โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ แจง วิกฤติยูเครน-รัสเซีย ไทยสนับสนุนการแก้สถานการณ์อย่างสันติผ่านการหารือ ยืนยันความพร้อมของแผนอพยพคนไทย กำลังหาทุกวิถีทางช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน
วันที่ 25 ก.พ. 2565 นายธานี แสงรัตน์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศและอธิบดีกรมสารนิเทศ เปิดเผยเกี่ยวกับสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างยูเครนและรัสเซีย ว่า กระทรวงการต่างประเทศได้ออกแถลงการณ์เมื่อช่วงเช้าของวันที่ 24 ก.พ. 2565 ว่า ไทยได้ติดตามพัฒนาการในยูเครน โดยเฉพาะการทวีความตึงเครียดในยุโรปด้วยความห่วงกังวลอย่างยิ่ง ไทยสนับสนุนความพยายามที่ยังคงดำเนินอยู่ เพื่อแสวงหาการแก้ไขสถานการณ์อย่างสันติผ่านการหารือ รวมทั้งยืนยันความพร้อมของแผนอพยพคนไทย
โดยล่าสุด สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอร์ซอ ซึ่งมีเขตอาณาดูแลยูเครน ได้ตั้ง “ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือคนไทยในยูเครน (เมืองลวิฟ)” (โรงแรม Tsisar ที่อยู่ Horodotska St, 65, Lviv, Lviv Oblast, Ukraine, 79000) โดยจะมีเจ้าหน้าที่ของสถานเอกอัครราชทูตฯ ไปประจำ เพื่อใช้เป็นที่พักชั่วคราวของคนไทยในยูเครนที่จะเดินทางออกมาจากเมืองต่างๆ ที่เสี่ยงต่อความปลอดภัย และเป็นศูนย์ประสานงานกับฝ่ายยูเครนในการช่วยเหลือคนไทย
นายธานี กล่าวว่า เมืองลวิฟ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของยูเครน และห่างจากกรุงวอร์ซอประมาณ 400 กม. ซึ่งใช้เวลาเดินทางโดยรถ 6-7 ชั่วโมง จะเป็นฐานในการรวบรวมคนไทยเพื่อเดินทางกลับไทยโดยเครื่องบินเช่าเหมาลำหรือเครื่องบินที่รัฐบาลไทยจัดหา โดยอาจเป็นการเดินทางออกจากเมืองลวิฟ หรือออกจากโปแลนด์ ขึ้นกับสถานการณ์ความปลอดภัยในยูเครน ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศต้องหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิดผ่านศูนย์ประสานงานฉุกเฉิน ซึ่งมีรองปลัดกระทรวงการต่างประเทศเป็นประธาน
ซึ่งขณะนี้ มีคนไทยจำนวน 236 คน จากจำนวน 253 คนในยูเครน แจ้งความประสงค์ไปรวมตัวที่เมืองลวิฟ อุปสรรคสำคัญในการช่วยเหลือคือการจัดหารถเช่าเพื่อรับคนไทยจากพื้นที่ต่างๆ มายังเมืองลวิฟ เนื่องจากน่านฟ้าปิดและเริ่มมีการปิดถนนข้ามเมืองบางสาย และระงับการเดินทางโดยระบบขนส่งสาธารณะ คือทางเครื่องบิน รถไฟ อีกทั้งบริษัทรถเช่าทั้งในยูเครนและโปแลนด์ปิดให้บริการ ซึ่งสถานเอกอัครราชทูตฯ อยู่ระหว่างดำเนินการทุกวิถีทางเพื่อจัดหารถดังกล่าว และได้ติดต่อนายจ้างในเมืองต่างๆ อย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินสถานการณ์และพัฒนาการความปลอดภัยในแต่ละพื้นที่
