13 มีนาคม 2568 มหกรรมเปิดโปงพระเอกเกาหลีชื่อดังมาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดผู้ใช้งาน X รายหนึ่ง ได้ออกมาเปิดเผยว่า "ลองไปถามวีรกรรมของนักแสดงชายท่านนี้ กับทีมงานที่จัดคอนเสิร์ตให้ที่สยามพารากอนดูสิ เค้าจัดที่นั่งหลายพันที่ แต่พอถึงเวลาตัวเองอยากจะตีแบดตอนกลางดึก คืนก่อนที่จะจัดงาน สั่งให้เขาโละพื้นที่ทั้งหมด แล้วไปตีเส้นคอร์ดแบต หลังจากตีเสร็จค่อยให้จัดที่ใหม่ พอจัดงานเสร็จรอบแรก อีพวกสตาฟ มองตาปริบๆ ไม่มีเงินซื้อบัตร แล้วยังต้องมาจัดสนาม จะนอนไม่ได้นอน ตีแบตเสร็จ จัดเก้าอี้กลับคืน ใช้แล็คซีนตีคอร์ดแบต ตั้งเน็ทแบต งาน ปี 2014 Kim Soo Hyun Asia Tour1st Memories in Thailand คืนวันถัดมา อยาก จะตีแบดอีก ออแกไนซ์ขอให้ไปตีแบดที่คอร์ดโดยจะเหมาคอร์ดให้ ก็ไม่ยอม เดี๋ยวเป็นส่วนตัว จะต้องตีในพารากอนฮอลล์"
จากวันนั้น จนถึงวันนี้ กูรอมานานมาก วันที่เขาจะตาสว่างกันซักที กูจำได้นะคะที่บอกว่า "เน็ทไม่ตึง ตีไม่ได้ ขึงเน็ทใหม่" ก่อนที่จะมีหลายคนเข้ามาโพสต์ภาพตีแบดฯ รวมถึงคลิปออกมาอย่างมากมาย พร้อมทั้งโพสต์อีกว่า "คิมซูฮยอนบอกว่า สถานที่จัดมีตติ้งวันนี้ เมื่อวานเค้าเพิ่งใช้ตีแบดไป" เป็นการยืนยันคำพูดของผู้โพสต์เรื่องดังกล่าว
ซึ่งหลังจากที่ผู้ใช้งาน X ได้โพสต์เรื่องราวนี้ออกไปนั้น มีผู้เข้าชมถึง 5.8 ล้านครั้ง ยอดรีทวีต 27,000 ครั้ง และมีผู้โควทข้อความแสดงความคิกเห็นโจมตีพระเอกดังเป็นจำนวนมาก
13 มีนาคม 2568 ที่รัฐสภา นายรังสิมันต์ โรม สส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชน ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ(กมธ.)ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ สภาผู้แทนราษฎรให้สัมภาษณ์ถึงการนำคณะสื่อมวลชนไปติดตามความเป็นอยู่ของชาวอุยกูร์ โดยรัฐบาลว่า อยากให้มองสาระสำคัญคือ สื่อมวลชนที่ไปจะมีมีอิสระในการทำข่าวมากน้อยแค่ไหน หากสื่อมวลชนมีอิสระในการทำข่าวหรือสอบถามพูดคุยโดยที่ไม่จำเป็นต้องไปกับคณะตลอดเวลา แบบนี้จะทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ แต่ถ้าต้องไปตามจุดที่วางไว้ แตกแถวไม่ได้ ก็อาจจะไม่ได้เห็นภาพที่แท้จริงว่าเกิดอะไรขึ้น ตนคิดว่าเรื่องนี้ถ้าอยากให้เรื่องคลี่คลาย รัฐบาลไทยต้องพูดคุยกับรัฐบาลจีน ว่าการที่มีความร่วมมือแบบ นี้สังคมไทยฝ่ายการเมืองในไทย สภาผู้แทนราษฎร ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายค้านหรือฝ่ายรัฐบาล เป็นห่วงว่าสุดท้ายกำลังทำผิดกฎหมายภายในประเทศ และระหว่างประเทศ หรือไม่
