กรุงเฮก (เอเอฟพี/รอยเตอร์) - แกมเบีย ประเทศในแอฟริกาตะวันตกและนางออง ซาน ซู จี ผู้นำโดยพฤตินัยของเมียนมา จะขึ้นศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือศาลโลก ที่กรุงเฮก ของเนเธอร์แลนด์ อีกครั้งในวันนี้ เพื่อแก้ต่างข้อโต้แย้งที่อีกฝ่ายได้แถลงไว้เมื่อวันก่อนและวานนี้
ทีมกฎหมายของแกมเบียที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์การความร่วมมืออิสลาม หรือโอไอซี ให้การเมื่อวันอังคารกล่าวหากองทัพเมียนมาว่า ก่อเหตุนองเลือดตั้งแต่ปี 2559 เป็นเหตุให้ชาวโรฮีนจากว่า 730,000 คน ต้องหนีจากรัฐยะไข่ เข้าไปในบังกลาเทศ คณะผู้สอบสวนของสหประชาชาติประมาณว่าอาจมีคนถูกสังหารมากถึง 10,000 คนขณะที่นางซู จี ให้การเมื่อวันพุธว่าศาลโลกไม่ควรมีอำนาจตุลาการในเรื่องนี้เพราะถึงแม้มีการละเมิดกฎหมายสิทธิมนุษยชนในเหตุขัดแย้งภายในประเทศก็ไม่ถึงขั้นฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ จึงไม่อยู่ภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ปี 2491
พร้อมปฏิเสธว่าปฏิบัติการกวาดล้างที่นำโดยกองทัพเมียนมา ในรัฐยะไข่ ไม่ได้เป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวมุสลิมโรฮีนจา แต่เป็นปฏิบัติการกวาดล้างกลุ่มติดอาวุธที่ก่อเหตุโจมตีสถานีตำรวจเมียนมาหลายระลอกคาดว่าแกมเบียที่มีรัฐมนตรีต่างประเทศเป็นหัวหน้าคณะจะให้การโต้แย้งในวันนี้ว่า การกระทำของเมียนมาเป็นไปตามคำนิยามการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เพราะการทำร้ายชาวโรฮีนจาเป็นส่วนหนึ่งของแผนการล้างเผ่าพันธุ์ที่มีการประสานงานกัน ส่วนนางซู จีและคณะจะโต้แย้งและแถลงสรุปภายในวันนี้ตามเวลาเนเธอร์แลนด์
ทั้งนี้ ศาลโลกยังไม่ได้กำหนดวันตัดสินเรื่องมาตรการชั่วคราว และอาจมีขึ้นภายในเดือนหน้า คำตัดสินของศาลโลกมีผลผูกพันและถือเป็นที่สุดไม่สามารถอุทธรณ์ได้ แต่ไม่ได้กำหนดวิธีการบังคับเพื่อให้เป็นไปตามคำตัดสินที่ผ่านมาจึงมีบางประเทศละเลยหรือไม่ปฏิบัติตามอย่างเต็มที่ และหลังจากที่มีมาตรการชั่วคราวแล้ว กระบวนการทั้งหมดอาจดำเนินต่อไปอีกหลายปี
ด้านนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนที่ร่วมฟังการให้การของนางซู จี ต่างรู้สึกผิดหวัง ที่นางซู จีให้การต่อศาลโลกว่ารัฐบาลเมียนมาไม่มีส่วนรู้เห็นกับการก่ออาชญากรรมกับชาวโรฮีนจา จนทำให้ชาวโรฮีนจากว่า 730,000 คน ต้องอพยพลี้ภัยออกจากเมียนมา ขณะที่ชาวมุสลิมโรฮีนจา ที่ลี้ภัยไปอยู่ในบังกลาเทศ ระบุว่า นางซู จี ให้การเท็จต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ซึ่งขัดแย้งกับหลักฐานและพยานที่มีอยู่อย่างชัดแจ้ง รวมไปถึงหลักฐานที่ชี้ว่าทหารเมียนมาข่มขืนสตรีชาวโรฮีนจาและเผาเด็กชาวโรฮีนจาทั้งเป็น
ในหลวง / เมื่อเวลา 16.00 น. วันที่ 12 ธ.ค. ในการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเครื่องบรมขัตติยราชภูษิตาภรณ์ สายสะพายนพรัตนราชวราภรณ์ สวมสายสร้อยจุลจอมเกล้า และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี
เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร โดยรถยนต์พระที่นั่งจากพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ไปยังเรือนแพที่ประทับรับรองบริเวณท่าวาสุกรี
