ข่าว
2 ธารน้ำแข็งอันตรายสุดในโลกกำลังแตก เสี่ยงกระทบระดับน้ำทะเล

ในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา ความสูงเฉลี่ยของน้ำทะเลทั่วโลกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้จะไม่ถึง 1 ชม. ต่อปี แต่มันสะสมมาเรื่อยๆ จนในปัจจุบัน ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นกว่าค่าเฉลี่ยในปี ค.ศ.1900 ราว 13-20 ซม.แล้ว นับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ เพราะก่อนยุคปี 2000 ระดับน้ำทะเลโลกไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก โดยช่วงปี 1900-1990 ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 1.2-1.7 มม. แต่ในปี 2000 ตัวเลขกลับเพิ่มขึ้นเป็นปีละ 3.2 มม. และ 3.4 มม.ในปี 2016

นักวิทยาศาสตร์เห็นตรงกันว่า ความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้ส่วนใหญ่เกิดจากฝีมือมนุษย์ และระดับน้ำทะเลก็เริ่มสูงขึ้นในช่วงปลายทศวรรษที่ 1800 ไม่นานหลังจากมนุษย์เริ่มเผาถ่านหิน, ก๊าซธรรมชาติ และเชื้อเพลิงฟอสซิล เพื่อใช้เป็นพลังงาน สร้างคาร์บอนไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ก๊าซตัวนี้ดูดความร้อนจากดวงอาทิตย์และกักเก็บเอาไว้ ทำให้ชั้นบรรยากาศโลกร้อนขึ้น

และเมื่อโลกร้อนขึ้น ก็เกิด 2 ปัจจัยที่ทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น อย่างแรกคือ การละลายของน้ำแข็งบนแผ่นดิน อย่างเช่น ธารน้ำแข็ง (glacier) และพืดน้ำแข็ง (ice sheet) ที่เพิ่มน้ำลงในทะเล และอย่างที่ 2 คือ การขยายตัวของน้ำอุ่นกินพื้นที่น้ำเย็นมากขึ้น ส่งผลให้ปริมาณน้ำในทะเลเพิ่มสูง

อย่างที่ระบุไปข้างต้นว่า การละลายของธารน้ำแข็งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น ในวันที่ 14 ก.ย. 2020 ผ่านมา ก็มีข่าวที่ไม่สู้ดีนักสำหรับสถานการณ์น้ำแข็งขั้วโลก เมื่อธารน้ำแข็ง ‘ไพน์ ไอส์แลนด์’ (Pine Island) กับธารน้ำแข็ง ‘ธเวตส์’ (Thwaites) ในทะเลอามันด์เซน ทวีปแอนตาร์กติกา หรือขั้วโลกใต้ กำลังแตกตัวมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นในระดับสูง

การละลายของธารน้ำแข็งขนาดมหึมาทั้งสองในช่วงที่ผ่านมา มีส่วนทำให้น้ำทะเลโลกเพิ่มขึ้นคิด เป็น 5% ของปริมาณที่เพิ่มขึ้นทั้งหมด โดยธารน้ำแข็ง ธเวตส์ เป็นหนึ่งในก้อนน้ำแข็งขนาดใหญ่และ ไม่มั่นคงที่สุดในแอนตาร์กติกา มีพื้นที่มากกว่า 192,000 ตร.กม. ใกล้เคียงกับรัฐฟลอริด้า และเกาะบริเตนใหญ่ ธารน้ำแข็งทั้งสองยังทำหน้าที่เป็นเหมือนหลอดเลือด เชื่อมต่อ ‘พืดน้ำแข็งแอนตาร์ติกตะวันตก’ กับมหาสมุทรด้วย

การอยู่รอดของมันสำคัญถึงขนาดที่สหรัฐฯ กับสหราชอาณาจักร ต้องทุ่มเทงบประมาณหลายล้านดอลลาร์เพื่อการศึกษาวิจัย เพราะหากธารน้ำแข็งทั้งสองหายไป ก็อาจกลายเป็นตัวจุดชนวนให้เกิดการถล่มเป็น วงกว้างของพืดน้ำแข็งแอนตาร์กติกตะวันตก ซึ่งมีน้ำแข็งมากพอจะเพิ่มระดับน้ำทะเลได้ถึง 10 ฟุต

