ข่าว
ฮ่องกงประท้วง: จีนไม่รับข้อเสนอถอนร่างกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดน

วันที่ 23 สิงหาคม 2562 ที่เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ตำบลหนองบัว อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี นายศุภชัย มโนการ ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาป่าสักชลสิทธิ์ ได้เปิดเผยถึงตัวเลข และสถิติของสถานการณ์น้ำ ในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ณ ปัจจุบันนี้ ว่า สถานการณ์น้ำในเขื่อนยังคงน่าเป็นอย่างอย่างมาก เนื่องจากขณะนี้ ได้เข้าสู่ช่วงครึ่งหลังของฤดูฝนแล้ว แต่ปริมาณน้ำในเขื่อนเหลืออยู่น้อยมาก และเมื่อเปรียบเทียมจากตัวเลข และสถิติต่างๆ ที่ผ่านมา นับตั้งแต่ก่อสร้างเขื่อน ถือว่าน้อยที่สุดตั้งแต่เปิดใช้งานเขื่อนป่าสักฯ เนื่องจากตั้งแต่ต้นปี 2562 ที่ผ่านมา มีฝนตกเฉลี่ยสะสมน้อยมาก โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่รับน้ำ ตามลำน้ำสาขาของแม่น้ำป่าสักตอนบนเหนือเขื่อนแทบไม่มีน้ำไหลเข้าเลย ปริมาณน้ำฝนก็ไม่มากพอที่จะทำให้น้ำไหลลงเขื่อน เนื่องจากฝนไม่ตกต่อเนื่องและส่วนใหญ่ตกนอกอ่างเก็บน้ำของเขื่อน ทำให้น้ำส่วนใหญ่จะซึมหายลงดินไปกับความแห้งแล้งหมด

และหากสถนการณ์ยังเป็นเช่นนี้ ซึ่งเหลือเวลาอีกไม่มากก่อนสิ้นสุดฤดูฝน หากยังไม่มีพายุมรสุม ที่ส่งผลให้มีฝนตกในปริมาณที่มากพอ ในพื้นที่ตอนบนของเขื่อน ตามที่คาดกานหรือหวังไว้ อาจสงผลกระทบอย่างรุนแรก ต่อ การบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูแล้งปีหน้า

สำหรับปริมาณน้ำในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ล่าสุดตรวจวัด เมื่อช่วงเช้าวันนี้ 31.34 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 3.26 จากปริมาณกักเก็บสูงสุดของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ที่ 960 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยมีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนเพียง 0.23 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน ซึ่งถือว่าน้อยมาก จึ่งของให้เกษตรกร ใช้น้ำอย่างประหยัด และควรหันไปปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยแทนเพื่อลดความเสียงต่อการเสียหายของภาคการเกษตร

รัฐศาสตร์ มธ. จับมือมติชน เปิดตัวหนังสือ ‘ราษฎรธิปไตย’ ย้อนการเมืองหลัง 2475

รัฐศาสตร์ มธ. จับมือมติชน เปิดตัวหนังสือ ‘ราษฎรธิปไตย’ ย้อนการเมืองหลัง 2475

เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 30 ส.ค.ที่ห้องเสน่ห์ จามริก คณะรัฐศาสตร์ มธ.ท่าพระจันทร์ มีการจัดเสวนา “ราษฎรธิปไตย” เพื่อเปิดตัวหนังสือ ราษฎรธิปไตย จัดโดยคณะรัฐศาสตร์ และสำนักพิมพ์มติชน

ผศ.ศรัญญู เทพสงเคราะห์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้เขียนหนังสือ ราษฎรธิปไตย กล่าวว่า เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเมือง อำนาจ และความทรงจำของ(คณะ)ราษฎร ซึ่งเป็นการรวบรวมประวัติศาสตร์หลัง 2475-2490 การใช้อำนาจ รวมถึงการดูอนุสาวรีย์ตั้งแต่อนุสาวรีย์ปราบกบฎ ถึงอนุสาวรีย์ ร.7 กับอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยนอกจากนั้นเป็นการรวบรวมบทความตั้งแต่พ.ศ. 2556-2561