นายรังสิมันต์ กล่าวต่อว่า หากอยากมีความมั่นใจ ก็ต้องสร้างความมั่นใจ ต้องแต่กระบวนการแรก และว่ามีอิสระการทำข่าวมากน้อยแค่ไหน ซึ่งประเด็นไม่ได้อยู่ที่ว่า 40 คนมีสภาพความเป็นอยู่อย่างไร ต้องดูต่อว่าอีก 100 กว่าคนที่ส่งไปก่อนหน้านี้ เมื่อสมัยรัฐบาล คสช. มีชีวิตอยู่หรือไม่ พร้อมอ้างถึงรายงานที่ว่าสถานการณ์ในซินเจียงสิ่งวิกฤติมากต้องดูว่าข้อมูลนี้มีความน่าเชื่อถือมากแค่ไหน อาจจะเป็นเครื่องยืนยันว่าเราอาจจะได้ทำผิดในการส่งชาวอุยกูร์ไปตายกลายเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน กฎหมายระหว่างประเทศ และที่น่าเจ็บปวดคือ พ.ร.บ.ป้องกันการอุ้มหาย เป็นกฎหมายที่เอาผิดจากเจ้าหน้าที่รัฐ ที่อาจจะซวยไปด้วย เพราะทำตามคำสั่งของผู้มีอำนาจเป็นเรื่องที่คิดไม่รอบด้าน
“เรื่องนี้ไม่โปร่งใสแน่นอน หากโปร่งใสคงไม่ส่งกลับตอนดึกขนาดนั้น คงไม่มีการติดสติกเกอร์ปิดทึบแบบนั้น ถ้าโปร่งใสรัฐบาลควรแถลงข่าวชี้แจงกับประชาชนไปแล้ว สุดท้ายปัญหาจะเกิดขึ้นกับประชาชนคนไทยทั้งประเทศ ต้องแบกรับไม่ว่าจะเกิดอะไรก็แล้วแต่” นายรังสิมันต์ กล่าว
เมื่อวันที่ 13 มี.ค.2568 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้สัมภาษณ์ถึงกรณี ว่า เครื่องบินมีที่นั่งทั้งหมด 20 กว่าที่ เป็นเครื่องของกองทัพ จะช่วยประหยัดเวลาไป 8 ชั่วโมง ไม่ต้องไปเปลี่ยนเครื่อง จำนวนที่นั่งมีเท่านี้ จริงๆ หากเอาสื่อของรัฐ เช่น NBT หรือช่อง 5 ไปเป็นพูลก็ได้ แต่เราพยายามให้มีลักษณะพิเศษ คือ โดยมีทั้งสื่อที่เป็นตัวแทนหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ ออนไลน์ โดยมีข่าวว่าทั้งหมดมาขอที่ตน และตนเป็นผู้ตัดสินใจ จริงๆ ไม่เกี่ยวเลย เป็นการร่วมกันทำงาน โดยให้ทีมโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ประสาน และคัดเลือกมา ส่วนที่กระทรวงกลาโหมก็ให้ทางโฆษกกระทรวงกลาโหมเป็นผู้ประสาน และเลือก บางที่ตนไม่ทราบว่าคัดเลือกมาอย่างไร แต่บางที่สื่อก็มีการตกลงกัน ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนไป
นายภูมิธรรม กล่าวว่า ส่วนที่มีการพาดพิงถึงตนว่าไม่แฟร์ รัฐบาลเลือกสื่อที่ไปนั้น มองว่าเป็นการดูถูกสื่อ ตนไม่คิดว่าใครเป็นสื่อของรัฐบาล ยกเว้น NBT ที่เขาก็ทำหน้าที่ นอกจากนี้ สื่อที่เลือกไปก็เลือกจากความนิยม และเรตติ้ง ที่มีอิทธิพลต่อประชาชนมากที่สุด รัฐบาลกระจายให้ทั้งหมด จะมาบอกว่าจะไปขอสมาคม หรือที่มีคนบอกว่าจะไปขอทางการจีน ก็เรื่องของท่าน ไม่ใช่บอกว่าเราเอาสื่อรัฐบาลไปทั้งนั้น รอดูว่าใครได้ไปแล้วตอบเองว่าคุณไปดูถูกเขาหรือไม่ว่าเป็นสื่อรัฐบาล ซึ่งดูจากชื่อที่ออกมาคิดว่าทั่วถึง ทั้งจากทำเนียบรัฐบาล กระทรวงกลาโหม และกระทรวงยุติธรรม และครั้งนี้มีที่นั่งให้สื่อ 7-8 ที่ มีคนมาขอไปอีก ตนก็บอกว่าไปไม่ได้แล้ว ที่มีแค่นี้ เพราะฉะนั้น ไม่แฟร์ที่จะมาบอกว่าเราทำแบบนี้ ขอให้ดูผลที่ออกมาก่อน แล้วค่อยมาตรวจสอบว่าสื่อที่ไปฝักใฝ่ฝ่ายใดหรือไม่
ผู้สื่อข่าวถามว่า นายรังสิมันต์ถามว่า สื่อจะมีเสรีภาพในการทำข่าวครั้งนี้หรือไม่ นายภูมิธรรม ย้อนถามว่า “เอ้า คุณจะมาถามผมได้ไง คุณต้องไปถามพวกคุณสิ” ผู้สื่อข่าวจึงพยายามถามย้ำว่า นายรังสิมันต์เป็นคนถาม นายภูมิธรรม กล่าวว่า “คุณโรมถามก็เรื่องของคุณโรม อย่าไปสนใจ คุณโรมก็ถามแบบนี้ตลอด แต่อย่าเป็นคำถามที่ไม่มีรากฐาน” จากนั้นนายภูมิธรรมได้ขึ้นรถออกจากทำเนียบรัฐบาลไปทันที
