วันศุกร์ ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2567 : กระทรวงต่างประเทศแจงข่าวเศร้า!!! เผยคนไทยเสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บ 1 รายที่อิสราเอล
พร้อมแจ้งเตือนแรงงานในพื้นที่เสี่ยงให้แจ้งสถานทูตฯอพยพออกจากพื้นที่ตามที่มีรายงานข่าวเหตุยิงจรวดต่อสู้รถถัง (anti-tank missile) เข้าไปยังนิคมเกษตร Yir’on ทางเหนือของอิสราเอล ติดชายแดนเลบานอน เมื่อช่วงเช้าของวันนี้ (11 ต.ค. 2567) ที่ส่งผลกระทบต่อแรงงานไทยในพื้นที่ นั้น
11 ต.ค.67 นายนิกรเดช พลางกูร อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยว่า กระทรวงการต่างประเทศ ขอแสดงความเสียใจอย่างยิ่งที่มีคนไทยเสียชีวิต 1 ราย และบาดเจ็บ 1 รายที่อิสราเอล โดยได้รับแจ้งจากสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเทลอาวีฟ ว่าทางการอิสราเอลตรวจสอบแล้วและพบว่า สาเหตุเกิดจากระเบิดที่ตกค้างอยู่ในพื้นที่ ไม่ใช่จากเหตุยิงจรวดต่อสู้รถถังดังปรากฏตามข่าวก่อนหน้านี้ สถานเอกอัครราชทูตฯ อยู่ระหว่างรอผลการชันสูตรเพื่อตรวจสอบตัวตนของผู้เสียชีวิตก่อนจะแจ้งครอบครัวของผู้เสียชีวิตต่อไป
สำหรับแรงงานไทย 1 ราย ที่ได้รับผลกระทบกระเทือนทางจิตใจอย่างรุนแรง ได้ถูกส่งตัวไปรักษาที่โรงพยาบาลในเมือง Safed ทางเหนือของอิสราเอลแล้ว และสถานเอกอัครราชทูตฯ จะติดตามอาการอย่างใกล้ชิด
สถานเอกอัครราชทูตฯ รายงานเพิ่มเติมว่า ในนิคมเกษตรดังกล่าว มีคนไทยประมาณ 10 คน และได้ประสานทางการอิสราเอลให้อพยพคนไทยทั้งหมดออกจากพื้นที่ในทันทีแล้ว
นอกจากนี้ สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้ออกประกาศเตือนคนไทยในอิสราเอลอีกครั้งแล้วว่า หากยังมีแรงงานไทยอยู่ในเขตปิดทางทหารหรือพื้นที่เสี่ยง และมีความยากลำบากในการย้ายออกจากพื้นที่ ขอให้แจ้งสถานเอกอัครราชทูตฯ เพื่อประสานงานกับทางการอิสราเอลในการย้ายออกพื้นที่ต่อไป
เมื่อเวลา 17.25 น.วันที่ 11 ต.ค.67 ที่ท่าอากาศยาน 2 กองบิน 6(บน.6) ดอนเมือง นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกฯ ให้สัมภาษณ์ถึงกรณี แรงงานไทยเสียชีวิต 1 คน จากเหตุสู้รบ อิสราเอล - เลบานอนว่า นายกฯได้รับรายงานเรื่องดังกล่าวแล้ว และได้สั่งการให้กระทรวงการต่างประเทศเฝ้าติดตามสถานการณ์และแจ้งเตือนประชาชนที่อาจอยู่ในพื้นที่สุ่มเสี่ยง
รวมทั้งกำชับให้กระทรวงต่างประเทศรายงานสถานการณ์ทุกชั่วโมงโดยเฉพาะสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ และขณะนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบข้อมูลว่าผู้เสียชีวิตเป็นใครอยู่ที่จังหวัดใด
เลือกตั้งสหรัฐฯ 2024 : ประเด็นการนับคะแนน เป็นอีกหนึ่งหัวข้อที่ชาวอเมริกันต่างให้ความสนใจอย่างมาก เนื่องจากมีความกังวลเกี่ยวกับความถูกต้องและความโปร่งใสในการนับคะแนน
ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ปี 2024 ซึ่งเป็นการแข่งขันระหว่างคามาลา แฮร์ริส รองประธานาธิบดีคนปัจจุบันจากพรรคเดโมแครต และโดนัลด์ ทรัมป์ อดีตประธานาธิบดีจากพรรครีพับลิกัน การนับคะแนนกลายเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจอย่างมาก เนื่องจากมีความกังวลเกี่ยวกับความถูกต้องและความโปร่งใสในการนับคะแนน