ในหนังสือมีการพาย้อนไปดูอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยที่มีอยู่ทั่วประเทศ โรงเรียนดัดสันดาน อนุสาวรีย์ปรากบฎ หรืออนุสาวรีย์ในความทรงจำ หรืออนุสาวรีย์ 17 ทหารและตำรวจ โดยเป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวคนและพิธีกรรมในพื้นที่เขตบางเขน ก่อนที่จะมาหายไปนิรันดร์ ซึ่งในด้านหนึ่งที่ตนถูกควบคุมตัวโดยไม่ตั้งข้อกล่าวหา และได้รับการดูแลจากเจ้าหน้าที่เป็นอย่างดี ในขณะที่พยายามไปถ่ายภาพ อย่างไรก็ตามขอไม่ลงรายละเอียดเพราะเวทีนี้ไม่ใช่เวทีของเรื่องเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน

ผศ.ศรัญญู กล่าวต่อว่า ชื่อหนังสือนี้ต้องการเสนอชื่อโดดเด่น มีนัยยะทางการเมือง คือต้องการสร้างคำใหม่ เพื่อขาย เห็นแล้วต้องซื้อมาอ่าน ทั้งนี้หลักฐานเอกสารที่ใช้เขียนในเล่มนี้ เป็นการบอกถึงความต้องการในท้องถิ่น เช่น การสร้างอนุสาวรีย์ที่ขอนแก่น ที่ภูเขียว ที่มหาสารคาม ที่สุรินทร์ ซึ่งเนื้อหามีประวัติที่มาที่ไป กลอนรำ ที่มีเนื้อหาสะท้อนมุมมองเกี่ยวกับ 2475 ซึ่งอยู่ในภาคผนวกของหนังสือนี้ สะท้อนบริบทยุคสมัย เช่น คำว่าเคารพบูชารัฐธรรมนูญ ถ้าเข้าใจก็คือการยกฐานะรธน.ให้สูงเด่น ซึ่งไม่ผิดที่คนยุคนั้นจะทำ

ผศ.ศรัญญู กล่าวอีกว่า ส่วนในยุคร่วมสมัยที่น่าสนใจคือการกลับไปอ่านหลักฐานเก่าๆ นำมาอธิบายประวัติศาสตร์การเมืองไทยในสมัยนี้ เช่น หลัก 6 ประการที่คณะราษฎรทำไว้ เช่น เรื่องการศึกษา ความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับวิทยานิพนธ์ ซึ่งเป็นเรื่องเล่าของนักโทษการเมือง การปฏิรูปราชทัณฑ์ หรือแม้แต่บุคคลที่เกี่ยวโยงกับการศึกษา และการเลือกตั้ง หรือ ส.ส. นักการเมืองท้องถิ่นที่มีบทบาทหลัง 2475 บุคคลที่มีส่วนสร้างท้องถิ่น สร้างรัฐประชาชาติ เช่น ขุนสุคนธวิทศึกษากร นายบรรณ สวันตรัจฉ์ นายบุญช่วย อัตถากร อย่างไรก็ตาม ในเล่มจะมีภาพถ่ายที่เป็นภาพชุดสำคัญๆที่สะท้อนให้เห็นปลายระบอบเก่า ต้นระบอบใหม่

ด้าน ผศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า เคยเป็นองค์ปาฐก “เรื่อง 2475 อดีต ปัจจุบัน และอนาคต” ซึ่งสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง แต่ไม่เคยไปสนใจอนุสาวรีย์บางเขนนี้เลยรู้แต่ว่าเป็นอนุสาวรีย์ที่โดดเดี่ยวมาก ชื่อหนังสือ ราษฎรธิปไตย เป็นชื่อที่เท่ห์มาก แสดงให้เห็นรากฐานชนชั้นทางการเมือง กับราษฎรไทย คณะราษฎร ซึ่งเป็นที่คุ้นหูของคนไทย

ผศ.ดร.ธำรงศักดิ์ กล่าวอีกว่า ถ้ากลับไปในช่วงนั้นก็แบ่งโดยคณะเจ้านาย กับคณะราษฎร จึงเกิดการรวมกลุ่มเพื่อเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเพื่อราษฎร หนังสือนี้คงต้องการให้เห็นแนวคิดทางการเมืองใหม่ จะทำให้เราเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในรัฐธรรมนูญ ให้เห็นถึงเรื่องการเปลี่ยนบ้านแปลงเมือง หนังสือเล่มนี้พูดถึง ความจำและความจริง เมื่อความจริงอดีตเปลี่ยนแปลงไปเป็นความจริงที่เป็นจริง

