ข่าว
”ยิ่งลักษณ์”ปลอดภัย "คสช."ไม่ควบคุมตัว

3 บิ๊กตระกูลชิน "ยิ่งลักษณ์-สมชาย-เยาวภา" คสช.ปล่อยตัวกลับบ้านแล้ว

กรณี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี พี่เขย และ นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ หรือเจ๊แดง อดีต ส.ส.เชียงใหม่ เขต 3 พรรคเพื่อไทย พี่สาว น.ส.ยิ่งลักษณ์ เข้ารายงานตัวกับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)

ความคืบหน้า เมื่อเวลา 20.15 น. วันที่ 23 พ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงคำวันนี้ทราบว่า ทางคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ปล่อยตัว น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีแล้ว ขณะเดียวกันยังมีกระแสข่าวว่า นายสมชาย วงสวัสดิ์ และนางเยาวภา วงสวัสดิ์ แกนนำพรรคเพื่อไทยก็ได้รับการปล่อยตัวแล้วเช่นกัน

ทั้งนี้ นางศุภกานต์ สุประการ สมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ อ.สารภี เขต 1 คนใกล้ชิด นางเยาวภา เผยว่า หลัง น.ส.ยิ่งลักษณ์ นายสมชาย และนางเยาวภา รายงานตัวแล้ว ทางทหารไม่ได้ควบคุมตัว และปล่อยตัวกลับทันที โดยเดินทางกลับเซฟเฮ้าส์ แต่ไม่เปิดเผยสถานที่ดังกล่าว

โดย นางเยาวภา บอกว่า ทุกคนปลอดภัย สบายดี ไม่มีปัญหาอะไร พร้อมฝากขอบคุณทุกคนที่ให้กำลังใจ และห่วงใยครอบครัวตระกูลชินวัตร ซึ่งช่วงนี้ไม่มีกิจกรรมทางการเมือง และไม่เดินทางออกนอกประเทศตามคำสั่ง ศสช.ฉบับที่ 21 ที่ห้ามเดินทางออกนอกราชอาญาจักร ขณะเดียวกัน นายยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ อดีตผู้สมัคร ส.ส.เชียงใหม่ เขต 3 พรรคเพื่อไทยบุตรชาย นางเยาวภา กล่าวว่า ครอบครัวไม่รู้สึกวิตกกังวล เพราะปฏิบัติตามกฏหมายทุกคนห่วงใย ให้กำลังใจซึ่งกันและกัน เชื่อว่าจะผ่านมรสุมไปได้ ก่อนวางสายไป.

คสช.คุม 'ยิ่งลักษณ์' กัก 'ค่ายอดิศร' 3 วัน

สะพัด! เจ้าหน้าที่ทหารคุมตัว 'ยิ่งลักษณ์' ไปที่ค่ายอดิศร จ.สระบุรี ขณะที่ คสช.ปล่อยตัว 'สมศักย์-ยุคล-ประเสริฐ' โดยไม่มีข้อห้ามใดๆ หลังถูกปล่อยตัว...

เมื่อวันที่ 23 พ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังเจ้าหน้าที่ทหารควบคุม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ไปที่กองบัญชาการกองพลที่ 1 รักษาพระองค์ เขตดุสิต กระทั่งช่วงเย็น ได้มีการพา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ออกจากกองพล 1 รอ. ไปยังค่ายทหารแห่งหนึ่ง ซึ่งคาดว่าจะเป็นค่ายอดิศร จ.สระบุรี เพื่อควบคุมตัวเป็นเวลา 3 วัน โดยมีการสั่งให้คนติดตาม น.ส.ยิ่งลักษณ์ กลับไปนำของใช้ส่วนตัวมายังที่นัดหมาย

จากนั้นเวลา 18.27 น. นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา อดีตรองนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางเข้ามารายงานตัวที่สโมสรกองทัพบก เทเวศร์