รถยนต์พระประเทียบอัญเชิญพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ รัชกาลที่ 9 นำรถยนต์พระที่นั่งจากพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ไปยังท่าวาสุกรี ทหารกองเกียรติยศถวายความเคารพ วงดุริยางค์บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี
เจ้าพนักงานราชูปโภคอัญเชิญพระพุทธปฏิมาชัยวัฒน์ รัชกาลที่ 9 ไปประดิษฐานในบุษบกเรือพระที่นั่งอนันตนาคราช ที่สะพานฉนวนประจำท่าวาสุกรี เรือพระที่นั่งอนันตนาคราชเคลื่อนออกไป เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์เข้าเทียบสะพานฉนวนประจำท่าวาสุกรี เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์เข้าเทียบเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ ไว้พร้อมแล้ว
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงฉลองพระองค์ครุย ทรงพระมาลาเส้าสูง และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงพระดำเนินไปยังท่าวาสุกรี ณ ที่นั้น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา นายไสลเกษ วัฒนพันธุ์ ประธานศาลฎีกา เฝ้าฯ รับเสด็จ พล.ร.อ.ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือในฐานะผู้บัญชาการขบวนเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคเนื่องในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 เฝ้าฯ กราบบังคมทูลพระกรุณารายงานจำนวนเรือและกำลังพล
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร ไปประทับเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ โดยเสด็จลงผ่านเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระแสงขรรค์ชัยศรี และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ประทับพระราชอาสน์ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร ประทับที่กราบเรือพระที่นั่งด้านขวา
ขณะนั้นทหารกองเกียรติยศถวายความเคารพ วงดุริยางค์บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศยิงปืนใหญ่เฉลิมพระเกียรติฝ่ายละ 21 นัด ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จไปประทับพระเก้าอี้บนเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ตามเสด็จในขบวนพยุหยาตรา พล.ร.อ.สมชาย ณ บางช้าง ผู้ควบคุมเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์กราบบังคมทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเคลื่อนขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ขณะนี้ นายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา ประธานศาลฎีกา ส่งเสด็จบริเวณปลายฉนวนประจำท่าวาสุกรี
เมื่อพร้อมแล้ว เวลา 16.25 น. ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เคลื่อนขบวนเรือพยุหยาตราทางชลมารค ออกจากท่าวาสุกรีไปตามชลวิถีท้องน้ำเจ้าพระยา ชาวพนักงานประโคมกระทั่ง มโหระทึก สังข์ แตรงอน แตรฝรั่ง ปี่และกลองชนะประจำเรือพระราชพิธีประโคมขึ้นพร้อมกัน ขบวนพยุหยาตราทางชลมารคเคลื่อนไปตามลำดับ ทหารกองเกียรติยศถวายความเคารพ วงดุริยางค์บรรเลงเพลงมาร์ชธงชัยเฉลิมพล
เมื่อวันที่ 13 ธ.ค. พิชัย นริพทะพันธุ์ อดีต รมว. พลังงาน กล่าวว่า อยากทวงถามสัญญาประชาคมที่รัฐบาลโดยพรรคพลังประชารัฐ ได้หาเสียงไว้ก่อนการเลือกตั้ง ซึ่งรัฐบาลยังไม่ได้ทำตามที่สัญญาไว้เลย ได้ล่าสุดรัฐบาลขี้นค่าแรงเพียง 5-6 บาท