ขณะที่ ดร.ธนาวิ โชติประดิษฐ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวว่า ในฐานะศึกษาประวัติศาสตร์ศิลปะ เราศึกษาศิลปกรรม ทุกวันนี้ครอบคลุมไปถึงวัตถุทางสายตา และไม่ได้มองเห็นด้วยสายตา เพื่ออธิบายรูปแบบศิลปกรรมได้ ดังนั้นความหมายที่อาจมองไปในแง่มุมใดก็ได้ เช่นหน้าปกราษฎรธิปไตยนี้ สามารถมองได้ นักประวัติศาสตร์สามารถให้ความสนใจและความหมกมุ่นก็แล้วแต่ เพื่อตอบว่า ทำไมหน้าปกนี้ถึงจัดวางแบบนี้ ใช้รูปแบบนั้น อย่างนี้เป็นต้น งานที่คล้ายกันคือความสนใจเรื่องศิลปราษฎร และวัตถุที่นำมาวิเคราะห์คืออนุสาวรีย์หลายแห่งที่อยู่ในหนังสือนี้ เป็นการพึ่งพา อนุสาวรีย์ที่สร้างขึ้นในสมัยคณะราษฎรนั้นมีการพูดถึงหลายแห่งที่เป็นอนุสาวรีย์พานรัฐธรรมนูญ ที่จ.มหาสารคาม โดยต้นแบบที่ทุกจังหวัดได้รับนั้นมาจากกรมศิลปากรเอง

ดร.ธนาวิ กล่าวต่อว่า ชี้ให้เห็นว่าศิลปกรรมเหล่านี้เป็นส่วนช่วยประชาสัมพันธ์ระบอบใหม่ เป็นโฆษณาชวนเชื่อแบบหนึ่ง คือ สร้างโดยรัฐ เผยแพร่โดยรัฐ ปลูกฝังความเชื่อระบอบใหม่ เป็นการใช้ร่างทรง คือคณะราษฎร ใช้พานรัฐธรรมนูญ และปรากฎในศิลปกรรมในหลายๆชนิด จึงตกเป็นเป้าที่จะถูกทำงายเมื่อคณะราษฎรหมดอำนาจ

ดร.ธนาวิ กล่าวอีกว่า ซึ่งในหนังสือนี้พูดถึงอนุสาวรีย์ร.7 หรือแม้แต่การศึกษาเชิงประวัติศาสตร์ที่ชี้ให้เห็นเรื่องที่จะมีการนำอนุสาวรีย์ร.7 เข้าไปแทนที่พานรัฐธรรมนูญ ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย แต่ถ้ามองในเชิงศิลปกรรมยื่งน่าสนใจ และยังจะได้เห็นหลักฐานทั้งที่ทางการและ หลักฐานจากราษฎรในพื้นที่ สะท้อนจากศิลปกรรมอนุสาวรีย์ที่หายๆไปโดยการถูกรื้อก็ตาม เช่น หลักฐานที่เป็นหนังสือแจกในการเปิดอนุสาวรีย์ปราบกบฎ หรืออนุสาวรีย์ 17 ทหารและตำรวจ

ส่วน ผศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ กล่าวว่า ถ้าใครได้อ่านหนังสือเล่มนี้จะได้ทราบข้อมูลใหม่ๆ และที่สำคัญคือรูปภาพที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน ชี้ให้เห็นมรดกตกทอดของคณะราษฎรที่สะท้อนความสัมพันระหว่างรัฐกับสังคม และไม่ใช่อยู่แค่ในกทม. แต่การเมืองหลัง 2475 นั้นขยายไปถึงตจว. โดยเฉพาะอีสานที่คึกคักมาก


ร้อยเอ็ดวิกฤต! น้ำป่าทะลักท่วมโรงเรียน ซัดกำแพงพัง นักเรียนกว่า 300 ชีวิตระทึก

ร้อยเอ็ดวิกฤต! น้ำป่าทะลักท่วมโรงเรียน ไหลเชี่ยวกราก ซัดกำแพงพัง นักเรียนกว่า 300 ชีวิตระทึก เจ้าหน้าที่ระดมกำลังช่วย