นายธานี กล่าวต่อว่า สถานเอกอัครราชทูต จะจัดรถไปรับคนไทยในเมืองหลักต่างๆ โดยทันทีเมื่อสถานการณ์อำนวย และในระหว่างนี้ ได้ขอความร่วมมือนายจ้างดูแลความปลอดภัยและความเป็นอยู่ของลูกจ้างคนไทยอย่างเต็มที่ เช่น เตรียมอาหาร สิ่งของจำเป็น เตรียมเอกสารเดินทาง
อย่างไรก็ตาม ขอย้ำช่องทางการประสานงานเพื่อแจ้งข่าวสารและดูแลความปลอดภัยของคนไทยในยูเครน ดังนี้ ผ่านทางเฟซบุ๊กสถานเอกอัครราชทูตฯ “Royal Thai Embassy, Warsaw, Poland” และเฟชบุ๊ก “กลุ่มคนไทยในประเทศยูเครน” กลุ่มไลน์ ระหว่างสถานเอกอัครราชทูตฯ กับชุมชนไทยในยูเครน กลุ่ม Telegram ระหว่างสถานเอกอัครราชทูตฯ กับเจ้าของร้านสปาไทยชาวยูเครน เพื่อการประสานงานกันอย่างทันท่วงทีกรณีมีเหตุการณ์ฉุกเฉินด้วย ตลอดจนหมายเลข Hotline + 48 696 642 348 สามารถติดต่อได้ 24 ชั่วโมง และ
อีเมล thaiconsularwarsaw@thaiemb
สี จิ้นผิง คุยผู้นำรัสเซียเรื่องสถานการณ์ในยูเครน เรียกร้องให้ทั้งสองฝ่ายแก้ปัญหาด้วยการเจรจา และให้มอสโกละทิ้งแนวคิดสงครามเย็น ฝ่ายปูตินยืนยันพร้อมคุย
สำนักข่าว แชนแนลนิวส์เอเชีย รายงานว่า ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง แห่งประเทศจีน โทรศัพท์พูดคุยกับ วลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย เรื่องวิกฤติยูเครนในวันศุกร์ที่ 25 ก.พ. 2565 โดยสนับสนุนให้ทั้งสองฝ่ายแก้ปัญหาด้วยการเจรจา หลังจากมอสโกตัดสินใจส่งทหารเข้าโจมตีประเทศเพื่อนบ้านแห่งนี้จากทุกทิศทางเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา
สถานีโทรทัศน์ ซีซีทีวี ของจีนเผยแพร่เนื้อหาการสนทนาระหว่างผู้นำจีนกับรัสเซีย โดยนายสีชี้ว่า สถานการณ์ในภาคตะวันออกของยูเครนได้เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว และจีนสนับสนุนให้รัสเซียกับยูเครนแก้ปัญหาผ่านการเจรจา และว่า “เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องละทิ้งความคิดยุคสงครามเย็น ให้ความสำคัญและเคารพในปัญหาความมั่นคงอย่างสมเหตุสมผลของทุกประเทศ และสร้างกลไกความมั่นคงในยุโรปที่สมดุล, มีประสิทธิภาพ และยั่งยืน ผ่านการเจรจา”
ขณะฝ่ายปูตินบอกเหตุผลที่รัสเซียตัดสินใจใช้ ‘ปฏิบัติการพิเศษทางทหาร’ กับยูเครนให้นายสีฟัง โดยเป็นเพราะ นาโตกับสหรัฐฯ เพิกเฉยต่อความกังวลด้านความมั่นคงที่สมเหตุสมผลของรัสเซียมาอย่างยาวนาน อย่างไรก็ตาม เขาย้ำว่า รัสเซียพร้อมจะจัดการพูดคุยระดับสูงกับยูเครน
ด้านนายสียืนยันว่า จีนยินดีที่จะทำงานร่วมกับทุกฝ่ายในประชาคมนานาชาติ เพื่อสนับสนุนแนวคิดด้านความมั่นคงที่ เป็นสามัญ, ครอบคลุม, ร่วมกัน และยั่งยืน และปกป้องระบบระหว่างประเทศอย่างมั่นคงโดยมีสหประชาชาติเป็นแกนกลาง