และผลการศึกษาใหม่ที่เผยแพร่ผ่านวารสารวิทยาศาสตร์ ‘Proceedings of the National Academy of Sciences’ เมื่อ 14 ก.ย. แสดงให้เห็นรอยแยกและรอยแตกมากมายบนธารน้ำแข็งทั้งสอง บ่งชี้ว่า ระบบเบรกตามธรรมชาติที่ป้องกันไม่ให้น้ำแข็งของ ไพน์ ไอส์แลนด์ กับ ธเวตส์ ไหลออกสู่ทะเล กำลังอ่อนแอลง และความเสีย หายที่เกิดขึ้นตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา ก็ยิ่งทำให้การถดถอยของธารน้ำแข็งรวดเร็วขึ้น และมีความเป็นไป ได้ที่หิ้งน้ำแข็งของมันจะพังทลายในอนาคต

พายุโนอึล แผลงฤทธิ์ เวียดนาม สังเวยแล้ว 1 ศพ ก่อนมุ่งหน้าถล่มลาว-ไทย

เมื่อ18 ก.ย. 63 สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า พายุโซนร้อน โนอึล ขึ้นฝั่งถล่มทางตอนกลางของประเทศเวียดนาม ด้วยความเร็วลมประมาณ 135 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เมื่อประมาณตอนเที่ยงของวันที่ 18 ก.ย.63 เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 1 ราย เนื่องจากโดนต้นไม้ที่หักโค่นล้มทับ

อิทธิพลพของพายุโซนร้อน โนอึล ได้ทำให้เกิดฝนตกหนักทั่วภาคกลางของเวียดนาม รวมทั้งเมืองดานัง เมืองท่องเที่ยวชื่อดัง ก่อให้เกิดฝนตกหนัก พายุลมแรง จนต้นไม้หักโค่น บ้านเรือนได้รับความเสียหายหลายร้อยหลัง รวมทั้งเกิดน้ำท่วมถนนบางสายแล้ว

จากนั้น พายุโซนร้อน โนอึล ได้เบี่ยงขึ้นไปทางทิศเหนือ ไปยังเมืองเถื่อเทียน เว้ ก่อนจะเข้าสู่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) และไทย ในขณะที่สำนักอุตุนิยมวิทยาเวียดนามได้ประกาศว่า พายุโซนร้อน โนอึล ได้ลดความรุนแรงลงกลายเป็นพายุดีเปรสชัน ขณะเคลื่อนตัวพัดผ่านเวียดนาม แต่ยังคงเตือนว่าจะก่อให้เกิดฝนตกหนักจนวัดปริมาณน้ำฝนได้ถึง 250 มิลลิเมตรในหลายพื้นที่ทางตอนกลางของประเทศ จนอาจทำให้เกิดน้ำท่วมและดินถล่ม

ประกาศ ฉ.12 โซนร้อน “โนอึล” เข้าไทยแล้ว จ่อถล่มอีสาน 20 จังหวัด

เมื่อเวลา 16.00 น. (18 ก.ย. 2563) พายุระดับ 3 (โซนร้อน) “โนอึล” ได้เคลื่อนเข้าปกคลุมบริเวณจังหวัดอำนาจเจริญ ที่ละติจูด 15.9 องศาเหนือ ลองจิจูด 104.8 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 75 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุกำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกอย่างช้าๆ คาดว่าจะอ่อนกำลังลงเป็นพายุระดับ 2 (ดีเปรสชัน) ในระยะต่อไป ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่กับมีลมแรงบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนที่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณดังกล่าว ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำ ป่าไหลหลากได้ และระวังอันตรายจากลมแรง โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่และสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรงไว้ด้วยคาดว่าพื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบ มีดังนี้

ในช่วงวันที่ 18-19 กันยายน 2563 บริเวณที่มีฝนตกหนักถึงหนักมาก

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำพูน ลำปาง น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี

ภาคกลาง: จังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท นครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี สุพรรณบุรี และกาญจนบุรี รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

