“พ.อ.วิจารณ์” เข้าให้ปากคำดีเอสไอในคดีล้มเจ้า พร้อมยืนยันคำให้การเดิมที่เคยให้ไว้เมื่อปี 2533 และมอบเอกสารข้อมูลในการข่าวเพิ่มอีก 1 ลัง ขณะที่รองอธิบดีดีเอสไอ ผยที่ได้รับวันนี้เป็นข้อมูลเดิมที่ดีเอสไอสอบสวนไปแล้ว ชี้เมื่อไม่มีพยานหลักฐานเอาผิดตามข้อกล่าวหาได้ ดีเอสไอจำเป็นต้องสรุปสำนวนตามพยานหลักฐานเท่าที่มีอยู่ โดยจะประชุมร่วมกับพนักงานอัยการ เพื่อพิจารณาปิดสำนวนคดี คาดสรุปสำนวนคดีได้ก่อนช่วงหยุดยาวสงกรานต์
วันที่ 30 มี.ค. ที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) พ.อ.วิจารณ์ จดแตง ผู้อำนวยการส่วนกฎหมายกองอำนายการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.)กล่าวภายหลังเข้าให้ปากคำกับพนักงานสอบสวนคดีการกระทำความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งรัฐด้วยการล่วงละเมิดสถาบัน (คดีล้มเจ้า) เพื่อชี้แจงที่มาแผนผังของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) นานกว่า 2 ชั่วโมงว่า ตนเข้าให้การโดยยืนยันตามคำให้การเดิมที่เคยให้ไว้เมื่อปี 2553 พร้อมมอบเอกสารเพิ่มเติมจำนวน 1 ลัง ซึ่งเป็นข้อมูลในชั้นการข่าว เพื่อให้พนักงานสอบสวนนำไปดำเนินการสอบสวนต่อ โดยดีเอสไอไม่ได้ขอข้อมูลใดเพิ่มเติม จากนี้จึงขึ้นอยู่กับการสอบสวนของพนักงานสอบสวนเห็นสมควรดำเนินการต่อไป
ด้าน พ.ต.อ.ประเวศน์ มูลประมุข รองอธิบดีดีเอสไอ ในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวนคดีล้มเจ้า กล่าวว่า พ.อ.วิจารณ์ ไม่ได้ให้รายละเอียดใดเพิ่มเติมจากที่เคยให้การไว้ เนื่องจากเป็นเพียงผู้รับมอบอำนาจจาก ศอฉ. ดังนั้นจึงไม่ทราบรายละเอียดของแผนผัง เพราะเพิ่งเห็นแผนผังเมื่อพนักงานสอบสวนเรียกมาให้ข้อมูล โดยที่ผ่านมาดีเอสไอได้เรียกสอบพยานที่เกี่ยวข้องครบถ้วนแล้ว แต่ไม่มีพยานคนใดระบุถึงที่มาที่ไปของผังรวมถึงชี้ชัดถึงการกระทำความผิดของบุคคลตามแผนผังได้ สำหรับข้อมูลที่ พ.อ.วิจารณ์นำมามอบให้ดีเอสไอวันนี้ก็เป็นข้อมูลเดิมที่ดีเอสไอสอบสวนไปแล้ว ดังนั้น เมื่อไม่มีพยานหลักฐานเอาผิดตามข้อกล่าวหาได้ ดีเอสไอจึงจำเป็นต้องสรุปสำนวนตามพยานหลักฐานเท่าที่มีอยู่ ซึ่งเว้นแต่จะมีผู้ใดที่มีข้อมูลเข้ามาให้การเพิ่มเติม โดยจะประชุมร่วมกับพนักงานอัยการ เพื่อพิจารณาปิดสำนวนคดี โดยคาดว่าจะสามารถสรุปสำนวนคดีได้ก่อนช่วงวันหยุดเทศกาลสงกรานต์
พ.ต.อ.ประเวศน์กล่าวต่อว่า สำหรับคดีที่เกี่ยวเนื่องเกี่ยวพันซึ่งเป็นความผิดส่วนบุคคลกว่า 30 คดี ดีเอสไอจะดำเนินการสืบสวนต่อไปตามหลักฐานเป็นรายบุคคล แต่ยอมรับว่าคดีส่วนใหญ่เป็นการกระทำความผิดที่ปรากฏตามเว็บไซต์ และผู้ต้องหาส่วนใหญ่หลบหนีไปต่างประเทศทำให้การสอบสวนเอาผิดเป็นไปได้ยาก ซึ่งจำเป็นต้องขอความร่วมมือกับกระทรวงการต่างประเทศ แต่ไม่ได้รับความร่วมมือเท่าที่ควร
นอกจากนั้นยังมีรางวัลพิเศษ "เกิดงานนี้" ซึ่งเป็นคัดเลือกกันเองของเหล่าบรรดาช่างภาพและผู้สื่อข่าว โดยดูจากการแต่งตัวศิลปินดารานักแสดงที่แต่งตัวได้เก๋ สวย หล่อและแฟชั่นจ๋าที่สุด ผลปรากฎ "เมย์ พิชญ์นาฎ สาขากร" คว้ารางวัลไปครอง โดยได้กำไรฝังเพชรเป็นของรางวัล
เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 30 มีนาคม ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ พรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2555 มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรค ปชป.เป็นประธาน โดยที่ประชุมได้รับรองรายงานการประชุมใหญ่วิสามัญ เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2554 รายงานการดำเนินกิจกรรมของพรรคในรอบปี 2554 รับรองงบการเงิน ตามข้อบังคับพรรคข้อ 119 แต่งตั้งผู้สอบบัญชีพรรค พิจารณาแก้ไขข้อบังคับพรรค พิจารณาแผนการใช้เงิน แผนการดำเนินงานประจำปี 2556 ตามยุทธศาสตร์ 4 ปี พร้อมเลือกตั้งคณะกรรมการ 3 คณะ ได้แก่ คณะกรรมการการคัดเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้ง คณะกรรมการนโยบายพรรค และคณะกรรมการส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตยในพรรค ซึ่งมีวาระ 2 ปี
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนการลงคะแนนที่ประชุมได้เปิดโอกาสให้สมาชิกแสดงความคิดเห็น โดยนายสุรเชษฐ์ แวอาแซ ส.ส.นราธิวาส ปชป. เสนอความเห็นว่า อยากให้ที่ประชุมเลือกคณะกรรมการการคัดเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้ง มาจากบุคคลที่อยู่นอกโครงสร้าง ที่สามารถนำพาพรรคในการเลือกตั้งครั้งต่อไป โดยต้องเป็นคนรอบรู้ มีวิสัยทัศน์และมีบารมี จึงขอเสนอรายชื่อคณะกรรมการคัดเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งจำนวน 9 คน ซึ่งหนึ่งในนั้นให้มีชื่อนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตเลขาธิการพรรค เป็นหนึ่งในผู้ถูกเสนอชื่อด้วย แต่นายสุเทพ ลุกขึ้นขอถอนตัว ทำให้ข้อเสนอตกไป จากนั้นที่ประชุมได้เปิดให้สมาชิกลงคะแนนลับเพื่อเลือกกรรมการทั้ง 3 ชุด ปรากฏว่า คณะกรรมการการคัดเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้ง มีผู้ได้รับการคัดเลือก ดังนี้ 1.นายบัญญัติ บรรทัดฐาน 2.นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน 3.นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน 4.นายกรณ์ จาติกวณิช 5.นายอลงกรณ์ พลบุตร 6.นายนิพนธ์ บุญญามณี 7.นายถาวร เสนเนียม 8.นายวิฑูรย์ นามบุตร และ 9.นางศิริวรรณ ปราศจากศัตรู
ต่อมาที่ประชุมได้ประกาศยุทธศาสตร์พรรค ใน 4 ปี นับแต่ปี 2555-2558 เพื่อให้พรรค ในฐานะที่เป็นพรรคแห่งชาติ มีบทบาทในเวทีสากล และเป็นที่ยอมรับของประชาชนทั่วประเทศ สามารถเอาชนะการเลือกตั้ง ได้เสียงข้างมากในสภา เพื่อเป็นรัฐบาลนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ โดยการพัฒนาฐานสนับสนนพรรคให้มั่นคง จะดำเนินการตาม 15 ยุทธศาสตร์ดังนั้น 1.สมาชิกพรคมีอุดมการณ์ เข้มแข็ง ทุ่มเทรับใช้พรรค โดยจะขยายฐานสมาชิก 2.ขยายแนวร่วมทางกรเมือง มุ่งเป้าไปยังสาขาอาชีพต่างๆ 3.สาขาพรรคเข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้ เพื่อรับภาระงานการเมืองในเขตพื้นที่ 4.ระดมความคิดในแนวทาง “เครือข่ายสมัชชาประชาชน-ประชาธิปัตย์” โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน ยืนหยัดรักษาระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 5.ท้องถิ่นเข้มแข็ง ประชาธิปไตยมั่นคง 6.จัดกลุ่มจังหวัดเพื่อประสิทธิภาพในการทำงานการเมืองของพรรค 7.พรรคเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
