ข่าว
อ.ธรรมศาสตร์ โพสต์ FaceBook อยากกระทืบ"อั้มเนโกะ"ทำร้ายมหาลัย

วันที่ 6 ธ.ค. 56 จากกรณีที่ อั้ม เนโกะ หรือนายศรัณย์ ฉุยฉาย นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พร้อมด้วยกลุ่มเพื่อนนักศึกษา พยายามจะชักธงชาติลงมาจากยอดตึกโดมบริหาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต และชักธงดำขึ้นไปแทน เพื่อแสดงออกถึงการต่อต้านอธิการบดี และผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ประกาศให้หยุดการเรียนการสอนชั่วคราว เนื่องจากความไม่สงบของการชุมนุม โดย อั้ม เนโกะ อ้างว่าเป็นการเข้าข้างกลุ่มผู้ชุมนุม ตามที่ได้เสนอข่าวไปแล้วนั้น

ล่าสุด ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในโลกสังคมออนไลน์ได้มีการแชร์ข้อความของผู้บริหารระดับสูงระดับรองอธิบการบดีท่านหนึ่งของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว โดยใช้พร้อมข้อความโจมตี "อั้ม เนโกะ"ถึงการกระทำว่า"ผมจะลาออกจากการเป็นครู แล้วกระทืบมัน" , "บัดซบ" , " สันดานบัดซบมันแก้ไขยาก สงสารก็แต่พ่อแม่ที่มีลูกชั่วๆ" และ "ถึงเวลาแล้วที่คนธรรมศาสตร์ที่มีจิตสำนึกรักมหาวิทยาลัย รักชาติต้องปกป้องมหาวิทยาลัย ปกป้องชาติ อย่ายอมให้พวกอสรพิษในมหาวิทยาลัยออกมาพ่นพิษใส่ศักดิ์ศรี ทำร้ายมหาวิทยาลัย"

พบแล้ว "วีรบุรุษกางเกงใน" บนสมรภูมิแก๊สน้ำตา

"วีรบุรุษกางเกงใน" คำนี้คงเหมาะที่สุดแล้วสำหรับชายคนนี้ ภายหลังที่มีการเผยแพร่ภาพชายปริศนาใส่เพียงกางเกงในตัวเดียว กับรองเท้าผ้าใบ ต่อสู้กับตำรวจที่ระดมยิงแก๊สน้ำตาเข้าใส่ฝูงชนที่พยายามจะไปยึดธรรมเนียบรัฐบาลในวันที่ 3 ธันวาคม 2556 ภาพนี้ถูกส่งออกไปเป็นวงกว้างใน Social Network จนมีคนหลายคนสงสัยว่าเค้าเป็นใคร แล้วสู้ยังไงจนเหลือแต่กางเกงในตัวเดียว

จนในที่สุดก็ได้รู้จักตัวจริง "วีรบุรุษกางเกงใน" คนนี้ ชื่อว่า ชมัยมรุเชษฐ์ หรือ "น้องกบ" จากการสัมภาษณ์ของเค้ากล่าวว่า "....ช่วงนั้นผมโดนไปประมาณ 20 ถึง 30 ลูก พอมันโยนมาผมก็โยนใส่กลับมันไปแล้วมันก็บอกว่าเหม็นแล้วคนอื่นไม่เหม็นบ้างหรือไง

ไอ้ฉิบหาย... "(ผู้ชุมนุมปรบมือดังก้อง)

พิธีกรถาม : เคยมีประสบการณ์แก๊สน้ำตามาก่อนมั๊ย?

"...ไม่เคยเลยไม่เคยมาก่อนไม่รู้ว่ามันแสบขนาดนี้..." น้องกบตอบ

พิธีกรถาม : ทำไมถึงสู้

"...ไปหนีมันทำไม หนีมันเราก็โดนอีกสู้เลยสู้จนเหลือกางเกงในตัวเดียว!! (เสียงปรบมือดังกึกก้องอีกครั้ง) ...แต่มันก็ไม่หยุด..."

"มึงรักษากฎหมายของมึงยังไงอ๊ะถ้าเขาโยนใส่มึงมั่งมันจะเป็นยังไง...พ่อแม่มึงก็นั่งอยู่ข้างกูแหละไอ้เหี้ย!! " (เสียงปรบมือดังลั่น)

ผมโมโหครับ ผมขอโทษนะครับที่พูดคำหยาบผมโมโห....

