ไฟเซอร์ อิงก์ (Pfizer Inc.) บริษัทเภสัชภัณฑ์ยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ รายงานว่าผู้เข้าร่วมการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ของวัคซีนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) เผชิญผลข้างเคียงจากวัคซีนในระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง
ไฟเซอร์ระบุว่าผลข้างเคียงดังกล่าว ได้แก่ อาการเหนื่อยล้า ปวดศีรษะ หนาวสั่น และปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ โดยผู้เข้าร่วมทดลองบางคนมีอาการไข้ ซึ่งบางรายมีไข้สูง
บริษัทฯ ได้รับอาสาสมัครมากกว่า 29,000 คน เข้าร่วมการทดลองที่ต้องใช้อาสาสมัครรวม 44,000 คน เพื่อทดสอบ วัคซีนบีเอ็นที162บี2 (BNT162b2) สำหรับป้องกันโรคโควิด-19 ที่พัฒนาร่วมกับไบโอเอ็นเทค (BioNTech) พันธมิตรสัญชาติเยอรมัน โดยคณะผู้บริหารไฟเซอร์เผยในการประชุมกับผู้ลงทุนว่าผู้เข้าร่วมทดลองมากกว่า 12,000 คนได้รับวัคซีนโดสที่ 2 เรียบร้อยแล้ว
ขณะเดียวกัน บริษัทฯ คาดการณ์ว่าจะเผยแถลงการณ์สรุปเกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีนตัวนี้ภายในสิ้นเดือนตุลาคม ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับอัตราการติดเชื้อในปัจจุบัน
ปัญหาล่าสุดของไฟเซอร์ครั้งนี้เกิดขึ้นหลังการทดลองวัคซีนโรคโควิด-19 ของแอสตราเซเนกา (AstraZeneca) บริษัทเภสัชภัณฑ์ข้ามชาติ ถูกระงับทั่วโลกเมื่อวันที่ 6 ก.ย. เนื่องจากมีรายงานพบผลข้างเคียงร้ายแรงในอาสาสมัครรายหนึ่งในสหราชอาณาจักร
ทั้งนี้ สถานีโทรทัศน์ฟอกซ์ บิสสิเนส (Fox Business) เผยว่าแอสตราเซเนกากลับมาเดินหน้าทดลองวัคซีนอีกครั้งในสหราชอาณาจักรและบราซิล เมื่อวันจันทร์ (14 ก.ย.) หลังได้รับอนุญาตจากหน่วยงานกำกับดูแลของสหราชอาณาจักร อย่างไรก็ดีการทดลองในสหรัฐฯ ยังคงถูกระงับ
17 กันยายน 2563 ดร.ศุภณัฐ อภิญญาณ หรือ “ดร.นิว” นักวิจัยภายใต้สถาบันวิจัย MAST Center และ คณะวิศวกรรมชีวการแพทย์ University of Arkansas ประเทศสหรัฐอเมริกา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Suphanat Aphinyan ในหัวข้อ "#ม็อบ 19 กันยานี้ต้องการอะไร" โดยมีเนื้อหาดังนี้
1.ข้อเสนอของม็อบไม่ได้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง แต่เป็นไปเพื่อประโยชน์ของผู้ที่ชักใยอยู่เบื้องหลัง จากเดิมข้อเสนอ 3 ข้อเป็นประโยชน์ของนักการเมืองโดยตรง ต่อมากลายมาเป็นข้อเสนอ 10 ข้อมีเนื้อหาสร้างความแตกแยกระหว่างประชาชน เป็นไปเพื่อความรุนแรงและสนองตัณหาของลัทธิคลั่งการปฏิวัติฝรั่งเศส ไม่ได้มีสาระทางประชาธิปไตยที่แท้จริงแต่อย่างใด
2.ม็อบนี้ไม่ได้ถือแนวทางสันติวิธี ใช้กฎหมู่อยู่เหนือกฎหมาย ยัดเยียดลัทธิความเชื่อของคนส่วนน้อยที่เป็นความขัดแย้งและความแตกแยกให้กับสังคม มีกระบวนการปลุกระดมอย่างเป็นระบบด้วยโซเชียลมีเดียจากทั้งในและนอกประเทศ เต็มไปด้วยพฤติกรรมยั่วยุ ต้องการให้เกิดความรุนแรงและการปะทะ
3.ข้อเสนอปฏิรูปสถาบันฯ 10 ข้อ ผิดหลักวิชาการตั้งแต่ข้อแรก เพราะการยกเลิกความคุ้มกันของสถาบันฯ เป็นเรื่องเหลวไหล และความคุ้มกันของสถาบันฯ ในฐานะของประมุขแห่งรัฐเป็นหลักพื้นฐานสากล ซึ่งปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญของประเทศที่ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขทั่วโลก