น้ำป่าทะลักท่วมโรงเรียน วันที่ 30 ส.ค. เฟซบุ๊ก “ร่วมภูมิศักดิ์ พลเยี่ยม” ได้ไลฟ์เหตุการณ์ระทึกขณะเกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมโรงเรียนอนุบาลโพนทอง อ.โพนทอง จ.ร้อยเอ็ด โดยเกิกจากฤทธิ์ของพายุโพดุล ซึ่งเหตุการณ์เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงเที่ยงที่ผ่านมา โดยพบว่าระดับน้ำสูงขึ้นเรื่อยๆ และไหลเชี่ยวเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ยังทราบว่ามีนักเรียนและครูติดอยู่ภายในโรงเรียนกว่า 300 คน

โดยในคลิปมีภาพนักเรียนที่ไปยืนอยู่ตรงชั้น 2 ของอาคาร ในขณะที่ด้านล่างน้ำป่าได้ไหลหลากเข้ามาท่วมรถยนต์จนแทบมิดทั้งคัน เบื้องต้นทราบว่าเจ้าหน้าที่ได้ระดมกำลังเข้าให้ความช่วยเหลือเพื่อนำนักเรียนและคณะครูที่ติดอยู่ภายในโรงเรียนออกมาด้านนอก

ล่าสุดเมื่อช่วงเย็นที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ได้ช่วยอพยพนักเรียนออกจากโรงเรียนได้อย่างปลอดภัยทั้งหมดแล้ว โดยโรงเรียนได้ติดต่อผู้ปกครองเพื่อให้ทุกคนมารับนักเรียนใน 2 จุดคือที่ปั๊มน้ำมันบางจากบริเวณใกล้โรงเรียน และร้านเซเว่นอีเลฟเว่นในเมือง เบื้องต้นทราบว่าน้ำได้เอ่อเข้าท่วมตั้งแต่ช่วงเวลา 11.00 น. ที่ผ่านมา จนทำให้กำแพงพังเนื่องจากกระแสน้ำแรงมาก และห้องเรียนที่อยู่ชั้นล่างก็ถูกนำท่วมไปด้วยได้รับความเสียหาย


เพชรบูรณ์ ก็อ่วม ฝนถล่ม-น้ำป่าไหลหลาก ทะลักท่วมบ้านเรือน หนักสุดรอบ 30 ปี

เมื่อเวลา 17.50 น. วันที่ 30 ส.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ มีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งวัน โดยเฉพาะในพื้นที่ อ.วังโป่งและอ.ชนแดน มีฝนตกหนักติดต่อกันหลายชั่วโมงทำให้มีน้ำจากภูเขาไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนและถนนสายวังโป่ง – วังกระดาษ ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 3 – 5 น้ำท่วมสูง 30 – 50 ซม. ระยะทางกว่า 2 กิโลเมตร

นางสงกรานต์ สุขวิเศษ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 13 บ้านวังโป่ง ต.วังโป่ง นำลูกบ้านออกมาคอยอำนวยความสะดวกบอกชี้ทางบนถนนสายวังโป่ง บ้านวังกระดาษ ให้กับผู้ใช้เส้นทางดังกล่าว เนื่องมองไม่เห็นแนวถนนจึงเกรงว่าจะเกิดอุบัติเหตุได้

ทั้งนี้ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 13 เปิดเผยว่าฝนตกในครั้งนี้ถือว่าหนักมากและน้ำจากเทือกเขาไม่เคยไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่แบบครั้งนี้มากว่า 30 ปีแล้ว

ด้านนางรำแพน แสนพรม อายุ 53 ปี บ้านเลขที่ 22 หมู่ 13 ต.วังโป่ง อ.วังโป่ง จ.เพชรบูรณ์ เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวว่า วันนี้น้ำจากเทือกเขาไหลเข้าท่วมบ้านตนเองแล้วถึง 3 ครั้ง โดยครั้งแรกในช่วงเช้าพอน้ำเริ่มยุบฝนก็ลงลงมาอย่างหนักอีก ทำให้น้ำจากเทือกเขาไหลลงมาท่วมอีกครั้งในช่วงกลางวัน และในช่วงเย็นน้ำจากเทือกเขาก็ไหลบ่าเข้าท่วมบ้านเรือนอีกครั้ง

โดยระดับน้ำสูงเกือบ 1 เมตร ทำให้ข้าวของสิ่งของเสียหายเป็นจำนวนมาก เพราะบ้านปลูกอยู่ในที่ต่ำ โชคดีที่เพื่อนบ้านมาช่วยกันขนสิ่งของ ที่นอน หมอนมุ้งตู้เสื้อผ้า นำไปไว้บนที่สูง