วันที่ 20 กันยายน 2563 บริเวณที่มีฝนตกหนัก

ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก สุโขทัย และกำแพงเพชร

ภาคกลาง: จังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี อุทัยธานี สุพรรณบุรี และชัยนาท

ภาคตะวันออก: จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด

ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง พังงา ภูเก็ต และกระบี่

สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย มีกำลังแรงขึ้น ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น โดยอ่าวไทยตอนบน และทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 2-4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองมีคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร อ่าวไทยตอนล่างคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือควรเพิ่มความระมัดระวัง และควรงดการเดินเรือจนถึงวันที่ 20 กันยายน 2563

จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์ กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือสายด่วนพยากรณ์อากาศ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ประกาศ ณ วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2563 เวลา 17.00 น.


จีนผวา แบคทีเรียบรูเซลลาระบาด หลุดจากรง.ผลิตวัคซีน ติดเชื้อแล้วกว่า 3 พัน

ชาวจีนในเมืองหลานโจววิตก เชื้อแบคทีเรียบรูเซลลาระบาด หลังหลุดจากโรงงานผลิตวัคซีนสัตว์ ตั้งแต่ปีก่อน ส่งผลให้มีผู้ติดเชื้อแล้วกว่า 3 พันราย

เมื่อ 18 ก.ย. 63 เว็บไซต์เดลี่เมล รายงานว่า เกิดเหตุการณ์ที่สร้างความหวั่นวิตกในแก่ประชาชนในเมืองหลานโจว เมืองเอกมณฑลกานซู่ ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน เมื่อมีประชาชนนับ 3,245 ราย ในเมืองหลานโจว ติดเชื้อแบคทีเรียบรูเซลล่า ที่ก่อให้เกิดโรค brucellosis (บรูเซลโลซิส) แล้ว หลังจากเชื้อได้หลุดจากโรงงานผลิตวัคซีนสำหรับสัตว์ China Animal Husbandry Lanzhou Biopharmaceutical ในเมืองหลานโจว ตั้งแต่ปีก่อน

เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในเมืองหลานโจว ยืนยันมีผู้ติดเชื้อบรูเซลลาในเมืองหลานโจวจนถึงขณะนี้แล้ว 3,245 ราย จากจำนวนประชากรในเมือง 2.9 ล้านคน โดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพิ่งตรวจพบมีผู้ติดเชื้อบรูเซลลา 1,401 ราย ระหว่างการตรวจหาเชื้อให้ประชาชนเกือบ 22,000 ราย แต่ขณะนี้ยังไม่มีผู้เสียชีวิต

ตามรายงานของสำนักข่าวซินหัว ระบุว่า แก๊สที่ปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียบรูเซลลา ที่หลุดออกมาจากโรงงานผลิตวัคซีนสำหรับสัตว์แห่งนี้ เป็นละอองฝอยและถูกกระแสลมพัดไปจนถึงสถาบันวิจัยทางสัตวแพทย์หลานโจว จนทำให้มีผู้ติดเชื้อบรูเซลลาเกือบ 200 ราย เมื่อเดือนธันวาคม ปี 2562 และต่อมาเจ้าหน้าที่ได้มีการตรวจเชื้อให้แก่นักศึกษา อาจารย์ และบุคลากรในสถาบันวิจัยแห่งนี้

คณะกรรมาธิการสุขภาพแห่งเมืองหลานโจว แถลงเมื่อวันศุกร์ที่ 18 ก.ย. ว่า ส่วนใหญ่แล้ว สัตว์อย่าง แกะ วัวและหมู มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดของเชื้อแบคทีเรียบรูเซลลา ที่ก่อให้เกิดโรคบรูเซลโลซิส ซึ่งจะทำให้เกิดอาการมีไข้เป็นระยะๆ เป็นเวลานาน เป็นๆ หายๆ ไม่แน่นอน ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย เหงื่อออกมาก หนาวสั่น ปวดตามร่างกายฯ