“พวกเราถูกทอดทิ้งให้ปกป้องประเทศของเราเพียงลำพัง มีใครบ้างที่พร้อมจะต่อสู้เคียงข้างพวกเรา ? แต่ผมมองไม่เห็นใครเลย ใครพร้อมจะให้การรับประกันว่ายูเครนจะได้เป็นสมาชิกนาโต ? ตอนนี้ทุกคนกลัวหมด”
นี่คือ คำพูดของประธานาธิบดีโวโลดิเมียร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน ที่กล่าวออกมาด้วยความสะเทือนใจ ในวันที่ประเทศชาติและประชาชนยูเครนต้องเผชิญหน้ากับความเหี้ยมโหดของสงคราม ถูกรัสเซียเปิดฉากบุกแบบเต็มรูปแบบ โจมตีจากทุกทิศทาง ไม่นานหลังจากประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน แห่งรัสเซียประกาศกร้าวใช้ปฏิบัติการพิเศษทางทหารในยูเครน เมื่อ 24 ก.พ. ที่ผ่านมา
ประธานาธิบดีเซเลนสกี ออกมาพูดถึงเรื่องนี้ระหว่างแถลงข่าวในตอนค่ำ ของวันแรกที่รัสเซียเปิดฉากกโจมตีอย่างหนักหน่วง เป็นเหตุให้มีพลเรือนและทหารยูเครน สังเวยชีวิตแล้วอย่างน้อย 137 ศพ
คำถามตามมา คือ ทำไมไม่มีชาติตะวันตกชาติไหน โดยเฉพาะหรือองค์กรสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต) รวมทั้งชาติมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกา กล้าเข้ามาช่วยยูเครนกันอย่างทันที เพียงแต่ใช้มาตรการคว่ำบาตรที่รุนแรงขึ้นมาลงโทษรัสเซียเท่านั้น ?
ในขณะที่ รัฐบาลประธานาธิบดีเซเลนสกีของยูเครน ก็แสดงท่าทีชัดเจนอยากจะเข้าร่วมเป็นสมาชิกนาโต จนเป็นประเด็นสำคัญที่ทำให้ประธานาธิบดีปูตินยกมาเป็นหนึ่งในเหตุผลที่บุกยูเครน
ยูเครน ยังไม่ได้เป็นสมาชิกของนาโต
'เยนส์ สโตลเทนเบิร์ก' เลขาธิการนาโต เรียกการบุกยูเครนของรัสเซียว่า เป็นการทำ 'สงครามที่โหดร้าย' พร้อมกับยืนยันเมื่อวันพฤหัสฯ ที่ผ่านมาว่า 'พันธมิตรของนาโตจะได้รับการปกป้องดินแดนทุกตารางนิ้วหากรัสเซียโจมตีชาติสมาชิกของนาโต'
'พวกเรายังไม่มีแผนใดๆ ที่จะส่งกำลังทหารนาโตเข้าไปในยูเครน พวกเรามีการเพิ่มกำลังทหารและส่งกำลังทหารของนาโตเข้าไปในบริเวณภาคตะวันออกของชาติพันธมิตร' เลขาธิการนาโตกล่าวเมื่อวันพฤหัสฯ ที่ 24 ก.พ. ที่ผ่านมา
ไบเดน ยันยังไม่ส่งทหารสหรัฐฯ เข้าไปในยูเครน
ด้านประธานาธิบดีโจ ไบเดนแห่งสหรัฐฯ แสดงท่าทีเช่นกันว่า สหรัฐฯ จะไม่ส่งกองกำลังใดๆ เข้าไปในยูเครน โดยประธานาธิบดีไบเดน บอกว่า ขณะนี้ สหรัฐฯ มีทหารประมาณ 90,000 นายประจำการในยุโรป ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ที่ฐานทัพในเยอรมนี และสหรัฐฯ จะส่งทหารเพิ่มเติมอีก 7,000 นายไปยังเยอรมนีในสัปดาห์นี้
'ถ้าประธานาธิบดีปูตินเคลื่อนไหวทางทหารเข้ามาในชาติสมาชิกนาโตแล้วละก็ พวกเราจะเข้าไปเกี่ยวข้องในการสู้รบ' ประธานาธิบดีไบเดนบอกจุดยืนของสหรัฐฯ ในสงครามที่ยูเครน (ที่มา : Time, Dailymail)
ชาวยูเครนในเมืองใหญ่ทั่วโลกลุกฮือ ประท้วงเรียกร้องปูตินยุติการโจมตี