12 มี.ค. 2568 สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานข่าว US Education Department to cut half its staff as Trump eyes its elimination ระบุว่า กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) สหรัฐอเมริกา เปิดเผยเมื่อวันที่ 11 มี.ค. 2568 ถึงแผนการเลิกจ้างบุคลากรถึงเกือบครึ่งหนึ่ง ซึ่งอาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่ากำลังนำไปสู่การยุบกระทรวงดังกล่าวในท้ายที่สุด เนื่องจากหน่วยงานต่างๆ ของรัฐ กำลังเร่งดำเนินการให้ทันกำหนดเวลาที่ โดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump) ประธานาธิบดีสหรัฐฯ กำหนดในการส่งแผนการลดจำนวนบุคลากรจำนวนมากในระยะที่ 2
ตามข่าวประชาสัมพันธ์ของกระทรวงฯ ระบุว่า การเลิกจ้างดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งในภารกิจสุดท้ายของกระทรวงฯ ซึ่งสื่อถึงคำมั่นของทรัมป์ที่จะยุบหน่วยงานนี้ ซึ่งมีหน้าที่ดูแลกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) มูลค่า 1.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ บังคับใช้กฎหมายสิทธิมนุษยชนในโรงเรียน และจัดหาเงินทุนของรัฐบาลกลางให้แก่เขตการศึกษาที่ขัดสน
รอยเตอร์อ้างคำให้สัมภาษณ์ของ ลินดา แม็คมาฮฮน (Linda McMahon) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ที่ตอบคำถามสำนักข่าว Fox News ว่า การเลิกจ้างบุคลากรจะส่งผลให้กระทรวงต้องยุบเลิก และเสริมด้วยว่า การกระทำดังกล่าวเป็นคำสั่งของประธานาธิบดี การเลิกจ้างนี้จะทำให้กระทรวงเหลือเจ้าหน้าที่ 2,183 คน ลดลงจาก 4,133 คน ในเดือน ม.ค. 2568 ที่ทรัมป์เพิ่งเข้ารับตำแหน่งผู้นำสหรัฐฯ ขณะที่ผู้สื่อข่าวของรอยเตอร์ รายงานว่าได้เห็นประกาศภายในของกระทรวงฯ ปิดทำการสำนักงานในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ตั้งแต่ช่วงเย็นวันที่ 11 – วันที่ 12 มี.ค. 2568 แต่โฆษก ศธ. ไม่ได้ตอบคำถามเกี่ยวกับลักษณะของปัญหาความปลอดภัยที่นำไปสู่การปิดสำนักงานในทันที
ในแผนการลดขนาดภาครัฐ ทรัมป์ได้มอบหมายให้มหาเศรษฐีผู้ร่ำรวยที่สุดในโลกอย่าง อีลอน มัสก์ (Elon Musk) บัญชาการหน่วยกำกับประสิทธิภาพภาครัฐ (DOGE) เข้าไปตรวจสอบหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาลกลาง ซึ่งนำไปสู่การเลิกจ้างบุคลากรภาครัฐฝ่ายพลเรือนแล้วมากกว่า 1 หมื่นคน จากทั้งหมด 2.3 ล้านคน นอกจากนั้นยังระงับความช่วยเหลือต่างประเทศส่วนใหญ่ และยกเลิกโครงการและสัญญาหลายพันโครงการ แม้จะต้องเผชิญกับการถูกฟ้องหลายสิบคดีที่ผู้ฟ้องมองว่าทรัมป์และคณะทำงานกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ตาม