สำหรับกระบวนการนับคะแนนในการเลือกตั้งปี 2024 การนับคะแนนจะมีขั้นตอนที่ชัดเจนเพื่อให้เกิดความโปร่งใสและความถูกต้อง โดยทั่วไปขั้นตอนการนับคะแนนประกอบด้วย
การจัดเตรียมบัตรเลือกตั้ง บัตรเลือกตั้งจะถูกส่งไปยังผู้มีสิทธิเลือกตั้งก่อนวันเลือกตั้ง ซึ่งผู้มีสิทธิสามารถลงคะแนนได้ทั้งในสถานที่เลือกตั้งหรือทางไปรษณีย์
การลงคะแนน ในวันเลือกตั้ง ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะต้องไปลงคะแนนที่หน่วยเลือกตั้งที่กำหนด โดยจะมีการตรวจสอบตัวตนและบันทึกข้อมูล
การเก็บบัตรเลือกตั้ง บัตรเลือกตั้งที่ลงคะแนนจะถูกเก็บรักษาอย่างปลอดภัย และมีการตรวจสอบเพื่อป้องกันการปลอมแปลง
การนับคะแนน จะถูกแบ่งเป็นการนับคะแนนด้วยมือในบางกรณี เช่น บัตรเลือกตั้งที่มีปัญหา หรือผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ต้องการตรวจสอบคะแนน อาจมีการนับคะแนนด้วยมือ และการนับคะแนนด้วยเครื่อง ซึ่งเครื่องนับคะแนนอิเล็กทรอนิกส์จะถูกใช้ในการนับคะแนนส่วนใหญ่ ซึ่งจะช่วยให้กระบวนการรวดเร็วและมีความถูกต้องแม่นยำ
การตรวจสอบและการรับรองผล หลังจากการนับคะแนนเสร็จสิ้น จะมีการตรวจสอบผลการนับโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และมีการรับรองผลอย่างเป็นทางการ เพื่อให้แน่ใจว่าผลการเลือกตั้งเป็นไปตามกฎหมาย
การตรวจสอบซ้ำ ในบางรัฐ จะมีการตรวจสอบซ้ำผลการเลือกตั้งเพื่อยืนยันความถูกต้อง โดยเฉพาะเมื่อผลคะแนนใกล้เคียงกัน
ความไม่โปร่งใสในการนับคะแนนเลือกตั้งครั้งก่อน การนับคะแนนในการเลือกตั้งสหรัฐฯ ในอดีตที่ผ่านมาเคยเกิดปัญหาความไม่โปร่งใสที่ส่อไปในทางฉ้อฉล โดยเฉพาะในรัฐที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการพลิกผันของผลคะแนน อาทิ รัฐฟลอริดา และแอริโซนา ในปี 2000
โดยการนับคะแนนในฟลอริดาเมื่อปี 2000 ระหว่างจอร์จ บุช กับอัล กอร์ กลายเป็นข่าวใหญ่ และถือเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์การเลือกตั้งสหรัฐฯ เมื่อทั้งสองฝ่ายมีคะแนนเสียงห่างกันเพียง 537 เสียงเท่านั้น และต้องมาตัดสินชี้ขาดกันด้วยคะแนนเสียงในฟลอริด้า
แต่ปรากฎว่าการนับคะแนนในฟลอริดากลับมีความไม่ชอบมาพากลหลายอย่าง ตั้งแต่มีการยกเลิกคะแนนเสียงที่ไม่ชัดเจน ทำให้ผลเลือกตั้งถูกตัดสินด้วยคะแนนเสียงที่ค่อนข้างน้อย ซึ่งส่งผลให้จอร์จ บุช ได้รับชัยชนะเหนืออัล กอร์
นอกจากนี้ยังมีอีกหลายปัญหาที่เกิดขึ้นบัตรเลือกตั้งที่ไม่ชัดเจน (punch cards) ซึ่งทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการนับคะแนน โดยเฉพาะบัตรที่ถูกเจาะไม่สนิท นอกจากนี้ยังมีการฟ้องร้องจากทั้งสองฝ่ายเกี่ยวกับการนับคะแนนและการนับใหม่ ซึ่งทำให้เกิดความล่าช้าและความไม่แน่นอนในการประกาศผล
