เปิดรายชื่อ ครม.ชุดใหม่ หลังปรับเปลี่ยนครั้งล่าสุด ก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯ นายกฯ ควบกลาโหม “สนธิรัตน์”คุมพลังงาน “สุริยะ”นั่งอุตสาหกรรม “ธรรมนัส”กลับมาติดโผว่าการแรงงาน “พุทธิพงษ์”คุมดีอี “หม่อมเต่า-เทวัญ”ประจำสำนักนายกฯ
วันนี้(3 ก.ค.) รายงานข่าวจากพรรคพลังประชารัฐ(พปชร.) เปิดเผยถึงรายชื่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ หลังจากที่มีการเจรจาต่อรองภายในพรรคพลังประชารัฐและพรรคร่วมรัฐบาลจนได้ข้อยุติ และเตรียมนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย มีดังนี้
1.พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
2.พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี
3.นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายเศรษฐกิจ
4.นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายกฎหมาย
5.นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
6.นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
7.พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
8.นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
9.นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
10.พล.อ.ชัยชาญ ช้างมงคล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม
11.นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
12.นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
13.นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
14.นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
15.นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
16.นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
17.นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
18.นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
19.น.ส.มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
20.นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
21.นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
22.คุณหญิงกัลยาโสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
23.น.ส.กนกวรรณ วิลาวัลย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
24.นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
25.นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
26.นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
27.นายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
28.นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
29.นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
30.นายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
31.ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
32.นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
33.นายวีระศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รมช.พาณิชย์
34.นายสาธิต ปิตุเตชะ รมช.สาธารณสุข
35.ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