พิธีกรถาม : มาถึงจุดไคลแมกซ์ที่ว่าน้องกบสู้ยังไงถึงเหลือแต่ "กางเกงในตัวเดียว"

น้องกบ เล่าถึงที่มาของการต่อสู้จนเหลือกางเกงในตัวเดียวด้วยความรู้สึกสะเทือนใจว่า

"...คือผมแสบตาครับ ผมถอดเสื้อผ้าผมกำลังจะอาบน้ำแล้วจะกลับบ้านผมเห็นยายคนหนึ่งเป็นลมเข็นรถพยาบาลไปผมบอกไอ้เหี้ยทำพี่น้องกู....ไปเลย...ผมหิ้วไปเลยถังดังเพลิง เอาฉีดมันเลยมันบอกกูเหม็นแสบตาแล้วกูไม่แสบหรือไง ผมฉีดไป 15 ถัง..." (ผู้ชุมนุมที่เวทีนางเลิ้งส่งเสียงเฮลั่น) "...แล้วผมก็โดยยิงสลบแตกครับ เย็บ 4 เข็มผมไปโรงพยาบาลพระมงกุฎหมอจะล็อคตัวผมไว้ 3 วันหมอบอกผมต้องดูอาการนะ ผมอยู่ได้ 3 ชั่วโมงผมถอดเข็มน้ำเกลือหนีกลับผมออกมาทั้งชุดพยาบาลไอ้ตำรวจประกาศ "มันมาอีกแล้ว !!.." (ผู้ชุมนุมส่งเสียงเฮลั่นอย่างยาวนาน)

"...ถ้าผมวิ่งไปมันจะบอกมันมาแล้วมันมาอีกแล้ว !!..."

"...ถ้าวันนั้น ถ้าไครอยู่วันนั้นจะได้ยินเสียงตำรวจบอกว่า ไอ้อ้วนมาแล้วไอ้อ้วนมาแล้ว!! "...พอมันขว้างมา คนอื่นหนีแต่ผมไม่หนีผมเอาขว้างกลับไป แก๊สน้ำตามันนั่นแหละ!!.." "...แล้วมันตะโกนถามมาไอ้เหี้ยแล้วมึงไม่มีหน้ากงหน้ากากใส่มั่งหรือไง..." (เสียงผู้ชุมนุมเฮลั่นเวทีนางเลิ้ง)

พิธีกรถามแล้วที่เป็นแผลแตกนี่โดนอะไร ? "...โดนสะเก็ดครับโดนสะเก็ดแก๊สน้ำตามันยิงรุมมาใส่ผมครับมันบอก...เอาไอ้อ้วนเอาไอ้อ้วนคนเดียว!!..." เรื่องราวของน้องกบ "วีรบุรุษชมัยรุเชษฐ์" คือตำนานเล่าขานอย่างไม่รู้จบ ของเด็กหนุ่มคนหนึ่ง ผู้มีเลือดนักสู้เต็มร้อย เปี่ยมด้วยความกล้าหาญ และมากล้นด้วยความรักชาติ เขาคือคนที่ร่วมต่อสู้ ร่วมเรียงเคียงไหล่กับพี่น้องคนไทยหัวใจรักชาติทุกๆ คน อย่างทนงองอาจ เป็นแบบอย่างให้นักสู้คนอื่นรู้สึกฮึกเหิม กล้าหาญไปด้วย เรารู้ดีว่าทุกสมรภูมิแก๊สน้ำตา มีคนเก่ง มีคนกล้าอยู่มากมาย แต่วันนี้เวลานี้ ขอมอบให้นักสู้หัวใจเต็มร้อยคนนี้


