ข่าว
แคลิฟอร์เนียเละ น้ำท่วมหนัก พายุจ่อถล่มอีกระลอก

6 มกราคม 2566: เฝ้าระวังน้ำท่วมเพิ่มเติมในพื้นที่แคลิฟอร์เนีย หลังบอมบ์ไซโคลนทำฝนตกอย่างหนัก พยากรณ์อากาศเตือนจะมีพายุใหญ่อีกระลอกเข้ามาซ้ำ

เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันศุกร์ที่ 6 มกราคม 2566 กล่าวว่า พื้นที่ทางตอนกลางและทางตอนเหนือของรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ถูกปริมาณน้ำโอบล้อมในชั่วข้ามคืน หลังจากพายุบอมบ์ไซโคลนซึ่งได้รับ แรงหนุนจากมหาสมุทรที่มีความชื้น ปล่อยฝนตกหนักลงท่วมพื้นดินในวงกว้าง ปริมาณน้ำฝนที่มากกว่าปกติส่งผลให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่อยู่อาศัยอย่างรวดเร็ว ขณะที่ลมกระโชกแรง ทำให้สายไฟฟ้าขาดและไฟฟ้าดับไปหลายหมื่นหลังคาเรือน

มีรายงานผู้เสียชีวิตเบื้องต้นอย่างน้อย 2 ราย จากเหตุต้นไม้ล้มทับบ้านเคลื่อนที่พายุไซโคลนดังกล่าวเกิดขึ้นหลังแคลิฟอร์เนียเพิ่งเผชิญฝนตกหนักในวันส่งท้ายปีเก่า จนพื้นดินยังคงชุ่มน้ำ ก่อนเจอฝนระลอกใหม่่ซ้ำเติม

สำนักงานอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติสหรัฐฯ ระบุว่า ช่วง 10 วันที่ผ่านมา เป็นช่วงที่ฝนตกหนักที่สุดของเมืองซานฟรานซิสโกในรอบ 150 ปี โดยมีปริมาณน้ำฝนในเมืองสูงกว่า 10 นิ้ว (25 เซนติเมตร)

“คำเตือนอันตรายจากพายุยังคงมีผลบังคับใช้ทั่วทั้งเซียร์รา เนวาดา และต้องเฝ้าระวังน้ำท่วมทั้ง บริเวณภาคกลางและชายฝั่งของรัฐแคลิฟอร์เนียจนถึงช่วงต้นวันศุกร์” สำนักงานฯ กล่าว พร้อมเสริมว่า ความชื้นในมหาสมุทรยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องและอาจนำพาพายุฉับพลันลูกใหม่เข้ามา โดยคาดว่าจะเข้าสู่แคลิฟอร์เนียทางตอนเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐโอเรกอนในวันศุกร์ ทั้งนี้ ปริมาณน้ำฝนอาจก่ออันตรายและนำไป สู่เหตุการณ์น้ำท่วมฉับพลันกระจายไปทั่วแนวชายฝั่งทางตอนเหนือของรัฐแคลิฟอร์เนีย

นักอุตุนิยมวิทยากล่าวว่า มีแนวโน้มสูงที่จะมีพายุลูกใหม่หลายลูกในช่วง 2-3 สัปดาห์ข้างหน้า ไปจนสิ้นเดือนมกราคม

ยื่นพระราชสาส์น

เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2565 เอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ธานี แสงรัตน์ ได้ยื่นพระราชสาส์นตราตั้งต่อ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา โจเซฟ ไบเดน ที่ทำเนียบประธานาธิบดี กรุงวอชิงตัน ตามที่ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มประจำสหรัฐอเมริกา ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่น ประทับใจยิ่ง


สหรัฐฯ อนุมัติ “วัคซีนสำหรับผึ้ง” ครั้งแรกในโลก ป้องกันโรคหนอนเน่า

สหรัฐฯ อนุมัติใช้วัคซีนสำหรับผึ้งชนิดแรกของโลก ที่ได้รับการพัฒนาเพื่อป้องกันการตายจากโรคหนอนเน่าอเมริกัน (American Foulbrood) ซึ่งเป็นสภาวะของแบคทีเรียที่ทำให้อาณานิคมอ่อนแอลงโดยการโจมตีตัวอ่อนของผึ้ง

ตามการระบุของบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพที่อยู่เบื้องหลังการพัฒนาวัคซีนดังกล่าว ระบุว่า กระทรวงเกษตร ของสหรัฐฯ (USDA) อนุมัติใบอนุญาตแบบมีเงื่อนไขสำหรับวัคซีนในสัปดาห์นี้