4.ม็อบใส่ร้ายสถาบันฯ ด้วยการสร้างความสับสน โดยปราศจากความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องว่า “อำนาจอธิปไตย” กับ “อำนาจในราชการส่วนพระองค์” เป็นคนละเรื่องกัน การมีอำนาจในการบริหารจัดการราชการส่วนพระองค์โดยพระราชอัธยาศัย ไม่ได้เกี่ยวข้องกับอำนาจอธิปไตย หรือขัดแย้งกับหลักประชาธิปไตยใดๆ เพราะหลักการเดียวกันนี้ก็ปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญของประเทศนอร์เวย์ที่ได้ชื่อว่ามีดัชนีประชาธิปไตยสูงที่สุดในโลก
5.ม็อบ 19 ก.ย. นี้ เป็นครั้งแรกที่คณะก้าวหน้าเปิดหน้าออกมาสนับสนุนม็อบอย่างเป็นทางการ โดยแกนนำของคณะก้าวหน้าทั้งหมดซึ่งชัดเจนกว่าครั้งก่อนๆ สนับสนุนการจาบจ้วงสถาบันฯ ด้วยข้อเสนอปฏิรูปสถาบันฯ 10 ข้อที่เป็นข้อเสนอแบบมั่วๆ กลวงๆ ของคนไม่มีความรู้ในหลักวิชาและหลักสากล
6.ม็อบวันที่ 16 ส.ค. มีการชูป้าย “STOP KILLING STUDENT” หรือ “หยุดฆ่านักเรียน/นักศึกษา” ทั้งๆที่ยังไม่มีเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น แสดงว่าคนในม็อบหรือผู้อยู่เบื้องหลังเองหรือเปล่าที่มีเจตนาอันไม่บริสุทธิ์กับนักเรียนนักศึกษา หวังหลอกใช้และบูชายัญนักเรียนนักศึกษาเป็นเครื่องมือทางการเมือง
7.การอ้างว่าจะไปทำเนียบรัฐบาล อาจเป็นแผนลวงที่ปกปิดมวลชนที่มาร่วมม็อบ แล้วหลอกใช้ให้เดินทางไปยังสถานที่ที่มีความเกี่ยวข้องกับสถาบันฯ เพื่อการยั่วยุและต้องการสร้างสถานการณ์ความรุนแรง มีความชัดเจนว่าแกนนำและผู้อยู่เบื้องหลังม็อบต้องการให้ม็อบเข้าปะทะกับเจ้าหน้าที่ รวมทั้งอาจมีการวางแผนให้เกิดความรุนแรงแล้วยัดเยียดความผิดทั้งหมดให้กับฝ่ายของเจ้าหน้าที่
8.มีความเป็นไปได้สูงมากว่าผู้ที่อยู่เบื้องหลังม็อบในครั้งนี้ต้องการ “บางสิ่งบางอย่าง” ซึ่งอาจจะเป็น “การบาดเจ็บหรือการสูญเสีย” เพื่อนำมาขยายผลและใช้โหนเป็นเครื่องมือในการปลุกระดมครั้งต่อไปในช่วงเดือนตุลาคม
9.ผู้นำม็อบขาดความรู้และวุฒิภาวะ ผมเขียนถึงเพนกวินถามถึงการเรียกร้องประชาธิปไตยด้วยการเชิดชูจอมพล ป.ที่เป็นเผด็จการทหาร และตั้งข้อสงสัยที่พรรคโดมปฏิวัติของเพนกวินมีการแจกหนังสือคอมมิวนิสต์ สุดท้ายแล้วจุดยืนของเพนกวินคือเรียกร้องประชาธิปไตยหรืออะไรกันแน่? แอบอ้างประชาธิปไตยหลอกลวงผู้อื่นมาร่วมการชุมนุมหรือเปล่า? แต่เพนกวินก็ไม่สามารถแก้ต่างอะไรได้ แถมยังตั้งคำถามแก้เก้อกลับมา แล้วเมื่อผมตอบคำถามทั้ง 6 ข้อกลับไป พร้อมทั้งถามเพนกวินกลับบ้าง แต่เพนกวินกลับเงียบสนิท ซึ่งชี้ให้เห็นว่าม็อบนี้มีแกนนำที่ใช้อารมณ์รุนแรง กับความเชื่อที่ฟังตามๆกันมา โดยชุดความคิดทั้งหมดน่าจะเป็นของผู้ใหญ่ที่ยัดเยียดให้กับเด็กเสียมากกว่า เรื่องนี้คงต้องถามคุณชาญวิทย์เพราะคุณชาญวิทย์น่าจะมีชุดความคิดทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับม็อบ
10.นายธนาธรตอบกับสำนักข่าว FINANCIAL TIMES แทนม็อบอย่างมั่นใจว่าม็อบ 19 ก.ย. นี้จะเป็นการแตะสถาบันฯ รู้ดีและสามารถตอบคำถามแทนม็อบได้อย่างมั่นใจแบบนี้ นายธนาธรมีความสัมพันธ์อย่างไรกับม็อบกันแน่? แต่ที่แน่ๆ นายธนาธรอย่าลืมจูงมือลูกๆกับภรรยาของตัวเองออกมาด้วย มันจะได้ไม่ย้อนแย้งกับภาพลักษณ์ต่อต้านความเหลื่อมล้ำและความไม่เท่าเทียมที่นายธนาธรชอบสร้างภาพอยู่เป็นประจำ