ในปีเดียวกันยังมีปัญหาการนับคะแนนในรัฐแอริโซนา โดยเฉพาะในเขตที่มีประชากรจำนวนมาก ซึ่งมีการเกิดข้อผิดพลาดจากเครื่องนับคะแนนอิเล็กทรอนิกส์ ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในกระบวนการเลือกตั้ง เนื่องจาก แอริโซนาใช้เครื่องนับคะแนนอิเล็กทรอนิกส์ แต่มีข้อผิดพลาดในระบบการทำงานของเครื่อง ทำให้มีการนับคะแนนที่ไม่ถูกต้องในบางเขตเลือกตั้ง โดยเฉพาะในเขตที่มีประชากรสูง
นอกจากนี้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในบางพื้นที่พบว่าต้องรอนานในการลงคะแนน ซึ่งทำให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งบางคนต้องออกจากแถวก่อนที่จะได้ลงคะแนน ขณะเดียวกันหลังจากการนับคะแนนเริ่มต้น มีการฟ้องร้องจากฝ่ายต่าง ๆ ที่ไม่พอใจกับผลการเลือกตั้ง โดยเฉพาะพรรคเดโมแครตที่เรียกร้องให้มีการตรวจสอบคะแนนในบางเขต ทำให้เกิดความล่าช้าในการปรปัญหาที่เกิดขึ้นยังทำให้เกิดการตั้งคำถามเกี่ยวกับความโปร่งใสของกระบวนการนับคะแนน ซึ่งทำให้เกิดความไม่เชื่อมั่นในผลการเลือกตั้ง ซึ่งหลังจากปัญหาที่เกิดขึ้นในแอริโซนาในปี 2000 ทำให้รัฐต่าง ๆ เริ่มพิจารณาปรับปรุงระบบการนับคะแนน โดยมีการลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ ๆ และการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำ เรียกได้ว่า การนับคะแนนในปี 2000 จึงกลายเป็นบทเรียนสำคัญสำหรับกระบวนการเลือกตั้งในสหรัฐฯ และส่งผลให้มีการดำเนินการเพื่อเพิ่มความโปร่งใสและความถูกต้องในระบบการนับคะแนน
อย่างไรก็ตาม ยังคงเกิดปัญหาในการนับคะแนนเลือกตั้งประธานาธิบดีในอีก 4 ปีต่อมาที่รัฐเพนซิลเวเนีย มิชิแกน และวิสคอนซิน ซึ่งเป็นรัฐสำคัญที่มีผลต่อผลการเลือกตั้ง โดยที่เพนซิลเวเนีย เกิดปัญหาการนับคะแนนที่ส่งมาทางไปรษณีย์ เนื่องจากการเลือกตั้งปี 2020เป็นช่วงตรงกับสถานการณ์การแพร่ระลาดของโรคโควิด-19 ทำให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนมากเลือกที่จะลงคะแนนทางไปรษณีย์ ส่งผลให้มีจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ต้องนับเพิ่มขึ้นอย่างมาก
ขณะเดียวกันเกิดข้อกังขาเกี่ยวกับการรับบัตรเลือกตั้งที่ส่งมาไม่ทันเวลา รวมถึงการอนุญาตให้บัตรเลือกตั้งที่ส่งมาในวันเลือกตั้งหรือหลังจากนั้นได้รับการนับรวมด้วย ทำให้เกิดการฟ้องร้องจากพรรครีพับลิกัน และทำให้เกิดความล่าช้าในการประกาศผลการเลือกตั้ง
เช่นเดียวกับที่รัฐมิชิแกน ซึ่งประสบปัญหากับาเครื่องนับคะแนนเช่นกัน โดยในวันเลือกตั้ง มีการรายงานว่า มีปัญหากับเครื่องนับคะแนนในบางเขต ซึ่งทำให้การนับคะแนนต้องหยุดชะงักไปชั่วขณะนอกจากนี้มีการร้องเรียนเกี่ยวกับความไม่โปร่งใสในการนับคะแนน และเรียกร้องให้มีการตรวจสอบผลการเลือกตั้งอย่างละเอียด โดยเฉพาะในเขตที่มีคะแนนเสียงใกล้เคียงกัน ซึ่งทางพรรครีพับลิกันยังได้ฟ้องร้องเพื่อท้าทายผลการเลือกตั้งในมิชิแกน ทำให้เกิดความตึงเครียดและความไม่แน่นอนในกระบวนการนับคะแนน
เกิดปัญหาคล้ายๆกัน ในรัฐวิสคอนซิน ตั้งแต่ปัญหาการนับคะแนนที่ถูกส่งมาทางไปรษณีย์เช่นเดียวกับรัฐอื่นๆซึ่งมีการลงคะแนนทางไปรษณีย์เพิ่มขึ้นอย่างมาก ทำให้มีความซับซ้อนในการนับคะแนน ส่งผลให้พรรครีพับลิกันเรียกร้องให้มีการตรวจสอบซ้ำคะแนนในเขตต่าง ๆ ซึ่งทำให้เกิดความล่าช้าและความไม่เชื่อมั่นในกระบวนการ.