36.นายเทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ผลพวงจากเหตุระเบิดโรงแรมหรูและโบสถ์คริสต์ย่านใจกลางกรุงโคลัมโบ เมืองหลวงของศรีลังกา และอีก 2 เมือง เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2562 จนสร้างความเสียหายในชีวิตและทรัพย์สินที่ไม่อาจประเมินค่าได้ เหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 200 คนและบาดเจ็บอีกเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของศรีลังกาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
นาย Hon. John Amaratunga รัฐมนตรีการท่องเที่ยว ศรีลังกา
ด้วยเหตุนี้รัฐบาลโดยสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา จึงร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ(เอ็มโอยู) ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของศรีลังกาที่กำลังไปได้ดีให้กลับมาเฟื่องฟูอีกครั้ง
“นับเป็นการเริ่มต้นที่ดีที่การท่องเที่ยวของทั้งสองประเทศได้มาเจอกันโดยตรง มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดความแข็งแกร่ง เพราะเราผ่านร้อนผ่านหนาวมามาก ผ่านวิกฤติมาทุกรูปแบบ เชื่อว่าสามารถนำประสบการณ์มาช่วยการท่องเที่ยวศรีลังกาได้”
จุฬามณี ชาติสุวรรณ เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา กล่าวกับ "คณะสื่อมวลชนไทย" ภายหลังร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการท่องเที่ยว ระหว่างการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กับสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา ณ โรงแรมฮิลตัน โคลัมโบ โดยมี ฉัททันต์ กุญชร ณ อยุธยา รองผู้ว่าการด้านตลาดเอเชียและแปซิฟิกใต้ ททท. และ Mr.Kishu Gomes ประธานสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา ร่วมลงนาม
จุฬามณี กล่าวต่อว่า หากมองโดยลักษณะทางภูมิศาสตร์แล้ว ศรีลังกาถือเป็นฮับทางการค้าและการท่องเที่ยว เพราะเป็นเส้นทางการค้าระหว่างตะวันออกกลาง เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มาอย่างยาวนานตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ขณะเดียวกันคนศรีลังกามีความหลากหลายทางด้านเชื้อชาติและศาสนา หลังมีปัญหาภายในประเทศและสิ้นสุดสงครามกลางเมืองเมื่อปี 2552 รัฐบาลศรีลังกาจึงได้เริ่มการฟื้นฟูและพัฒนาประเทศกันขนานใหญ่ มีการเร่งพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภค ตลอดจนมีนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวและการลงทุน ด้วยการออกมาตรการต่างๆ เพื่อดึงดูดนักลงทุนจากต่างชาติเข้ามาลงทุน
“หลังจากปัญหาภายในประเทศสงบในปี 2552 เขาคิดว่าจะกลับมาแล้วล่ะ วันนี้จะเห็นว่าศรีลังกามีการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน มีการก่อสร้างอาคารตึกสูงๆ ใหม่ๆ ขึ้นเต็มไปหมด การท่าเรือก็ขยาย มีถนนใหม่ๆ ดีๆ มีทางด่วนเกิดขึ้น นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นที่เขากำลังพยายามเร่งฟื้นฟูและพัฒนาจากโอกาสที่เขาเสียไปเมื่อ 30 ปีที่ผ่านมา” เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงโคลัมโบ เผย
ขณะที่ ฉัททันต์ กุญชร ณ อยุธยา รองผู้ว่าการด้านตลาดเอเชีย และแปซิฟิกใต้ ททท. เผยภายหลังการลงนาม โดยระบุว่าการลงนามข้อตกลงครั้งนี้จะเป็นการทำงานแบบบูรณาการซึ่งกันและกัน โดยจะมุ่งเน้นความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวของทั้งสองฝ่ายให้มีประสิทธิภาพ มีความชัดเจนมากขึ้น และตระหนักถึงประโยชน์ร่วมกันของทั้งสองประเทศ รวมทั้งเป็นการกระชับความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้น ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการจัดการท่องเที่ยวในภาวะวิกฤติ เพื่อทำให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของทั้งสองประเทศ มีการเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ
ฉัททันต์ กุญชร ณ อยุธยา รองผู้ว่าการด้านตลาดเอเชีย และแปซิฟิกใต้ ททท.
รองผู้ว่าการ ททท. เผยต่อว่า สำหรัับการลงนามครั้งนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการท่องเที่ยวอีกระดับหนึ่งระหว่างประเทศไทยกับศรีลังกา โดยมีกรอบการทำงานประกอบด้วยการร่วมมือด้านข้อมูลข่าวสาร การให้คำปรึกษาแนะนำ เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่ปกติหรือมีวิกฤติเกิดขึ้น ควรจะทำอย่างไรในธุรกิจท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังมีด้านอื่นๆ ในเรื่องการท่องเที่ยวที่สามารถเอื้อกันได้ พร้อมทั้งให้มีการพบปะระหว่างกันระดับเจ้าหน้าที่ให้บ่อยมากขึ้น เพราะฉะนั้นกรอบความร่วมมือถือเป็นเอกสารสำคัญที่จะส่งเสริมการท่องเที่ยวระหว่างกัน
“ทุกวิกฤติต้องใช้เวลาในการเยียวยา แต่เราก็บอกเขาว่าประเทศไทยพร้อมที่จะยื่นมือเข้ามาช่วยศรีลังกา ประเทศไทยในอดีตก็เคยผ่านวิกฤติของเรามาเช่นกัน เราพอมีประสบการณ์ มีองค์ความรู้ที่จะให้คำปรึกษาแนะนำศรีลังกาได้ อย่างไรก็ตามผมก็เชื่อว่าศรีลังกาด้วยศักยภาพของเขาที่มีอะไรดีๆ มากอยู่แล้ว เพียงแค่การสื่อสารให้ตลาดทราบ ให้นักท่องเที่ยวทราบว่าศรีลังกาปลอดภัยแล้ว พร้อมที่จะรับนักท่องเที่ยวเหมือนเดิมแล้วเท่านั้นเอง”
ส่วนตัวเลขนักท่องเที่ยวศรีลังกาที่เดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทยนั้น รองผู้ว่าการ ททท.ระบุว่า ในปี 2561 ที่ผ่านมา มีชาวศรีลังกาเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทยประมาณ 5 หมื่นคน ในขณะที่คนไทยเดินทางไปศรีลังกาเพียงแค่ 9,000 กว่าคน เพราะฉะนั้นตัวเลขนักท่องเที่ยวของทั้งสองประเทศ จึงมีความแตกต่างกันอยู่พอสมควร อย่างไรก็ตามถ้ามีการเดินทางมากขึ้นไม่ว่าไทยมาศรีลังกาหรือศรีลังกาไปไทยก็จะสามารถช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศได้
“เราได้รับการร้องขอจากรัฐบาลศรีลังกาให้ส่งเสริมคนไทยมาที่นี่มากขึ้น ซึ่งเราก็ไม่มีปัญหา เรายินดี ยิ่งมีการเดินทาง ธุรกิจอย่างอื่นก็จะตามมาด้วย” ฉัททันต์กล่าว พร้อมย้ำว่า สำหรับสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของศรีลังกาเบื้องต้นศาสนาก็ยังเป็นเรื่องสำคัญที่ทั้งสองประเทศจะส่งเสริมซึ่งกันและกัน เพราะไทยกับศรีลังกามีความสัมพันธ์ทางด้านนี้มาอย่างยาวนาน ขณะเดียวกันศรีลังกาก็ได้พัฒนาสินค้าการท่องเที่ยวอย่างอื่นมากมาย ไม่ว่าหาดทราย ชายทะเล หรือสถานที่สำคัญในทางประวัติศาสตร์ต่างๆ คงจะทำให้คนไทยมาท่องเที่ยวศรีลังกามากขึ้น โดยเฉพาะคนรุ่น่ใหม่ที่อยากรู้อยากเห็นนอกเหนือจากสถานที่เก่าๆ ที่เขาเคยไปมา"
ด้าน ชลดา สิทธิวรรณ ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานเมืองมุมไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งรับผิดชอบพื้นที่เอเชียใต้ ประกอบด้วย อินเดีย ศรีลังกา และมัลดีฟส์ กล่าวยืนยันว่า การท่องเที่ยวศรีลังกาวันนี้ได้กลับคืนสู่สภาวะปกติแล้ว ตามที่
ยืนยัน จากเดิมหลังเกิดเหตุระเบิดนักท่องเที่ยวหายไปเหลือวันละ 1,000 คน แต่ตอนนี้เพิ่มขึ้นมาเป็นวันละ 2,000 คน และนับวันจะยิ่งเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ
“หน้าตาคล้ายกับคนอินเดีย แต่คนศรีลังกาจะซอฟต์กว่าคนอินเดีย นุ่มนวลน่ารักกว่า เราอาจคิดว่าเขานิสัยไม่ดี ไม่เรียบร้อย กินข้าวด้วยมือ ใส่รองเท้าแตะ แต่จริงๆ แล้วเป็นวัฒนธรรมของเขา รวยแค่ไหนเขาก็ใส่รองเท้าแตะคีบ แล้วที่สำคัญคนศรีลังกาชอบคนไทย ชอบอาหารไทย และชอบประเทศไทย แม้คนที่ยังไม่เคยมาท่องเที่ยวประเทศไทย ถ้าเขาถามเราว่ามาจากประเทศไหน เราตอบว่ามาจากประเทศไทย เขาจะสวัสดีครับ สวัสดีค่ะเราทันที” ผอ.ททท.เมืองมุมไบให้มุมมองทิ้งท้าย
เปิดตัวเลขท่องเที่ยวระหว่าง“ไทย-ศรีลังกา”
“ศรีลังกา” หรือชื่อทางการว่า “สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา” เป็นเกาะเล็กๆ ในมหาสมุทรอินเดีย ห่างจากตอนใต้ของอินเดียประมาณ 80 กิโลเมตร มีรูปร่างคล้ายลูกขนุน บ้างก็ว่าเหมือนไข่มุก บ้างก็ว่าคล้ายหยดน้ำ มีพื้นที่รวมประมาณ 63,610 ตารางกิโลเมตร หรือเล็กกว่าประเทศไทยประมาณ 8 เท่า มีประชากรประมาณ 21 ล้านคน ชาวศรีลังกาส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา นิกายหินยานร้อยละ 70 ฮินดูร้อยละ 15 ท่ี่เหลือเป็นคริสต์และอิสลาม ภาษาที่ใช้ในการสื่่อสารเป็นภาษาสิงหลและทมิฬ ส่วนอังกฤษจะใช้เป็นภาษาราชการ สำหรับสกุลเงินที่ใช้เป็นรูปี (100 รูปีเท่ากับ 35 บาท)
สภาพภูมิอากาศศรีลังกาเป็นแบบเมืองร้อน ฝนตกชุกในช่วงหน้ามรสุม เนื่องจากประเทศตั้งอยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรประมาณ 500 ไมล์ ทำให้มีสภาพอากาศชุ่มชื้น อุณหภูมิไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงมากนักตลอดทั้งปี มีพืชเศรษฐกิจส่งออกที่สำคัญได้แก่ ชา หรือที่รู้จักในนาม “ชาซีลอน” ที่ว่ากันว่าเป็นชาที่มีคุณภาพดีที่สุดในโลก รองลงมารายได้จากการท่องเที่ยว โดยมีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญได้แก่วัดวาอารามต่างๆ พระเขี้ยวแก้วที่เมืองแคนดี้ นอกจากนี้ยังมีแหล่งที่พักตากอากาศชายทะเลตามเมืองต่างๆ สวยงามจำนวนมาก
สำหรับสถิติการท่องเที่ยวศรีลังกาที่เดินทางมายังประเทศไทย จากตัวเลขข้อมูลงานวิเคราะห์ตลาดต่างประเทศ ททท. ล่าสุดระบุในปี 2561 มีชาวศรีลังกาเดินทางมาท่องเที่ยวในประเทศไทยประมาณ 67,000 คน และในปีนี้(2562) คาดว่าจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 73,000 คน หรือเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 12 โดยช่วงเวลาที่นักท่องเที่ยวศรีลังกาเดินทางเข้ามาสูงสุดคือ เมษายน ประมาณ 8,000 คน รองลงมา สิงหาคมและธันวาคมประมาณ 7,500 คน
ส่วนปัญหาอุปสรรคสำคัญที่นักท่องเที่ยวศรีลังกาเปลี่ยนเป้าหมายการเดินทางไปยังประเทศอื่นในภูมิภาค เนื่องจากปัญหาการตรวจคนเข้าเมืองของประเทศไทยยังมีความเข้มงวดมากสำหรับชาวศรีลังกา หลังมีปัญหาการสู้รบภายในประเทศในช่วงที่ผ่านมา ขณะที่เหตุระเบิดในกรุงโคลัมโบก็ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวโดยรวมในระยะสั้นเท่านั้น
ศุภชัย จิวะไพบูลย์ศักดิ์ หรือรู้จักกันในนาม “เล็ก ติงลี่ “ อดีตผู้สื่อข่าวไทยรัฐประจำลอสแอนเจลิส ได้ถึงแก่กรรมด้วยวัย 70 ปี ที่โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์. เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร ของวันพุธที่ 3 กรกฎาคม 2562 เมื่อเวลาประมาณ 11.45 น.
โดยเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน เล็ก ติงลี่ (ศุภชัย จิวะไพบูลย์ศักดิ์) เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ชั้น 17 (หออภิบาลผู้ป่วยหนักโรคหัวใจ) มีอาการเส้นเลือดที่ก้านสมองแตก รวมถึงมีเลือดออกที่ร่องสมอง ไม่มีสติรับรู้ได้ แพทย์ประเมินแล้วว่าการผ่าตัดมีความเสี่ยงสูงมากด้วยปัจจัยต่าง ๆ เช่น ตำแหน่งที่เกิด โรคประจำตัว ยาที่รับประทาน เป็นต้น หมอจึงไม่แนะนำให้ทำการผ่าตัด
หมอได้ทำการรักษาด้วยวิธีประคับประคองอาการให้หัวใจหยุดเต้นเอง โดยครอบครัวตัดสินใจที่จะไม่ทำการผ่าตัดแล้วให้ท่ายไปอย่างทรมานน้อยที่สุด ตามที่คุณหมอแนะนำ
กำหนดพิธีการรดน้ำศพ และสวดพระอภิธรรม ณ ศาลา 9 วัดสุทธิวราราม. กรุงเทพฯ ในวันที่ 4 ก.ค.2562 เวลา 15.00-16.30 น. และสวดพระอภิธรรมศพ เวลา 19.00น โดยจะมีการสวดพระอภิธรรมอีกหนึ่งวันในวันที่ 10 ก.ค. 2562
จึงขอเรียนเชิญญาติสนิทมิตรสหายผู้ใกล้ชิด ไปร่วมไว้อาลัยเป็นครั้งสุดท้ายตามวันและเวลาดังกล่าว
นายกอบชัย สังสิทธิ์สวัสดิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม เดินหน้าดันอุตสาหกรรมไทย ตามนโยบาย Thailand 4.0 โดยการขับเคลื่อนและพัฒนาศักยภาพของภาคอุตสาหกรรมในทุกมิติ มุ่งเน้นส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ในการพัฒนาต่อยอดภาคอุตสาหกรรมไทย รวมถึงการยกระดับภาคการเกษตรให้มีศักยภาพตลอดห่วงโซ่อุปทาน เพื่อพัฒนาไปสู่เกษตรอุตสาหกรรม ถือเป็นฟันเฟืองขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างมั่นคั่งและยั่งยืน กระทรวงอุตสาหกรรม จึงได้จัดงาน Thailand Industry Expo หรือ ti Expo เพื่อเป็นการตอกย้ำภาพความสำเร็จ ความเข้มแข็งและความก้าวหน้าของภาคอุตสาหกรรมไทย แสดงศักยภาพ รวมถึงผลักดันให้เกิดความร่วมมือเชิงรูปธรรม เพื่อให้ผู้ประกอบการพัฒนาสู่ Industry 4.0
สำหรับการจัดงาน Thailand Industry Expo 2019 ในปีนี้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 6 อย่างต่อเนื่อง ภายใต้แนวคิด ‘Synergy for Success’ หรือการสานพลัง ร่วมใจ วิวัฒน์อุตสาหกรรมสู่อนาคต เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนมุมมองการขับเคลื่อนโดยภาครัฐสู่การบูรณาการความร่วมมือในการสรรสร้างโอกาสและความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ให้ภาพรวมของอุตสาหกรรมไทย การสร้างความร่วมมือในมิติต่าง ๆ จากทุกภาคส่วน เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดผู้ประกอบการรายใหม่ รวมทั้งการพัฒนาศักยภาพในการผลิตและการทำการตลาดของผู้ประกอบการไทย รวมถึงการเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลกด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
“ปีนี้การจัดงานมุ่งเน้นอย่างมากที่จะรวบรวมโชว์เคส ซึ่งเป็นทั้งกิจกรรม เทรนด์ และนวัตกรรมที่เกิดขึ้นและผลิตในประเทศไทย ซึ่งจะเป็นไอเดียให้ผู้ประกอบการไทยสามารถนำไปต่อยอดธุรกิจ และลดการนำเข้า สร้างโอกาสใหม่ทางธุรกิจ ตั้งแต่ผู้ประกอบการยักษ์ใหญ่ ไปจนถึงผู้ประกอบการขนาดกลาง ผู้ประกอบการขนาดเล็กที่ประสบความสำเร็จมากมายกว่า 300 ราย ภายใต้โซนงานทั้งหมด 8 โซน”