แนวทางการใช้กำลังอย่างโจ่งแจ้งของ DOGE ทำให้เจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวและสมาชิกรัฐสภาพรรครีพับลิกัน ต้นสังกัดเดียวกับทรัมป์หลายคนผิดหวัง และบางคนได้เผชิญหน้ากับประชาชนที่โกรธแค้นในศาลากลางเมือง เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ทรัมป์บอกกับผู้บริหารหน่วยงานต่างๆ ว่าพวกเขาไม่ใช่มัสก์ ที่มีสิทธิ์ตัดสินใจขั้นสุดท้ายในการจัดหาบุคลากร ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวต่อสาธารณะครั้งแรกที่โดดเด่นของเขาเพื่อ “ซื้อใจ (Restrain)” ซีอีโอของ Tesla
หน่วยงานของรัฐบาลสหรัฐฯ ทั้งหมดได้รับคำสั่งให้จัดทำแผนการเลิกจ้างครั้งใหญ่ภายในวันที่ 13 มี.ค. 2568 เพื่อเตรียมการสำหรับขั้นตอนต่อไปของนโยบายลดต้นทุนของทรัมป์ หน่วยงานหลายแห่งเสนอเงินให้พนักงานเกษียณอายุก่อนกำหนดเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้นำสหรัฐฯ ในส่วนของ ศธ. นั้น บุคลากรที่ได้รับผลกระทบจะถูกพักงานตั้งแต่วันที่ 21 มี.ค. 2568 เป็นต้นไป
สหภาพแรงงานที่เป็นตัวแทนของบุคลากร ศธ. สหรัฐฯ มากกว่า 2,800 คน ประกาศจะต่อสู้กับการตัดลดค่าใช้จ่ายอย่างรุนแรงนี้ โดย เชอเรีย สมิธ (Sheria Smith) ประธานสหพันธ์พนักงานรัฐบาลอเมริกัน สาขา 252 กล่าวว่า สิ่งที่ชัดเจนจากการเลิกจ้างจำนวนมาก ความวุ่นวาย และการขาดความเป็นมืออาชีพที่ไม่ได้รับการตรวจสอบในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาก็คือ ระบอบการปกครองนี้ไม่เคารพพนักงานหลายพันคนที่อุทิศอาชีพของตนเพื่อรับใช้เพื่อนร่วมชาติชาวอเมริกัน
ทรัมป์และมัสก์กล่าวอ้างว่า ภาครัฐของสหรัฐฯ มีสภาพเทอะทะและใช้งบประมาณอย่างสิ้นเปลือง และ DOGE อ้างว่าสามารถประหยัดเงินได้ 105,000 ล้านเหรียญสหรัฐจากการตัดงบประมาณ แต่ได้บันทึกข้อมูลการประหยัดดังกล่าวต่อสาธารณะเพียงเศษเสี้ยวเดียวเท่านั้น และการบัญชีของบริษัทก็เต็มไปด้วยข้อผิดพลาด ขณะที่รัฐบาลกลางรายงานการจ่ายเงินที่ไม่เหมาะสมประมาณ 162,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปีงบประมาณ 2567 ตามรายงานประจำปีของสำนักงานความรับผิดชอบของรัฐบาลสหรัฐฯ ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 11 มี.ค. 2568 รายงานดังกล่าวระบุว่าส่วนใหญ่เป็นการจ่ายเงินเกิน โดยค่าใช้จ่ายของรัฐบาลกลางทั้งหมดสูงถึง 6.75 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในปีงบประมาณนั้น ตามรายงานของสำนักงานงบประมาณรัฐสภา
รายงานข่าวกล่าวต่อไปว่า หน่วยงานอื่นๆ ได้เสนอเงินก้อนสูงสุด 25,000 เหรียญสหรัฐก่อนหักภาษีแก่บุคลากรที่สมัครใจลาออกจากงาน ซึ่งในจำนวนนี้ ได้แก่ สำนักงานบริหารงานบุคคล สำนักงานประกันสังคม กระทรวงสาธารณสุขและบริการมนุษย์ รวมถึงองค์การอาหารและยา (อย.) ของสหรัฐฯ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรบุคคลจากหน่วยงานของรัฐบาลกลางหลายแห่งกล่าวว่า ข้อเสนอลาออกโดยสมัครใจ ซึ่งรวมกับโปรแกรมอื่นที่ผ่อนปรนข้อกำหนดคุณสมบัติสำหรับการเกษียณอายุก่อนกำหนด ได้รับการยอมรับว่าเป็นวิธีที่ไม่ยุ่งยากในการช่วยให้บรรลุเป้าหมาย