ทั้งนี้ ในฐานะผู้ผสมเกสร ผึ้งมีบทบาทสำคัญในหลายแง่มุมของระบบนิเวศ โดย แอนเนตต์ ไคลเซอร์ ซีอีโอ ของดาลัน แอนิมอล เฮลธ์ กล่าวในแถลงการณ์ว่า วัคซีนสามารถทำหน้าที่เป็น “ความก้าวหน้าในการปกป้องผึ้ง” โดยวัคซีนดังกล่าวทำงานโดยการนำแบคทีเรียที่ไม่ได้ใช้งานเข้าไปในนมผึ้งที่ป้อนให้กับราชินี ซึ่งตัวอ่อนของมันจะได้รับภูมิคุ้มกัน

ตามข้อมูลของ USDA สหรัฐฯ มีจำนวนอาณานิคมผึ้งลดลงอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2549 USDA กล่าวว่า ปัจจัยหลายอย่างที่ทับซ้อนกันคุกคามสุขภาพของผึ้ง รวมถึงปรสิต แมลงศัตรูพืช และโรค ตลอดจนปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “ปรากฏการณ์รังผึ้งล่มสลา”" (Colony Collapse Disorder) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อผึ้งงานละทิ้งรังและทิ้งนางพญาไว้เบื้องหลัง

ข้อมูลจากองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ ชี้ว่า แมลงผสมเกสร เช่น ผึ้ง นก และค้างคาว มีส่วนรับผิดชอบต่อผลผลิตพืชประมาณหนึ่งในสามของโลก โรคหนอนเน่าอเมริกันสร้างความท้าทายให้กับผู้เลี้ยงผึ้ง เนื่องจากเป็นโรคที่ติดต่อได้สูง และไม่มีทางรักษาได้ วิธีการรักษาเพียงอย่างเดียวคือต้องเผาฝูงผึ้งที่ติดเชื้อพร้อมกับรังผึ้งและอุปกรณ์ และรักษารังผึ้งใกล้เคียงด้วยยาปฏิชีวนะ

ตามรายงานของดาลัน แอนิมอล เฮลธ์ วัคซีนใหม่ประกอบด้วยแบคทีเรียซึ่งเป็นสาเหตุของโรคหนอนเน่าอเมริกันที่ “ทำงานไม่ได้” และตัวอ่อนของแบคทีเรียพานิบาซิลลัส

จากข้อมูลของบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งเชี่ยวชาญด้านสุขภาพแมลงและภูมิคุ้มกันวิทยา ระบุว่า แบคทีเรียดังกล่าวรวมอยู่ในอาหารของรอยัลเยลลีที่ผึ้งงานป้อนให้กับนางพญาผึ้ง เมื่อมันกินอาหาร มันจะเก็บวัคซีนบางส่วนไว้ในรังไข่ ซึ่งทำให้ตัวอ่อนผึ้งมีภูมิต้านทานต่อโรคในขณะที่พวกมันฟักเป็นตัว และลดการเสียชีวิตจากโรค

ดาลัน แอนิมอล เฮลธ์ วางแผนที่จะแจกจ่ายวัคซีน “ในวงจำกัด” ให้กับผู้เลี้ยงผึ้งเชิงพาณิชย์ และกล่าวว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวน่าจะพร้อมจำหน่ายในสหรัฐฯ ในปีนี้


นานสุดรอบ 164 ปี – ลุงแซม โหวต 3 วัน 11 รอบ แต่ยังหาประธานสภาฯ” ไม่ได้

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า รัฐสภาสหรัฐฯ หรือสภาคองเกรส ยังไม่สามารถหาประธานสภาผู้แทนราษฎรได้ แม้ผ่านพ้นการลงคะแนนเลือก หรือโหวตมา 11 รอบ เป็นเวลา 3 วันติดต่อกันแล้วก็ตาม ซึ่งถือเป็นระยะเวลาโหวตหาประธานสภาฯ ที่ยาวนานที่สุดในรอบ 164 ปี หรือตั้งแต่ปี 1860 (พ.ศ. 2403) เป็นต้นมา