สำหรับโซนสำคัญของงานในปีนี้ ได้แก่ TI Pavilion: Synergy for Success โซนที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งถือเป็นพื้นที่หลักของการจัดงาน โดยจะเป็นการต่อยอดจากการจัดงานปีที่แล้ว ว่าภายหลังจากที่ประเทศไทยได้เปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุค Thailand 4.0 กระทรวงอุตสาหกรรมได้สนองตามนโยบายที่จะยกระดับอุตสาหกรรมไทย โดยได้มีการส่งเสริมสนับสนุนผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะระดับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย ในกลุ่มอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างเป็นรูปธรรม พร้อมแสดงให้เห็นถึงผลสำเร็จที่เกิดจากความร่วมมือของหลายภาคส่วน โดยนิทรรศการได้จัดแสดงเนื้อหาตัวอย่างโครงการที่ประสบความสำเร็จในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ทั้งกลุ่ม S-Curve และ New S-Curve 11 อุตสาหกรรม ที่เน้นการขับเคลื่อนด้วยดิจิทัลและนวัตกรรม
โดยตัวอย่างการจัดแสดงโชว์เคสจากผู้ประกอบการ อาทิ การสาธิตอากาศยานจำลอง Flight Simulator และการโชว์กระบวนการผลิตลำตัวหรือชิ้นส่วนเครื่องบินขนาด 4 เมตรกว่า ด้วยเทคโนโลยี Carbon Fiber ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเองโดยคนไทย ของบริษัท JFOX Aircraft จำกัด
การแสดงแบบจำลองเรือโดยสารจากอลูมิเนียม และต้นแบบรถมินิบัสที่ผลิตจากอลูมิเนียมทั้งคันฝีมือคนไทย ของบริษัท SAKUNC และการแสดงเครื่องเป่าขวดพลาสติกที่ใช้เทคโนโลยี ใช้ IoT มาช่วยมอนิเตอร์ ผลงานจากการออกแบบและผลิตโดยคนไทยที่ส่งออกไป 70 ประเทศทั่วโลก จากบริษัท SMC Corporation จำกัด เป็นต้น
ในโซน ITC Showcase เป็นการจัดแสดงพื้นที่จำลองของศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 หรือ INDUSTRY TRANSFORMATION CENTER 4.0 (ITC 4.0) โดยปัจจุบันมีทั้งหมด 105 แห่ง ซึ่งภายในงานจะมีการจัดแสดงนิทรรศการการให้บริการของศูนย์ดังกล่าวจากทั่วประเทศ ทั้งระดับภูมิภาค จังหวัด และบริการเฉพาะทาง จากศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 ของแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันออกไป รวมทั้งความร่วมมือจากหน่วยงานเครือข่ายต่างๆ มาร่วมให้บริการผู้ประกอบการในงาน
โซน CIV Pavilion (Creative Industry Village) เป็นการจัดแสดงหมู่บ้านร้อยเรื่องเล่า…วิถีชุมชน เพื่อสื่อให้เห็นถึงการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ หรือ หมู่บ้าน CIV แบบบูรณาการ โดยจะนำเสนอ Showcase หมู่บ้าน CIV จาก 4 ภูมิภาค กว่า 215 แห่ง ที่ได้รับการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาจากภาครัฐ รวมทั้งการจัดแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากหมู่บ้านต่างๆ ที่มีความโดดเด่นเฉพาะตัว สะท้อนถึงภูมิปัญญา วัฒนธรรมของชุมชนที่ยกระดับจากเกษตรกรรม สู่เกษตรอุตสาหกรรม จะถูกจำลองมาโชว์ในงาน
โซน Digital Transformation Pavilion เป็นพื้นที่ที่จัดแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงแนวความคิดและนำเทคโนโลยีมาใช้ในธุรกิจ ตั้งแต่การวางรากฐาน เป้าหมาย ไปจนถึงการดำเนินธุรกิจและส่งต่อคุณค่าให้แก่ผู้บริโภค โดยภายในพื้นที่จะถูกจัดแบ่งออกเป็น 4 โซน ประกอบด้วย 1. โซนองค์ความรู้เกี่ยวกับ Digital Transformation 2. โซนให้คำปรึกษาแนะนำ (Consulting) - มีผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาแนะนำแก่ผู้ประกอบการธุรกิจหรือผู้ที่สนใจเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีดิจิทัลไปใช้ในธุรกิจ 3. โซนอบรม/สัมมนา - จัดอบรม/สัมมนาในหัวข้อเกี่ยวกับดิจิทัล เช่น การทำตลาดออนไลน์ การเริ่มต้นทำธุรกิจในยุคดิจิทัล เป็นต้น และ 4. Technology Show Case (ระบบดิจิทัลเพื่ออุตสาหกรรม) - โชว์ผลงาน Success Case ด้านดิจิทัลที่ประสบความสำเร็จของกระทรวงอุตสาหกรรม – เชิญบริษัทที่ประสบความสำเร็จหรือเทคโนโลยีดิจิทัลใหม่ๆ ที่ได้รับรางวัลเด่นๆ มาจัดแสดงภายในโซนนี้