ทางโรงงานผลิตวัคซีนแห่งนี้ได้ออกมาขอโทษประชาชนในเมืองหลานโจว เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ขณะที่ทางการได้สั่งถอนใบอนุญาตโรงงานแห่งนี้ในการผลิตวัคซีนป้องกันโรคบรูเซลโลซิสแล้ว และทางโรงงานได้เริ่มจ่ายเงินชดเชยให้แก่ผู้ป่วยที่ติดเชื้อบรูเซลลา ซึ่งเป็นโรคที่ติดเชื้อจากสัตว์สู่คน ตั้งแต่เดือนตุลาคมที่ผ่านมา

ทั้งนี้ เมืองหลานโจวตั้งอยู่ในหุบเขาแคบและโค้ง ทำให้อากาศถ่ายเทไม่สะดวก อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งของโรงงานจำนวนมาก รวมทั้งโรงงานแปรรูปปิโตรเลียม และเมืองหลานโจวยังได้รับผลกระทบจากพายุฝุ่นซึ่งพัดมาจากทะเลทรายโกบี


นาทีเฮอริเคนแซลลีถล่ม สหรัฐฯอ่วม ฝนกระหน่ำ 4 ชม.ปริมาณน้ำฝนเท่า 4 เดือน

สหรัฐฯ อ่วมหนัก เผชิญเฮอริเคนแซลลี ขึ้นฝั่งทางใต้ติดกับอ่าวเม็กซิโก ฝนตกหนักมากในฟลอริด้า ชนิด 4 ชม.วัดปริมาณน้ำฝนเท่ากับฝนตก 4 เดือน หลายพื้นที่เกิดน้ำท่วม บ้าน-สะพานพังอื้อ

เมื่อ 18 ก.ย. 63 สำนักข่าวต่างประเทศ และซีเอ็นเอ็น รายงาน เฮอริเคน แซลลี สร้างหายนะอย่างหนักในหลายรัฐทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา ทั้งรัฐแอละบามา ฟลอริด้าและจอร์เจีย หลังจากเฮอริเคน ได้อ่อนกำลังลงเป็นเฮอริเคนระดับ 2 ขณะเคลื่อนตัวจากอ่าวเม็กซิโก ขึ้นฝั่งบริเวณรัฐแอละบามาและฟลอริด้า ทางใต้ของสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 16 ก.ย. ตามเวลาท้องถิ่น ก่อให้เกิดฝนตกหนัก จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 1 ราย สะพานหลายแห่งพัง ต้นไม้หักโค่น บ้านเรือนพังเสียหายจำนวนมากและหลายแสนหลังไฟฟ้าดับ

คลิปวิดีโอบันทึกภาพเหตุการณ์ระทึก ขณะเฮอริเคนแซลลีก่อให้เกิดฝนตกหนัก จนทำให้เกิดน้ำท่วม ถนนและรถยนต์ในระดับสูง ในเมืองเพนซาโคลา รัฐฟลอริด้า ขณะที่มีคลิปวิดีโอ จากโดรนที่ถ่ายภาพทางอากาศแสดงให้เห็นความเสียหายของสะพานสร้างใหม่ ความยาว 3 ไมล์ หรือราว 4.83 กิโลเมตร ซึ่งเชื่อมระหว่างกัลฟ์ บรีซ กับเมืองเพนซาโคลา พังจนแหว่งจากอิทธิพลของเฮอริเคนแซลลี

ซีเอ็นเอ็นรายงานว่า ความรุนแรงของเฮอริเคนแซลลี ซึ่งถือเป็นพายุลูกที่ 18 ที่ก่อตัวในมหาสมุทรแอตแลนติกในปีนี้ และเป็นพายุ ลูกที่ 8 ที่ถล่มสหรัฐอเมริกา ได้ก่อให้เกิดฝนตกหนักในพื้นที่หลายแห่งของรัฐฟลอริด้า จนฝนที่กระหน่ำลงมาแค่ 4 ชั่วโมง วัดปริมาณน้ำฝนได้สูงได้ถึง 30 นิ้ว เท่ากับช่วงเวลา 4 เดือนของฝนที่เคยเกิดฝนตกตามปกติในฟลอริด้า เลยทีเดียว