8.พรรคของมวลชนที่มีฐานการเงินมั่นคง ให้มีคณะกรรมการบริหารเงินทุนและมีหน่วยงานเฉพาะ ทำหน้าที่รณรงค์ระดมทุนหารายได้เข้าสู่พรรคโดยวิธีการถูกต้อง เปิดเผย โปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ โดยคณะกรรมการฯดังกล่าว เป็นผู้วางแผนจัดกิจกรรมเพื่อระดมทุน หารายได้จากการสนับสนุนของประชาชน เพื่อให้ประชาชนเป็นเจ้าของพรรคที่แท้จริง 9.การประชาสัมพันธ์เชิงรุกอย่างเป็นระบบ เน้นบทบาทผลงานของพรรค ทิศทางการแก้ปัญหาของประชาชน ที่เรียกว่า “วาระประชาชน” 10.เตรียมความพร้อมเพื่อการเลือกตั้งทั่วไป จัดตั้งคณะกรรมการอำนวยการเลือกตั้ง มีแผนระยะสั่น กลางและยว เตรียมความพร้อมของผู้สมัคร การทำงบประมาณการเลือกตั้งและอื่นๆ 11.พรรคเข้มแข็งมีประสิทธิภาพเป็นที่พึ่งของประชาชน 12.ส่งเสริมความรร่วมมือและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระดับนานาชาติ 13.นโยบายพรรคทันสมัย พร้อมเป็นรัฐบาลที่ดี 14.ส่งเสริมความเป็นประชาธิปไตยในพรรค สนับสนนการเมืองภาคประชาชน และ 15.องค์กรพรรคเข้มแข็ง พรรคแข็งแรง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับแผนการใช้จ่ายเงินปี 2556 นั้น มีการทำเอกสารแจกให้สมาชิกรับทราบแผนการใช้จ่ายเงินตามยุทธศาสตร์ดังกล่าวรวม 151 ล้านบาท เพื่อจัดอบรมสมาชิกพรรค ยุวประชาธิปัตย์ พัฒนาสาขาพรรค รวมถึงการจัดโครงการสมัชชาประชาชนที่จะมีขึ้นที่อิมแพคเมืองทองธานี สำหรับงบประมาณที่ใช้มากที่สุดจะอยู่ที่แผนการดำเนินงานการพัฒนาสาขาพรรคให้เข้มแข็ง วงเงิน 35.2 ล้านบาท ในส่วนการขยายฐานสมาชิกพรรควงเงิน 22 ล้านบาท และยังมีแผนงานด้านโฆษณาประชาสัมพันธ์อีก 20 ล้านบาทด้วย นอกจากนี้ ในการจัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี ยังได้จัดเวทีสมัชชาประชาชน รวมพลังเดินหน้าประเทศไทย ควบคู่ไปด้วย ที่อาคารอิมแพคเมืองทองธานี โดยมีตัวแทนกลุ่มอาชีพต่างๆ กว่า 300 คน รวมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแนวทางในการออกแบบประเทศ ก่อนที่จะมีการประกาศเจตนารมณ์เกี่ยวกับจุดยืนของพรรคต่อสถานการณ์ของประเทศโดยนายอภิสิทธิ์ ในวันที่ 31 มีนาคมนี้
ด้านนายอภิสิทธิ์ ให้สัมภาษณ์ถึงการวางยุทธศาสตร์ ปชป. ว่า เป็นความระดมความคิดเห็นของประชาชนเพื่ออนาคตของประเทศ เพราะขณะนี้คนจำนวนมากทราบดีว่า เราอยู่ในสภาพเช่นนี้ต่อไปไม่ได้ เพราะการเมืองกลายเป็นเรื่องผลประโยชน์ เป็นเรื่องการช่วงชิงอำนาจอย่างเดียว ปัญหาเศรษฐกิจถูกทิ้งไว้ ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมในระดับโครงสร้างไม่ได้รับการแก้ไข โดย ปชป.จะหารือถึงการออกแบบประเทศไทย เพื่อให้เห็นว่าอนาคตของประเทศไทยที่ควรจะเป็น เป็นอย่างไร เพื่อนำไปสู่การเดินหน้าร่วมกัน
© 2011 - 2026 Thai LA Newspaper 1100 North Main St, Los Angeles, CA 90012