ทำให้ค่าแรงเพิ่มขึ้นอยู่ที่วันละ 313-336 บาท แทนที่จะเป็นวันละ 400-425 บาทตามที่ได้หาเสียงไว้ และ รัฐบาลโดย รมว. พัฒนาสังคมฯ ยังได้ปฏิเสธที่จะเพิ่มเบี้ยผู้สูงอายุเป็น 1,000 บาท ตามที่เคยสัญญากับผู้สูงอายุ โดยอ้างว่ารัฐบาลไม่มีเงิน
ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ นายอุตตม สาวนายน รมว. คลัง และหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ยังได้ปฏิเสธที่จะลดภาษีบุคคลธรรมดา 10% ตามที่หาเสียงไว้ โดยอ้างว่าเป็นธรรมดาของการหาเสียงที่พูดกว้างๆไม่ได้ลงรายละเอียด นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์ที่ออกมาช่วยเหลือเกษตรกร ก็ทำไม่ได้ตามที่เคยสัญญาไว้ดังนี้ ยางพารา 65 บาท /กก. ปาล์มน้ำมัน 5 บาท/กก. อ้อย 1,000 บาท/ตัน มันสำปะหลัง 3 บาท/ กก. ข้าวหอมมะลิ 18,000 บาท/ตัน ข้าวเจ้า 12,000/ ตัน
นอกจากนี้ยังมี จบอาชีวะ เงินเดือน 18,000 บาท จบปริญญาตรี เงินเดือน 20,000 บาท และ โครงการมารดาประชารัฐ กองทุนพลังประชารัฐหมู่บ้านละ 2 ล้านบาท ซึ่งยังไม่ได้มีการดำเนินการเลย โดยหากจะ ไม่ตั้งใจที่จะดำเนินการ แล้วจะหาเสียงทำไม เท่ากับเป็นการหลอกลวงประชาชนใช่หรือไม่ อีกทั้งจะเป็นการผิดกฏหมายการเลือกตั้งหรือไม่ ที่ไม่ทำตามที่ได้สัญญาไว้ โดยอยากขอให้ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้เข้าตรวจสอบและดำเนินคดี
โดยในช่วงหาเสียง ตนได้เคยเตือนแล้วว่า นโยบายต่างๆที่พรรคพลังประชารัฐเสนอมาทั้งหมดพรรคพลังประชารัฐได้มีการคำนวณค่าใช้จ่ายหรือไม่ เพราะจะต้องใช้เงินเป็นจำนวนมหาศาลถึงหลายแสนล้านบาทถึงล้านล้านบาทได้ ถ้าจะทำหมดทุกนโยบาย ซึ่งไม่น่าจะทำได้
แต่หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐยืนยันว่าสามารถทำได้จริง แต่พอได้เป็นรัฐบาลกลับไม่ทำเลย อีกทั้งพรรคพลังประชารัฐเองก็ยังไม่ได้ชี้แจงที่มาของรายได้ และ การคุ้มทุนของแต่ละโครงการตามที่รัฐธรรมนูญได้ระบุไว้ ซึ่งจะเป็นการกระทำผิดหรือไม่
ดังนั้นจึงอยากให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รมว. กลาโหม และ หัวหน้าทีมเศรษฐกิจ แม้จะอ้างว่าไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ แต่ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีสืบทอดต่อมาได้ก็เพราะเป็นผู้ที่พรรคพลังประชารัฐเสนอชื่อเป็นนายกฯ ได้รักษาคำมั่นสัญญาและเร่งปฏิบัติตามนโยบายที่พรรคพลังประชารัฐได้สัญญาไว้
ที่ พลเอกประยุทธ์ อ้างว่าอ่านหนังสือมากก็อยากให้อ่านนโยบายที่พรรคพลังประชารัฐเสนอไว้ให้ครบ และถ้าหากทำไม่ได้ก็ต้องออกมารับผิดและขอโทษประชาชน และก็อาจจะต้องยอมรับให้ กกต. ลงโทษตามกฏหมาย อย่าให้ประชาชนคิดว่า การที่ต้องคิดตามพลเอกประยุทธ์ ให้ทันตามที่พลเอกประยุทธ์บอกหมายถึงต้องคิดแบบถอยหลังย้อนยุค
เพราะการหาเสียงแล้วไม่ทำเป็นการเมืองน้ำเน่าในอดีตที่ประชาชนได้ก้าวข้ามมาไกลแล้ว ถ้านี่คือส่ิงที่พลเอกประยุทธ์บอกให้คนคิดให้ทันตัวเอง อาจจะต้องเป็นพลเอกประยุทธ์เองที่ต้องเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ให้ทันโลก การที่อาจจะสำคัญตัวเองผิดจะยิ่งทำให้ประเทศถอยหลังมากขึ้น ประชาชนจะยิ่งลำบากกันมาก