สืบเนื่องจากเหตุการณ์รัสเซียเดินหน้าโจมตียูเครน ส่งผลให้มีชาวยูเครนเสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 57 ศพ และบาดเจ็บอีกกว่า 160 ราย ประชาชนในเมืองใหญ่ทั่วโลกได้ลุกขึ้นมาประท้วงเพื่อต่อต้านการทำสงคราม โดยผู้ประท้วงชาวยูเครนหลายร้อยคนได้รวมตัวกันบนถนนดาวนิง ในกรุงลอนดอน ซึ่งเป็นที่ทำงานและเป็นบ้านพักของนายบอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ เพื่อเรียกร้องให้สหราชอาณาจักรและองค์กรต่างๆ ยับยั้งการโจมตียูเครนของรัสเซีย
ส่วนในสหรัฐอเมริกามีผู้ประท้วงชาวยูเครนรวมตัวกันในหลายเมือง หนึ่งในนั้นคือนครนิวยอร์ก โดยกลุ่มผู้ประท้วงได้โบกธงยูเครนบริเวณด้านหน้าที่ทำการรัฐบาลรัสเซีย พร้อมทั้งเรียกร้องให้ นายวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย ยุติการโจมตียูเครน นอกจากนี้ยังมีชาวยูเครนเดินประท้วงในหลายเมืองใหญ่ทั่วโลก เช่น กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และกรุงลิสบอน ประเทศโปรตุเกส โดยผู้ประท้วงมีเป้าหมายเดียวกันคือเรียกร้องให้รัสเซียยุติการรุกรานยูเครน
ด้านประธานาธิบดีโวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ของยูเครน ระบุว่า ถึงแม้ว่ารัสเซีย จะอ้างว่าพุ่งเป้าโจมตีกองทัพยูเครน แต่กลับพบว่าอาคารของพลเรือนถูกโจมตีได้รับความเสียหาย ล่าสุดพบผู้เสียชีวิตเป็นทหารและประชาชนรวมแล้วอย่างน้อย 137 ศพ และบาดเจ็บอีกกว่าร้อยราย
ที่มา: Aljazeera
สรุปสถานการณ์รัสเซียบุกยูเครน วันที่ 2 'ปะทะเดือด รถถังจ่อยึดกรุงเคียฟ'
กองทัพรัสเซียเคลื่อนรถถังและกำลังทหารใกล้ถึงกรุงเคียฟ เมืองหลวงของยูเครน เข้ามาทุกขณะ ปะทะกับกำลังทหารยูเครนที่ถูกส่งมาประจำการบนทางหลวงและถนนสายต่างๆ ที่มุ่งหน้าสู่กรุงเคียฟ เพื่อพยายามขัดขวางทหารรัสเซียไม่ให้เข้าสู่เมืองหลวง จนเกิดการปะทะกันอย่างดุเดือด เสียงระเบิดดังสนั่นหวั่นไหว
• รัสเซียประกาศจะไม่มีการเจรจากับรัฐบาลยูเครน จนกว่าปฏิบัติการทางทหารจะเสร็จสิ้น ภายหลังประธานาธิบดีโวโลดิเมียร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน เรียกร้องให้รัสเซียยอมนั่งโต๊ะเจรจาเพื่อยุติการโจมตี
• ทางการยูเครน เผยว่า กองทัพรัสเซียได้ยิงขีปนปาวุธและจรวดโจมตี พื้นที่พลเรือน 33 แห่งในกรุงเคียฟ ช่วง 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ทำให้มีเด็กสองรายเสียชีวิต เมื่อช่วงคืนวันที่ 24 ก.พ. 65
• รัฐบาลยูเครนออกคำสั่งห้ามชายชาวยูเครน อายุ 18-60 ปี เดินทางออกนอกประเทศ ตามกฎอัยการศึก เพื่อเตรียมสรรพกำลังทหารในยามเกิดสงคราม
• ประธานาธิบดีเซเลนสกีอนุญาตให้คนทุกคน ทุกวัยเข้าร่วมในกองทัพ พร้อมกับเรียกร้องให้ชาติในยุโรปมาร่วมต่อสู้กับรัสเซีย
• รัสเซียกำลังส่งทหารพลร่มมาลงที่เมืองเชอร์โนบิล หลังบุกยึดโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลได้เมื่อ 24 ก.พ.