แถลงการณ์จากอดีตนายกสมาคมไทยแห่งแคลิฟอร์เนียภาคใต้

ตามที่ได้มีการชุมนุมบนถนนราชดำเนินประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2556 จนถึงปัจจุบันโดยการนำของคุณสุเทพ เทือกสุวรรณ เพื่อคัดค้านการออก พรบ. นิรโทษกรรมของรัฐสภาแบบเหมาเข่ง ต่อมาเป็นการขับไล่ระบอบทักษิณ และการเรียกร้องให้มีการปฏิรูปประเทศไทยเพื่อไปสู่ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอย่างแท้จริง และ นปช.คนเสื้อแดงได้มาชุมนุมเพื่อสนับสนุนรัฐบาลที่สนามกีฬาราชมังคลา ซึ่งอยู่ด้านหลังของมหาวิทยาลัยรามคำแหงได้ส่งเสียงดังรบกวนจนนักศึกษาขาดสมาธิในการเรียนและยังทำร้ายนักศึกษาหญิงอีกด้วย ทางองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงจึงจัดการชุมนุมขึ้นทางด้านหน้ามหาวิทยาลัย ในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2556 เพื่อเรียกร้องให้ นปช. คนเสื้อแดงออกไปจากสนามกีฬาราชมังคลาฯ และเกิดปะทะกันกับกลุ่มของคนเสื้อแดงและเกิดการชุลมุนขึ้นที่หน้ามหาวิทยาลัย ผศ.วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ อธิการบดีฯ ได้พยายามเรียกเจ้าหน้าที่ตำรวจมาดูแลความสงบและระงับเหตุในวันนั้นก็ไม่ได้รับการตอบสนองจากเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยอ้างว่ารถติดไม่สามารถเข้ามายังสถานที่เกิดเหตุได้ จึงอนุญาตให้นักศึกษาเข้ามาชุมนุมภายในมหาวิทยาลัยเพื่อไม่ให้เกิดการปะทะกันถึงแม้จะย้ายเข้ามาชุมนุมในมหาวิทยาลัยแล้วก็ยังถูกคนเสื้อแดงและสไนท์เปอร์ชุดดำตามเข้ามาทำร้ายอีก นักศึกษาประมาณ 2,000 คนได้เข้าไปหลบในอาคารเรียนและไม่อาจเดินทางกลับบ้านได้จนกระทั่งเจ้าหน้าที่ทหารได้เข้ามาควบคุมสถานการณ์ในกลางดึกของคืนวันที่ 30 พฤศจิกายน 2556 จากเหตุการที่เกิดขึ้นทำให้นักศึกษาและประชาชนเสียชีวิต 3 คนจากการถูกลอบยิง และนักศึกษาบาดเจ็บ 71 คนและยังคงรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลอีก 26 คน

และในวันที่ 1 ธันวาคม 2556 ม็อบ คปท. พยายามฝ่าแนวกั้นของตำรวจที่ สะพานชมัยมรุเชฐ และสะพานอรทัย เขตกรุงเทพมหานครถูกเจ้าหน้าที่ใช้อาวุธแก๊สน้ำตา น้ำฉีดผสมสารเคมี กระสุนยาง และกระสุนจริงยิงใส่ฝูงชน 2 คนถูกยิงด้วยกระสุนยางและอีก 2 คน ถูกยิงด้วยกระสุนจริงอาการสาหัส และบาดเจ็บจากแก๊สน้ำตาและน้ำผสมสารเคมี 56 คน และในวันที่ 2 ธันวาคม 2556 ณ บริเวณรอบทำเนียบรัฐบาลและบริเวณ บชน. มีประชาชนได้รับบาดเจ็บ 34 คนเนื่องจากการใช้แก๊สน้ำตาและน้ำฉีดผสมสารเคมีของเจ้าหน้าที่จนถึงวันที่ 3 ธันวาคม 2556 มีผู้บาดเจ็บ 263. คน เสียชีวิต 4 คน

การทำร้ายร่างกายของคนไทยด้วยกันเองเนื่องจากความคิดที่ต่างกัน การละเว้นการปฏิบัติหน้าที่และการกระทำเกินกว่าเหตุของเจ้าหน้าที่เป็นการกระทำที่ขัดต่อสันติภาพของมวลมนุษย์และเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และการชุมนุมเพื่อขับไล่ระบอบทักษิณ และการเรียกร้องการปฏิรูปประเทศยังดำเนินต่อไปการนองเลือดอย่างแตกหักคงต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในอนาคต ในฐานะอดีตนายกสมาคมไทยแห่งแคลิฟอร์เนียภาคใต้และอดีตนักศึกษา ม. รามคำแหงรุ่นปี 2514 ที่เคยเรียกร้องประชาธิปไตยและเกือบเอาชีวิตไม่รอดในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 และ 6 ตุลาคม 2519 ขอแสดงความเสียใจต่อญาติมิตรของผู้เสียชีวิต และต่อผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการกระทำเกินกว่าเหตุของเจ้าหน้าที่ และเพื่อเป็นการเยียวยา และชดเชยการสูญเสียและเพื่อการปฏิรูปประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรมและป้องกันการนองเลือดที่จะเกิดขึ้น่ในอนาคตจึงขอเรียกร้องต่อรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 7 ข้อดังนี้