ขณะที่อดีตรัฐมนตรีในส่วนของพรรคร่วมรัฐบาล อาทิ นายสมศักย์ ภูรีศรีศักดิ์ อดีต รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า วันเดียวกัน ตนและนายยุคล ลิ้มแหลมทอง อดีตรองนายกรัฐมนตรี และรมว.เกษตรและสหกรณ์ พร้อมนายประเสริฐ บุญชัยสุข อดีต รมว.อุตสาหกรรม ได้รับการปล่อยตัว เมื่อเวลา 17.40 น. หลังเข้ารายงานตัวและถูกควบคุมตัวกรมทหารราบที่ 1 มหาดเล็กรักษาพระองค์ ถนนวิภาวดีรังสิต (ร.1 รอ.) โดยตลอดคืนที่ถูกควบคุมตัว ได้รับการดูแลจากทหารเป็นอย่างดี มีอาหาร และเตียงสนามมากางให้นอน และไม่มีข้อห้ามใดๆ หลังจากถูกปล่อยตัว

ในส่วนของพรรคพลังชล ได้แก่ นายสนธยา คุณปลื้ม อดีต รมว.วัฒนธรรม ได้เข้ารายงานตัวและถูกควบคุมตัวตั้งแต่วันที่ 22 พ.ค. โดยที่นางสุกุมล คุณปลื้ม อดีต รมว.วัฒนธรรม ภริยา ซึ่งถูกเรียกเข้ารายงานตัวในวันที่ 23 พ.ค. ตามคำสั่ง คสช. ฉบับที่ 3 ได้เข้ารายงานตัว และทั้งคู่ได้ถูกควบคุมตัวไปยังค่ายทหารด้วย โดยทั้งหมดที่ถูกควบคุมตัว ได้มีแบ่งไปควบคุมไว้ในค่ายทหาร 4 จังหวัด ได้แก่จ.ปราจีนบุรี สระบุรี ลพบุรี และกาญจนบุรี.


ด่วน!! "คสช." จัดโครงสร้าง แบ่งอำนาจระดับบิ๊ก 6 ฝ่าย

ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

ฉบับที่๒๒/๒๕๕๗

เรื่องการจัดส่วนงานการกำหนดอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติเพื่อให้การบริหารราชการของคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นไปด้วยความเรียบร้อยเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด จึงกำหนดส่วนงานอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบ ดังนี้

๑. การจัดส่วนงาน แบ่งเป็น ๓ ระดับ คือ

๑.๑ ระดับนโยบาย ได้แก่

๑.๑.๑ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประกอบด้วย หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ,รอง

หัวหน้าคณะฯ 4 ท่าน และเลขาธิการฯ 1 ท่าน

๑.๑.๒ คณะที่ปรึกษาและประสานงานด้านความมั่นคง

๑.๒ ระดับแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ได้แก่

๑.๒.๑ ฝ่ายความมั่นคง

๑.๒.๒ ฝ่ายเศรษฐกิจ

๑.๒.๓ ฝ่ายสังคมจิตวิทยา

๑.๒.๔ ฝ่ายกฤหมายและกระบวนการยุติธรรม

๑.๒.๕ ฝ่ายกิจการพิเศษ

๑.๒.๖ ส่วนงานขึ้นตรงหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

๑.๓ ระดับปฏิบัติ ได้แก่ ส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ประกอบด้วย

๑.๓.๑ กระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการที่ขึ้นตรงต่อหัวหน้าคณะฯ

๑.๓.๒ กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย

๒.อำนาจหน้าที่ ให้แต่ละส่วนงาน มีหน้าที่ดังนี้

๒.๑ ระดับนโยบาย

๒.๒.๑ คณะรักษาความสงบแห่งชาตื มีหน้าที่ กำหนดนโยบายการบริหารราชการแผ่นดิน ทั้งนโยบายเฉพาะหน้า และนโยบายระยะยาว เพื่อให้ส่วนงานระดับแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติและระดับปฏิบัตินำไปดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายที่กำหนดไว้

๒.๑.๒คณะที่ปรึกษาและประสานงานด้านความมั่นคงมีหน้าที่ให้คำแนะนนำต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติตามที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติร้องขอหรือที่ริเริ่มขึ้นเอง

๒.๒ระดับแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติมีหน้าที่อำนวยการ ตวบคุม กำกับดูแลการปฏิบัติ ราชการของกระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการ ที่เกี่ยวข้องตามความรับผิดชอบให้เป็นไปตามนโยบายที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติที่กำหนด

๒.๓ ระดับปฏิบัติ มีหน้าที่ ปฏิบัติราชการ ตามนโยบายที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติกำหนด

๓. การแบ่งมอบอำนวจรับผิดชอบ

๓.๑ เลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ มี พลเอก อุดมเดช สีตบุตร เลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด รับผิดชอบหน่าวยงาน/ส่วนราชการ ที่ขึ้นตรงต่อหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และหน่วยงาน/ส่วนราชการที่มิได้กำหนดไว้ในประกาศฉบับนี้ รวมทั้งกำกับดูแลการปฏิบัติงานทั้งปวงของตณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยมี พลโท ชาติอุดม คิตถะสิริ รองเสนาธิการทหารบก เป็น รองเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

๓.๒ กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย มีแม่ทัพภาคที่ ๑ เป็น ผู้บัญชาการกองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย มีหน่วยในบังคับบัญชา ประกอบด้วย กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อยกองทัพภาคที่ ๑ -๔ (กำลังของกองทัพไทย เหล่าทัพ และ สำนักงานตำรวจแห่งชาติควบคุมทางยุทธการ)

๓.๓ ฝ่ายความมั่นคง มี พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็น หัวหน้าฝ่ายความมั่นคง และมี พลเอก

อักษรา เกิดผล เสนาธิการทหารบก เป็นรองหัวหน้าฝ่ายความมั่นคง มีหน่วยงาน/ส่วนราชการในความรับผิดชอบ รวม ๔ หน่วยงาน ได้แก่

-กระทรวงกลาโหม

-กระทรวงมหาดไทย

-กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

-กระทรวงการต่างประเทศ

๓.๔ ฝ่ายสังคมจิตวิทยา มี พลเรือเอก ณรงค์ พิพัฒนาศัย รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นหัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา และมี พลโทสุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รองเสนาธิการทหารบก เป็นรองหัวหน้าฝ่ายสังคมจิตวิทยา มีหน่วยงาน/ส่วนราชการในความรับผิดชอบ รวม ๗ หน่วยงาน คือ

-กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

-กระทรวงศึกษาธิการ

-กระทรวงสาธารณสุข

-กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

-กระทรวงวัฒนธรรม

-กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

-กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

๓.๕ ฝ่ายเศรษฐกิจ มี พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็น หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ และมี พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก เป็น รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ มีหน่วยงาน/ส่วนราชการในความรับผิดชอบ รวม ๗ หน่วยงานได้แก่

-กระทรวงการคลัง

-กระทรวงพาณิชย์

-กระทรวงอุคสาหกรรม

-กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

-กระทรวงพลังงาน

-กระทรวงแรงงาน

-กระทรวงคมนาคม

๓.๖ ฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม มีพลเอก ไพบูลย์ คุ้มฉายา ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก เป็น หัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม และมีพลโท ฉัตรเฉลิม เฉลิมสุข รองเสนาธิการทหารบก เป็น รองหัวหน้าฝ่ายกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม มีหน่วยงาน/ส่วนราชการในความรับผิดชอบ จำนวน ๓ หน่วยงานได้แก่

-กระทรวงยุติธรรม

-สำนักงานอัยการสูงสุด

-สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

๓.๗ ฝ่ายกิจกรรมพิเศษ : มี พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเป็น หัวหน้าฝ่ายกิจกรรมพิเศษ และมี พลโท สุชาติ หนองบัว ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายกำลังพลเป็น รองหัวหน้าฝ่ายกิจกรรมพืเศษ มีหน่วยงานและส่วนราชการ ในความรับผิดชอบ จำนวน ๒๐ หน่วยงาน ได้แก่

- สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (สลน.)

- สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.)

- สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

- สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)

- สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)

- สำนักงานคณะกรรมพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.)

- สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.)

- กรมประชาสัมพันธ์ (กปส.)

- สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)

- สำนักนายกรัฐมนตรี

- สำนักราชเลขาธิการ

- สำนักพระราชวัง

- สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

- สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานโครงการอันเนื่องมาจากพระรชดำริ

- สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

- ราชบัณฑิตยสถาน

- สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

- สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

- สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา

- สำนักรับรองมาตรฐานและประเมิน

๓.๘ ส่วนงานขึ้นตรงกับหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ จำนวน ๕ หน่วยงาน ได้แก่

- กองอำนวยการรักษาความมั่งคงภายในราชอาณาจักร

- สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

- สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ

- สำนักข่าวกรองแห่งชาติ

- สำนักงบประมาณ

ประกาศ ณ วันที่ ๒๓ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๗

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

‘นิวัฒน์ธำรง-เฉลิม-ยรรยง’ รายงานตัว ตามคำสั่งคสช.