รายงานข่าวแจ้งว่า การลงคะแนนเลือกในวันที่ 3 เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ตามเวลาในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เมืองหลวงของสหรัฐฯ ได้เปิดโอกาสให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส. โหวตถึง 5 รอบ แต่ปรากฏว่า นายเควิด แมคคาร์ธี ส.ส.พรรครีพับลิกัน รัฐแคลิฟอร์เนีย ที่ทางพรรครีพับลิกัน เสนอชื่อให้ขึ้นมารับเลือกดำรงตำแหน่งประธานสภาฯ สืบต่อจากนางแนนซี เปโลซี จากพรรคเดโมแครตนั้น ได้รับคะแนนโหวตไม่ถึงเกณฑ์ คือ ไม่น้อยกว่า 218 เสียง จากจำนวน ส.ส. ทั้งหมด 435 เสียง ส่งผลให้นายแมคคาร์ธี พ่ายแพ้การโหวตเป็นรอบที่ 11 ในการลงคะแนนเลือกตลอดช่วง 3 วันที่ผ่านมา

ทั้งนี้ มีรายงานว่า นายแมคคาร์ธี ได้รับคะแนนเสียงจากการโหวตตลอดช่วงหลายรอบที่ผ่านมาเพียง 200 – 201 เสียงเท่านั้น เนื่องจากถูกต่อต้านโดยกลุ่ม ส.ส.สายอนุรักษ์นิยมของพรรครีพับลิกัน

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานเมื่อวันที่ 6 มกราคม ว่า การลงมติในที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐเพื่อเลือกนายเควิน แมคคาร์ธี ส.ส.จากพรรครีพับลิกัน เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎร ยังคงไม่ประสบความสำเร็จ แม้จะผ่านการลงคะแนนเป็นรอบที่ 11 เมื่อวันที่ 5 มกราคม และแมคคาร์ธีเสนอที่จะจำกัดอิทธิพลของตนก็ตาม

สถานการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น เนื่องจากสมาชิกพรรครีพับลิกันฝ่ายขวายังคงคัดค้านที่จะสนับสนุนแมคคาร์ธี จากความไม่มั่นใจว่าเขาจะต่อสู้เพื่อการตัดลดงบประมาณและข้อจำกัดอื่นๆ เพื่อควบคุมการบริหารของประธานาธิบดีโจ ไบเดน และวุฒิสภาที่พรรคเดโมแครตคุมเสียงข้างมากอยู่ จนทำให้แมคคาร์ธีไม่สามารถคว้าเสียงสนับสนุนครบ 218 เสียงซึ่งจำเป็นต่อการขึ้นดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ

การที่สภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ต้องปิดสมัยประชุมเป็นครั้งที่ 3 สัปดาห์นี้ โดยไม่สามารถเลือกผู้นำได้ทำให้ถูกมองว่าไร้สมรรถภาพ และเกิดการตั้งคำถามต่อความสามารถในการใช้อำนาจของพรรครีพับลิกัน อีกทั้งยังทำให้สภาตกอยู่ในสภาพที่ผิดปกติอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนนับตั้งแต่ยุคก่อนสงครามกลางเมือง โดยจะมีการประชุมกันอีกครั้งในบ่ายวันที่ 6 มกราคม

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า สภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐฯ หรือสภาคองเกรส ยังคงปั่นป่วนและยังเผชิญหน้ากับภาวะทางตัน เนื่องจากพรรครีพับลิกัน ซึ่งครองเสียงข้างมากในการเลือกตั้งกลางสมัย หรือกลางเทอม เมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ว่า จะแต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส. คนใด เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรคนใหม่ ต่อจากนางแนนซี เปโลซี ผู้กลายเป็นอดีตประธานสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐฯ แห่งพรรคเดโมแครต ที่พ้นจากตำแหน่งไป

รายงานข่าวแจ้งว่า พรรครีพับลิกัน ได้เสนอชื่อนายเควิน แมคคาร์ธี ส.ส. รัฐแคลิฟอร์เนีย แต่ปรากฏว่า นายแมคคาร์ธี วัย 57 ปี พ่ายแพ้ในการลงคะแนนเป็นรอบที่ 6 ติดต่อกัน เนื่องจากสมาชิกพรรครีพับลิกัน ที่เป็นฝ่ายอนุรักษ์นิยมจำนวนราว 20 เสียง ปฏิเสธที่จะเลือกนายแมคคาร์ธี ทำให้สภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐฯ ยังไม่สามารถแต่งตั้งขึ้นดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐฯ คนใหม่ได้