1. ให้สอบสวนหาผู้กระทำความผิดที่ลอบยิงนักศึกษาและประชาชน ณ ม.รามคำแหงมาดำเนินการตามกฎหมายและลงโทษโดยเร็ว

2. ให้ชดใช้ความเสียหายต่อญาติผู้เสียชีวิต และผู้ได้รับบาดเจ็บในเหตุการณ์จากวันที่ 30 พฤศจิกายน - 3 ธันวาคม 2556 ในมาตรฐานเดียวกับคนเสื้อแดงที่เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บในเหตุการณ์ปี 2553

3. ให้ระงับโครงการเงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาทที่หวังอัดฉีดเงินเข้าระบบเพื่อสร้างสภาพคล่องทางเศรษฐกิจแต่เป็นการสร้างหนี้เกินตัวและเป็นภาระต่อลูกหลาน และขอให้หยุดโครงการประชานิยมที่มิได้ช่วยประชาชนชั้นรากหญ้าอย่างแท้จริงเช่นโครงการรับจำนำข้าวเกวียนละ 15,000 บาท แต่ชาวนาได้รับจริงไม่เกิน 12,000 บาท และยังต้องนำใบประทวนไปจำนำเสียดอกเบี้ยอีกเนื่องจากรัฐบาลไม่มีเงินจ่ายให้ตามกำหนดและยังเสียตลาดการค้ากับต่างประเทศเนื่องจากข้าวไทยมีราคาสูงและได้ใช้เงินภาษีของประชาชนไปแล้ว 4.5 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการที่มุ่งหาเสียงให้พรรคเพื่อไทยโดยไม่คำนึงถึงความเสียหายของประเทศ และเป็นต้นเหตุความแตกแยกของประชาชน

4. ให้แก้กฎหมายการกระจายอำนาจการปกครองส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น โดยให้แต่ละจังหวัดมีสภาเมืองและสมาชิกสภาเมืองมาจากการเลือกตั้ง มีผู้ว่าราชการจังหวัดมาจากการเลือกตั้ง ให้เทศบาลเมือง องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อ.บ.จ). องค์การบริหารส่วนตำบล (อ.บ.ต.) ขึ้นตรงต่อสภาเมือง และให้มีการเลือกตั้งหัวหน้าอัยการประจำจังหวัด หัวหน้าการศึกษาประจำจังหวัด และหัวหน้าการคลังประจำจังหวัดเพื่อปฏิบัติหน้าที่และรับผิดชอบต่อประชาชนโดยตรง

5. ให้ออกกฎหมายยกเลิกระดับชั้นยศของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจมียศสูงสุดแค่สารวัตร และยกเลิกเครื่องแบบของเจ้าหน้าที่ตำรวจยกเว้นเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่บนท้องถนนและให้ตำรวจขึ้นตรงต่อคณะกรรมการ (Commissioner) ที่มาจากการแต่งตั้งจากการเสนอชื่อของสภาเมือง และให้ตำรวจตระเวนชายแดนไปรวมกับตำรวจฝ่ายตรวจคนเข้าเมืองเป็นองค์กรเดียวกัน

6. ให้รัฐบาลทำหน้าที่หลักคือการควบคุมการจัดเก็บภาษีอากร การก่อสร้างถนนหนทางเพื่อความสะดวกทางด้านคมนาคมและการสื่อสารของประเทศอย่างทัดเทียมกันทั่วประเทศ ให้รัฐบาลให้การสนับสนุนและจัดสรรงบประมาณให้สภาเมืองต่าง ๆ ทั่วประเทศ ให้เด็กเรียนโรงเรียนรัฐบาลฟรีจนถึงขั้นอุดมศึกษา (ม. 6) ให้รัฐบาลให้การสนับสนุนทางด้านการเกษตร การอุตสาหกรรม การค้าภายในและภายนอกประเทศ การป้องกันประเทศ การค้นหาพัฒนาพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติและซื้อคืนหุ้นเอกชนใน ปตท. และให้รัฐบาลจัดสวัสดิการให้ความช่วยเหลือประชาชนทางด้านการรักษาพยาบาลฟรีต่อผู้มีรายได้น้อย และให้เงินช่วยค่าครองชีพอย่างพอเพียงต่อผู้สูงอายุอย่างทัดเทียมกัน และให้รัฐบาลทำหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ของชาติและของประชาชนอย่างแท้จริง