บรรยากาศที่สโมสรทหารบก เทเวศร์ สถานที่ตามประกาศให้ 23 บุคคลมารายงานตัววันที่ 23 พ.ค. เวลา 10.00 น. ที่หอประชุมกองทัพบก เทเวศร์ ตามคำสั่ง คสช.ที่3/2557 ลงวันที่ 22 พ.ค.2557 และยังไม่มารายงานตัว ให้เปลี่ยนมารายงานตัวตามวัน เวลาและสถานที่ที่ปรากฎตามคำสั่งนี้ ประกอบด้วย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายสมชาย-นางเยาวภา วงศ์สวัสดิ์ นายวราเทพ รัตนากร นายนพดล ปัทมะ นายโภคิน พลกุล นายพิชัย นริพทะพันธุ์นายภูมิธรรม เวชชยชัย นายสาโรช หงษ์ชูเวช

นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ พล.ท.มนัสเปาริก พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลล์ดิลก พล.อ.ชัยสิทธิ์ ชินวัตร นพ.พรหมมินทร์ เลิศสุริยเดช นายพันศักดิ์ วิญญรัตน์ นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ พล.ต.อ.วรพงษ์ ชิวปรีชา นายวรพงษ์ ตันติเวชยานนท์ นายยงยุทธ ติยะไพรัช ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง พล.ต.อ.ภาณุพงศ์ สิงหรา นายเกรียงกมล เลาหะไพโรจน์ นายธงทอง จันทรางศุ พล.ต.ต.ธวัช บุญเฟื่อง ว่า

ตั้งแต่ช่วงเช้าทหารจาก พล.1 รอ และเจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองบัญชาการตำรวจนครบาล ได้เข้าเคลียร์พื้นที่บริเวณภายในสโมสรทหารบกเทเวศร์ โดยเฉพาะประตูทางเข้าสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหาร กองทัพบก หอประชุมกองทัพบก ได้เคลียร์รถและบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องออกทั้งหมด รวมทั้งกองทัพสื่อมวลชนทั้งไทยและต่างประเทศได้ถูกกันให้มาสังเกตการณ์ที่บริเวณสี่แยกพล 1 หัวถนนนครราชสีมา

จากนั้นเวลา 08.00 น. เจ้าที่กองกำลังผสมได้ปิดหัว-ท้ายถนนนครราชสีมา ไม่ให้รถยนต์ผ่าน ยกเว้นผู้มารายงานตัว ท่ามกลางมาตรการรักษาความปลอดภัยเข้มงวด ท่ามกลางความสนใจของประชาชนที่ผ่านไป-มา

เจ้าหน้าที่ภายในหอประชุมกองทัพบก เปิดเผยว่า ภายในหอประชุมได้เตรียมสถานที่รับรายงานตัวจากผู้ที่มีรายชื่อ รวมทั้งเตรียมรถสำหรับคุมและเคลื่อนย้ายกรณีบุคคลสำคัญหากมีความจำเป็น

เวลา 08.50 น. เจ้าหน้าที่ทหารจากหน่วยชุดเคลื่อนที่เร็วกรมทหารราบ 31 รักษาพระองค์ (RDF) เข้าประจำการ

สำหรับบุคคลแรกที่เดินทางมาถึง เมื่อเวลา 09.00 น. ได้แก่ นายยรรยง พวงราช อดีต รมช.พาณิชย์ ที่ระบุว่าทุกคนมารายงานตัวที่นี่ทั้งหมด ตามมาด้วยนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล อดีตรมว.พลังงาน

จากนั้นเวลา 09.35 น. นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล อดีตปฏิบัตินายกฯ เดินทางมาถึงด้วยรถโฟล์ค ป้ายแดง ทะเบียน ฐ 8432 กรุงเทพมหานคร เข้ารายงานตัว ตามมาด้วย ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง อดีต ผอ.ศอ.รส. ที่ถูกทหารประกบตัวตั้งแต่เมื่อคืนวันที่ 22 พ.ค.ที่ผ่านมา มายังหอประชุมกองทัพบก ตามมาด้วยนายธงทอง จันทรางศุ ปลัดสำนักนายกฯ

ส่วนของ กปปส. คนแรกที่เดินทางมารายงานตัว คือ นางอัญชลี ไพรีรักษ์