ทั้งนี้ จากการพ่ายแพ้ข้างต้น ทำให้ฝ่ายนิติบัญญัติ รวมถึงคณะกรรมาธิการต่างๆ ของฝ่ายนิติบัญญัติ เกิดความล่าช้าในการทำงานและตรวจสอบฝ่ายบริหาร เป็นครั้งแรกในรอบ 100 ปีของการเมืองสหรัฐฯ

ปูตินสั่งกองทัพหยุดยิง 36 ชม. วันออร์โธดอกซ์คริสต์มาส จี้ยูเครนหยุดด้วย

วลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซียออกคำสั่งให้กองทัพในยูเครนหยุดยิง 36 ชั่วโมง ให้ประชาชนได้ฉลองวันออร์โธดอกซ์คริสต์มาส และเรียกร้องให้ยูเครนหยุดยิงด้วย

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 5 ม.ค. 2566 ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน แห่งรัสเซีย ออกคำสั่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สั่งการให้กองทัพในยูเครนหยุดยิงเป็นเวลา 36 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 12.00 น. วันศุกร์ที่ 6 ม.ค. ไปจนถึง 24.00 น. วันเสาร์ที่ 7 ม.ค. เพื่อให้ชาวบ้านได้ฉลองวันคริสต์มาส ของชาวคริสต์นิกายออร์โธดอกซ์ ซึ่งตรงกับวันที่ 7 ม.ค.ของทุกปี

คำสั่งของปูตินเกิดขึ้นหลังจากผู้นำคริสตจักรออร์โธดอกซ์รัสเซียออกมาเรียกร้องให้มีการหยุดยิงในวันออร์โธดอกซ์คริสต์มาส โดยประธานาธิบดีรัสเซีย กล่าวว่า “หลังจากพิจารณาคำขอจากองค์อัครบิดรคีริล ผมได้สั่งการไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย ให้ออกคำสั่งหยุดยิงตลอดแนวปะทะในยูเครน”

“เนื่องจากข้อเท็จจริงที่ว่า พลเรือนจำนวนมากในเขตสู้รบใช้ชีวิตตามหลักปฏิบัติของศาสนาคริสต์นิกายออร์โธดอกซ์ เราจึงเรียกร้องไปยังฝ่ายยูเครนให้ประกาศหยุดยิง และยอมให้พวกเขาได้เข้าร่วมพิธีกรรมทางศาสนาในวันคริสต์มาสอีฟ และวันคริสต์มาส” ปูติน กล่าวเสริม

อย่างไรก็ตาม นายมิคไฮโล โพโดลียัค ที่ปรึกษาของประธานาธิบดียูเครนออกมาโจมตีคำสั่งหยุดยิงของปูติน และประณามรัสเซียกว่า เสแสร้ง ที่เรียกร้องให้ฝ่ายยูเครนหยุดยิงด้วย

“อย่างแรก ยูเครนไม่ได้โจมตีดินแดนต่างประเทศ และไม่ได้เข่นฆ่าพลเรือนเหมือนที่สหพันธรัฐรัสเซียทำ ยูเครนทำลายเพียงสมาชิกกองทัพผู้ยึดครองในดินแดนของตัวเอง” นายโพโดลียัคระบุบนทวิตเตอร์ “ข้อสอง สหพันธรัฐรัสเซียต้องออกจากดินแดนที่ยึดครอง มีเพียงทำอย่างนี้เท่านั้นจึงจะเกิดการหยุดยิงชั่วคราวได้ เก็บคำเสแสร้งไว้กับตัวเองเถิด”

ที่มา : aljazeera

ปูตินพร้อมเจรจาเซเลนสกีหากยูเครนยอมรับความเป็นจริงเรื่องดินแดนใหม่

ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน กล่าวว่า รัสเซียพร้อมเปิดการเจรจากับยูเครน หากยูเครนยอมรับดินแดนที่รัสเซียยึดครองได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซีย

เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม 2566 กล่าวว่า ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย และประธานาธิบดีเรเจป ทายยิป แอร์โดอัน ของตุรเคีย ได้สนทนาทางโทรศัพท์ในประเด็นการสู้รบในยูเครนและข้อตกลงส่งออกธัญพืช โดยสำนักประธานาธิบดีรัสเซียมีการเปิดเผยข้อความบางตอนที่ผู้นำทั้งสองพูดคุยกัน

“ประธานาธิบดีปูตินยืนยันอีกครั้งว่า รัสเซียเปิดกว้างต่อการเจรจาอย่างจริงจังเกี่ยวกับเงื่อนไขของยูเครน บนพื้นฐานข้อกำหนดที่รัสเซียออกมาระบุหลายครั้งแล้วในเรื่องความเป็นจริงของดินแดนใหม่” สำนักประธานาธิบดีรัสเซียระบุในถ้อยแถลง