7. ถ้าไม่อาจทำตามข้อเรียกร้องได้ ขอให้นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเสียสละเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติโดยการลาออกหรือยุบสภามอบอำนาจให้แก่ประชาชนชาวไทยโดยเร็ว


นายสมชาย ไทยทัน
อดีตนายกสมาคมไทยแห่งแคลิฟอร์เนียภาคใต้
รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหงรุ่น 1
Thaiclub05@yahoo.com 1 818 855 4789
4 ธันวาคม 2556
'รอยเตอร์'ชี้โอกาส'แม้ว'กลับไทยริบหรี่ ผลพวงกม.ล้างมลทิน

วันที่ 6 ธ.ค. 56 รายงานข่าวของรอยเตอร์ระบุว่าเมื่อหลายเดือนก่อน ย่างเข้าสู่ปีที่ 3 แห่งการบริหารประเทศอันราบรื่นของรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ น้องสาวของทักษิณ โอกาสที่จะเกิดความขัดแย้งทางการเมืองในไทยรอบใหม่แทบไม่มีให้เห็นแม้แต่น้อย ผลจากความพยายามสานสัมพันธ์กับเหล่าศัตรูของพี่ชาย ไม่ว่าจะเป็นพวกนายพลของกองทัพหรือนักการเมืองฝ่ายค้าน

ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจว่าที่ ทักษิณ จึงหวังว่าความพยายามกลับถิ่นเกิดของเขาจะถึงจุดลงเอยเสียที หลังจากหลบหนีโทษจำคุกในความผิดฐานคอรัปชันในปี 2008 อย่างไรก็ตาม ในรายงานข่าวของรอยเตอร์บอกว่าสถานการณ์ตอนนี้กลับตาลปัตรและโอกาสที่อดีตนายกรัฐมนตรีรายนี้จะได้กลับไทย ดูเหมือนจะเหลือน้อยที่สุดเท่าที่เคยมีมาเลย

รอยเตอร์ระบุว่า ผู้ประท้วงพากันเดินขบวนบนท้องถนนมานานหลายสัปดาห์ มีการปะทะกับตำรวจและประเทศโค่นล้มระบอบทักษิณ พร้อมกับตั้งสภาประชาชนขึ้นมาแทน อันเป็นสัญญาณว่าช่วงเวลาแห่งการฮันนีมูนของยิ่งลักษณ์หมดลงแล้ว

รอยเตอร์ชี้ว่าความผิดพลาดของนายกรัฐมนตรีหญิงรายนี้ ดูเหมือนจะเกิดจากกรณีที่พรรคเพื่อไทยของเธอพยายามรวบรัดผ่านกฎหมายนิรโทษกรรมซึ่งก่อความโกรธแก่ฝ่ายต่อต้าน ที่บอกว่ามันคือความเคลื่อนไหวล้างมลทินคดีอาญาแก่ทักษิณ

แม้วุฒิสภาปฏิเสธพระราชบัญญัติฉบับนี้และยิ่งลักษณ์บอกว่าจะไม่หยิบยกขึ้นมาอีก แต่ความเสียหายได้เกิดขึ้นแล้ว ขณะที่ฝ่ายต่อต้านทักษิณ ก็ได้ข้ออ้างความเคลื่อนไหวของพวกเขา “ทักษิณ คือผีของการเมืองไทยและผู้คนไม่สามารถก้าวข้ามเขาไปได้” รอยเตอร์อ้างความเห็นของนายปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ นักวิชาการด้านเอเชียศึกษา มหาวิทยาลัยโตเกียว “เขาลองโยนหินลงน้ำถามทางผ่าน พ.ร.บ.นิรโทษกรรม แต่น้ำดันลึกมาก และเปิดโอกาสให้ผู้ประท้วงกำจัดภัยคุกคามต่อสถาบันเก่าแก่ด้วย”

ขณะเดียวกัน รอยเตอร์ก็อ้างคำสัมภาษณ์ของนายฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่บอกว่า “ความล้มเหลวของนิรโทษกรรมระเบิดใส่หน้าเขา สงครามต่อต้านทักษิณจุดติดแล้ว ทุกๆ อย่างบ่งชี้ว่ามันจะไม่หยุดลงง่ายๆ”