นางเออร์ซูลา ฟอน เดอ เลเยน ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป เปิดเผยเมื่อ 12 ธ.ค. ว่า สหภาพยุโรปเตรียมเสนอแผนการรับมือสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงชุดใหม่ ภายใต้ชื่อ “ยูโรเปียน กรีน ดีล” ต่อที่ประชุมสุดยอดปัญหาโลกร้อนสหประชาชาติ (COP25) ที่กรุงมาดริด สเปน โดยตั้งเป้าเป็นกลุ่มประเทศที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศภายในปี 2593 ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในปี 2573 ให้อยู่ที่ระดับครึ่งหนึ่งของปี 2533 และเพิ่มงบสหภาพยุโรปอีก 100,000 ล้านยูโร เพื่อรองรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็นของชาติสมาชิกในการลดพึ่งพาพลังงานฟอสซิล
อย่างไรก็ตาม กลุ่มชาติยุโรปตะวันออก อย่างโปแลนด์ สาธารณรัฐเช็ก ฮังการี และโรมาเนีย ทักท้วงว่าอาจต้องให้งบประมาณชดเชยมากกว่านี้ เนื่องจากหลายประเทศพึ่งพาพลังงานถ่านหินเป็นหลัก ขณะที่สำนักข่าวต่างประเทศระบุว่าแผนการที่ทะเยอทะยานครั้งนี้จะเป็นรูปเป็นร่างก็ต่อเมื่อได้รับการลงนามจากผู้นำสหภาพยุโรป
วันเดียวกัน เกรียตา ธุนแบร์ก ที่เพิ่งได้รับการยกย่องเป็นบุคคลแห่งปี 2562 จากนิตยสารไทม์ กล่าวรณรงค์ให้การประชุมโลกร้อนสหประชาชาติมีความทะเยอทะยานต่อการแก้ปัญหายิ่งขึ้นไม่ใช่ปล่อยให้นักการเมืองใช้เป็นที่ดำเนินกลยุทธ์ประชาสัมพันธ์.
13 ธันวาคม 2562 นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด โฆษกพรรคเพื่อไทย ในฐานะรองประธานและโฆษกคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้านและการมีส่วนร่วมของประชาชน กล่าวว่า คณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้านและการมีส่วนร่วมของประชาชน ได้จัดงานเสวนา “พรรคการเมืองร่วมใจแก้ไขรัฐธรรมนูญ” นำโดย นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย , นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ , พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส หัวหน้าพรรคเสรีรวมไทย , นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา หัวหน้าพรรคประชาชาติ , นายมนูญ สิวาภิรมย์รัตน์ หัวหน้าพรรคเศรษฐกิจใหม่ , นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ หัวหน้าพรรคเพื่อชาติ และนายนิคม บุญวิเศษ หัวหน้าพรรคพลังปวงชนไทย ในเสาร์ที่ 14 ธันวาคม 2562 เวลา 14.30-17.00 น. ที่ห้องจิ๊ด เศรษฐบุตร (LT.1) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
“การแก้ไขรัฐธรรมนูญ คือ ทางออก ปลดล็อกปัญหาประเทศ ขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนทุกท่าน เข้าร่วมการเสวนา พรรคการเมืองร่วมใจ แก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อนำพาประเทศออกจากวิกฤต” นายอนุสรณ์ กล่าว
” เมื่อวันอาทิตย์ที่ 8 ธันวาคม 2562 นำทีมโดย ตัน พัฒนะ นายกสภาไทยทาวน์ และ จีน่า ปรีชา พร้อมทีมงานสภาไทยทาวน์ จัดงานฉลองครบรอบ 20 ปี ไทยทาวน์ มี “กงสุลต้น” ชัชวาล หรยางกูร (ตัวแทนสถานกงสุลใหญ่) พร้อมด้วยบุคคลสำคัญจากเทศบาลนครลอส แอนเจลิส ให้เกียรติมาร่วมงานแสดงความยินดีกับชุมชนไทย
© 2011 - 2026 Thai LA Newspaper 1100 North Main St, Los Angeles, CA 90012