ล่าสุด กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กู้ภัยวังโป่งรวมใจ เร่งออกสำรวจ พร้อมช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ อีกทั้งนำอุปกรณ์ส่องสว่าง ออกติดตั้งตามจุดเสี่ยง เพื่ออำนวยความสะดวกในค่ำคืนนี้ พร้อมทั้งแจ้งเตือนให้ประชาชน เฝ้าระวัง และติดตามสถานการณ์น้ำป่าอย่างใกล้ชิด เนื่องจากในพื้นที่ยังคงมีฝนตกลงมา


ศาลสั่งเบรกเครื่องบินกลางอากาศ นำทมิฬพ่อแม่ลูก วกกลับถิ่นออสซี่

ศาลสั่งเบรกกลางอากาศ – วันที่ 30 ส.ค. เอเอฟพี รายงานว่า เกิดเหตุการณ์การหยุดยั้งการเนรเทศครอบครัวผู้ลี้ภัยชาวทมิฬ พ่อแม่และลูกน้อย 2 คน ออกจากออสเตรเลีย อย่างระทึก เมื่อศาลออสเตรเลียขยายคำสั่งคุ้มครองครอบครัวดังกล่าว ช่วงนาทีสุดท้ายก่อนเครื่องบินพ้นน่านฟ้าของประเทศ ระงับคำสั่งเดิมของรัฐบาลฝ่ายขวาที่ให้เอาครอบครัวนี้ไปส่งที่ศรีลังกา ภูมิลำเนาเดิม

ผู้พิพากษา ฮีตเธอร์ ไรลีย์ มีคำสั่งระงับอำนาจของรัฐบาลดังกล่าว ช่วงดึกของวันที่ 29 ส.ค. ขณะกลุ่มผู้ประท้วงและทนายความจึงรีบวิ่งไปที่สนามบินนครเมลเบิร์น แต่เครื่องบินเหินขึ้นไปแล้วตอนเวลา 23.00 น. ผู้พิพากษาต้องโทร.แจ้งคำสั่งกัปตัน ให้นำเครื่องบินลงจอดในนครดาร์วิน ทางเหนือของออสเตรเลีย ห่างจากนครเมลเบิร์น 3,000 ก.ม. เมื่อราว 03.00 น. วันที่ 30 ส.ค. ตามเวลาท้องถิ่น โดยมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยติดตามครอบครัวนี้พาลงจากเครื่องบิน

อย่างไรก็ตาม นายปีเตอร์ ดัตทัน รมว.กิจการภายใน กล่าวว่า ครอบครัวนี้ไม่ใช่ผู้ลี้ภัย จึงไม่สมควรได้รับการคุ้มครองจากออสเตรเลีย

“ผมอยากให้ครอบครัวนี้ยอมรับว่า พวกเขาไม่ใช่ผู้ลี้ภัยไม่ได้รับสิทธิคุ้มครองจากประเทศของเรา พวกเขามาทางเรือ และเราก็บอกชัดแล้วว่าจะอยู่ประเทศนี้ไม่ได้” นายดัตทัน กล่าว

ด้านนายอรัน มีลวากานัม โฆษกสภาผู้ลี้ภัยชาวทมิฬ กล่าวยืนยันว่า ครอบครัวนี้เผชิญอันตราย หากต้องกลับไปอยู่ศรีลังกา

ส่วนน.ส.แองเจลา เฟรเดอริกส์ เพื่อนของครอบครัวชาวทมิฬ เผยว่าครอบครัวประสบเป็นทุกข์อย่างมากเด็กหญิง 2 คน ได้แก่ ด.ญ.ธารูนีกา วัย 2 ขวบ และด.ญ.โคปีคา วัย 4 ขวบ ร้องไห้ระหว่างเที่ยวบิน อีกทั้งแม่เด็กไม่ได้รับอนุญาตให้นั่งกับลูก

ชะตากรรมของครอบครัวนี้ ทำให้ชาวออสเตรเลียหลายคน รวมถึงสมาชิกสภานิติบัญญัติ แสดงความไม่พอใจทางโลกออนไลน์ต่อการปฏิบัติต่อครอบครัวผู้ลี้ภัย และเรียกร้องให้รัฐบาลออสเตรเลียแสดงความเห็นอกเห็นใจ รวมถึงให้นายเดวิด โคลแมน รมว.ตรวจคนเข้าเมือง ใช้ดุลพินิจและอนุญาตให้ครอบครัวอยู่ต่อไป