• ยูเครนรายงานระดับกัมมันตรังสีที่โรงงานไฟฟ้าเชอร์โนบิล ผิดปกติ วิตกเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์อาจได้รับความเสียหายจากการสู้รบ ทว่าฝ่ายรัสเซียบอกว่ายังคงอยู่ในระดับปกติ
• รัสเซียอ้างว่าได้โจมตีทำลายฐานที่มั่นทางทหารยูเครนได้แล้ว 118 แห่ง ในช่วง 30 ชั่วโมงของการบุกยูเครน
ที่มา : Dailymail
เอเอฟพี รายงานวันที่ 25 ก.พ. ว่า เยาวชนและกลุ่มผู้ชุมนุมมากกว่า 1,100 คนรวมตัวเดินขบวนประท้วงบนถนนทางหลวงในกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ เนื่องในวันครบรอบ 36 ปีเหตุการณ์มวลชนลุกฮือโค่นล้ม อดีตประธานาธิบดีเฟอร์ดินันด์ มาร์กอส ผู้นำเผด็จการที่รวบอำนาจและเป็นหนึ่งในนักการเมืองที่คอร์รัปชันมากที่สุดในโลก เมื่อปี 2529
ท่ามกลางกระแสต่อต้านนายเฟอร์ดินันด์ บงบง มาร์กอส จูเนียร์ ลูกชายอดีตประธานาธิบดีมาร์กอส ซึ่งจับคู่กับนางซารา ดูแตร์เต ลูกสาวของประธานาธิบดีโรดริโก ดูแตร์เต ผู้นำฟิลิปปินส์คนปัจจุบัน ลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ในศึกเลือกตั้งซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 9 พ.ค.นี้
ผู้ประท้วงพร้อมใจตะโกนว่า “เอาของที่ปล้นไปคืนมาซะ ไม่ใช่โจร” อีกหลายคนถือป้ายข้อความว่า “ไม่เอามาร์กอส-ดูแตร์เต 2022” น.ส.แจนเดล โรเปรอส หนึ่งในผู้ประท้วง ให้สัมภาษณ์ว่า “เราไม่อยากให้มีเหตุการณ์ซ้ำรอย เพราะพวกมาร์กอสถูกพิสูจน์แล้วว่าทุจริต”
ขณะที่สภาบิชอปโรมันคาทอลิกแห่งฟิลิปปินส์ระบุในแถลงการณ์ว่าเป็นหน้าที่ของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่จะปฏิเสธการปฏิรูปประวัติศาสตร์ด้วยการพยายามลบล้างสิ่งที่อดีตประธานาธิบดีมาร์กอสเคยทำ
บิชอปพาโบล เดวิด กล่าวว่า ประชาชนแสดงจุดยืนชัดเจนว่าไม่ต้องการให้มียุคมืดของกฎอัยการศึกเกิดขึ้นอีกครั้ง พร้อมย้ำว่าคณะบิชอปฟิลิปปินส์ไม่ได้ชี้นำการตัดสินใจของประชาชน แต่เป็นหน้าที่ของชาววคาทอลิกที่จะใช้คะแนนเสียงเพื่อให้เกิดผลดี
25 ก.พ.2565 - เวลา17.35น. นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสว. ที่ทำหน้าที่ประธานการประชุม แจ้งต่อที่ประชุม เมื่อการอภิปรายเป็นที่ยุติแล้ว จากนี้เป็นในส่วนของ ผู้นำเสนอร่างพรป.ว่าด้วยพรรคการเมือง ทั้ง 6 ฉบับ ประกอบด้วย 1. ร่างของคณะรัฐมนตรี 2.ร่างของพ.ต.อ. ทวี สอดส่อง เลขาธิการพรรคประชาชาติกับคณะ 3.ร่างของนายชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทยกับคณะ 4.