ปัจจุบันกองกำลังทหารรัสเซียยึดครองพื้นที่ขนาดใหญ่ทางตะวันออกและทางใต้ของยูเครน ซึ่งรัฐบาล

เครมลินอ้างว่าได้ผนวกแคว้นโดเนตสก์, ลูฮันสก์, เคอร์ซอน และซาปอร์ริซเซีย เป็นดินแดนของรัสเซียอย่างเป็นทางการแล้ว แม้จะไม่ได้ควบคุมในทุกตารางนิ้วของพื้นที่ก็ตาม

“ความไม่สงบที่ยังเกิดขึ้นในยูเครนขณะนี้เป็นเพราะบรรดาชาติตะวันตกที่ยังคงอัดฉีดรัฐบาลเคียฟด้วยอาวุธและยุทโธปกรณ์ พร้อมบัญชาการการสู้รบผ่านคำว่าประชาธิปไตยและสันติภาพ” ถ้อยแถลงระบุเพิ่มเติม

สองผู้นำยังได้หารือเกี่ยวกับการดำเนินการตามข้อตกลงส่งออกธัญพืช ซึ่งมีสหประชาชาติและ ตุรเคียเป็นผู้ประสานงานให้เกิดการลำเลียงอาหารออกจากยูเครนเพื่อช่วยบรรเทาวิกฤตอาหารโลก

สำนักประธานาธิบดีรัสเซียกล่าวว่า ผู้นำทั้งสองยังได้ปรึกษากันเรื่องการปลดล็อกการคว่ำบาตร

เสบียงอาหารและปุ๋ยจากรัสเซีย รวมทั้งการขจัดอุปสรรคทั้งหมดเพื่อให้การส่งออกของรัสเซียราบรื่น โดยผู้นำ ตุรเคียสามารถรักษาความสัมพันธ์กับปูตินไว้ได้โดยการปฏิเสธที่จะเข้าร่วมการคว่ำบาตรกับชาติตะวันตก แต่กลับยิ่งเพิ่มการค้าทวิภาคีระหว่างสองชาติ

อีกด้านหนึ่ง สำนักประธานาธิบดีตุรเคียเปิดเผยว่า ในการสนทนา ประธานาธิบดีแอร์โดอันได้กดดันให้ปูตินประกาศหยุดยิงฝ่ายเดียวในยูเครน เพื่อยุติสงครามโดยเร็ว

“ประธานาธิบดีแอร์โดอันได้บอกประธานาธิบดีปูตินว่า การเรียกร้องสันติภาพและการเจรจาใดๆ ของคู่สงครามควรเริ่มต้นจากการหยุดยิงฝ่ายเดียวและวิสัยทัศน์สำหรับการแก้ปัญหาที่ยุติธรรม ทั้งนี้ตุรเคียพร้อมที่จะอำนวยความสะดวกและเป็นสื่อกลางในการสร้างสันติภาพที่ยั่งยืนระหว่างรัสเซียและยูเครน” สำนักประธานาธิบดีตุรเคียแถลง

ผู้นำตุรเคียพยายามใช้ความสัมพันธ์อันดีที่มีกับทั้งรัสเซียและยูเครน ในการติดต่อปูตินและเซเลนสกีให้มาเยือนตุรเคียเพื่อเจรจายุติสงคราม แต่รัสเซียไม่ค่อยเต็มใจที่จะผ่อนปรนแนวทางที่มีต่อยูเครน

ล่าสุด ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ของรัสเซีย ประกาศหยุดยิงชั่วคราวในยูเครนช่วงก่อนวันคริสต์มาสออร์โธดอกซ์ ตามคำขอจากพระสังฆราชคิริลล์ ผู้นำทางจิตวิญญาณของรัสเซีย ตามรายงานของสำนักประธานาธิบดีรัสเซีย

“เมื่อพิจารณาถึงคำร้องขอของพระสังฆราชคิริลล์แล้ว ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินได้สั่งให้รัฐมนตรีกลาโหมของสหพันธรัฐรัสเซียประกาศหยุดยิงในยูเครนตั้งแต่เวลา 12.00 น. ของวันที่ 6 มกราคม ถึงเวลา 24.00 น. ของวันที่ 7 มกราคม 2566” สำนักประธานาธิบดีรัสเซียระบุในถ้อยแถลง