สามีภรรยาคู่นี้มาอยู่ที่เมืองบิลโออีลา ถิ่นชนบทในรัฐควีนส์แลนด์ 3 ปีแล้ว มีลูกด้วยกัน 2 คน และเกิดในออสเตรเลีย แต่เด็กทั้งสองไม่ได้รับสิทธิให้เป็นพลเมืองออสเตรเลีย ต่อมาทั้งครอบครัวถูกเจ้าหน้าที่ใช้กำลังบังคับให้ออกจากบ้านพัก ไปศูนย์กักกันผู้ลี้ภัยเมื่อเดือนมี.ค.2561 เรียกเสียงประณามจากชาวออสเตรเลีย และลงลายมือชื่อมากกว่า 120,000 คน เรียกร้องให้ครอบครัวชาวทมิฬอยู่ในออสเตรเลียต่อไป


ชวน ชี้ซักฟอก บิ๊กตู่ ถวายสัตย์ไม่ครบ ทำได้ โอดมิบังอาจเตือนนายกฯมาชี้แจง

เมื่อเวลา 14.30 น. วันที่ 30 ส.ค. ที่วัดแก้วฟ้าจุฬามณี แยกเกียกาย นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร ให้สัมภาษณ์ภายหลังตรวจความพร้อม ก่อนนำทีมสมาชิกรัฐสภา และเจ้าหน้าที่ร่วมกันทำจิตอาสาปรับปรุงพัฒนาวัด ในวันที่ 31 ส.ค.

นายชวน กล่าวว่า ได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายทั้งทหาร ส.ส. ส.ว. และเจ้าหน้าที่ ส่วนที่เลือกวัดนี้เพราะอยู่ใกล้กับรัฐสภาแห่งใหม่ รวมทั้งเป็นวัดที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่ ดังนั้นหากมีอะไรทางสภาฯก็ต้องช่วยดูแลวัด ที่จะต้องอยู่คู่กันตลอดไป

ประธานสภาฯ ยังกล่าวถึง ความคืบหน้าในการอภิปรายทั่วไปนายกรัฐมนตรีโดยไม่ลงมติ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม กรณีถวายสัตย์ไม่ครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญ และการแถลงนโยบายรัฐบาลโดยไม่ระบุที่มาของแหล่งเงิน เพิ่มเติมว่า

ต้องรอรัฐบาลหารือเรื่องนี้ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) และตอบกลับมาก่อน หากรัฐบาลจะมีการเสนอให้มีการประชุมลับก็สามารถทำได้ตามรัฐธรรมนูญ และข้อบังคับการประชุมสภาฯ โดย ส.ส. หรือรัฐบาลมีสิทธิที่จะเสนอให้มีการประชุมลับได้

“ขอย้ำว่าเรื่องการอภิปรายทั่วไป เป็นไปตามรัฐธรรมนูญมาตรา 152 ผมไม่บังอาจไปเตือนใครเพราะทุกคนมีหน้าที่ แต่เมื่อมีสื่อมาถาม ผมก็บอกไปว่า เชื่อว่านายกรัฐมนตรีอยากจะมาชี้แจง และตราบใดที่ยังมีญัตติอยู่ ฝ่ายสภาฯก็ทำอะไรไม่ได้นอกจากบรรจุเข้าระเบียบวาระการประชุม”


ทำไทยอ่วม นาซาเผยภาพถ่ายดาวเทียม พายุโพดุล ก่อนขึ้นฝั่งถล่มเวียดนาม

นาซาเผยแพร่ภาพถ่ายดาวเทียม แสดงให้เห็นความน่ากลัวของพายุโซนร้อนโพดุล ก่อนขึ้นฝั่งทางตอนกลางของเวียดนาม และผ่านไทย ส่งผลกระทบหนักต่อหลายจังหวัดทางภาคอีสานเผชิญลมแรง ฝนตกหนัก น้ำท่วมฉับพลัน