ชัตดาวน์เวียดนาม อพยพคนครึ่งล้าน หนีพายุ ‘โนอึล’ ขึ้นฝั่งถล่มสุดระทึก

พายุโซนร้อน โนอึล ขึ้นฝั่งทางตอนกลางของเวียดนาม ‘ตาพายุ’ พัดผ่านเมืองท่องเที่ยวชื่อดัง ‘ดานัง’ ทางการสั่งอพยพชาวเวียดนามในพื้นที่เสี่ยงนับ 5 แสนคน สายการบินต้องยกเลิกเที่ยวบิน

เมื่อ 18 ก.ย. 63 สื่อต่างประเทศเกาะติดสถานการณ์พายุโซนร้อน ‘โนอึล’ เตรียมขึ้นฝั่งทางตอนกลางของประเทศเวียดนาม โดยเมืองท่องเที่ยวชื่อดัง ‘ดานัง’ กลายเป็นเมืองศูนย์กลาง หรือที่ ‘ตาพายุ’ โนอึลจะเคลื่อนตัวผ่านในวันที่ 18 ก.ย.นี้ โดยสำนักอุตุนิยมวิทยาเวียดนามคาดการณ์ว่า พายุโซนร้อนโนอึล จะเคลื่อนตัวผ่านบริเวณพื้นที่ตั้งแต่จังหวัดกว๋างบิ่ญ จนถึงจังหวัดกว๋างนัม ด้วยความเร็วลมสูงสุดถึงระดับ 7-9 ซึ่งจะก่อให้เกิดฝนตกหนักถึงหนักมาก จนอาจวัดปริมาณน้ำฝนได้ระหว่าง 100-300 มิลลิเมตร ส่วนใหญ่ในพื้นที่จังหวัดเหงะอาน จนถึง กว๋างหงาย ในวันศุกร์ที่ 18 ก.ย.

ก่อนหน้านี้ รัฐบาลเวียดนามได้สั่งอพยพประชาชนนับ 500,000 คน ซึ่งอยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยที่จะต้องเผชิญกับพายุโนอึล ในขณะที่พายุได้ทวีกำลังแรงขึ้นขณะเตรียมจะขึ้นฝั่งทางตอนกลางของเวียดนาม ด้วยความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางพายุประมาณ 135 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ด้านรองนายกรัฐมนตรี ตรินห์ ดินห์ ดุง ของเวียดนาม กล่าวเตือนประชาชนให้ระมัดระวังและเตรียมพร้อมที่จะประสบภัยจากพายุว่า พายุโซนร้อนโนอึล เป็นพายุรุนแรงมากๆ ที่จะขึ้นฝั่งถล่มเวียดนาม ขณะที่อิทธิพลของพายุโซนร้อน โนอึล ได้ทำให้สนามบินต่างๆ ทางตอนกลางของเวียดนาม ต้องยกเลิกเที่ยวบินทั้งหมดหลายสิบเที่ยว และปิดสนามบินในวันศุกร์นี้

ที่มา : Jakartapost ,sggpnews

Cr ภาพ : Weather Underground

โปรดเกล้าฯ นายทหาร บิ๊กแก้ว บิ๊กบี้ บิ๊กอุ้ย บิ๊กแอร์บูล ไม่พลิกโผคุมกองทัพ

ราชกิจจานุเบกษา ประกาศ สำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องให้นายทหารรับราชการ 792 นาย บิ๊กแก้ว นั่ง ผบ.ทสส. บิ๊กบี้ ขึ้นเป็น ผบ.ทบ. บิ๊กอุ้ย คุมกองทัพเรือ บิ๊กแอร์บูล ไม่พลิกโผ นั่ง ผบ.ทอ.

เมื่อวันที่ 18 ก.ย. 63 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ประกาศ สำนักนายกรัฐมนตรีเรื่องให้นายทหารรับราชการมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้นายทหารรับราชการสนองพระเดชพระคุณ ในส่วนของสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม กองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ โดยมีตำแหน่งสำคัญ อาทิ

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม

พลเอก ณัฐ อินทรเจริญ เป็นปลัดกลาโหม ต่ออีก 1 ปี โดยเป็นปีสุดท้ายก่อนเกษียณอายุราชการ บิ๊กชู พลเอก ชูชาติ บัวขาว รองผบ.สส. เพื่อน ตท.20 หลบทางที่ บก.กองทัพไทย ข้ามมาเป็น รองปลัดกลาโหม ก่อนเกษียณในการรับราชการปีสุดท้าย

