จัดขึ้นที่เกาะบาหลีประเทศอินโดนีเซีย ส่วนการประกวดรอบสุดท้ายจะจัดขึ้นในกรุงจาการ์ตา อย่างไรก็ตาม การประกวดครั้งนี้ถูกต่อต้านอย่างหนักจากผู้เคร่งศาสนาอิสลามในอินโดนีเซีย ทำให้ต้องย้ายสถานที่จัดการประกวดรอบสุดท้ายไปที่เกาะบาหลีแทน และจัดขึ้นท่ามกลางการรักษาความปลอดภัยอย่างเข้มงวดของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
ช็อกโลก รัฐบาลกลางสหรัฐฯ shut down ครั้งแรกในรอบ 17 ปี หลัง เดโมแครต และ รีพับลิกัน เล่นการเมืองงัดข้อ ปม กฎหมายโอบามาแคร์ ส่งผลให้ ข้าราชการเกือบ 1 แสนงาน ต้องหยุดงาน เริ่ม 1 ต.ค. หลังจากสภาสูง หรือ วุฒิสภาสหรัฐฯ โหวตลงมติคัดค้านร่างกฎหมายงบประมาณชั่วคราวของสภาล่าง หรือ สภาผู้แทนราษฎร ที่จะให้มีการเลื่อนบังคับใช้กฎหมาย โอบามาแคร์ ซึ่งแต่เดิมจะเริ่มต้นบังคับใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 1 ต.ค. ออกไปอีก 1 ปี ด้วยคะแนนเสียง 54 ต่อ 46 ส่งผลให้หน่วยงานรัฐบาลบางส่วนเข้าการหยุดงานอัตโนมัติ (Government Shutdown) เนื่องจากรัฐบาลมะกันยังไม่สามารถหาข้อสรุปในการแจกจ่ายงบประมาณ ไปยังภาคส่วนต่าง ๆ ได้ ซึ่งจากภาวะดังกล่าวส่งผลให้ข้าราชการอย่างน้อย 800,000 คน ต้องหยุดงาน และไม่มีการรับรองว่าจะได้เงินย้อนหลังหรือไม่ รวมถึงสถานที่ราชการสำคัญของประเทศอย่างเช่น กระทรวง / อุยานแห่งชาติ / หน่วยงานรัฐบาลทั้งหมด หรือแม้แต่สถานที่ท่องเที่ยวอย่าง เทพีเสรีภาพ ก็ปิดทำการเช่นกัน ซึ่งนับว่าเป็นครั้งแรกในรอบ 17 ปีที่มีการปิดหน่วยงานของราชการของประเทศสหรัฐอเมริกา ด้านผู้นำสหรัฐฯ เผยกับสื่อมวลชนว่า ตนเองจะไม่ถอดใจกับเรื่องนี้ และ จะไม่ยอมให้ใครมายุติกฎหมาย โอบามาแคร์ได้ โดยก่อนหน้าที่หน่วยงานราชการปิดพร้อมกันอย่างเป็นทางการในเวลาเที่ยงคืนหนึ่งนาที (ตามเวลาของสหรัฐฯ) ทวิตเตอร์ของทำเนียบขาวได้โพสต์ภาพและบรรยายว่า นายโอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ทำการสั่งจ่ายค่าเบี้ยเลี้ยงให้แก่กองกำลังทหารของ สหรัฐฯ โดยติดแท็ก #GovernmentShutdown ไว้ด้วย
29 ก.ย. ว่า เกิดเหตุกลุ่มติดอาวุธโบโก ฮารามที่มีเป้าหมายสถาปนารัฐอิสลามสายเคร่งในไนจีเรีย บุกกราดยิงนักศึกษาในหอพักของวิทยาลัยเกษตรกรรมในเมืองกัจบา รัฐโยเบ ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ห่างจากกรุงดามาตูรูราว 30 กิโลเมตร ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 40 รายแต่คาดว่าจะมากถึง 50 ราย เหตุรุนแรงเกิดขึ้นช่วงเช้าวันอาทิตย์ ขณะที่นักศึกษาส่วนใหญ่หลับอยู่ โฆษกกองทัพกล่าวว่า นอกจากกราดยิงหอพัก กลุ่มติดอาวุธยังจุดไฟเผาห้องเรียนด้วย โดยขณะเกิดเหตุมีนักศึกษาแตกตื่นวิ่งหนีตายราว 1,000 คน รายงานระบุว่ารัฐดังกล่าวเกิดเหตุโจมตีสถาบันการศึกษามาแล้วหลายครั้ง โดยทั้งหมดเป็นฝีมือของกลุ่มโบโก ฮารามที่สู้รบกับทางการมาตั้งแต่ปี 2552 เหตุการณ์ครั้งหลังสุดเกิดขึ้นเมื่อเดือนก.