วันที่ 17 กันยายน 2563 หลังจากมีการประกาศรางวัลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 16 ก.ย. 2563 ล่าสุด ฮาย อาภาพร นครสวรรค์ ได้เฮเพราะเธอถูกรางวัลรวมแล้วถึง 225 ใบ โดยเป็นรางวัลเลขท้าย 2 ตัว เลข 57 จำนวน 220 ใบ และรางวัลเลขหน้า 3 ตัว เลข 220 อีก 5 ใบ
โดยงวดเธอบอกว่าซื้อหวยไปประมาณ 6 หมื่นบาท เลือกซื้อตามเลขรถ ก่อนมาตรวจและถูกรางวัลปึกใหญ่งวดนี้
17 กันยายน 2563 ความคืบหน้ากรณีนายวุฒิชัย เตชสิทธิ์ธนวัฒน์ ชาว ต.สะเดียง อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ ถูกจับกุมในข้อหาลักทรัพย์ เมื่อวันที่ 2 ก.ค.63 และถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำจังหวัดเพชรบูรณ์ ได้ปลอมตัวเป็นเจ้าหน้าที่เรือนจำตบหน้าเจ้าหน้าที่ตัวจริงหลบหนีออกจากเรือนจำอย่างลอยนวล
หลังจากเช็คภาพจากกล้องวงจรปิด และตามแกะรอยเส้นทางหลบหนีจนพบว่า หลังออกจากเรือนจำได้ นายวุฒิชัย ได้ขี่รถจักรยานยนต์ PCX สีดำ ไม่ทราบทะเบียน หลบหนีไปทางต.นายม อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ ล่าสุดสามารถตามจับกุมตัวนักโทษจอมวางแผนรายนี้ได้แล้ว ขณะหลบหนีไปซ่อนตัวอยู่ภายในบ้านร้างหลังหนึ่งกลางไร่ข้าวโพด ขณะนี้อยู่ระหว่างการสอบปากคำ
17 กันยายน 2563 กระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐเปิดเผยว่า คีธ แครช ปลัดกระทรวงการต่างประเทศฝ่ายการขยายตัวทางเศรษฐกิจ, พลังงาน และสิ่งแวดล้อม มีกำหนดเดินทางถึงไต้หวันวันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน เพื่อมาร่วมพิธีระลึกถึงอดีตประธานาธิบดีลี เต็งฮุย ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งประชาธิปไตยไต้หวัน ในวันเสาร์ที่ 19 กันยายนนี้ ลีถึงแก่อสัญกรรมเมื่อเดือนกรกฎาคมด้วยวัย 97 ปี สื่อของทางการจีนรายงานข่าวการเสียชีวิตของเขาโดยเรียกลีว่าเป็น "เจ้าพ่อแห่งลัทธิแยกตัวของไต้หวัน"
การเยือนของแครชจะเป็นการเยือนของเจ้าหน้าที่ระดับสูงในรัฐบาลสหรัฐครั้งที่ 2 ในรอบไม่กี่สัปดาห์ ต่อจากการเดินทางมาไต้หวันของอเล็กซ์ เอซาร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขสหรัฐ เมื่อเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นการเยือนของเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่สุดของสหรัฐนับแต่ปี 2522 ที่สหรัฐเปลี่ยนมาสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีนแผ่นดินใหญ่
คาดกันว่า แครชจะได้พบปะกับประธานาธิบดีไช่ อิงเหวิน ผู้นำหญิงของไต้หวันที่สนับสนุนเอกราช ในวันศุกร์ โดยไช่จะเป็นเจ้าภาพจัดเลี้ยงอาหารค่ำต้อนรับด้วย นอกจากนี้เจ้าหน้าที่สหรัฐผู้นี้น่าจะจัดการเจรจาด้านการค้าบางอย่างระหว่างการเยือนนาน 3 วัน แม้จะยังไม่มีการเผยรายละเอียด แต่กระทรวงการต่างประเทศของไต้หวันเผยว่า แครช ซึ่งมาเยือนพร้อมกับผู้ช่วยรัฐมนตรีโรเบิร์ต เดสโตร จะหารือหนทางกระชับความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับทวิภาคี
ด้านรัฐบาลจีนแสดงความไม่พอใจทันที "จีนต่อต้านเรื่องนี้อย่างรุนแรง" หวัง เหวินปิน โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวกับผู้สื่อข่าวที่กรุงปักกิ่งเมื่อวันพฤหัสบดีโดยบอกว่า การเยือนไต้หวันของแครชเป็นการส่งเสริมทัศนคติที่ยโสโอหังของกองกำลังแบ่งแยกดินแดนเพื่อเอกราชไต้หวัน และจีนได้ยื่นหนังสือแสดงความไม่พอใจต่อรัฐบาลสหรัฐแล้ว
"เราเรียกร้องฝ่ายสหรัฐตระหนักถึงความอ่อนไหวอย่างที่สุดของประเด็นไต้หวัน จีนจะตอบสนองตามความจำเป็นโดยขึ้นอยู่กับว่าสถานการณ์จะพัฒนาไปอย่างไร" หวังกล่าวโดยไม่ได้ให้รายละเอียด
ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหรัฐในยุคของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ช่วงหลายเดือนมานี้อยู่ในจุดตกต่ำที่สุดในรอบหลายทศวรรษ จากความขัดแย้งกันหลายประเด็น ทั้งกรณีไต้หวัน, การค้า, การทหารและประเด็นด้านความมั่นคง ไปจนถึงเรื่องการระบาดของไวรัสโคโรนา
รัฐบาลจีนมองว่าประธานาธิบดีไช่ของไต้หวันเป็นนักแบ่งแยกดินแดนที่อันตราย ขณะที่ไช่กล่าวว่า เกาะไต้หวันเป็นประเทศเอกราชอยู่แล้วโดยมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่าสาธารณรัฐจีน
จีนถือว่าไต้หวันเป็นส่วนหนึ่งของจีนและพร้อมจะใช้กำลังทางทหารหากไต้หวันประกาศเอกราช นับแต่ไช่ชนะเลือกตั้งเมื่อปี 2559 จีนเพิ่มการกดดันทางการทูต, เศรษฐกิจและการทหารต่อไต้หวัน
ช่วงไม่กี่สัปดาห์มานี้ ไต้หวันรายงานว่าเครื่องบินรบของจีนรุกล้ำเขตแสดงตัวเพื่อการป้องกันทางอากาศของไต้หวันเพิ่มขึ้นอย่างมาก แม้แต่ล่าสุดในวันพฤหัสบดี กระทรวงกลาโหมไต้หวันกล่าวว่า เครื่องบินต่อต้านเรือดำน้ำของจีน 2 ลำ ข้ามเส้นแบ่งเขตแดนและโดนเตือนให้ออกนอกพื้นที่.
17 กันยายน 2563 สำนักงานสถิติแห่งสหภาพยุโรป หรือ ยูโรสแตท (Eurostat) ระบุว่าจีนกลายเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของสหภาพยุโรป (EU) แทนที่สหรัฐฯ ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2020
ช่วงเดือนมกราคม-กรกฎาคม สหภาพยุโรปนำเข้าสินค้าจากจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อน ขณะเดียวกันสหภาพยุโรปนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ น้อยลงร้อยละ 11.7
ยูโรสแตทเผยว่าปริมาณการส่งออกสินค้าจากสหภาพยุโรปไปยังจีนลดลงร้อยละ 1.8 ขณะที่ปริมาณการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 9.9
ช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ จีนครองตำแหน่งคู่ค้ารายใหญ่สุดของสหภาพยุโรป ตามมาด้วย สหรัฐฯ สหราชอาณาจักรสวิตเซอร์แลนด์ และรัสเซียตามลำดับ
เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) ที่มีการเปลี่ยนแปลงในทั่วโลกในช่วง 7 เดือนแรก ปริมาณการค้ากับต่างประเทศของสหภาพยุโรปจึงเริ่มลดลงในเดือนมกราคม ก่อนจะฟื้นตัวขึ้นหลังเดือนพฤษภาคม เมื่อมีการผ่อนปรนมาตรการควบคุมอย่างค่อยเป็นค่อยไป
ในเดือนกรกฎาคมมูลค่าการส่งออกสินค้าของสหภาพยุโรปอยู่ที่ 1.68 แสนล้านยูโร (ราว 6.16 ล้านล้านบาท) ลดลงร้อยละ 11.3 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อน ส่วนมูลค่าการนำเข้าสินค้าจากทั่วโลกอยู่ที่ 1.42 แสนล้านยูโร (ราว 5.21 ล้านล้านบาท) ลดลงร้อยละ 16 เมื่อเทียบปีต่อปี
© 2011 - 2026 Thai LA Newspaper 1100 North Main St, Los Angeles, CA 90012