เมื่อ 30 ส.ค.62 สำนักข่าวต่างประเทศรายงาน อิทธิพลของพายุโซนร้อนโพดุล (ที่ขึ้นฝั่ง ทางตอนกลางของเวียดนาม เมื่อช่วงเวลาประมาณ 00.30 น.ของวันที่30 ส.ค.และเคลื่อนผ่านภาคอีสานของไทย โดยได้ส่งผลกระทบต่อหลายจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งสกลนคร ขอนแก่น กาฬสินธ์ุ นครพนม ร้อยเอ็ด ประสบภัยลมกระโชกแรง ฝนตกหนัก จนบ้านพังเสียหายหลายหลัง และเกิดน้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ (นาซา) ได้เผยแพร่ภาพถ่ายจากดาวเทียม Aqua ขณะเคลื่อนผ่านทะเลจีนใต้ แสดงให้เห็นความรุนแรงของพายุโซนร้อน โพดุล ขณะเคลื่อนตัวใกล้ถึงภาคเหนือและตอนกลางของประเทศเวียดนาม และได้ขึ้นฝั่งภาคกลางของเวียดนาม เมื่อ30 ส.ค.

อิทธิพลของพายุโซนร้อนโพดุล ที่ขึ้นฝั่งเมืองดงฮอย ตอนเวลา 00.30 น.ของเช้าวันที่ 30 สิงหาคม และอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชัน ขณะเคลื่อนตัวเข้าสู่สปป.ลาว ก่อนผ่านภาคอีสานของไทย ขณะที่ เมืองดานัง จนถึงเมืองฮาตินห์ของเวียดนาม ได้รับกระทบจากอิทธิพลของพายุโพดุลหนักที่สุด


ปิยบุตร วอนศาล รธน. เปิดไต่สวนคดีธนาธร ถือหุ้น วี-ลัค มีเดีย ก่อนวินิจฉัย ยกคดี"ดอน" เปรียบเทียบ เตรียมขอยกเลิกคำสั่งห้าม ธนาธร ปฏิบัติหน้าที่ ส.ส.

นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการพรรคอนาคตใหม่ แถลงความคืบหน้ากรณีศาลรัฐธรรมนูญ ออกจดหมายข่าวเกี่ยวกับการพิจารณาคดีการ ถือหุ้นสื่อ บริษัท วี-ลัค มีเดีย ของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ เมื่อวันที่ 27 ส.ค. โดยระบุว่า ได้อภิปรายเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัย และนัดอภิปรายเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยในคราวประชุมถัดไปนั้น น่าสนใจว่า ถ้าศาลรัฐธรรมนูญจะอภิปรายเรื่องวางกรอบการไต่สวนตามกระบวนการที่พึงดำเนินไป เหตุใดจึงต้องอภิปรายเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัย ถึงสองนัดประชุม หรือนี่คือการประชุมวินิจฉัยประเด็นแห่งคดี

นายปิยบุตร กล่าวอีกว่า ตาม พ.ร.ป.วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ กำหนดเอาไว้ว่า เมื่อผู้ร้องมีคำร้องมา ผู้ถูกร้องยื่นคำชี้แจง แล้วกลับมาที่ผู้ร้องยื่นคำคัดค้าน แต่ละฝ่ายก็จะมีเอกสารพยานหลักฐาน มีการชี้แจงของตนเอง เสร็จแล้วตามกระบวนการ ศาลจะนัดวันตรวจพยานหลักฐาน จากนั้นจะมีการเปิดศาลเพื่อกำหนดวันไต่สวน แล้วก็จะนำไปสู่การวินิจฉัยคดี แต่จนกระทั่งถึงวันนี้ นายธนาธร ยังไม่ทราบว่าศาลจะอนุญาตให้มีการไต่สวนหรือไม่

อย่างไรก็ตามหากพูดถึงคดีของนายธนาธร ก็จะเปรียบเทียบกับคดีของ นายดอน ปรมัตถ์วินัย รมว.ต่างประเทศ คดีของ นายดอนไม่ต้องยุติการปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรี และยังได้โอกาสในการไต่สวนอีกด้วย แต่ในกรณีของนายธนาธร สถานะถึงตอนนี้ยังไม่ทราบว่าศาลรัฐธรรมนูญจะยอมให้มีการไต่สวนหรือไม่ หรือว่าศาลกำลังปรึกษาหารือเพื่อจะมีคำวินิจฉัยแล้ว

นายปิยบุตร กล่าวอีกว่า กฎหมายในมาตรา 58 เขียนข้อยกเว้นไว้ว่า ในกรณีที่เป็นประเด็นข้อกฎหมายอย่างเดียว ศาลอาจไม่ไต่สวนก็ได้ หรือในกรณีที่ศาลอาจเห็นว่าพยานหลักฐานเพียงพอแล้ว อาจไม่ไต่สวนก็ได้ แต่สำหรับข้อพิพาทคดีนี้ สาระสำคัญไม่ใช่ปัญหาข้อกฎหมาย แต่เป็นปัญหาข้อเท็จจริง และประเด็นข้อเท็จจริงที่นายธนาธรสู้ไปนั้นเยอะมาก หลายประเด็น ดังนั้น จะบอกว่าคดีนี้มีแต่ข้อกฎหมายอย่างเดียวไม่ได้