บิ๊กจ้อ พลอากาศเอก ธรินทร์ ปุณศรี ผช.ผบ.ทอ. (ตท.20) แคนดิเดต ผบ.ทอ. ถูกโยกข้ามมาเป็น รองปลัดกลาโหม ในปีสุดท้าย ก่อนเกษียณ

กองบัญชาการกองทัพไทย

บิ๊กแก้ว พลเอก เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ (ตท.21) เสธ.ทหาร เป็น ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ที่เป็น “ทหารคอแดง” คนแรก เพราะทำหน้าที่ใน ฉก.ทม.รอ.904

พลเรือเอก ช่อฉัตร กระเทศ (ตท.19) รองผบ.ทร. ที่พลาดหวังจาก ผบ.ทร. ข้ามเป็น รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด

กองทัพบก

บิ๊กบี้ พลเอก ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ (ตท.22) ผช.ผบ.ทบ. เป็น ผบ.ทบ.คนใหม่ และเพราะทำหน้าที่ในฉก.ทม.รอ.904 จึงเป็น ทหารคอแดง คนที่ 2 ต่อจาก บิ๊กแดง พลเอก อภิรัชต์ คงสมพงษ์ และมีอายุราชการ ถึง ต.ค.2566

บิ๊กเป้ง พลเอก ธีรวัฒน์ บุณยะวัฒน์ (ตท.19) เสธ.ทบ. เป็น รอง ผบ.ทบ.

พลโท ธรรมนูญ วิถี (ตท.22) แม่ทัพภาค 1 เป็น ผู้ช่วย ผบ.ทบ.

พลโท พรศักดิ์ พูลสวัสดิ์ (ตท.20) แม่ทัพภาค 4 เป็น ผู้ช่วย ผบ.ทบ.

พลโท วรเกียรติ รัตนานนท์ (ตท.20) รองเสธ.ทบ. เป็น เสนาธิการทหารบก

แม่ทัพต่อ พลโท เจริญชัย หินเธาว์ (ตท.23) แม่ทัพน้อย 1 เป็น แม่ทัพภาคที่ 1

บิ๊กหม่อง พลโท ธเนศ วงศ์ชะอุ่ม (ตท.21) เจ้ากรมยุทธศึกษา ทบ. เป็น แม่ทัพภาค 2

บิ๊กต้น พลตรี อภิเชษฐ์ ชื่อสัตย์ (ตท.21) รองแม่ทัพภาค 3 เป็น แม่ทัพภาคที่ 3

พลตรี เกรียงไกร ศรีรักษ์ (ตท.22) รองแม่ทัพภาค 4 เป็น แม่ทัพภาคที่ 4

กองทัพเรือ

บิ๊กอุ้ย พลเรือเอก ชาติชาย ศรีวรขาน (ตท.20) ผช.ผบ.ทร. เป็น ผู้บัญชาการทหารเรือคนใหม่ โดยมีอายุราชการอีก 1 ปี

ด้าน บิ๊กแก๋ง พลเรือเอก สิทธิพร มาศเกษม (ตท.20) เสธ.ทร. เป็น รองผู้บัญชาการทหารเรือ

กองทัพอากาศ

บิ๊กแอร์ พลอากาศเอก แอร์บูล สุทธิวรรณ (ตท.21) ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ ทอ. เป็น ผู้บัญชาการทหารอากาศ ท่ามกลางความฮือฮาจากโผทหารที่ออกมาก่อนหน้านี้ และยังเป็น ผบ.ทอ.ที่อดีตเคยเป็นนักบินเครื่องบินลำเลียง ซี-130

พลอากาศเอก สุรพล พุทธมนต์ (ตท.20) ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ ทอ. เป็น รองผู้บัญชาการทหารอากาศ

ส่วน บิ๊กตั้ว พลอากาศเอก สฤษฎ์พงศ์ วัฒนารางกูร (ตท.21) หัวหน้าคณะนายทหารฝ่ายเสธ. เป็น ผู้บัญชาการกรมควบคุมการปฏิบัติทางอากาศ (ผบ.คปอ.)