โอบาม่าชี้ความเสมอภาค ในรายได้เป็นเรื่องท้าทาย

เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2556 ประธานาธิปดีบารัค โอบาม่า พูดถึง ความแตกต่างกันที่เพิ่มขึ้นระหว่างคนรวยและคนจน ซึ่งเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไข เขาเชื่อว่า "การเติบโตนี้เป็นไปในทิศทางที่อันตราย" ความไม่เท่าเทียมกันของรายได้แสดงให้เห็นถึงเรื่องที่ท้าทายในยุคของเรา เขาตั้งใจที่จะทำให้ สังคมที่เท่าเทียมกัน เป็นวาระที่สำคัญ ตลอดระยะเวลาที่เหลือของเขาในการเป็นประธานาธิบดีสมัยที่ 2 ของเขา

ประธานาธิบดี บารัค โอบาม่า ได้กล่าวถึงเรื่องความไม่เสมอภาคด้านรายได้นี้ในช่วงปราศรัยในงานที่จัดโดยศูนย์เพื่อความก้าวหน้าของอเมริกัน ในกรุงวอชิงตัน.ดี.ซี. ตามแนวคิดเสรีนิยมที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับทำเนียบขาว "การเพิ่มขึ้นของความไม่เท่าเทียมกันและลดความสามารถในด้านต่างๆ ก่อให้เกิดภัยคุกคามกับวิถีความเป็นอยู่ของชาวอเมริกัน" โอบาม่ากล่าว

ประธานาธิบดี ยังเน้นสิ่งที่เขาพูดเป็นความต้องการที่จะเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำ "ทำให้แน่ใจว่าเศรษฐกิจของเราทำงานสำหรับการทำงานของชาวอเมริกันทุกคน" และผลักดันจุดยืนเรื่องความไม่เท่าเทียมกันของรายได้ที่ได้ เป็นอันตรายต่อชนชั้นกลางของประเทศ

เขายังกล่าวอีกว่า "ความไม่เท่าเทียมกันของรายได้ที่เพิ่มขึ้นในสหรัฐอเมริกามีความเด่นชัดมากขึ้นกว่าในประเทศอื่นๆ และเป็นสิ่งที่ "รุกราน" ประชาชนอเมริกันที่เพิ่งเกิดมาสู่ความยากจนที่ยากจะหลีกหนีได้ การแตกต่างของรายได้จะบังคับให้เราต้องปฏิรูปการดำเนินการต่างๆ เพื่อให้ประเทศของเราดีขึ้นกว่านี้

การโต้เถียง เรื่องการดูแลสุขภาพและการปฏิรูปที่อยู่อาศัยและระบบการเงินในประเทศ เป็นความจริงว่าจะมีผลที่ค่อนข้างยุ่งยากกับประชาชนทุกคน ผมเชื่อว่าการตัดสินใจในประเด็นเหล่านี้ ในช่วงอีกไม่กี่ปีข้างหน้าจะกำหนดว่าลูกหลานที่จะเติบโตขึ้นในอเมริกาจะมีโอกาสสร้างความฝันให้เป็นจริงได้หรือไม่

ประเทศต้องการ "เป้าหมายของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและลดความไม่เท่าเทียมที่จำเป็นต้องอยู่ในความขัดแย้ง"

ระหว่างปราศรัย ประธานาธิบดี ได้พูดถึงเรื่องของตัวเองและภรรยาของเขา สตรีหมายเลข 1 มิเชล โอบาม่า "ฉันได้อยู่ที่นี่ (ในสหรัฐฯ) เพราะประเทศนี้ ได้กองทัพบกได้จ่ายค่าศึกษาให้คุณตาของฉัน!" โอบาม่า กล่าว "เมื่อคุณพ่อของฉันย้ายออกไป ทำให้คุณแม่ของฉันยากลำบากในการพยายามที่จะเลี้ยงดูน้องสาวและฉันในขณะที่เธอกำลังจะไปโรงเรียน ประเทศนี้ได้ช่วยให้เราไม่รู้สึกหิวโหย" เมื่อมิเชล เป็นลูกสาวของคนงานที่โรงงานน้ำ ได้ทำงานเป็นเลขานุการ และต้องการที่เรียนต่อระดับมหาวิทยาลัย ก็เหมือนฉัน ประเทศนี้ช่วยจ่ายให้ก่อน จนกว่าเราจะสามารถใช้หนี้กลับได้"