รัฐบาลของทรัมป์กำลังเผชิญกับคดีความมากมาย หลังจากที่ได้ไล่เลิกจ้างบุคลากรในกลุ่มพนักงานทดลองงานออกไปหลายพันคนในระยะแรกของแผนการเลิกจ้างจำนวนมาก โดยเฉพาะบางหน่วยงาน เช่น หน่วยงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศสหรัฐ (USAID) และ สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านการเงิน (CFPB) ซึ่งบุคลากรถูกเลิกจ้างเกือบทั้งหมด
สำนักงานบริการทั่วไป (GSA) ซึ่งจัดการพอร์ตโฟลิโอทรัพย์สินของรัฐบาล กำลังพยายามขออนุมัติเพื่อเสนอเงินสมัครใจลาออกแก่บุคลากรเช่นกัน ตามอีเมลที่ส่งโดยหัวหน้ารักษาการฝ่ายเจ้าหน้าที่เมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2568 อย่างไรก็ตาม ผู้สื่อข่าวไม่สามารถติดต่อ GSA เพื่อขอความเห็นนอกเวลาทำการของสหรัฐฯ ได้ เช่นเดียวกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สหรัฐฯ ได้เสนอโบนัสสูงถึง 50,000 เหรียญสหรัฐฯ
ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรบุคคลและธรรมาภิบาลของรัฐกล่าวว่า โครงการสมัครใจลาออกดังกล่าวมีความน่าสนใจตรงที่เป็นไปโดยสมัครใจและมีความเสี่ยงต่อการฟ้องร้องทางกฎหมายน้อยกว่า นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวยังกำหนดให้ผู้ที่ยอมรับข้อเสนอต้องคืนเงินหากไปทำงานในหน่วยงานอื่นของภาครัฐ ภายในระยะเวลา 5 ปีแรกนับจากยอมรับข้อเสนอ ดังที่ ดอน มอยนิฮาน (Don Moynihan) ศาสตราจารย์ด้านนโยบายสาธารณะแห่งมหาวิทยาลัยมิชิแกน กล่าวว่า หากกลยุทธ์คือการให้พนักงานออกจากงานโดยสมัครใจมากที่สุด นั่นจะช่วยลดความเสี่ยงจากคำสั่งศาลและการคัดค้านในระยะยาว
มีเพียงไม่กี่หน่วยงานเท่านั้นที่แจ้งว่ามีแผนจะเลิกจ้างพนักงานกี่คนในช่วงที่สองของการเลิกจ้าง ได้แก่ กระทรวงกิจการทหารผ่านศึก ซึ่งมีเป้าหมายจะเลิกจ้างบุคลากรมากกว่า 80,000 คน และ องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ (NOAA) ซึ่งมีแผนจะเลิกจ้างบุคลากร 1,029 คน และแม้จะใกล้ถึงกำหนดเส้นตายแล้ว แต่ยังไม่มีหน่วยงานใดส่งแผนการเลิกจ้างไปยังสำนักงานบริหารทรัพยากรบุคคลของรัฐบาล (OPM) ที่รวบรวมข้อมูล ขณะที่ OPM ปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็น
ตามข้อมูลจากแหล่งข่าว ในส่วนของ OPM เองก็ได้เสนอเงินก้อนให้กับบุคลากรประมาณ 650 คน โดยมีเวลาตอบกลับจนถึงวันที่ 12 มี.ค. 2568 ขณะที่เมื่อวันที่ 10 มี.ค. 2568 อย. สหรัฐฯ ได้ส่งอีเมลถึงบุคลากรทั้งหมด 19,000 คน เพื่อแจ้งกำหนดเส้นตายสำหรับโครงการสมัครใจลาออกในวันที่ 14 มี.ค. 2568 โดยผู้ที่ยอมรับจะถูกเลิกจ้างภายในวันที่ 19 เม.ย. 2568 ส่วนกระทรวงสุขภาพและบริการมนุษย์สหรัฐ ในช่วงดึกของวันที่ 10 มี.ค. 2568 ได้เพิ่มข้อเสนอโดยเพิ่มเงินเดือนเต็มจำนวน 2 เดือนนอกเหนือจากโบนัส ให้กับผู้สมัครใจลาออก
© 2011 - 2026 Thai LA Newspaper 1100 North Main St, Los Angeles, CA 90012