โซน Thai Entrepreneur Market เป็นเวทีสำหรับผู้ประกอบการที่มีผลิตภัณฑ์นวัตกรรม สร้างสรรค์ และมีดีไซน์รูปแบบใหม่ที่น่าสนใจมาจำหน่ายและจัดแสดงมากมายในพื้นที่ส่วนนี้ นอกจากนี้ยังมีโซนที่เกิดขึ้นในปีนี้เป็นปีแรก ได้แก่ International Collaboration
“ที่มาเกิดจากการที่กระทรวงอุตสาหกรรมได้ดึงความร่วมมือจากทั้งในและต่างประเทศ โดยมีการทำเอ็มโอยูความร่วมมือร่วมกับนานาประเทศ ซึ่งอย่างในปีนี้ไทยเป็นประธานการประชุมอาเซียน เราได้เชิญหน่วยงานต่างๆ ทางด้านอุตสาหกรรมในอาเซียนมาในงาน ทางกระทรวงอุตสาหกรรมได้จัดสรรพื้นที่โซนนี้ เพื่อแสดงถึงความร่วมมือกับประเทศในกลุ่มอาเซียนและนานาประเทศ เพื่อยกระดับภาคอุตสาหกรรมไทยในระดับประเทศ และสร้างความแข็งแกร่งทางการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการในโลกยุค 4.0 รวมถึงหน่วยงานพันธมิตรทั้งจากประเทศญี่ปุ่น จีน และเกาหลีใต้ ซึ่งจะมีทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วม ไม่ว่าจะเป็น เจโทร อาลีบาบา ฯลฯ มาในงานนี้ รวมถึงยังมีเวที business matching ที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการจับคู่ธุรกิจและความร่วมมือหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น รูปแบบ Joint Venture การให้องค์ความรู้ถ่ายทอดเทคโนโลยี (Transfer Technology) หรือสั่งออร์เดอร์สินค้ามีอยู่ในงานนี้ครบ”
ภายในงานยังมีการจัดสัมมนาหัวข้อต่างๆ เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการและผู้สนใจทั่วไป โดยผู้เชี่ยวชาญจากกระทรวง และหน่วยงานในสังกัด กิจกรรม workshop และกิจกรรมบันเทิงต่างๆ อาทิ Maker Society และคอนเสิร์ตจากหลากหลายศิลปิน ตลอดการจัดงานทั้ง 5 วัน
สำหรับ Thailand Industry Expo เป็นกิจกรรมที่จัดอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 ซึ่งการจัดงานในแต่ละปี จะมีการกำหนดแนวคิดการจัดงานที่แตกต่างกันออกไป การจัดงาน Thailand Industry Expo 2018 ในปีที่ผ่านมามีผู้สนใจเข้าร่วมชมงานกว่า 100,000 คน มีผู้เข้าร่วมฟังการสัมมนาเพิ่มองค์ความรู้สู่ Industry 4.0 ที่มีมากถึง 40 หัวข้อ จำนวนประมาณ 4,600 คน อีกทั้ง ยังจัดให้มีการนำสินค้ามาทดสอบตลาดของผู้ประกอบการที่ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากกระทรวงอุตสาหกรรมให้เข้าสู่ยุค 4.0 โดยมียอดการจำหน่วยรวมกว่า 21,000,000 บาท (ไม่รวมยอดจำหน่ายรถยนต์) ยอดขอสินเชื่อ Financial Loan (ภายในงาน) รวมจำนวนกว่า 637,900,000 บาท และยอดผู้ขอรับบริการโครงการของกระทรวงอุตสาหกรรม แบ่งเป็น ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม 4.0 (ITC 4.0) จำนวนกว่า 4,200 ราย ศูนย์ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Thailand Industrial Design Center:Thai–IDC) จำนวนกว่า 1,400 ราย และโครงการ Big Brother จำนวนกว่า 110 ราย และยังมีการจับคู่ทางธุรกิจ Business Matching จำนวน 83 คู่ ก่อให้เกิดมูลค่ามากกว่า 100 ล้านบาท สำหรับปีนี้อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมตั้งเป้าคาดว่าจะมีผู้สนใจเข้าร่วมชมงานมากขึ้นถึงเกือบสองแสนคน