"คิม จองอึน"มีคำสั่งให้ทหารเกาหลีเหนือมองว่าเกาหลีใต้คือ "รัฐปรปักษ์" ประเทศต่างแดนที่เป็นศัตรูตัวฉกาจ นับเป็นการเพิ่มความตึงเครียดที่อาจนำไปสู่การปะทะกันตามแนวชายแดนของสองประเทศ
วันที่ 18 ตุลาคม 2567 สำนักข่าวยอนฮับ ของเกาหลีใต้ รายงานว่า นายคิม จองอึน ผู้นำสูงสุดของเกาหลีเหนือ ได้มีคำสั่งให้เหล่าทหารปฏิบัติต่อเกาหลีใต้ในฐานะที่เป็นประเทศศัตรูตัวฉกาจ โดยระบุว่านับจากนี้ไปเกาหลีใต้มีสถานะเป็น "รัฐปรปักษ์" ประเทศต่างแดนที่เป็นศัตรูสำคัญ พร้อมเตือนว่าจะใช้กำลังตอบโต้ทันทีหากเกาหลีเหนือถูกละเมิดอธิปไตย โดยเป็นการกล่าวระหว่างเดินทางไปตรวจสอบสำนักงานใหญ่ของกองพลที่ 2 แห่งกองทัพประชาชนเกาหลีเหนือ
รายงานข่าวระบุว่า คำกล่าวนี้มีขึ้นหลังจากผู้นำเกาหลีเหนือ สั่งระเบิดถนนและรางรถไฟเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านทางใต้ ซึ่งเป็นการชี้ให้เห็นว่า เกาหลีเหนือมีความตั้งใจที่จะยกระดับความเป็นอริศัตรูกับเกาหลีใต้ให้หนักขึ้น ที่อาจนำไปสู่การปะทะกันที่แนวชายแดนของสองประเทศ
ก่อนหน้านี้ สำนักข่าว KCNA ของรัฐบาลเกาหลีเหนือ รายงานว่า การทำลายส่วนเหนือของถนนเชื่อมต่อสองเกาหลีและรางรถไฟไปนั้นเป็น มาตรการอันชอบธรรมและหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งต้องดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของรัฐธรรมนูญสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีที่กำหนดชัดเจนว่า เกาหลีใต้เป็นรัฐปรปักษ์
ทั้งนี้ เป็นที่คาดเดากันอย่างกว้างขวางว่าเกาหลีเหนือเพิ่งแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อกำหนดให้เกาหลีใต้เป็นรัฐศัตรูเพื่อให้สอดคล้องกับคำสั่งของผู้นำคิมในการกำหนดให้เกาหลีใต้เป็นศัตรูอย่างเป็นทางการ แทนที่จะเป็นพันธมิตรเพื่อการปรองดองและการรวมประเทศอีกครั้ง.