เลขาธิการพรรคพรรคอนาคตใหม่ กล่าวอีกว่า อยากจะเรียกร้อง เวลานี้เราไม่รู้จริงๆว่า สถานะคดีนี้อยู่ตรงไหน สถานะคดีนี้ยุติไปแล้วใช่หรือไม่ว่าไม่มีการไต่สวน ในเวลานี้ศาลกำลังประชุมเพื่อวินิจฉัย หรือศาลกำลังพิจารณาว่าจะให้ไต่สวนหรือไม่อย่างไร พรรคอนาคตใหม่มีความคาดหวังว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณาคดีของนายธนาธร ให้มีมาตราฐานดำเนินกระบวนพิจารณาเดียวกันกับคดีของ นายดอน ปรมัตถ์วินัย สุดท้ายเราจะยื่นหนังสือต่อศาลรัฐธรรมนูญอีกครั้งหนึ่งเพื่อขอยกเลิกคำสั่งให้หยุดปฎิบัติหน้าที่การเป็น ส.ส. ชั่วคราวของนายธนาธร ด้วย

ศาลฎีกาฯ ยกฟ้อง "ทักษิณ" คดีปล่อยกู้กรุงไทย ชี้พยานไม่ชัดซุปเปอร์บอสคือ ใคร?

ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สนามหลวง เมื่อเวลา 14.50 น. วันที่ 30 ส.ค. นายวิชัย เอื้ออังคณากุล รองประธานศาลฎีกา เจ้าของสำนวน พร้อมองค์คณะผู้พิพากษา 9 คน ศาลนัดฟังคำพิพากษาคดีนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี กับพวกรวม 27 ราย เป็นจำเลย ในความผิดฐานเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และโดยทุจริตตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, ความผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2502 และข้อหาอื่น

จาก กรณีเมื่อวันที่ 8 ก.ย. 2546 – 30 เม.ย. 2547 ได้อนุมัติสินเชื่อ ธนาคารกรุงไทย ให้นิติบุคคล ในกลุ่มบริษัทกฤษดามหานคร ซึ่งเป็นจำเลยร่วมในคดีนี้ นำไปซื้อที่ดินโดยไม่มีการวิเคราะห์ถึงฐานะทางการเงิน และความสามารถในการชำระหนี้ โดยพวกจำเลยนำเงินไปใช้ประโยชน์ส่วนตัวโดยทุจริตเป็นเหตุให้ ธ.กรุงไทยฯ ได้รับความเสียหาย เป็นเงิน 10,054,467,480 บาท

คดีนี้นายทักษิณ จำเลยได้มอบอำนาจให้ทนายความร่วมโต้แย้งคดีเป็นสำนวนแรกและสำนวนเดียวที่ได้ถูกยื่นฟ้องคดีในศาลฎีกาฯ ซึ่งวันนี้ทนายความก็ได้มาฟังคำพิพากษาด้วย

ทั้งนี้ “องค์คณะฯ” พิเคราะห์แล้ว เห็นว่าพยานของอัยการโจทก์ ซึ่งเป็นอดีตกรรมการของธนาคารกรุงไทย ผู้เสียหาย เบิกความเกี่ยวกับซุปเปอร์บอส หรือ บิ๊กบอส เห็นชอบและสั่งการให้อนุมัติสินเชื่อให้กับกลุ่มกฤษดามหาคร จำเลยที่ 19 ยังไม่ชัดเจนว่าเป็นจำเลยที่ 1 หรือไม่ เพราะพยานได้รับฟังมาจากจำเลยที่ 2 ในคดีนี้ พยานปากนี้จึงยังไม่มีน้ำหนักว่านายทักษิณ จำเลยที่ 1 สั่งการให้จำเลยที่ 2-4 ซึ่งเป็นผู้บริหารธนาคารกรุงไทยที่มีอำนาจอนุมัติสินเชื่อให้กลุ่มกฤษดามหานคร จำเลยที่ 19 จึงพิพากษายกฟ้อง