ร่างของนายวิเชียร ชวลิต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐกับคณะ 5.ร่างของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลกับคณะ 6. ร่างของนายอนันต์ ผลอำนวย ส.ส.กำแพงเพชร พรรคพลังประชารัฐกับคณะได้อภิปรายสรุปอีกครั้ง โดยการสรุปของผู้นำเสนอร่างจากพรรคฝ่ายค้าน ยังคงพยายามโน้มน้าวชี้ให้เห็นถึงข้อบกพร่องต่างๆ อันไม่สอดคล้องกับหลักประชาธิปไตย มุ่งหวังทำลายนักการเมือง พรรคการเมืองจนเกินไป แต่ก็ร้องขอให้สมาชิกรัฐสภาร่วมโหวตรับหลักการในวาระที่ 1
เวลา19.20น. ต่อมานายชวน หลีกภัย ประธานสภา ได้เข้ามาทำหน้าที่ประธานการประชุม ได้สอบถามที่ประชุม เห็นควรลงมติ ร่างของพรป.ที่มีเนื้อหาคล้ายกันรวมกัน หรือจะให้แยกเป็นรายฉบับ ผลปรากฏให้แยกกันลงมติ จากนั้นแจ้งถึงขั้นตอนการลงมติร่างพรป.ว่าด้วยพรรคการเมืองทั้ง 6 ฉบับ
ผลปรากฏว่า (1.) ร่างของคณะรัฐมนตรี เห็นด้วย 598 ไม่เห็นด้วย 11 งดออกเสียง14 (2.)ร่างของพ.ต.อ. ทวี สอดส่อง เลขาธิการพรรคประชาชาติกับคณะ เห็นด้วย 207 ไม่เห็นด้วย 375 งดออกเสียง 37 (3.)ร่างของนายชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทยกับคณะ เห็นด้วย 221 ไม่เห็นด้วย 371 งดออกเสียง 30 ไม่ลงคะแนนเสียง 1 (4.)ร่างของนายวิเชียร ชวลิต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐกับคณะ มีผู้เห็นด้วย 578 ไม่เห็นด้วย 19 งดออกเสียง 26 (5.)ร่างของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลกับคณะ มีผู้เห็นด้วย 204 ไม่เห็นด้วย 381 งดออกเสียง 34 ไม่ลงคะแนน 1 (6.) ร่างของนายอนันต์ ผลอำนวย ส.ส.กำแพงเพชร พรรคพลังประชารัฐกับคณะ มีผู้เห็นด้วย 408 ไม่เห็นด้วย 184 งดออกเสียง 28 ไม่ลงคะแนน 1
นายอรรถกร ศิริลัทธยากร ส.ส.บัญขีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ กล่าวว่า ขอให้ใช้กรรมาธิการวิสามัญฯ พิจารณาร่างพรป.ว่าด้วยพรรคการเมือง ชุดเดียวกันกับ ร่างพรป.ว่าด้วยการเลือกตั้งส.ส. และใช้เวลาแปรญัตติ 15 วัน
อย่างไรก็ดี แม้ส.ส.พลังประชารัฐ จะเสนอให้ใช้ร่างของนายวิเชียร ชวลิต หรือร่างจากพรรคร่วมรัฐบาล เป็นหลัก แต่ฝ่ายสว.คัดค้านว่า ควรใช้ร่างของคณะรัฐมนตรีเป็นหลัก ทำให้ต้องมีโหวตว่า จะใช้ฉบับไหนเป็นหลัก ปรากฏว่าเสียงส่วนใหญ่ ให้ใช้ฉบับของนายวิเชียร ซึ่งเป็นร่างจากพรรคร่วมรัฐบาล ในการพิจารณาในชั้นแปรญัตติเป็นหลัก
ต่อมา เลขาธิการสภาฯ อ่านพระบรมราชโองการปิดประชุมรัฐสภาฯ ในสมัยประชุมสามัญประจำปีครั้งที่ 2/2564 จากนั้นนายชวน สั่งปิดการประชุม ในเวลา 19.53 น.