เมื่อเวลา 21.10 น. วันที่ 18 ต.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักงาน ปปง. โดยส่วนประชาสัมพันธ์ ได้เผยแพร่เอกสารข่าวแจกสื่อมวลชน ระบุใจความว่า ตามที่เลขาธิการ ปปง. มีคำสั่งที่ ย.214/2567 และคณะกรรมการธุรกรรมได้มีคำสั่งที่ ย.222/2567 ให้อายัดทรัพย์สินของบริษัท ดิไอคอนกรุ๊ป จำกัด กับพวก พร้อมดอกผลไว้ชั่วคราว จำนวน 12 รายการ รวมทั้งสิ้น 127,086,381.51 บาทนั้น เนื่องจากปรากฏพยานหลักฐานอันมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า อาจมีการโอน ยักย้าย ปกปิด หรือซ่อนเร้นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดในคดีดังกล่าว และกรณีมีความจำเป็นเร่งด่วน เลขาธิการ ปปง.
จึงอาศัยอำนาจตามมาตรา 48 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ออกคำสั่งที่ ย.223/2567 ลงวันที่ 18 ต.ค.67 ให้ยึดและอายัดทรัพย์สินในคดีนี้เพิ่มเติม ซึ่งเป็นทรัพย์สินประเภทหุ้นในบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ เงินในบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ และเงินในบัญชีเงินฝาก จำนวน 40 รายการ รวมราคาประเมินทั้งสิ้นประมาณ 48,958,234.26 บาท พร้อมดอกผลไว้ชั่วคราว มีกำหนดไม่เกิน 90 วัน...
สำนักงาน ปปง. ระบุอีกว่า ตามที่ปรากฏเป็นข่าวว่ามีการโอนคริปโทเคอร์เรนซี (USTD) มูลค่ากว่าแปดพันล้านบาท ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดมูลฐานในคดีนี้นั้น สำนักงาน ปปง. และสำนักงานตำรวจแห่งชาติอยู่ระหว่างการตรวจสอบความมีอยู่จริงของธุรกรรมดังกล่าว และหากพบการทำธุรกรรมนั้นจะพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป
สำนักงาน ปปง. ขอเน้นย้ำว่าทรัพย์สินที่อยู่ระหว่างพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินนั้น หากผู้ใดโอน รับโอน หรือเปลี่ยนสภาพทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด เพื่อซุกซ่อนหรือปกปิดแหล่งที่มาของทรัพย์สินนั้น หรือเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นไม่ว่าก่อน ขณะหรือหลังการกระทำความผิด มิให้ต้องรับโทษหรือรับโทษน้อยลงในความผิดมูลฐาน หรือกระทำด้วยประการใด ๆ เพื่อปกปิดหรืออำพรางลักษณะที่แท้จริงการได้มาแหล่งที่ตั้ง การจำหน่าย การโอน การได้สิทธิใด ๆ ซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด หรือได้มาครอบครอง หรือใช้ทรัพย์สินโดยรู้ในขณะที่ได้มาครอบครองหรือใช้ทรัพย์สินนั้นว่าเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด อาจมีความผิดฐานฟอกเงิน ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปี – 10 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000 บาท – 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ...
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวได้รับรายงานเพิ่มเติมว่า สำหรับคำสั่ง ย.223/2567 ลงวันที่ 18 ต.ค.67 ที่ให้ยึดและอายัดทรัพย์สินในคดีเพิ่มเติม โดยอำนาจของอำนาจเลขาธิการ ปปง. ในครั้งนี้ จำนวน 48 ล้านบาทนั้น คือ การอายัดทรัพย์สินของ น.ส.พีชญา วัฒนามนตรี หรือบอสมิน รวมกับนายกันต์ กันตถาวร หรือบอสกันต์ จึงถือเป็นการอายัดทรัพย์ในส่วนของนักแสดงสาว “มิน พีชญา” เป็นครั้งแรก ส่วนกรณีมีผู้ต้องหา 1 ราย มีการโอนคริปโทเคอร์เรนซี (USTD) มูลค่ากว่าแปดพันล้านบาท ก่อนถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจ บก.ปคบ. เข้าจับกุม 1 ชม. นั้น คือ กรณีของ “โค้ชแล็ป” หรือนายจีระวัฒน์ แสงภักดี ซึ่งปรากฏรายงานข่าวและเบาะแสดังกล่าวโดยนายเอกภพ เหลืองประเสริฐ ที่ปรึกษา รมว.มหาดไทย และในฐานะผู้ก่อตั้งเพจสายไหมต้องรอด ...