ค. กลุ่มติดอาวุธปาระเบิดและกราดยิงหอพักที่เมืองมามูโดกลางดึก มีผู้เสียชีวิต 42 ราย ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษา นอกจากนี้กลุ่มดังกล่าวยังโจมตีโบสถ์ มัสยิด หนังสือพิมพ์ พรรคการเมืองและสำนักงานสหประชาชาติ มีผู้วิเคราะห์ว่าเป้าหมายส่วนใหญ่เป็นพลเรือนที่ป้องกันตัวเองไม่ได้ ด้านประธานาธิบดีกู๊ดลัก โจนาธาน สั่งกวาดล้างกลุ่มดังกล่าวอย่างจริงจังเมื่อกลางเดือนพ.ค. ที่ผ่านมา ทั้งนี้ เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นต่อจากที่กลุ่มติดอาวุธอัล-ชาบับจากโซมาเลีย บุกยึดห้างสรรพสินค้าในกรุงไนโรบีของเคนยาเมื่อสัปดาห์ก่อน และสังหารตัวประกัน 62 ราย แต่ยังมีผู้สูญหายอีกราว 63 คน โดยระบุว่าเพื่อแก้แค้นที่เคนยาส่งทหารไปช่วยโซมาเลียรบกับกบฏ ซึ่งสะท้อนวิถีทางของกลุ่มมุสลิมสายเคร่งที่ก่อเหตุรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ
วันที่ 28 ก.ย.ว่า เครื่องบินโดยสารพร้อมผู้โดยสาร 161 คน ต้องร่อนลงจอดฉุกเฉิน หลังจากนักบินล้มป่วยกะทันหัน ซึ่งเปิดเผยในเวลาต่อมาว่า เป็นโรคหัวใจล้มเหลว โดยเที่ยวบินของสายการบินยูไนเต็ด แอร์ไลน์ส จากเมืองฮูสตัน รัฐเทกซัส ไปยังซีแอตเทิล รัฐวอชิงตัน ต้องเปลี่ยนเส้นทางไปยังเมืองบอยเซ รัฐไอดาโฮ เมื่อเย็นวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ผู้โดยสารบนเครื่อง ซึ่งมีพยาบาลฝึกหัดอยู่ด้วย พยายามที่จะปฐมพยาบาลช่วยชีวิตเขาก่อนที่เครื่องบินจะร่อนลงจอดอย่างไรก็ตาม ที่สุดแล้ว นายเฮนรี สคิลเลิร์น นักบินวัย 63 ปี เสียชีวิตที่โรงพยาบาลในเวลาต่อมา ซึ่งเขาทำงานกับสายการบินนี้มานาน 26 ปีแล้ว เจ้าหน้าที่ของสายการบินได้วิทยุแจ้งหอควบคุมการบินของสนามบินบอยเซ เมื่อเวลา 19.55 น.ของวันพฤหัสบดีตามเวลาท้องถิ่น เพื่อรายงานขอแพทย์ฉุกเฉิน และเครื่องบินร่อนลงจอดที่สนามบินเมื่อเวลา 20.10 น. และเจ้าหน้าที่ดับเพลิงก็รีบนำนายสคิลเลิร์นเข้าโรงพยาบาลในท้องถิ่นทันที แต่นายสคิลเลิร์น ชาวรัฐเทกซัส ก็เสียชีวิตในเวลาต่อมาด้วยโรคหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน เจ้าหน้าที่ของสายการบิน กล่าวว่า ผู้โดยสาร 161 คนบนเครื่องบินโบอิ้ง 737 ดูเหมือนว่าจะรับมือกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี ผู้โดยสารวิตกกังวลกับชะตากรรมของนักบินรายนี้มาก แต่ทุกคนก็อยู่ในความสงบ อย่างไรก็ตาม นักบินที่เหลือและลูกเรือ ก็สามารถพาผู้โดยสารทั้งหมดถึงจุดหมายปลายทางนครซีแอตเทิลอย่างปลอดภัย
© 2011 - 2026 Thai LA Newspaper 1100 North Main St, Los Angeles, CA 90012